ดอกเบี้ยบัตรเครดิต รู้ทันแล้ว หมดทางเป็นหนี้! - MAKE by KBank
Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต รู้ทันแล้ว หมดทางเป็นหนี้!

credit-card-interest.jpg

หลายคนคงเคยได้ยินประโยค “ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน” ทำให้เข้าใจว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันคิดแค่ 0% เท่านั้น แต่เมื่อถึงวันจ่ายหนี้บัตรเครดิต ก็ต่างตกใจไปตามๆ กัน เพราะไม่คิดว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะสูงกว่าที่คิด ด้วยเหตุนี้เราจึงนำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตมาฝากทุกคนกัน!

สารบัญบทความ

  • ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คืออะไร ใช้สูตรคำนวณแบบไหน
  • เปิดสาเหตุว่าทำไมต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิต
  • 3 วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ควรรู้
  • ทำอย่างไรถึงไม่เสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต
  • ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิต ถ้ามีวินัยการเงินดีเยี่ยม

ดอกเบี้ยบัตรเครดิต คืออะไร ใช้สูตรคำนวณแบบไหน

บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อรูปแบบหนึ่ง ที่ให้เจ้าของบัตรใช้วงเงินไปก่อน แล้วค่อยชำระคืนภายหลัง ซึ่งดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันอยู่ที่ 16% ต่อปี คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน และวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต คือ

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด X อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต X จำนวนวันจนถึงวันก่อนสรุปบัญชีหนึ่งวัน 365

เปิดสาเหตุว่าทำไมต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิต

หากวางแผนใช้บัตรเครดิตให้ดี ก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่สาเหตุที่จะทำให้คุณต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้ธนาคาร ประกอบด้วย 4 เหตุผลดังต่อไปนี้

  1. กดเงินสด

การใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสด จะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต 16 % ต่อปี พร้อมค่าธรรมเนียม 3% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ทำให้การเบิกเงินสดออกมาเพียงครั้งเดียว ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้นหากไม่จำเป็นไม่ควรเบิกเงินสดด้วยบัตรเครดิต

  1. จ่ายขั้นต่ำ

เมื่อคุณจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยจะหายไป หมายความว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะเริ่มคิดคำนวณทันที ซึ่งการจ่ายขั้นต่ำเป็นการชำระเงินเพียงบางส่วนของยอดการใช้จ่ายทั้งหมด โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ปี 2567 ต้องจ่ายขั้นต่ำ 8% จากเดิมอยู่ที่ 5%

  1. ผ่อนชำระ

แม้ว่าบัตรเครดิตจะเสนอโปรโมชันให้ผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน แต่ไม่ใช่สินค้าทุกรายการที่สามารถผ่อนด้วยเงื่อนไขดังกล่าวได้ หมายความว่าหากคุณรูดบัตรเครดิตกับสินค้านอกรายการ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต

  1. ค้างชำระบัตรเครดิต

แน่นอนว่าหากคุณติดหนี้บัตรเครดิต ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย รวมทั้งค่าใช้จ่ายทวงถาม และถ้าไม่ยอมชำระหนี้บัตรเครดิต ก็จะเสียประวัติทางการเงิน ส่งผลให้ขอสินเชื่อยากขึ้นในอนาคต

3 วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ควรรู้

ดอกเบี้ยบัตรเครดิตเกิดขึ้น เพราะเหตุผลทั้ง 4 ข้อตามที่กล่าวไปข้างต้น และการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตยังมีวิธีคำนวณถึง 3 วิธี ดังนี้

1. กรณีจ่ายขั้นต่ำ ตรงเวลา

หากคุณจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต แต่ชำระเงินตรงเวลา ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะคิดเป็นสองส่วน ประกอบด้วย

  1. ดอกเบี้ยจากเงินต้นคงเหลือ
  2. ดอกเบี้ยจากเงินคงค้าง

ตัวอย่างเช่น นาย B ใช้บัตรเครดิตซื้อของ 20,000 บาท ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567 ธนาคารสรุปยอดการใช้จ่ายทุกวันที่ 20 ของเดือน กำหนดชำระทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป และเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระ นาย B เลือกจ่ายขั้นต่ำ 8% คิดเป็นจำนวนเงิน 1,600 บาท

