ทำบัญชีรายรับรายจ่ายง่ายๆ ใช้จ่ายไม่มีสะดุด ด้วย MAKE by KBank
การจัดการด้านการเงินอาจเป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อนสำหรับทั้งบุคคลและผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องติดตามรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อเราใช้เครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า “บัญชีรายรับรายจ่าย” เพราะจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้บัญชีรายรับรายจ่ายยังทำให้ “การยื่นภาษี” ที่เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเจอในการดำเนินธุรกิจนั้นสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถติดตามการทำธุรกรรมต่างๆ ในธุรกิจได้อย่างครบถ้วน ไม่ต้องมาปวดหัวทุกครั้งที่จะต้องทำการยื่นภาษีในแต่ละปี
ในบทความนี้จะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่ายที่สามารถทำได้จริง เพื่อสร้างบัญชีรายรับรายจ่าย ที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปพร้อมๆ กับแอปฯ MAKE by KBank
สารบัญบทความ
- ทำความรู้จัก บัญชีรายรับรายจ่าย
- ผู้ประกอบการ คนค้าขายต้องรู้! บัญชีรายรับรายจ่าย ทำกรณีใดบ้าง?
- หลักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากร
- ขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่าย
- ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย กรอกอย่างไรให้ถูกต้อง 6.ทำบัญชีรายรับรายจ่ายง่ายขึ้นด้วย แอป MAKE by KBank
- ดาวน์โหลด MAKE by KBank สมัครฟรี ใช้งานง่ายมากที่สุด
1. ทำความรู้จัก บัญชีรายรับรายจ่าย
บัญชีรายรับรายจ่าย คือ เครื่องมือทางการเงินที่จะถูกใช้เพื่อติดตามสถานะทางการเงินของบุคคลหรือธุรกิจ โดยจะแสดงรายได้ที่ได้รับและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งความแตกต่างระหว่างรายได้รวมและค่าใช้จ่ายรวมที่เกิดขึ้นที่เราเรียกกันว่า “กำไรหรือขาดทุนสุทธิ” จะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านการเงินของแต่ละบุคคลหรือธุรกิจในแต่ละช่วงเวลา
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญมาก ที่จะช่วยให้บุคคลหรือธุรกิจสามารถรับรู้ได้ถึงสถานะทางการเงินและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพวกเขา รวมถึงสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดสำหรับวางแผนการเงินในอนาคตต่อไป
2. ผู้ประกอบการ คนค้าขายต้องรู้! อาชีพประเภทไหนต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ผู้ประกอบการและคนค้าขายต้องรู้ เพราะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามและวิเคราะห์สถานะทางการเงินของธุรกิจ และในส่วนนี้เราจะพูดถึงอาชีพอิสระซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- 1 อาชีพค้าขาย ธุรกิจร้านค้า งานบริการประเภทต่างๆ
- 2 อาชีพรับจ้าง
- 3 อาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่
อาชีพอิสระทั้ง 3 ประเภทนี้ถือเป็นผู้มีเงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 ของกรมสรรพากร ซึ่งจะใช้สูตรในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายสูตรเดียวกันทั้งหมด คือ
รายได้ - รายจ่าย = กำไร/ขาดทุนของกิจการ
โดยการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะขึ้นอยู่กับวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจเลือก ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ การหักแบบเหมาร้อยละ 40 และ 60 และการหักตามจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาร้อยละ 40 และ 60: การเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา หมายความว่าผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากร โดยจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราตาม “ ตารางอัตราการหักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)”
-
การหักค่าใช้จ่ายตามจริง: การเลือกแบบที่สองนี้ ผู้ประกอบการจะต้องบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้มีสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายตามจริง
one million saving trips
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบางส่วนอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละอาชีพ ผู้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำข้อมูลรายรับรายจ่ายในแต่ละวันใส่ลงในบัญชีที่ทำขึ้นได้อย่างถูกต้องต่อไป
3. หลักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากร
