แจก 8 วิธีบริหารเงิน ลดค่าใช้จ่าย ที่ไม่ควรพลาด! - MAKE by KBank
Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

แจก 8 วิธีบริหารเงิน ลดค่าใช้จ่าย ที่ไม่ควรพลาด!

how-to-manage-money.jpg

การวางแผนบริหารเงิน เหมือนเรื่องง่ายที่ทุกคนทำได้ แต่กลายเป็นว่าแผนที่วางเอาไว้ ก็มักไม่สามารถดำเนินการตามแผน เพราะเผลอใช้จ่ายเกินตัว และไม่มีวินัยสำหรับเก็บออม สุดท้ายก็แก้ไขปัญหาด้วยการกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งยิ่งตอกย้ำสุขภาพทางการเงินแย่ลงไปอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้เราจึงแชร์ 8 เทคนิควิธีบริหารเงิน ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายง่ายๆ รับรองว่าตอบโจทย์การวางแผนการเงินกับผู้คนทุกเพศทุกวัย ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาหนี้สินแน่นอน

1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย

แม้การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ดูเหมือนเป็นวิธีบริหารเงินทั่วไป ที่ใครๆ ก็ล้วนเคยได้ยิน แต่เมื่อลงมือทำบัญชีจริงๆ กลับพบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะหลายคนมักหลงลืมการทำบัญชีไป ประกอบกับรู้สึกไม่อยากทำ เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องจุกจิก และเสียเวลาโดยไม่จำเป็น

ด้วยเหตุนี้เราจึงนำเทคนิคให้การทำบัญชีรายรับรายจ่ายไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพียงเลือกใช้งานสมุดทำบัญชีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถลงรายการค่าใช้จ่ายได้ทุกที่ทุกเวลา หรือถ้าลืมพกปากกา ก็อาจจดบันทึกรายการไว้ในสมาร์ตโฟนก่อนก็ได้ แล้วค่อยสรุปค่าใช้จ่ายลงในสมุดภายหลัง

2. ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

การเผลอใช้จ่ายเกินตัวในแต่ละเดือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะทุกวันนี้คุณสามารถเห็นสิ่งของที่อยากได้ ง่ายกว่าเดิมผ่านช่องทางต่างๆ เช่น จากโซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชัน E-commerce ที่มักจัดโปรโมชันเป็นประจำ แถมจ่ายเงินซื้อของง่ายอีกด้วย

และรู้ตัวอีกทีก็จ่ายเงินซื้อออกไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถออมเงินตามแผนที่ต้องการ ซึ่งคุณอาจแก้ปัญหาลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจในการเก็บเงิน เช่น ตั้งเป้าหมายว่าจะมีเงินแสน เงินล้าน เพราะจะช่วยให้คุณอยากออมเงินมากกว่าเดิม และลดค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น

นอกจากนี้หากสมัครบัตรเครดิตไว้เรียบร้อยแล้ว อาจใช้สิทธิประโยชน์ของบัตรเครดิต เพื่อลดค่าใช้จ่ายลงได้ และอาจใช้แต้มของบัตรไว้ใช้แลกของที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัว หรือแลกตั๋วหนัง ที่สำคัญควรหมั่นติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโปรโมชัน เพราะเป็นวิธีประหยัดเงิน ง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณมีออมเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน จากการลดค่าใช้จ่ายลง

3. เปิดบัญชีออมเงินใหม่

การใช้งานบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เพียงบัญชีเดียว อาจเป็นเรื่องซับซ้อนเกินไปสำหรับการออกแบบวิธีบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากต้องใช้บัญชีดังกล่าวทั้งรับเงินเดือน, ออมเงิน และจ่ายบิลต่างๆ ทำให้ไม่ทราบว่าตกลงแล้วมีเงินเหลือเก็บหรือไม่?