ดังนั้นกรณีนี้นาย B ต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากเงินต้นคงเหลือเท่ากับ

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวัน (นับจากวันที่ทำรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน) 365

โดยจำนวนวันในกรณีนี้เท่ากับ 10 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม = 25 วัน

เมื่อแทนค่าเข้าไปจะได้ว่า

(20,000 X 16% X 25) /365 = 219.178 บาท

ส่วนดอกเบี้ยเงินคงค้างที่เหลืออยู่ คำนวณได้จาก

เงินคงค้าง X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ชำระขั้นต่ำจนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป 365

ซึ่งจำนวนวันสำหรับคิดดอกเบี้ยเงินคงค้าง คือวันที่ 5 กรกฎาคม - 20 กรกฎาคม = 16 วัน

ดังนั้นดอกเบี้ยเงินคงค้างเท่ากับ

(18,400 X 16% X 16) /365 = 129.05 บาท

เมื่อรวมดอกเบี้ยทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน รอบครบกำหนดชำระถัดไป นาย B จะมียอดคงเหลือพร้อมดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ต้องชำระเท่ากับ 18,400 + 219.178 + 129.05 = 18,748.228 บาท

2. กรณีจ่ายคืนเต็มจำนวน แต่ไม่ตรงเวลา

หากนาย B จ่ายเงินเต็มจำนวน แต่ชำระไม่ตรงเวลา เช่น กำหนดจ่ายวันที่ 5 แต่กลับชำระวันที่ 15 กรณีนี้นาย B จะต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตตามสูตร

ค่าใช้จ่ายทั้งหมดX อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวัน (นับจากวันที่ทำรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน) 365

ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นว่านาย B รูดบัตรเครดิตซื้อของวันที่ 10 มิถุนายน และจ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม เท่ากับว่าจำนวนวันในกรณีนี้คือ 35 วัน

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเท่ากับ (20,000 X 16% X 35) /365 = 306.849 บาท

แต่การคิดดอกเบี้ยกรณีดังกล่าวยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมทวงถามจากการชำระล่าช้าด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่าธรรมเนียมทวงถามจะอยู่ที่ 100 บาท พร้อมคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากค่าธรรมเนียมทวงถาม

ดังนั้นเมื่อคิดดอกเบี้ยพร้อมค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป นาย B ต้องเสียดอกเบี้ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 306.849 + 100 + (100 X 7%) = 413.849 บาท

3. กรณีเบิกเงินสดล่วงหน้า

การเบิกเงินสดด้วยบัตรเครดิต นอกจากจะเสียค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดแล้ว ยังต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย ตัวอย่างเช่น นาย B เบิกเงินสด 20,000 บาท ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567 และชำระเงินคืนวันที่ 5 กรกฎาคม เท่ากับว่าจำนวนวันที่บันทึกรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน อยู่ที่ 25 วัน

หมายความว่า นาย B จะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตเท่ากับ

จำนวนเงินเบิกถอนเงินสด X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวัน (นับจากวันที่บันทึกรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน) 365

ดังนั้นดอกเบี้ยบัตรเครดิต จากการกดเงินสดล่วงหน้าคือ (20,000 X 16% X 25) /365 = 219.178 บาท

และอย่าลืมว่า กรณีนี้นาย B ต้องเสียค่าธรรมเนียม 3% ของวงเงินที่เบิกออกมา พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ซึ่งเท่ากับ 20,000 X 3% = 600 + (600 X 7%) = 642 บาท

เมื่อรวมดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นาย B จะเสียค่าใช้จ่ายในการเบิกเงินสดทั้งหมด 642 + 219.178 = 861.178 บาท

