รวมจุดสำคัญของงบการเงินที่ควรรู้ว่าบอกอะไรเจ้าของธุรกิจบ้าง? - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

รวมจุดสำคัญของงบการเงินที่ควรรู้ว่าบอกอะไรเจ้าของธุรกิจบ้าง?

financial-statements.jpg

ปัญหาของผู้ประกอบกิจการ คือ การบริหารเงิน เพราะเจ้าของธุรกิจมักทราบดีเกี่ยวกับด้านการตลาด รวมถึงจุดแข็ง-จุดอ่อนของผลิตภัณฑ์และบริการ เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักที่สร้างรายได้ให้แก่องค์กร จึงไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องการเงินเท่าที่ควร จากการที่ไม่ได้ส่งผลต่อการสร้างกำไรโดยตรงเท่าไหร่นัก

อย่างไรก็ตามการบริหารเงิน ก็มีความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่นๆ ในการบริหารกิจการ ด้วยเหตุนี้เราจึงนำความสำคัญของงบการเงิน มาฝากผู้ประกอบการหน้าใหม่ ให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย ประสบความสำเร็จ จนมีเงินแสน เงินล้านในอนาคต

งบการเงิน คืออะไร

การทำธุรกิจมีปัจจัยที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น จ่ายเงินค่าจ้างพนักงาน, จ่ายเงินค่าวัตถุดิบ หรือจ่ายค่าเช่าสถานที่ ฯลฯ และนอกจากการจ่ายเงินออกแล้ว ยังมีเงินเข้ามาด้วย เช่น เงินกู้ยืม, รายได้, กำไรสะสม จะเห็นได้ว่าหากไม่มีการจัดทำรายงานงบการเงินที่ช่วยแสดงสถานะการดำเนินงานของกิจการอย่างเป็นระบบ เจ้าของธุรกิจก็อาจสับสนได้นั่นเอง

ความสำคัญของงบการเงินที่เจ้าของธุรกิจควรทราบ

งบการเงินช่วยให้ผู้ประกอบการทราบสภาพธุรกิจว่าตกลงแล้วในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้รับกำไรจริงหรือไม่? หรือเงินที่เพิ่มขึ้นมา เพราะว่าเผลอใช้เงินส่วนตัวเข้ามาร่วมในการบริหารบริษัท ทั้งที่ตัวธุรกิจเองไม่สามารถสร้างกำไรได้เลย

งบการเงินยังมีบทบาทในการวางแผน และตัดสินใจเรื่องสำคัญต่างๆ เช่น การขยายโรงงานใหม่, การพิจารณาจ่ายเงินเดือนพนักงาน หรือแม้แต่การจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร งบการเงินจึงเป็น วิธีบริหารเงิน ในแบบฉบับของเจ้าของกิจการ ที่ช่วยให้การบริหารธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมทั้งลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น

งบการเงิน ประกอบด้วยอะไรบ้าง

งบการเงินประกอบด้วย 4 งบหลักดังนี้

1.งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุนเป็นงบการเงินที่ผู้ประกอบการ SMEs คำนวณด้วยตนเองได้ง่ายๆ ผ่านสูตร

รายได้ - ค่าใช้จ่าย = กำไร (ขาดทุน)

หากเป็นกิจการที่จดทะเบียนธุรกิจแล้วมีกำไร ก็จำเป็นต้องคำนวณค่าใช้จ่ายภาษีเข้าไปด้วย โดยงบกำไร-ขาดทุนเป็นงบการเงินที่ดูง่ายที่สุด เพราะหากค่าออกมาเป็นบวก ก็หมายความว่าธุรกิจได้กำไร แต่ถ้าเป็นลบ ก็ย่อมหมายถึงในปีนั้นธุรกิจขาดทุน

เมื่อทราบว่าธุรกิจขาดทุนแล้ว ก็นำไปสู่การวิเคราะห์ธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพว่าขาดทุนจากปัจจัยใด? เช่น ต้นทุนสูงเกินไป หรือรายได้ในช่วงที่ผ่านมาลดลง และช่วยวิเคราะห์คู่แข่งในธุรกิจเดียวกันได้ด้วยว่าทำไมคู่แข่งถึงสร้างยอดขายได้มากกว่า หรือทำกำไรได้สูงกว่านั่นเอง

ตัวอย่างของงบกำไรขาดทุนเบื้องต้น ดังนี้

ร้านค้าปลีก AAA

งวดสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566

รายได้ 1,000,000 บาท

ค่าใช้จ่าย

ต้นทุนขายและบริการ 600,000 บาท

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 300,000 บาท

รวมค่าใช้จ่าย 900,000 บาท

กำไรสำหรับงวด 100,000บาท

โดยตัวเลขกำไรสำหรับงวด จะนำไปคำนวณในส่วนของงบการเงินอื่นๆ ต่อไป

2.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

เป็นงบการเงินที่ให้เจ้าของกิจการทราบว่าการดำเนินธุรกิจในช่วงผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงรายการส่วนของผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้าง เช่น ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากกำไรสะสม, ลดลงจากการขาดทุน หรือทุนลดลงเพราะปันผลให้ผู้ถือหุ้นมากเกินไป ทำให้ประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจได้แม่นยำขึ้น

