สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

สมการการออมมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นเศรษฐี อ่านได้ที่นี่!

wealth-equation.jpg

หลังจากเริ่มต้นทำงาน ได้รับเงินเดือนเป็นครั้งแรก มนุษย์ออฟฟิศล้วนประสบปัญหาไม่รู้ว่าต้องเก็บเงินด้วยสมการการออมแบบไหนดี? ถึงจะมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นเศรษฐีได้ก่อนวัยเกษียณ สร้าง Passive Income มีรายได้ประจำสม่ำเสมอ ไม่ต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินอีกต่อไป

แล้วสมการการออมคืออะไร? ในบทความนี้ เราจึงขอชวนทุกคนมารู้จักกับสูตรดังกล่าวที่จะช่วยให้คุณเปลี่ยนมุมมองทางการเงินให้เป็นคนใหม่ แม้จะเริ่มต้นจากศูนย์ ก็สามารถเตรียมพร้อมเป็นเศรษฐีเงินล้านได้ในอนาคต!

รู้จักกับ 3 สมการการออมจากกลุ่มคน 3 มุมมอง ที่จะเปลี่ยนชีวิตทางการเงินไปตลอดกาล

  1. คนธรรมดา ออมทีหลัง ใช้เงินก่อน
  2. คนรวย เน้นเก็บก่อนใช้ทีหลัง
  3. เศรษฐีคิดถึงความเสี่ยง และให้เงินช่วยทำงาน
  4. สูตรคำนวณสมการการออมเงินที่เหมาะสมแต่ละช่วงอายุ ที่ช่วยวางแผนการออม
  5. แอปออมเงิน MAKE by KBank ตัวช่วยตอบโจทย์ทุกสไตล์การออมเงิน
  6. สมการการออมที่ดี ต้องมาพร้อมกับมุมมองทางการเงินที่ใช่

รู้จักกับ 3 สมการการออมจากกลุ่มคน 3 มุมมอง ที่จะเปลี่ยนชีวิตทางการเงินไปตลอดกาล

สมการการออม คือ สูตรเก็บเงินที่จะทำให้ทุกคนมีเงินออมเพิ่มขึ้นในทุกเดือน ซึ่งสามารถแบ่งสมการดังกล่าวตามมุมมองทางการเงินของคน 3 กลุ่ม ได้แก่ คนธรรมดา คนรวย และ เศรษฐีเงินล้าน

1. คนธรรมดา ออมทีหลัง ใช้เงินก่อน

คนธรรมดาผู้มีมุมมองทางการเงินแบบทั่วไป จะคิดว่าสมการการออมคือ รายได้ - รายจ่าย - หนี้สิน = เงินออม แต่บอกเลยว่าใครตั้งสมการการออมแบบนี้สุดท้ายเก็บเงินไม่อยู่แน่นอน เพราะก่อนถึงวันสิ้นเดือน ต้องเจอกับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ทั้งหนี้บัตรเครดิต, ค่าเช่าบ้าน, ค่าน้ำค่าไฟ แถมยังมีสิ่งล่อตาล่อใจอีกไม่น้อยที่ทำให้คุณอยากใช้เงินในกระเป๋า เช่น เครื่องเล่นเกมจัดโปรโมชันลดราคา หรือสกินตัวละครที่คุณชื่นชอบเปิดจำหน่าย

นอกจากจะไม่สามารถเก็บเงินได้ตามที่คาดหวังแล้ว ยังมีโอกาสใช้จ่ายเงินเกินตัว จนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน หรือรูดบัตรกดเงินสด ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 25% ต่อปี ยิ่งทำให้เดือนถัดไปเก็บเงินไม่อยู่ เพราะนำเงินไปชำระหนี้บัตรกดเงินสดจนหมดนั่นเอง

2. คนรวย เน้นเก็บก่อนใช้ทีหลัง

สมการการออมของคนธรรมดาเน้นใช้ก่อนค่อยออมภายหลัง ในขณะที่สมการการออมของคนรวยคือ รายได้ - เงินออม -หนี้สิน = รายจ่าย ซึ่งสาเหตุที่สมการการออมเป็นเช่นนี้ เพราะว่าคนรวยตระหนักเสมอว่าต้องออมเงินก่อนใช้จ่าย ทำให้ทุกเดือนมีเงินเหลือเก็บแน่นอน และถึงแม้ว่าคุณจะเป็นพนักงานออฟฟิศ ก็สามารถหักเงินออมได้ทันทีเมื่อเงินเดือนเข้าบัญชี ผ่านการใช้ฟังก์ชันหักเงินอัตโนมัติจากแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง แล้วโอนเงินไปยังบัญชีเงินฝากที่เปิดขึ้นมาเพื่อออมเงินโดยเฉพาะ เช่น บัญชีเงินฝากประจำ 48 เดือน เป็นต้น