การเปิดบัญชีเพื่อออมเงินอีกบัญชี จึงเป็นอีกวิธีบริหารเงินที่ช่วยให้เก็บเงินได้ดีขึ้น เพราะได้แยกรายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ออกไปแล้ว ทำให้ออมเงินในบัญชีนี้ได้อย่างเต็มที่ ไม่เผลอนำเงินออกไปใช้รวมกับบัญชีที่ทำหน้าที่จัดการค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

แนะนำวิธีบริหารเงินด้วยแอป “MAKE by KBank”

manage-money-app.jpg

หากรู้สึกว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่าย และการเปิดบัญชีออมเงินใหม่เป็นวิธีบริหารเงินที่ยุ่งยาก เราแนะนำ MAKE by KBank ที่นอกจากจะเป็นแอปเก็บเงิน ซึ่งให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยสูงถึง 1.5% ต่อปีแล้ว
ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ “Expense Summary” และ “Cloud Pocket” ที่ช่วยให้การบริหารเงินเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคนอีกด้วย

  • Expense Summary

ฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับผู้ไม่อยากทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบเดิมๆ เพราะนอกจากจะสามารถเช็ก
รายการค่าใช้จ่ายย้อนหลังได้แล้ว ตัวฟีเจอร์ยังมีคุณสมบัติแยกรายการค่าใช้จ่ายได้ด้วยว่าในหนึ่งเดือนเราใช้เงินไปกับเรื่องอะไรบ้าง ทำให้คุณออกแบบวิธีบริหารเงิน ด้วยการวางแผนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นดียิ่งขึ้น และช่วยให้มีเงินเก็บมากเดิม

  • Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่สร้างกระเป๋าเงิน ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเสียเวลาเปิดบัญชีเพิ่มให้เสียเวลา โดย Cloud Pocket เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบให้ใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น เพราะสามารถกำหนดหน้าที่ของกระเป๋าตามที่ต้องการ เช่น กระเป๋าใช้จ่าย หรือกระเป๋าเงินออม โดยเงินใน Cloud Pocket ก็บริหารจัดการได้เหมือนเงินในบัญชีธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการโอนจ่าย รับเงิน หรือแม้กระทั่ง Scan QR code

4. นำเงินออมไปลงทุนระยะยาว

นอกจากออมเงินอย่างสม่ำเสมอแล้ว อย่าลืมนำเงินเก็บที่ได้ไปลงทุนในช่องทางต่างๆ เช่น หุ้นกู้ หรือฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำที่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งจะช่วยให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นในระยะยาว ทำให้บริหารจัดการเงินคล่องตัวขึ้นในอนาคต

แต่การนำเงินออมไปลงทุนระยะยาว คุณควรศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับผลตอบแทน และความเสี่ยงของการลงทุนที่คุณสนใจ ไม่อย่างนั้นแล้วมีโอกาสสูญเสียเงินต้น จนขาดทุนแน่นอน

5. จัดการระเบียบหนี้สินของตนเอง

การเป็นหนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่ต้องมั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการได้ โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงก่อหนี้ที่ไม่เกิดรายได้ เช่น หนี้บัตรเครดิตซึ่งเกิดจากการซื้อของฟุ่มเฟือย เพราะนอกจากจะไม่ช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็สูงกว่าสินเชื่อประเภทอื่นๆ ด้วย เพียงผิดนัดชำระไม่กี่ครั้ง ดอกเบี้ยก็เพิ่มขึ้นมาพอๆ กับเงินต้นแล้ว

แต่ถ้าเป็นหนี้ที่สร้างความมั่นคง เช่น หนี้เพื่อที่อยู่อาศัย คุณอาจใช้เทคนิคขอรีไฟแนนซ์เพื่อลดอัตราดอกเบี้ยลง หรือพยายามผ่อนชำระงวด 1 - 2 ปีแรก ด้วยยอดผ่อนชำระสูงๆ เพื่อลดเงินต้นลง ก่อนที่โปรโมชันสินเชื่อบ้านจะหมดลง เพราะคุณต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงกว่าเดิม ทำให้ลดยอดเงินต้นได้น้อยลงในปีหลังๆ

6. สร้างเครดิตทางการเงินที่ดี

เชื่อว่าในอนาคตทุกคนต้องวางแผนซื้อของใหญ่ ทำให้การสร้างเครดิตทางการเงินเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคุณมีประวัติก่อหนี้เสียบ่อยๆ จากการที่มีวิธีบริหารจัดการเงินไม่ดี ก็เป็นเรื่องยากที่ธนาคารจะปล่อยสินเชื่อให้คุณนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ที่ต้องการ และเสียโอกาสนำเงินไปสร้างธุรกิจที่อยากทำ

การสร้างเครดิตทางการเงินเริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงแค่ออมเงินเป็นประจำทุกเดือน และจ่ายหนี้ตรงเวลา เพียงเท่านี้คุณก็มีเครดิตทางการเงินมากขึ้น จนทางธนาคารสามารถพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้คุณได้แล้ว

7. รู้จักการให้รางวัลตัวเองอย่างถูกต้อง

เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อทำงานหนัก ก็อยากให้ของขวัญเป็นรางวัลให้แก่ตัวเองสักชิ้น เช่น ทานร้านอาหารดีๆ ทุกวันสิ้นเดือน หรือวางแผนไปเที่ยวต่างประเทศ แต่การให้รางวัลกับตนเองมากจนเกินไป ก็อาจกระทบต่อวิธีบริหารเงินที่ได้วางแผนเอาไว้ จนไม่สามารถเก็บเงินตามที่ตั้งใจได้

ดังนั้นควรแบ่งเงิน 10% ออกมาจากเงินออม เพื่อให้รางวัลแก่ตนเอง เช่น หลังเงินเดือนออก วางแผนเก็บเงิน 2,000 บาท จะได้ว่าเงินที่แบ่งออกมาจากเงินออมก็เท่ากับ 200 บาท ซึ่งให้คุณใช้จ่ายเงิน 200 บาทในส่วนนี้ให้รางวัลแก่ตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อควบคุมไม่ให้คุณใช้เงินเกินตัว

8. ควรวางแผนการเงินหลังเกษียณ

หลายคนมองว่าการวางแผนเกษียณเป็นเรื่องห่างไกล เพราะกว่าจะเข้าสู่วัยเกษียณก็ใช้เวลานานถึง 30 - 40 ปี ทำให้ขาดการวางแผนการเงินเพื่อเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณอย่างยั่งยืน บางคนหลังเกษียณเหลือเงินไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่กำลังรอตรงหน้า ก็ไม่พ้นที่ต้องทำงานอยู่แม้อายุมากแล้ว

ดังนั้นวิธีบริหารเงินที่มีประสิทธิภาพ นอกจากวางแผนใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า และเก็บออมเป็นประจำแล้ว อย่าลืมวางแผนเกษียณด้วย ซึ่งคุณสามารถออกแบบแผนเกษียณได้ด้วยการซื้อกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพ ซื้อกองทุนรวมระยะยาวตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน หรือเตรียมเก็บเงินสดเป็นจำนวนเท่ากับ

(ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตเหลืออยู่)

เช่น คิดว่าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะเท่ากับ 10,000 บาทต่อเดือน และคาดว่าจะมีชีวิตเหลืออยู่อีก 30 ปี ดังนั้นจำนวนเงินสดที่ควรมีหลังเกษียณ คือ 3 ล้านบาท

รู้จักกับตัวช่วยให้วิธีบริหารเงินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank

สรุปได้ว่าวิธีบริหารเงินประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.การบริหารจัดการค่าใช้จ่าย 2.การจัดการหนี้สิน 3.วางแผนการออม และ 4.วางแผนเกษียณ ซึ่งคุณสามารถใช้แอปเก็บเงิน MAKE by KBank เป็นตัวช่วยบริหารเงินได้ ด้วยฟีเจอร์ “Expense Summary” และ “Cloud Pocket”

นอกจากจะมาพร้อมกับ 2 ฟีเจอร์ดังกล่าว แอป MAKE by KBank ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น Pop Pay ที่ให้คุณโอนเงินให้กับเพื่อนที่อยู่ในระยะใกล้เคียงได้ โดยไม่ต้องกรอกเลขที่บัญชีเพื่อโอนเงินให้เสียเวลา หรือ ฟีเจอร์ Shared Cloud Pocket ที่ช่วยบริหารจัดการเงินในรูปแบบกลุ่มได้ เป็นต้น

หากสนใจแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ทั้งด้านผลตอบแทนไม่แพ้เงินฝากประจำ และด้านฟีเจอร์หลากหลาย สามารถดาวน์โหลด MAKE by KBank ได้เลย ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android

Back to Home