8 วิธีแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทัน ให้ชีวิตไปต่อไม่มีสะดุด - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

8 วิธีแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทัน ให้ชีวิตไปต่อไม่มีสะดุด

can-not-make-money-in-time.jpg

ปัญหาหมุนเงินไม่ทัน นับเป็นเรื่องใหญ่ที่เจ้าของกิจการล้วนต้องเจอ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ใช้จ่ายมากเกินไป, เก็บเงินลูกหนี้การค้าไม่ได้ หรือรายได้ลดลง ฯลฯ ทำให้หลายธุรกิจต้องหยุดชะงัก หากร้ายแรงที่สุดไม่ก็คงไม่พ้นต้องปิดกิจการ

เพื่อให้ธุรกิจดำเนินกิจการต่อไปได้ เราจึงนำ 8 วิธีแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทัน มาแนะนำผู้ประกอบการมือใหม่ให้บริหารธุรกิจอย่างราบรื่น จนมีเงินเก็บสำหรับเตรียมพร้อมแผนการเงินในอนาคตได้ตามที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเก็บเงินแต่งงานกับคนที่คุณรัก หรือแม้แต่เก็บเงินซื้อบ้านสักหลัง

1.จัดทำงบบัญชีกระแสเงินสดด้วยตนเอง

งบกระแสเงินสดผู้ประกอบการมือใหม่อาจไม่ได้ให้ความสำคัญมาก เพราะมองว่าทำยากและซับซ้อน แต่รู้หรือไม่ว่างบกระแสเงินสดช่วยให้คุณทราบว่ามีเงินสดรับเข้า หรือจ่ายออกตรงส่วนใดบ้าง เมื่อทราบแล้วก็แก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทันได้อย่างตรงจุด

งบกระแสเงินสดประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1.เงินสดสำหรับการดำเนินงาน (CFO) เช่น รายการกำไร(ขาดทุน) ก่อนต้นทุนการเงินหรือภาษีเงินได้, ค่าเสื่อมราคา และต้นทุนการเงิน เป็นต้น

2.เงินสดสำหรับการลงทุน (CFI) อาทิ รายการเงินสดจ่ายจากเงินให้กู้ยืม หรือเงินสดรับจากการขายสินทรัพย์ถาวร ฯลฯ

3.เงินสดสำหรับกิจกรรมการจัดหาเงิน (CFF) เช่น เงินสดจ่ายชำระเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว เป็นต้น

ถ้ากระแสเงินสดส่วนใดเป็นบวก (+) แสดงว่ามีเงินสดเพิ่มเข้ามา แต่หากเป็นลบ (-) ย่อมหมายความว่าจ่ายเงินสดออกไป

เมื่อนำกระแสเงินสดทั้ง 3 บวกกันจะได้ผลเท่ากับเงินสดปลายงวด หากเงินสดปลายงวดออกมาน้อยกว่าเงินสดต้นงวด แสดงว่ามีการจ่ายเงินออกไปมากกว่ารับเงินเข้ามา

เช่น เงินสดต้นงวด ณ วันที่ 1 มกราคม 2566 เท่ากับ 6 ล้านบาท แต่เงินสดปลายงวด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 เหลือ 2 ล้านบาท แสดงว่ามีการจ่ายเงินสดออกไประหว่างปีเท่ากับ 4 ล้านบาท

งบกระแสเงินสดช่วยแก้ปัญหาไม่มีเงินในการหมุนเวียนธุรกิจได้ดีเยี่ยม เพราะทำให้ทราบได้ว่าจ่ายเงินออกไป หรือมีเงินเข้ามาในธุรกิจเพราะสาเหตุใดอะไรอีกบ้าง นอกเหนือจากตัวเลขกำไร-ขาดทุน

2. ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ก็ช่วยได้

หากการทำงบกระแสเงินสดเป็นเรื่องยาก ผู้ประกอบการมือใหม่อาจลองทำบัญชีรายรับรายจ่ายเบื้องต้น เพื่อแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทันได้เช่นกัน สูตรการคำนวณคือ

รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน)

การทำบัญชีดังกล่าวเรียกอีกอย่างว่าการจัดทำงบกำไร-ขาดทุน มีตัวอย่างดังนี้

ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย

บัญชีรายรับรายจ่ายของ ร้านอาหาร ABC

งวดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566

รายได้ 1,000 บาท

ค่าใช้จ่าย

ต้นทุนสินค้า 700

ค่าพนักงาน 400

ค่าเช่าร้าน 300 บาท

รวมค่าใช้จ่าย1,400 บาท

ขาดทุน (400) บาท

เห็นได้ว่าร้านค้าปลีก ABC ขาดทุน อาจเกิดจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ 1.รายได้ลดลง หรือ 2.ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป หากปล่อยให้เกิดการขาดทุนต่อเนื่อง จะทำให้เงินยิ่งไหลออก บางธุรกิจรู้ตัวอีกก็จ่ายเงินแสนออกไปแล้ว ส่งผลให้เกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทันตามมา

