สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

วิธีประหยัดเงินสไตล์มนุษย์เงินเดือน ทำตามได้ไม่ยาก

how-to-save-money.jpg

สำหรับมนุษย์เงินเดือนแค่เดินทางออกจากบ้านไปทำงาน ก็เริ่มจ่ายเงินแล้ว ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าอาหาร 3 มื้อ ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่รออยู่ในวันสิ้นเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนบ้าน ค่าโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ทำให้การวางแผนในอนาคตเป็นเรื่องยาก เพราะค่าใช้จ่ายมากเกินไป จนไม่มีเงินเหลือเก็บ

แต่ปัญหาจะหมดไปเมื่อคุณรู้จักกับ “วิธีประหยัดเงิน” ซึ่งช่วยให้มีเงินเก็บมากขึ้น ทำให้มีโอกาสจับเงินแสน เงินล้าน และนำไปสู่อิสรภาพทางการเงินในอนาคต

1.กำหนดเป้าหมายในการประหยัดเงิน

วิธีประหยัดเงินให้ได้ผลมากที่สุด ขั้นแรกคุณควรตั้งเป้าหมายว่าต้องการประหยัดเงินเพื่ออะไร? เพราะหากประหยัดเงินไปวันๆ อย่างเดียวแล้ว อาจได้ผลเพียงช่วงแรกเท่านั้น การหาแรงบันดาลใจเพื่อประหยัดเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราเก็บเงินถึงเป้าหมายได้เร็ว ไม่ย่อท้อไประหว่างทางเสียก่อน

โดยแรงบันดาลใจประหยัดเงิน อาจเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายว่าจะเก็บเงินซื้อของเล็กๆ น้อยๆ เช่น เคสมือถือ อาหารมื้อพิเศษ หรือการท่องเที่ยวในสถานที่แปลกใหม่ หากเก็บเงินซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ได้แล้ว ก็เริ่มต้นเก็บเงินซื้อของใหญ่ เพื่อตอบโจทย์ชีวิตในอนาคตได้เลย

2.เริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่าย

ถึงแม้การทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะเป็นวิธีช่วยประหยัดเงินที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว แต่การทำบัญชีที่ดี และสามารถตรวจเช็กรายการย้อนหลังได้ ไม่ใช่เพียงการสรุปยอดรายรับ รายจ่ายแบบสั้นๆ เท่านั้น แต่ควรระบุรายละเอียดรายการให้มากที่สุด รวมถึงลงวันที่ใช้จ่ายด้วย ซึ่งตัวอย่างของบัญชีรายรับรายจ่ายมีดังนี้

วันที่ 22 กรกฎาคม 2566 รายรับ เงินเหลือจากวันที่ 21 10,000 บาท รายจ่าย ค่าอาหาร 200 บาท ค่าเดินทาง 100 บาท งานเลี้ยงเพื่อนร่วมงาน 500 บาท ซื้อของฝากครอบครัว 400 บาท รวมรายจ่าย 1,200 บาท เหลือสุทธิ 8,800 บาท

จะได้ว่าการลงบัญชีในวันที่ 23 ก็ยกยอดในส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ในวันที่ 22 ไปตั้งต้นเป็นเงินคงเหลือ จากนั้นบันทึกรายจ่ายของวันที่ 23 และทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อถึงวันสุดท้ายของเดือน ก็เริ่มสรุปยอดในเดือนนั้นๆ ว่าเหลือสุทธิ หรือใช้เงินเกินไปเท่าไหร่ และให้เริ่มต้นในส่วนของรายรับใหม่ หลังจากเงินเดือนถัดไปออก เช่น เงินเดือน 18,000 บาท ก็ให้ลงรายรับว่า 18,000 บาท โดยไม่ยกยอดเงินเก็บที่เหลือในเดือนก่อนหน้า มารวมอยู่ด้วย

ทั้งนี้การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ควรใช้งานสมุดจดบันทึกขนาดเล็กที่พกพาได้สะดวก เพราะอย่าลืมว่าคุณต้องจดรายการค่าใช้จ่ายอยู่ตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ค่าใช้จ่ายเล็กๆ อย่างค่าน้ำดื่มที่ซื้อระหว่างเดินทางเพื่อเก็บข้อมูลรายจ่ายได้ละเอียดมากที่สุด

3.กำหนดเงินที่จะใช้ กับเงินออม

how-to-save-wedding-money.jpg

หากไม่ทราบว่าต้องออมเงินเท่าไหร่ดี ถึงจะเหมาะสมกับสถานะทางการเงินของแต่ละบุคคล แนะนำว่าควรออมอย่างน้อย 10% ของรายได้ เพราะเป็นจำนวนเงินที่ไม่มากเกินไป ที่หลายคนสามารถเริ่มต้นเก็บออมได้ เช่น เงินเดือน 25,000 บาท ควรเก็บเงินอย่างน้อย 2,500 บาท เป็นต้น