ทำอย่างไรถึงไม่เสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต

how-to-calculate-credit-card-interest.jpg

เมื่อทราบแล้วว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิต คิดยังไง? จะเห็นว่าแค่ค้างจ่ายบัตรเครดิตไม่กี่วัน ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ก็ใกล้เคียงกับค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับใครที่ไม่อยากเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น เราก็ได้นำ 6 วิธีใช้บัตรเครดิตที่น่าสนใจ มาแชร์ให้ทุกคนแล้วดังนี้

1. ใช้บัตรเครดิตซื้อของที่จำเป็นเท่านั้น

เมื่อได้บัตรเครดิตใบแรกมาหลายคนมักใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะมองว่าไม่ได้จ่ายเงินสดออกไปจริงๆ และการใช้จ่ายสินค้าด้วยบัตรเครดิตให้ความรู้สึกสะดวกสบายมากกว่าการสแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้เกิดพฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัว และเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากการที่ไม่มีเงินมาชำระคืน ดังนั้นจึงควรใช้บัตรเครดิตยามจำเป็นเพื่อได้คะแนนสะสม หรือแต้มส่วนลด

2. จ่ายหนี้บัตรเครดิตให้ตรงเวลา

ผู้มีวินัยทางการเงินที่ดีจะชำระหนี้บัตรเครดิตทันทีเมื่อถึงวันจ่ายชำระ เพื่อรักษาประวัติเครดิตบูโร และป้องกันไม่ให้ลืมจ่ายหนี้จนถูกคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ซึ่งหากคุณกังวลว่าจะลืมจ่ายค่าบัตรเครดิต ก็สามารถเขียนโน้ตแจ้งเตือนผ่าน Cloud Pocket ของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ได้

3. ใช้โปรโมชันผ่อน 0% กับของราคาจับต้องได้

มนุษย์เงินเดือนหลังจากได้บัตรเครดิตใบแรก ก็มักนำไปผ่อน 0% กับสินค้าราคาแพง และจ่ายเงินผ่อนชำระไม่ไหว เมื่อไม่มีเงิน หลายคนจึงเลือกแก้ปัญหาด้วยการเปิดบัตรเครดิตเพิ่มเพื่อรูดซื้อของอื่นๆ สุดท้ายก็ไม่พ้นต้องแก้ปัญหาหนี้สินเรื้อรังด้วยการขอสินเชื่อรวมหนี้บัตรเครดิต ซึ่งสินเชื่อดังกล่าวคิดดอกเบี้ยสูงถึง 25% ต่อปี แถมใช้เวลาผ่อนชำระนานกว่าหนี้บัตรเครดิตอีกด้วย

4. หลีกเลี่ยงการกดเงินสดด้วยบัตรเครดิต

หากต้องการเบิกเงินสดเพื่อใช้เงินฉุกเฉิน ก็ควรสมัครบัตรกดเงินสดแทนการใช้บัตรเครดิต เพราะบัตรเครดิตออกแบบมาเพื่อผ่อนชำระสินค้าเท่านั้น ซึ่งการเบิกเงินสดออกมาแต่ละครั้งนอกจากจะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตแล้ว ยังเสียค่าธรรมเนียมเบิกถอน และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย

5. ตรวจสอบค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเครดิต

นอกจากจะต้องระวังอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตแล้ว ค่าธรรมเนียมก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อีกทั้งเงื่อนไขการจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีของแต่ละธนาคารก็ไม่เหมือนกัน โดยมีทั้งค่าธรรมเนียมคงที่รายปี และค่าธรรมเนียมกำหนดยอดการใช้จ่าย ถ้าคุณมองว่าไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมได้สม่ำเสมอ ก็ควรเลือกใช้บัตรเครดิตที่ไม่เสียค่าธรรมเนียม

6. MAKE by KBank ตัวช่วยบริหารเงิน ปลดหนี้บัตรเครดิต

หากลอง 5 วิธีที่ได้แนะนำไปข้างต้นแล้ว และยังใช้จ่ายเงินเกินตัว จนเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็นประจำ ทำไมไม่ลองใช้งาน แอปรายรับรายจ่าย MAKE by KBank? แอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ปลอดภัยสูง มาพร้อมกับ 3 ฟีเจอร์รู้ใจ ที่พร้อมแก้ปัญหารูดบัตรเครดิตเกินตัวดังนี้