ถ้าต้องการทราบเหตุผลว่าขาดทุนเพราะอะไร ก็ควรทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกวัน เมื่อตรวจสอบย้อนหลังแล้วจะวิเคราะห์สาเหตุได้มากยิ่งขึ้น และหากต้องการข้อมูลเชิงลึก เพื่อประกอบการวิเคราะห์ การจัดทำงบกระแสเงินสด จะช่วยให้เห็นภาพรวมชัดเจนมากกว่าเดิม

3. ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มเงินสดจากการดำเนินงาน

จากงบกระแสเงินสดจะเห็นได้ว่าปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจมีเงินสดเข้ามาหรือไม่ คือ รายการกำไรก่อนต้นทุนการเงินหรือภาษีเงินได้ หากปรับลดรายการที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น ค่าใช้จ่ายซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ หรือซื้อซอฟต์แวร์ที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน จะช่วยให้บริษัทมีกำไรมากยิ่งขึ้น และแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทันได้ดีกว่าเดิมด้วย

4. หาช่องทางใหม่ๆ เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดให้ธุรกิจ

ไม่ใช่เพียงลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ปัญหาหมุนเงินไม่ทันยังสามารถแก้ไขด้วยการเพิ่มทุนจากเงินส่วนตัวของเจ้าของกิจการ ซึ่งจะช่วยเพิ่มเงินสดสำหรับกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF) มากขึ้น โดยปกติธุรกิจส่วนใหญ่ไม่นิยมนำเงินของเจ้าของมารวมกับการบริหารธุรกิจ เพราะแสดงให้เห็นว่าบริษัทไม่มีศักยภาพในการสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO)

แต่ถ้าจำเป็นต้องนำเงินส่วนตัวไปลงทุนจริงๆ ก็ควรวางแผนว่าจะใช้เวลากี่ปีถึงได้รับเงินทุนกลับมา ด้วยการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ให้มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ไม่อย่างนั้นแล้วก็ต้องเพิ่มทุนต่อไปเรื่อยๆ กลายเป็นว่ายิ่งทำธุรกิจทุนยิ่งจม

5. หาช่องทางเจรจากับเจ้าหนี้ขอเลื่อนการชำระเงิน

หากหมุนเงินมาจ่ายดอกเบี้ยสินเชื่อไม่ทัน อาจลองแก้ปัญหาด้วยการเจรจาขอเลื่อนวันผ่อนชำระ เจ้าของกิจการมือใหม่ไม่ต้องกังวลไปว่าจะไม่สามารถขอเลื่อนได้ เพราะสถาบันการเงิน ก็ต้องการเงินต้นคืนเช่นกัน เพราะดีกว่าปล่อยให้เกิดหนี้สูญ

และไม่ใช่เพียงพูดคุยกับเจ้าหนี้เพื่อขอเลื่อนวันชำระเงินเท่านั้น เพราะยังสามารถเจรจาขอลดอัตราดอกเบี้ย หรือขอลดยอดหนี้ได้ด้วย ส่วนจะลดได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับทักษะการเจรจาของแต่ละคน

6. อย่าลืมตรวจสอบโครงสร้างราคาและบริการของกลุ่มธุรกิจ

สัญญาณอันตรายที่เจ้าของกิจการควรทราบคือ รายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ขายสินค้าชนิดเดิม สาเหตุหลักคงหนีไม่พ้นกับสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด, ผู้บริโภคหันไปซื้อทางออนไลน์ ฯลฯ

แม้ช่วงแรกเจ้าของธุรกิจอาจไม่ทันได้สังเกตเห็นถึงปัญหา แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะพบว่ายอดขายตกลงอย่างหนัก ทำให้ประสบกับปัญหาขาดทุนจำนวนมาก และหมุนเงินไม่ทันจนต้องปิดกิจการไปในที่สุด

ดังนั้นการทำธุรกิจในยุคปัจจุบันผู้ประกอบการควรหมั่นอัปเดตข้อมูลสภาพธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการตรวจสอบโครงสร้างราคาและบริการของอุตสาหกรรม เพราะทุกวันนี้เทรนด์ของธุรกิจเปลี่ยนเร็ว การทำธุรกิจรูปแบบเดิมอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป จึงต้องหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อปรับตัวอยู่เสมอ

7. ขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงิน ก็ช่วยได้

ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยนับเป็นหนึ่งในต้นทุนที่มองข้ามไม่ได้ เพราะหลายธุรกิจเมื่อนำรายได้หักลบด้วยต้นทุนสินค้าพบว่ามีกำไรขั้นต้นเยอะมาก แต่หลังจากคิดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยกลายเป็นว่าจากกำไร เปลี่ยนเป็นขาดทุนสุทธิทันที ซึ่งต้นทุนการเงินเป็นปัจจัยที่ทำให้กระแสเงินสดในส่วนของการดำเนินงาน (CFO) ลดลง