การกำหนดเงินที่จะใช้กับเงินออม อาจไม่จำเป็นต้องใช้สูตรดังกล่าวก็ได้ เพราะบางคนมีภาระครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบแตกต่างกันออกไป แต่การเงินควรมีวินัยทางการเงินสม่ำเสมอ เช่น ออมอย่างน้อย 1% หรือ 5% ของรายได้ ก็ดีกว่าไม่ได้เริ่มต้นเก็บเงินเลย

หากรู้สึกว่าการเก็บเงินยากเกินไป สามารถใช้เครื่องมือที่ช่วยให้วิธีประหยัดเงินให้ได้ผลมากขึ้น เช่น ใช้ตารางออมเงิน ที่ออกแบบให้เก็บเงินเป็นประจำทุกวัน แม้จะเป็นจำนวนที่ไม่มาก แต่เมื่อเก็บสะสมนานวันเข้า ก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ และตารางออมเงินยังช่วยเสริมสร้างวินัยทางการเงินได้ดีอีกด้วย

โดยตารางออมเงินนั้นมีหลายประเภท เช่น ตารางออมเงิน 1,000 บาท หรือตารางออมเงิน 50,000 บาท ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้งานตามความเหมาะสม และความชื่นชอบ หรือหากไม่ชอบตารางออมเงินเพราะการใช้งานยุ่งยากเกินไป แถมมีโอกาสหลงลืมด้วย อาจลองใช้งานตัวช่วยเก็บเงินอย่าง “MAKE by KBank”

แนะนำตัวช่วยประหยัดเงิน “MAKE by KBank”

MAKE by KBank แอปพลิเคชันที่ออกแบบมาให้คุณจัดการเงินในบัญชีง่ายขึ้น ตอบโจทย์วิธีวางแผนประหยัดเงินของแต่ละบุคคลอีกด้วย แถมให้อัตราดอกเบี้ยสูง 1.5% ต่อปีไม่แพ้บัญชีเงินฝากประจำ และยังมีฟีเจอร์เด็ดช่วยประหยัดเงินแบบง่ายๆ อย่าง “Cloud Pocket” และ “Expense Summary”

  • Cloud Pocket หากกำลังมองหาฟีเจอร์ช่วยจัดการเงินในกระเป๋า ต้องลองใช้งาน “Cloud Pocket” ด้วยฟีเจอร์นี้คุณสามารถแบ่งเงินให้เป็นสัดส่วน ไม่ว่าจะเป็นเงินสำหรับใช้จ่าย, เงินเก็บ หรือเงินสำหรับลงทุน ซึ่งเงินใน Cloud Pocket สามารถสแกน QR code หรือโอนจ่ายได้เหมือนกับแอปพลิเคชันธนาคาร

  • Expense Summary เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยสรุปยอดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนว่าใช้จ่ายกับเงินในส่วนใดบ้าง ซึ่งการทราบว่าใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรมากที่สุด จะทำให้คุณออกแบบวิธีประหยัดเงินได้ง่ายขึ้น เพราะลดค่าใช้จ่ายได้ตรงจุด ไม่ต้องเสียเวลาไปเช็กค่าใช้จ่ายกับบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ยุ่งยาก

นอกจาก 2 ฟีเจอร์ดังกล่าวแล้ว MAKE by KBank ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย เช่น Shared Cloud Pocket ที่ช่วยจัดการเงินในบัญชีกับสมาชิกในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อน หรือฟีเจอร์ Pop Pay ที่ออกแบบมาให้โอนเงินให้เพื่อนในระยะใกล้เคียงได้ทันที โดยไม่ต้องกรอกเลขบัญชีเพื่อโอนเงินให้เสียเวลา

4.ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้อยู่ในทฤษฎีโหล 6 ใบ หรือ 6 Jars Theory ซึ่งสามารถใช้ทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับวิธีประหยัดเงิน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ โดยทฤษฎีดังกล่าวประกอบไปด้วย โหล 6 ใบ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. โหลสำหรับการใช้จ่ายเงินที่จำเป็น - ใช้จ่าย 55% ในทุกวันต้องมีค่าใช้จ่ายประจำเกิดขึ้น ตามทฤษฎีแนะนำว่าหากใช้จ่ายเกิน 55% ของรายได้ ควรตรวจสอบว่าคุณใช้เงินส่วนใดผิดปกติหรือไม่ เพราะการใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายประจำวัน 55% ถือว่ามากพอแล้ว

  2. โหลสำหรับให้รางวัลชีวิตของตนเอง - ใช้จ่าย 10% การซื้อของให้ตัวเองก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการตั้งใจประหยัดเงินมากเกินไป อาจทำให้ชีวิตขาดความสมดุล และในระยะยาวย่อมเริ่มอยากใช้จ่าย ซึ่งหน้าที่ของโหลใบนี้ มีไว้เพื่อใช้จ่ายกับของที่ต้องการซื้อ และป้องกันการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นนั่นเอง