ตัวอย่างการคำนวณงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สมมติให้ร้านค้าปลีก AAA เริ่มต้นดำเนินธุรกิจในปีแรก โดยเจ้าของกิจการลงเงินทุนไป 1 ล้านบาท
จะได้ว่า

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2566

เงินลงทุนเพิ่มระหว่างปี 1,000,000 บาท

รวมเงินทุนจากเจ้าของกิจการ 1,000,000 บาท

กำไรสำหรับงวด 100,000 บาท

หักเจ้าของถอนใช้ส่วนตัว (150,000) บาท

ทุนเพิ่ม (ลด) (50,000) บาท

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566950,000 บาท

กรณีนี้หากเจ้าของกิจการเปิดงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น จะเข้าใจได้ทันทีว่าในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา แม้จะได้กำไรก็จริงจากงบกำไร-ขาดทุน แต่เจ้าของกิจการนำเงินไปใช้จ่ายส่วนตัว ทำให้ส่วนของทุนลดลงนั่นเอง

3.งบแสดงสถานะทางการเงิน

เรียกอีกชื่อว่างบดุล โดยงบแสดงสถานะทางการเงินมี 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.สินทรัพย์, 2.หนี้สิน และ 3. ส่วนของเจ้าของ ซึ่งความสัมพันธ์ของ 3 องค์ประกอบ แสดงได้จากสมการ

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

ความสำคัญของงบดังกล่าว คือ ช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจทราบว่าสถานะทางการเงินเบื้องต้นของกิจการเป็นอย่างไร หมายความว่าหากส่วนของเจ้าของมากกว่าหนี้สิน ย่อมบ่งบอกว่ากิจการนี้มีความมั่นคงสูง และมีความสามารถในการชำระหนี้ แต่ถ้าหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของเมื่อไหร่ ก็แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงสูง และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้

4.งบกระแสเงินสด

หากสงสัยว่ากิจการทำกำไรได้จำนวนมาก แต่ไม่มีเงินหมุนเวียนอยู่ในบริษัทอยู่เลย เป็นเพราะอะไรกันแน่? ปัญหาจะหมดไปเมื่อเจ้าของกิจการจัดทำงบการเงินที่เรียกว่า งบกระแสเงินสด โดยความสำคัญของงบดังกล่าว คือ ช่วยให้เจ้าของกิจการเข้าใจว่าเงินมีการได้มา และใช้จ่ายเงินออกไป เพราะสาเหตุใด

เมื่อทราบแล้วว่าเงินสดของธุรกิจเข้ามา และออกไปเพราะอะไร ก็สามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น เมื่อพบว่าจ่ายเงินลงทุนมากเกินไป ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น ก็สามารถวางแผนโดยชะลอการลงทุน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ และเตรียมพร้อมกับค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยในอนาคต เป็นต้น

หมายเหตุประกอบงบการเงินคืออะไร สำคัญอย่างไรกับงบการเงิน

แม้ว่างบการเงินจะแสดงตัวเลขทางการเงินออกมาในรายงานแล้ว แต่ยังมีข้อมูลเชิงลึกบางประการที่งบการเงินไม่ได้แสดงไว้อย่างชัดเจน เช่น ระยะเวลาคงค้างของลูกหนี้การค้า, การให้เงินกู้ยืมระยะสั้นระหว่างบริษัทย่อย หรือรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร ฯลฯ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน จึงช่วยให้เจ้าของกิจการ และหุ้นส่วนเข้าใจข้อมูลในภาพรวมของบริษัทมากยิ่งขึ้น ทำให้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง เช่น การมีระยะเวลาคงค้างลูกหนี้การค้านานกว่า 90 วัน ย่อมหมายความว่าระหว่างนี้บริษัทจะยังเก็บเงินไม่ได้ ดังนั้นจึงควรเตรียมเงินสดสำรองให้มากพอ เพื่อหมุนเวียนในธุรกิจนั่นเอง

ข้อควรรู้! เกี่ยวกับงบการเงินมีตัวเลขอะไรบ้างที่ควรทราบ

หลังจากทุกคนได้ทำความรู้จักกับงบการเงินทั้ง 4 ประเภท และหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การทำความเข้าใจตัวเลขอื่นๆ ที่ปรากฏในงบการเงินก็สำคัญเช่นกัน เพราะช่วยให้เจ้าของธุรกิจอ่านงบเข้าใจยิ่งขึ้น นำไปสู่การวิเคราะห์สภาพธุรกิจที่แท้จริงได้อย่างถูกต้อง ดังนี้