ทำให้ผู้ตั้งสมการการออมเงินตามมุมมองของคนรวย นอกจากจะมีเงินเก็บสม่ำเสมอแล้ว ยังไม่ต้องเผชิญกับปัญหาหมุนเงินไม่ทัน เพราะขาดสภาพคล่องจากการที่ใช้จ่ายเงินเกินตัวในเดือนนั้นๆ อีกด้วย

และด้านการจัดการหนี้สินคนรวยจะหาทางลดดอกเบี้ยลง ผ่านการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์, เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ รวมทั้งโปะหนี้ทันทีเมื่อได้รับเงินโบนัสก้อนใหญ่ ในขณะที่คนธรรมดาจะผ่อนชำระหนี้สินไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้วางแผนบริหารจัดการ ทำให้ผู้มีแนวคิดจัดการเงินตามแบบฉบับคนรวยมีโอกาสปิดหนี้ เพื่อเริ่มต้นสร้างความมั่งคั่งได้เร็วกว่า

3. เศรษฐีคิดถึงความเสี่ยง และให้เงินช่วยทำงาน

สมการการออมของเศรษฐี คือ รายได้ - เงินออม (เงินใช้จ่ายฉุกเฉิน + เงินลงทุน) - หนี้สิน = ค่าใช้จ่าย โดยจะเห็นได้ว่าสมการการออมของเศรษฐีแตกต่างจากคนรวยตรงที่จะเก็บเงินสำรองฉุกเฉินด้วย เนื่องจากชีวิตคนเราไม่มีอะไรแน่นอน เศรษฐีหลายคนแม้มีเงินเก็บจำนวนมาก ก็ยังเสี่ยงต่อการล้มละลาย เพราะสภาพแวดล้อมของธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป จากการเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ

จึงทำให้เศรษฐีมีแนวคิดเก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าในช่วง 6 เดือนที่ตกงาน หรือธุรกิจล้มละลายอยู่จะสามารถมีเงินใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องยืมเงิน หรือขอสินเชื่อนอกระบบ ให้ปัญหาทางการเงินแย่ลงยิ่งกว่าเดิม

นอกจากนี้เมื่อเศรษฐีเก็บเงินสะสมสำหรับกรณีฉุกเฉินได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็จะแบ่งเงินเก็บบางส่วนไปซื้อประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อสร้างมั่นใจว่าหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน จะสามารถส่งต่อความมั่งคั่ง ให้แก่บุตรหลานได้ และเศรษฐียังนำเงินออมไปลงทุนต่อยอดสร้างความมั่งคั่ง ให้มีรายได้เข้ามาเป็นประจำ สำหรับวางแผนเกษียณอย่างมั่นคง เช่น ลงทุนในหุ้น หรือที่ดิน เพื่อได้รับเงินปันผล หรือค่าเช่ามากเพียงพอ จนครอบคลุมค่าใช้จ่ายในระดับที่เรียกว่าไม่ต้องทำงานหนักอีกต่อไป

แต่ทั้งนี้ การลงทุนก็มาพร้อมกับความเสี่ยงด้วยเช่นกัน ทำให้หากคาดหวังผลตอบแทนสูงจึงควรศึกษาบริษัทที่สนใจลงทุน ผ่านการศึกษางบการเงิน หรือทำเลอสังหาริมทรัพย์ให้ดี ว่าจะช่วยให้คุณสร้างรายได้สม่ำเสมอ จนกลายเป็นแหล่งรายได้หลักให้แก่ชีวิตระยะยาวหลังลาออกจากงานประจำได้

สูตรคำนวณสมการการออมเงินที่เหมาะสมแต่ละช่วงอายุ ที่ช่วยวางแผนการออม

เมื่อรู้จักกับสมการการออมของคน 3 กลุ่ม 3 มุมมองทางการเงินไปแล้ว สเต็ปต่อไปให้ทุกคนมารู้จักกับสูตรคำนวณการออมเงินกันได้เลยว่า ในแต่ละช่วงอายุของคนเราควรมีเงินออมเท่าไหร่ดี? ถึงจะเรียกว่าเหมาะสม โดยสูตรคำนวณสมการการออมเงินของคนแต่ละช่วงวัยคือ

เงินออมที่ควรเก็บได้ = 2 x (อายุปัจจุบัน - อายุเริ่มทำงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนที่เริ่มงาน)

หมายความว่าหากคุณเริ่มทำงานตอนอายุ 23 ปี ปัจจุบันอายุ 30 ปี ทำงานเดือนแรกเงินเดือน 15,000 บาท และเงินเดือนปัจจุบันเท่ากับ 30,000 บาท เงินออมที่ควรเก็บได้จะเท่ากับ

2x(30 - 23) x(30,000 + 15,000 บาท)