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากรเป็นการจัดทำบัญชีที่สอดคล้องกับหลักการทางการเงินและมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมสรรพากร ซึ่งมีกฎเกณฑ์ดังนี้
-
การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องรายการให้เหมาะสมกับสภาพของกิจการได้ เช่น เพิ่มช่องรายการเงินสดที่มีการโอนเงินระหว่างบัญชี, เพิ่มช่องบันทึกรายการเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานหรือเพิ่มช่องบันทึกรายการเงินสดที่เกี่ยวกับการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการสอดคล้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ
-
ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นภาษาไทย ในกรณีที่ทำเป็นภาษาต่างประเทศ ผู้ประกอบการก็ต้องมีภาษาไทยกำกับไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าใจและตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง
-
ผู้ประกอบการจะต้องลงรายการในบัญชีรายรับรายจ่ายภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย เพื่อความครบถ้วนและป้องกันการตกหล่นของข้อมูล
-
รายการที่นำมาลงในบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นมีข้อกำหนดดังนี้
- ต้องมีเอกสารใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี เพื่อประกอบและเป็นหลักฐานสำหรับรายการต่างๆ ในบัญชีรายรับรายจ่าย
- การลงรายการรายรับรายจ่ายให้ลงเป็นยอดรวมของแต่ละวันทำการ
- รายจ่ายที่นำมาลงในบัญชีรายรับรายจ่ายจะต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเท่านั้น
- สำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้นสามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายได้เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ได้เป็นผู้ประกอบที่ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT
- หากมีการขายสินค้า/ให้บริการ หรือซื้อสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายชำระค่าสินค้า/บริการนั้น โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
-
ผู้ประกอบการจะต้องสรุปยอดรายรับรายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรายงานที่สรุปยอดรายรับและรายจ่ายนี้จะต้องมีการระบุวันที่และรายละเอียดของรายการรับและจ่าย เช่น วันที่รับเงิน วันที่จ่ายเงิน จำนวนเงิน และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและจ่ายเงินดังกล่าว ภายในเดือนนั้นๆ ไว้อย่างครบถ้วน
4. ขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่าย
การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นส่วนสำคัญในการจัดการการเงิน ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือทำธุรกิจ การเก็บบันทึกรายรับและรายจ่ายที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณตัดสินใจทางการเงินได้อย่างชาญฉลาด และเตรียมการสำหรับการยื่นภาษีของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น ในหัวข้อนี้เราจะอธิบายขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบง่ายๆ 3 ขั้นตอน ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้จริง
ขั้นตอนที่ 1: บันทึกรายรับและรายจ่าย
ขั้นตอนแรกผู้ประกอบการจะต้องเริ่มบันทึกรายการรับและรายการจ่ายในทุกๆ วัน โดยกรอกรายละเอียดในตารางให้ครบถ้วน ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบภายหลัง สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ผู้ประกอบการจะต้องลงรายการในบัญชีรายรับรายการจ่ายภายใน 3 วัน นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย โดยจะต้องบันทึกแค่รายการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเท่านั้น
ขั้นตอนที่ 2: เตรียมหลักฐานให้พร้อม
ขั้นตอนต่อมา เมื่อบันทึกรายการรายรับรายจ่ายแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องเก็บหลักฐานของการรับหรือจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลที่อยู่ในตารางและสำหรับใช้ในการตรวจสอบในอนาคต
ขั้นตอนที่ 3: สรุปบัญชีในทุกๆ เดือน
ขั้นตอนสุดท้ายผู้ประกอบการจะต้องทำการสรุปยอดบัญชีรายรับรายจ่ายในทุกๆ สิ้นเดือน เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานของธุรกิจในเดือนนั้นๆ และเพื่อการคำนวณเงินได้สุทธิสำหรับการชำระภาษีส่วนบุคคลต่อไป
5. ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย กรอกอย่างไรให้ถูกต้อง
ตัวอย่างตารางรายรับรายจ่ายจากกรมสรรพากร