  • กำไรขั้นต้น

สูตรคำนวณ คือ รายได้ - ต้นทุน เป็นตัวเลขบอกถึงความสามารถในการบริหารต้นทุน และสร้างรายได้ของกิจการ หากกำไรขั้นต้นติดลบ ย่อมหมายว่าธุรกิจบริหารต้นทุนไม่ดี อาจเกิดจากในปีนั้นราคาวัตถุดิบสูงเกินผิดปกติ หรือรายได้ลดลงเพราะไม่มียอดสั่งซื้อสินค้า

  • สินค้าคงเหลือ

หากต้องการตรวจสอบว่าในช่วงที่ผ่านมาขายสินค้าได้หรือไม่? สามารถเช็กได้จากตัวเลขในส่วนของสินค้าคงเหลือ ถ้าตัวเลขปรับตัวขึ้นทุกปี แสดงว่าสินค้าที่ผลิตขึ้นมาจำหน่ายไม่ได้เลย ทำให้ธุรกิจมีแนวโน้มขาดทุนในอนาคต

  • หนี้สินหมุนเวียน

แสดงข้อมูลหนี้สินระยะสั้นมีกำหนดชำระภายใน 1 ปี เช่น เจ้าหนี้การค้า, หรือเงินกู้ระยะสั้น หากตัวเลขหนี้สินหมุนเวียนสูง ธุรกิจจำเป็นต้องสำรองเงินสดเพิ่ม เพื่อเตรียมจ่ายหนี้ในส่วนดังกล่าว

  • กระแสเงินสดจากการดําเนินงาน

ถ้าสงสัยว่าการทำธุรกิจมีเงินสดเข้ามาหรือไม่? ก็ตรวจสอบได้จากข้อมูลในส่วนนี้ หากตัวเลขออกมาเป็นบวก ย่อมหมายถึงมีเงินสดเข้ามาจริง แต่ถ้าติดลบ ก็แสดงว่าจ่ายเงินออกไป ข้อควรระวัง คือ หากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบทุกปี แสดงว่าธุรกิจสร้างกระแสเงินสดไม่ได้เลย ทำให้มีโอกาสผิดนัดชำระหนี้ ในกรณีที่หมุนเงินไม่ทัน

MAKE by KBank ตัวช่วยสำคัญทางด้านการเงิน

what-is-financial-statements.jpg

แอปเก็บเงิน MAKE by KBank นอกจากเป็นแอปพลิเคชันที่ออกแบบมาเพื่อเริ่มต้นออมเงินแล้ว ยังช่วยจัดทำงบการเงินให้แก่เจ้าของธุรกิจ SMEs ด้วย 2 ฟีเจอร์หลัก ได้แก่ 1. Cloud Pocket และ Expense Summary โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่แบ่งเงินออกเป็นสัดส่วน ผ่านการสร้างกระเป๋าเงิน ช่วยให้เจ้าของกิจการบริหารเงินง่ายขึ้น ไม่นำเงินทุนมาผสมกับเงินใช้จ่ายส่วนตัว เช่น เงินทุน 1 ล้านบาท ก็แบ่งใส่กระเป๋าเงินจ่ายค่าเช่าสถานที่ 500,000 บาท, กระเป๋าจ่ายค่าวัตถุดิบ 300,000 บาท และกระเป๋าจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร 200,000 บาท เป็นต้น

เมื่อมีรายรับเข้ามาแล้ว ก็สร้างกระเป๋าเงินที่มีชื่อว่ากระเป๋ารายได้ จากนั้นก็โอนเงินเข้าไป และสร้างกระเป๋าใช้จ่ายส่วนตัวแยกออกมาต่างหาก เพียงเท่านี้คุณก็ไม่สับสนระหว่างเงินส่วนตัว กับรายได้ของกิจการแล้ว ทำให้การบริหารเงินมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2. Expense Summary

ฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจไม่ต้องเสียเวลาจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย แบบเดิมๆ เพราะ Expense Summary ได้สรุปรายการค่าใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ ทำให้เจ้าของกิจการมือใหม่ทราบว่า โอนเงินซื้อของอะไรไปแล้วบ้าง เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ, ค่าจ้างพนักงาน เมื่อถึงเวลาต้องจัดทำงบการเงินจริงๆ ก็ดึงข้อมูลของ Expense Summary ไปใช้งานได้เลย

ดาวน์โหลดMAKE by KBank ตัวช่วยจัดทำงบการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

เห็นได้ว่างบการเงินประกอบด้วย 4 งบหลักดังที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งประโยชน์ของงบแต่ละแบบ
ก็แตกต่างกันออกไป ทำให้การบริหารธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ ต้องประยุกต์การใช้งานงบทั้ง 4 อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์

ถ้าต้องการผู้ช่วยจัดทำงบการเงินเบื้องต้นง่ายๆ ในแบบฉบับของธุรกิจ SMEs สามารถดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank ได้เลยตั้งแต่วันนี้ เพื่อบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างกำไรในระยะยาว

กลับไปหน้าแรก