= 630,000 บาท

ทั้งนี้ เราเข้าใจว่าทุกคนมีภาระทางการเงินในครอบครัวแตกต่างกันออกไป ทำให้ไม่สามารถเก็บออมเงินได้เท่ากับสมการการออมสำหรับคนแต่ละช่วงวัยได้ แต่อย่างน้อยควรออมเงิน 10% ของรายได้เป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อให้ในอนาคตจากเงินก้อนเล็ก กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้

แอปออมเงิน MAKE by KBank ตัวช่วยตอบโจทย์ทุกสไตล์การออมเงิน

wealth-equation-for-money.jpg

แม้จะมีสมการการออมที่ดีแค่ไหน ถ้าขาดตัวช่วยการเก็บเงิน ความฝันมุ่งสู่อิสรภาพทางการเงินคงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นเราจึงพาทุกคนมารู้จักกับ “MAKE by KBank” แอปเก็บเงินของคนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณออมเงินเก่งมากกว่าใคร เมื่อได้ลองใช้งานแล้วบริหารเงินดีขึ้นแน่นอน

1. Cloud Pocket

เมื่อเงินเดือนออกแล้ว แต่ไม่รู้ว่าต้องออมเงินแบบไหนดี? พบกับตัวช่วยแก้ปัญหาอย่างฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่ให้คุณออกแบบสมการการออมเงินด้วยตนเอง ผ่านการสร้างกระเป๋าเงิน แล้วตั้งชื่อกระเป๋าตามวัตถุประสงค์การออมที่ต้องการได้เลย เช่น กระเป๋าออมหุ้น หรือกระเป๋าเงินฝากบัญชีเงินฝากประจำ เป็นต้น

แต่ถ้าชื่นชอบการเก็บเงินทีละน้อย เช่นวันละ 20 บาท, 50 บาท หรือ 100 บาท เพียงสร้าง Cloud Pocket และตั้งชื่อกระเป๋าเงินว่า “แผ่นออมเงิน” แล้วกดล็อกกระเป๋าเงิน คุณจะพบกับน้องเมค ผู้ช่วยวางแผนการเงินสุดอัจฉริยะที่ทำให้คุณออมเงินอย่างสนุก ผ่านตารางออมเงินที่น้องเมคสร้างสรรค์ขึ้น

ตารางออมเงินของน้องเมคจะกำหนดว่าแต่ละวันคุณต้องเก็บเงินจำนวนกี่บาท? และใช้เวลาเท่าไหร่เพื่อถึงเป้าหมายเงินออมที่ต้องการได้ ถ้าคุณเก็บเงินตามที่น้องเมคแนะนำ การเก็บเงิน 10,000 บาท ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

2. Expense Summary

หมดปัญหาไม่ต้องจดบัญชีรายรับรายจ่ายให้ปวดหัวอีกต่อไป ว่าใช้เงินแต่ละเดือนกับเรื่องอะไรบ้าง เพราะ Expense Summary ได้สรุปทุกข้อมูลการใช้จ่ายของ Cloud Pocket อย่างอัตโนมัติ ช่วยให้คุณทราบการเคลื่อนไหวของบัญชี Make by KBank ทุกขณะ และวางแผนการเงินปรับลดรายจ่ายได้มีประสิทธิภาพ

สมการการออมที่ดี ต้องมาพร้อมกับมุมมองทางการเงินที่ใช่

หวังว่าทุกคนจะได้คำตอบกันไปแล้วว่าคนทั้ง 3 กลุ่มมีแนวคิดการเก็บเงิน ผ่านสมการการออมอย่างไร แต่ทั้งนี้พื้นฐานการออมที่ดี เกิดจากการสร้างมุมมองทางการเงินที่ใช่ หมั่นออมเงินสม่ำเสมอ, ลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย, ไม่ก่อหนี้อย่างไม่จำเป็น เพียงเท่านี้คุณก็กลายเป็นคนใหม่ที่มีเงินมากกว่าเดิมได้

นอกจาก MAKE by KBank จะมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณออกแบบสมการออมเงินด้วยตนเอง อย่าง Cloud Pocket, แผ่นออมเงิน และ Expense Summary แล้ว เพียงแค่ฝากเงินเข้าไปยังได้ผลตอบแทนแบบจุกๆ ถึง 1.5% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงพอๆ กับบัญชีเงินฝากประจำ แต่มีข้อดีมากกว่าคือ สามารถถอนเงิน โอน สแกนจ่ายได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเดินทางไปเบิกถอนถึงสาขาของธนาคาร

รู้แบบนี้แล้วก็อย่ารอช้าดาวน์โหลด MAKE by KBank ได้เลยทั้งทาง App Store และ Play Store แถมภายในแอปยังมีกิจกรรมให้สมาชิกร่วมสนุกลุ้นของรางวัลต่างๆ มากมายอีกด้วย!

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