ในหัวข้อนี้ เราจะมาแนะนำแนวทางการกรอกแบบฟอร์มรายรับรายจ่ายที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและการตกหล่นของข้อมูล ซึ่งเราจะใช้แบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่ายจากกรมสรรพากรมาเป็นตัวอย่าง โดยมีรายละเอียดการกรอกแบบฟอร์มที่ถูกต้องดังนี้
- วัน/เดือน/ปี: ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ที่เกิดการทำธุรกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- รายการ: ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกรายละเอียดที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายจ่ายจากค่าเช่า บิลค่าน้ำ บิลค่าไฟฟ้า และเงินเดือน เป็นต้น โดยผู้ประกอบการจะต้องลงรายการในรายงานเงินสดรับ–จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากรที่เราได้กล่าวไปในข้างต้น
- รายรับ : ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกจำนวนเงินที่ได้รับตามรายละเอียดในช่องรายการ
- รายจ่าย (ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า) : ช่องนี้มีไว้สำหรับบันทึกจำนวนเงินที่ใช้จ่ายออกไปเพื่อการซื้อสินค้าซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- รายจ่าย (ค่าใช้จ่ายอื่นๆ) : ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- หมายเหตุ : ช่องนี้มีไว้สำหรับบันทึกหรืออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการรับหรือจ่ายนั้นๆ
- เราจะใช้หน่วย บาท เป็นหน่วยของสกุลเงินที่กรอกในบัญชีรายรับรายจ่าย
สิ่งที่อยากแนะนำอีกหนึ่งอย่างคือ การใช้งาน Microsoft Excel สำหรับการทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดย Microsoft Excel จะทำให้คุณสามารถเพิ่มรายการรายรับรายจ่ายธุรกิจของคุณลงใน Spreadsheet ได้อย่างสะดวกสบาย และยังสามารถใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์และฟังก์ชันอื่นๆ เพื่อคำนวณผลรวมของรายรับและรายจ่ายได้อย่างรวดเร็ว ไม่เพียงเท่านี้ คุณยังสามารถแสดงข้อมูลเหล่านั้นในรูปแบบของกราฟ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินธุรกิจของคุณแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนอีกด้วย
6. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายง่ายขึ้นด้วย แอป MAKE by KBank
สำหรับผู้ที่ต้องมานั่งจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน แถมบางครั้งก็หลงลืมรายการใดๆ ไปบ้าง ทำให้คำนวณตัวเลขออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง ด้วยเหตุเหล่านี้เราจึงต้องมีตัวช่วยจัดการด้านการเงินอย่างแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ซึ่งแอปเก็บเงิน MAKE by KBank นี้จะช่วยให้การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของคุณง่ายขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการจัดการรายรับรายจ่ายส่วนตัว นอกจากนี้คุณยังสามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายประจำวัน จัดหมวดหมู่ และติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณได้อย่างง่ายดาย แถมยังเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารกสิกรไทยของคุณได้อย่างลงตัว ทำให้สามารถทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต สามารถจัดการเรื่องเงินแบบง่ายๆ ได้ครบจบในที่เดียว
6.1 Expense Summary
คุณสมบัตินี้ของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank จะทำการจำแนกค่าใช้จ่ายออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายสำหรับบันเทิง ค่าชอปปิง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการชำระบิล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายในหมวดหมู่ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน และสะดวกกว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบดั้งเดิม
MAKE by KBank จะช่วยสรุปค่าใช้จ่ายรวม และค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดหมู่ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้คนที่ต้องการวางแผนการเงินทราบได้ว่าในเดือนนั้นๆ เสียค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่และเสียไปกับเรื่องใดบ้าง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและวางแผนการใช้เงินสำหรับเดือนถัดไปได้ดียิ่งขึ้น
6.2 Cloud Pocket