หากธุรกิจไม่ควบคุมค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ก็ย่อมส่งผลต่อสภาพคล่อง นำมาสู่ปัญหาหมุนเงินไม่ทัน ทางแก้ไข คือ ขอสินเชื่อรวมหนี้ เพื่อให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลง แถมสินเชื่อรวมหนี้ยังช่วยให้บริหารจัดการหนี้หลายก้อนเป็นเรื่องง่ายด้วย

8. บริหารเงินง่ายๆด้วย MAKE by KBank

นอกจากหาทางเพิ่มกระแสเงินสด ได้แก่ CFO, CFI และ CFF ตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ทักษะการบริหารเงินที่ดี เช่น ตรวจสอบข้อมูลรายจ่ายให้ครบถ้วน หรือตั้งงบประมาณการใช้จ่ายล่วงหน้า ก็ช่วยแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทันได้เช่นกัน

หากกำลังมองหาผู้ช่วยให้การบริหารเงินธุรกิจเป็นเรื่องง่าย ลดความเสี่ยงหมุนเงินไม่ทัน ไม่ควรพลาดกับแอปเก็บเงิน MAKE by KBank ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์เด็ดอย่าง Expense Summary และ Cloud Pocket ที่ตอบโจทย์การวางแผนการเงิน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

why-you-can-not-make-money-in-time.jpg

1. Expense Summary

ลืมการทำบัญชีกระแสเงินสด และการทำงบกำไร-ขาดทุนแบบเดิมไปได้เลย เพราะ Expense Summary ได้รวบรวมข้อมูลทุกค่าใช้จ่ายแบบอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าที่, ค่าจ้างพนักงาน หรือต้นทุนวัตถุดิบ ฯลฯ ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายดียิ่งขึ้น แก้ไขสาเหตุหมุนเงินไม่ทันอย่างตรงจุด

ที่สำคัญ Expense Summary ยังช่วยตรวจสอบข้อมูลการใช้จ่ายย้อนหลังได้อย่างรวดเร็ว แถมฟีเจอร์ยังดีไซน์ให้ใช้งานสะดวกด้วยการประมวลข้อมูลเป็นรูปภาพ ซึ่งเข้าใจง่ายกว่าธุรกรรมการเงินทั่วไปที่แสดงในบัญชี Statement

2. Cloud Pocket

เจ้าของธุรกิจมีเรื่องการเงินให้ต้องจัดการมากมาย ทั้งเงินในกิจการและเงินส่วนตัว ถ้าบริหารไม่ดีรับรองว่าได้เอาเงินใช้จ่ายส่วนตัวมาจ่ายกับเรื่องของธุรกิจแน่นอน แต่ปัญหาจะหมดไปด้วยฟีเจอร์ “Cloud Pocket” ที่ให้คุณสร้างกระเป๋าเงินได้ตามต้องการ เช่น กระเป๋าใช้จ่ายส่วนตัว หรือกระเป๋ารายรับบริษัท ทำให้บริหารเงินง่ายยิ่งขึ้น

แถมกระเป๋า Cloud Pocket มาพร้อมกับคุณสมบัติตั้งค่าการโอนเงินอัตโนมัติ หมดห่วงเรื่องจ่ายค่าใช้จ่ายประจำของธุรกิจไปได้เลย เช่น เมื่อถึงเวลาจ่ายเงินให้พนักงาน เพียงแค่โอนเงินเข้ามาในกระเป๋าเงิน แล้วตั้งค่าวันที่จ่าย ก็โอนเงินได้ทันที ทำให้นอกจากควบคุมงบประมาณรายจ่ายได้แล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาลืมจ่ายเงินด้วย

ใช้แอป “MAKE by KBank” ตัวช่วยแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทันได้ง่ายๆ

จะเห็นได้ว่า 8 วิธีแก้ปัญหาหมุนเงินไม่ทัน เมื่อสรุปออกมาแล้วมีหัวใจหลัก 3 ข้อคือ 1.เพิ่มรายได้, 2.ลดค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายด้านการเงิน, ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และ 3.เพิ่มทุนเข้าไปในกรณีที่ธุรกิจขาดสภาพคล่อง

หากสนใจแอป MAKE by KBank ที่นอกจากมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ช่วยให้ตรวจสอบค่าใช้จ่าย หมดปัญหาขาดสภาพคล่องแล้ว เพียงแค่ฝากเงินไว้ยังได้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.5% ต่อปี มาเริ่มดาวน์โหลด MAKE by KBank ตั้งแต่วันนี้ ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android เพื่อเตรียมพร้อมไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ และมีเงินล้านกันได้เลย

กลับไปหน้าแรก