  3. โหลสำหรับการศึกษาและพัฒนาตนเอง - ใช้จ่าย 10% ความรู้ในวันนี้สามารถแปรเปลี่ยนเป็นรายได้ในอนาคต เพราะการใช้จ่ายเงินในส่วนนี้ ช่วยให้คุณมีทักษะพิเศษเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นการเรียนเขียนโปรแกรม การพัฒนาทักษะภาษา ฯลฯ ซึ่งทำให้คุณมีรายได้มากกว่าเดิมจากการเพิ่มทักษะการทำงาน

  4. โหลการให้ผู้อื่น - ใช้จ่าย 5% สำหรับผู้ชื่นชอบทำบุญ หรือการบริจาค ไม่ควรใช้เงินเกิน 5% ของรายได้ หากใช้เงินมากกว่านี้อาจสร้างภาระทางการเงินส่วนบุคคลมากเกินไป ที่สำคัญอย่าลืมแบ่งเงินมาบริจาคด้วย ย่อมช่วยให้คุณจิตใจดีขึ้นจากการมีคุณค่าช่วยเหลือสังคม

ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นควรอยู่ในขอบเขตของโหลทั้ง 4 ตามที่กล่าวไป และทฤษฎี 6 Jars ยังได้แนะนำให้ออมเงินไว้ 2 ส่วนด้วย คือโหลใบที่ 5 และ 6 ดังนี้

  1. โหลสำหรับเงินเก็บสำรองแบบระยะยาว - เก็บออม 10% เมื่ออายุมากขึ้น ปัญหาสุขภาพก็เริ่มตามมา ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็ย่อมมากขึ้น การมีเงินเก็บสำรองแบบระยะยาวเพื่อวัยเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในวันที่เราไม่สามารถหารายได้ ได้เหมือนเดิม

  2. โหลสำหรับสร้างอิสรภาพทางการเงินให้ตนเอง - เก็บออม 10% ถึงแม้จะตั้งใจประหยัดเงินแล้ว การสร้างอิสรภาพทางการเงินให้ตนเองโดยการนำเงินไปลงทุนเพื่อช่วยให้เงินงอกเงยก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน โดยการเริ่มลงทุนอาจเริ่มต้นในสิ่งง่ายๆ ที่ทุกคนรู้จักกันดี เช่น ฝากในบัญชีเงินฝากประจำ หรือซื้อกองทุนรวมระยะยาวผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร

โดยวิธีประหยัดเงินนี้ คุณอาจลองใช้งานฟีเจอร์ Cloud Pocket เพื่อแบ่งเงินออกเป็น 6 ส่วนตามทฤษฎี 6 Jars ซึ่ง Cloud Pocket ช่วยให้คุณไม่ต้องซื้อกระปุกออมสิน ถึง 6 ใบ ให้ยุ่งยาก เพราะ Cloud Pocket มีคุณสมบัติเพิ่มจำนวนกระเป๋าได้ตามต้องการนั่นเอง

5.ซื้อของราคาโปรโมชัน

ปัจจุบันช่องทางการซื้อสินค้า ไม่ได้จำกัดเพียงทางออฟไลน์เสมอไป แต่ยังรวมไปถึงการจัดจำหน่ายบนมาร์เก็ตเพลสต่างๆ และแอปพลิเคชัน E-commerce ซึ่งการซื้อของบนช่องทางออนไลน์ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยประหยัดเงินได้ เพราะแอปเหล่านี้มักจัดโปรโมชันเป็นประจำ ทำให้คุณได้สินค้าราคาถูกขึ้น

นอกจากการซื้อสินค้าในช่วงโปรโมชันบนแอปพลิเคชันเหล่านี้แล้ว การใช้บัตรเครดิต ก็ช่วยให้ซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เพราะบัตรเครดิตแต่ละใบล้วนมีสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับส่วนลดสินค้าที่ร่วมรายการ แถมแต้มที่ได้รับจากบัตรเครดิต ก็สามารถแลกเป็นสิทธิพิเศษต่างๆ ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามการใช้บัตรเครดิตเปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้ให้ดีรู้จักควบคุมค่าใช้จ่าย จะช่วยประหยัดไปได้มาก แถมช่วยแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงินให้คุณได้อีก แต่ถ้าใช้จ่ายไม่ระมัดระวัง ไม่ผ่อนชำระหนี้บัตรสม่ำเสมอ อาจติดกับดักหนี้บัตรเครดิตได้ง่ายๆ

สรุปวิธีประหยัดเงิน

นอกจาก 5 วิธีประหยัดเงิน ที่ช่วยให้เรามีเงินเก็บมากขึ้นแล้ว การหาช่องทางเพิ่มพูนเงินในบัญชี ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงิน และมีเงินใช้จ่ายเพิ่มเติมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถฝากเงินในแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ที่ให้ผลตอบแทน 1.5 % ต่อปี หรือแบ่งเงินเป็นส่วนๆ ใน Cloud Pocket เพื่อเก็บเงินไว้ลงทุนในระยะยาว เพิ่มรายได้อีกช่องทางก็ได้

หากสนใจผู้ช่วยจัดการเงิน และสร้างผลตอบแทนให้คุณแบบง่ายๆ อย่าง “MAKE by KBank” สามารถดาวน์โหลดได้ทาง Play Store ไม่ว่าจะระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Android

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