คุณสมบัติ Cloud Pocket ของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งกระเป๋าเงินออกได้โดยไม่มีขีดจำกัด โดยเราสามารถแบ่งกระเป๋าเงินแยกย่อยสำหรับเรื่องต่างๆ เช่น กระเป๋าสำหรับการใช้จ่าย กระเป๋าเก็บเงินแสน กระเป๋าเงินสำรองฉุกเฉิน หรือกระเป๋าสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เรามีความพร้อมสำหรับเรื่องต่างๆ ในชีวิต ถ้าหากเราต้องการใช้เงินในเรื่องใด ก็สามารถหยิบจับเงินในกระเป๋าเงินนั้นๆ มาใช้ได้ในทันที ไม่เพียงเท่านั้น MAKE by KBank ยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น Pop Pay ที่ทำให้เราสามารถโอนเงินได้ทันทีสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้กันในรัศมี 10 เมตร ผ่านระบบบลูทูธ, Chat Banking ที่ช่วยให้เรารู้ได้ทันทีว่าใครโอนเงินมาให้เราหรือเราโอนเงินออกไปให้ใคร โดยจะโชว์รายการในรูปแบบแช็ตที่เข้าใจง่ายแถมยังสามารถแนบโน้ตกับรูปเพิ่มเติมได้อีกด้วย และ Money Request ที่จะทำให้การเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้นั้นง่ายขึ้น เพราะผู้ใช้งานจะสามารถส่งรายการเรียกเก็บเงินคืนผ่านแอปพลิเคชัน MAKE ได้โดยไม่ต้องทวงให้เหนื่อย
7. ดาวน์โหลด MAKE by KBank สมัครฟรี ใช้งานง่ายมากที่สุด
หลังจากที่ทราบเกี่ยวกับขั้นตอนการทำรายรับรายจ่ายกันแล้ว เราจะมาทำความเข้าใจกับตัวแอปพลิเคชัน MAKE by KBank กันให้มากขึ้น โดยจะแนะนำวิธีการสมัครแอปฯ MAKE by KBank ที่ละเอียดทุกขั้นตอน ผู้อ่านสามารถทำตามได้ง่ายๆ และยังสามารถสมัครใช้งานแอปพลิเคชันนี้ได้ฟรีอีกด้วย
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและสมัครตามขั้นตอนที่ระบุเอาไว้
- เปิดหน้าแอปพลิเคชัน กรอกหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันและตั้งชื่อผู้ใช้
- อ่านรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน แล้วกด “เริ่มเลย”
- อ่านเงื่อนไขการเปิดบัญชีแล้วกด “ยอมรับ”
- สำหรับผู้ใช้งานที่มีแอปพลิเคชัน K PLUS อยู่แล้ว เลือก “เปิดบัญชีด้วย K PLUS” ทำการยืนยันตัวตนและสามารถเริ่มใช้งานได้ทันที
- ในกรณีที่ยังไม่เคยใช้งานแอปพลิเคชัน K PLUS เลือก “เปิดบัญชีโดยกรอกข้อมูล”แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและกดยืนยัน
กรณีทำการยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน
- ค้นหาตู้ ATM ธนาคารกสิกรไทย หรือเครื่องที่มีสัญลักษณ์ยืนยันตัวตน (K CHECK ID)
- เลือกเมนู “ยืนยันตัวตน” แล้วทำการสอดบัตรประจำตัวประชาชนในช่องที่ระบุ
- รอจนดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจะได้รับข้อความแจ้งว่าทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
- เข้าสู่ขั้นต่อการดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันต่อไป
การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าผ่านแอปพลิเคชัน
เปิดแอปพลิเคชันอีกครั้งเพื่อทำสแกนใบหน้าตามที่แอปพลิเคชันระบุ เช่น หันหน้าซ้าย-ขวา กะพริบตา หน้าตรง ไม่สวมแว่นหรือเครื่องประดับที่ปิดปังใบหน้า ฯลฯ จากนั้นรอการประมวลผลเพื่อยืนยันความถูกต้อง หากไม่มีปัญหาใดๆ ก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที
เพียงทำตามขั้นตอนที่กล่าวไปตามลำดับ คุณก็สามารถสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ได้อย่างรวดเร็วและสามารถเริ่มใช้งานได้ในทันที
หากคุณกำลังมองหาเครื่องมือที่จะช่วยให้การจัดการด้านการเงิน เช่น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับธุรกิจหรือการทำตามฝันที่จะออมเงินล้านให้สำเร็จเพื่อให้พร้อมสำหรับกิจกรรมต่างๆ ในทุกช่วงของชีวิต แอปพลิเคชัน MAKE by KBank คือ คำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ เพราะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายผ่านคุณสมบัติ Expense Summary หรือการออมเงินผ่านคุณสมบัติ Cloud Pocket ของ MAKE by KBank จะทำให้การจัดการเงินของคุณนั้นเป็นไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ประสบปัญหาเก็บเงินไม่อยู่
ลองใช้วันนี้แล้วคุณจะรู้ว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนอีกต่อไป
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ได้ที่ -> MAKE by KBank
อ้างอิง
- กรมสรรพากร. (2565 23 มิถุนายน). วิธีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย. https://shorturl.at/nrKUV
- กรมสรรพากร. (2563 21 พฤษจิกายน). ประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี. https://shorturl.at/nuLM8
- กรมสรรพากร. (2563 21 พฤศจิกายน). ประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี. https://shorturl.at/nuLM8
- กรมสรรพากร. (2565 23 มิถุนายน). วิธีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย. https://shorturl.at/nrKUV