  • Cloud Pocket

หากมีบัญชีหลายธนาคารทั้งบัญชีออมทรัพย์ บัญชีจ่ายค่าบัตรเครดิต บัญชีรับเงินเดือน ฯลฯ ทำให้ปวดหัวเป็นประจำเวลาโอนเงินระหว่างบัญชี และไม่รู้ว่าใช้เงินไปเท่าไหร่แล้ว แต่ถ้าดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank มาใช้งาน จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้เลย เพราะ Cloud Pocket จะแยกค่าใช้จ่ายแต่ละกระเป๋าได้อย่างชัดเจน ทำให้เห็นเงินเข้าออกตลอดเวลา และควบคุมการใช้จ่ายได้

  • Schedule Transfer

ถ้ากังวลว่างานยุ่ง จนไม่มีเวลาจัดสรรเงินเป็นสัดส่วน และกลัวว่าจะใช้เงินปนไปมาทำให้เก็บเงินไม่อยู่ เพียงแค่ใช้ฟีเจอร์ Schedule Transfer ก็จะตั้งค่าโอนเงินอัตโนมัติ จาก Cash Box เข้ากระเป๋า Cloud Pocket ได้ทุกเมื่อ ทำให้บริหารเงินได้อย่างเป็นสัดส่วน

  • Expense Summary

ใครไม่แน่ใจว่าตนเองมีประวัติการใช้จ่ายบัตรเครดิตเท่าไหร่ ถึงยอดตามที่กำหนดเพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีแล้วหรือยัง? เพียงแค่เปิด Expense Summary ขึ้นมา คุณก็จะเห็นประวัติการใช้จ่ายอย่างครบถ้วน ทำให้วางแผนได้ว่าควรใช้บัตรเครดิตที่เสียค่าธรรมเนียมรายปีหรือไม่ และถ้าได้สร้าง Cloud Pocket สำหรับแยกจ่ายค่าบัตรเครดิตเอาไว้แล้ว ก็จะเห็นว่าเราใช้จ่ายค่าบัตรเครดิตเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่อีกด้วย

ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิต ถ้ามีวินัยการเงินดีเยี่ยม

บัตรเครดิตหากใช้ให้ดีก็เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเสนอเครดิตเงินคืน ช่วยให้คุณประหยัดเงินได้จำนวนมาก แถมมอบคะแนนสะสมไว้แลกของต่างๆ ให้ด้วย และเมื่อชำระตรงเวลา ไม่จ่ายขั้นต่ำ ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้แก่ธนาคารแม้แต่บาทเดียว

อย่างไรก็ตาม การบริหารเงินไม่ดี ใช้บัตรเครดิตโดยไม่ยั้งคิด ก็ทำให้ต้องเสียค่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตอย่างไม่จำเป็น ดังนั้นหากต้องการผู้ช่วยจัดการเงิน ทำให้บริหารจัดการเงินได้ดีขึ้น จ่ายหนี้บัตรเครดิตได้ตรงเวลาเห็นรายละเอียดทุกค่าใช้จ่าย ไม่ใช้เงินเกินตัว เราแนะนำให้ดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank ที่เสนอผลตอบแทนถึง 1.5 % ต่อปี ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าแอปโมบายแบงก์กิ้งทั่วไป แถมถอนเงินได้ทุกเมื่อ ไม่ติดเงื่อนไขในการถอน หากสนใจ MAKE by KBank ถ้ามีบัญชีกสิกรอยู่แล้วสมัครผ่านแอปพลิเคชันได้ทันที แต่หากเปิดบัญชีกสิกรครั้งแรก ก็สมัคร MAKE by KBank ได้ เพียงนำบัตรประชาชนของคุณไปยืนยันตัวตนผ่านตู้ ATM กสิกรใกล้บ้าน ทำเสร็จแล้วก็เริ่มสมัครได้เลย!

Back to Home