เลือกออมเงินแบบไหนดี ที่ออมแล้วเวิร์ก เห็นผลจริง!
เมื่อเก็บเงินถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งใจเอาไว้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงมองหาแหล่งเงินออมที่จะช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางนอกเหนือจากงานประจำ เพื่อสามารถเก็บเงินซื้อบ้าน, มีเงินซื้อรถยนต์ รวมไปถึงมีอิสรภาพทางการเงินเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณ
แต่การออมเงินก็มีหลายช่องทาง จนไม่รู้ว่าต้องออมเงินแบบไหนดี? ถึงจะเวิร์กที่สุด เราจึงนำ 7 รูปแบบการออมเงินยอดฮิตมาฝากทุกคน เพื่อให้เก็บเงินถึงเป้าหมายที่ต้องการ และเป็นแนวทางให้ผู้เก็บเงินไม่อยู่ เริ่มต้นมีเงินออมสำหรับอนาคตได้อีกด้วย
1. ออมในรูปแบบเงินฝากออมทรัพย์
เงินฝากออมทรัพย์เป็นการออมเงินที่ให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการออมประเภทอื่น เพราะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการขาดทุน แถมเงินที่ฝากเอาไว้ก็สามารถถอน โอน จ่าย ได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร เวลาไม่มีเงินสดพกติดตัว
แล้วควรออมเงินแบบไหนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝากออมทรัพย์? คำตอบคือ บัญชีเงินฝากประจำนั่นเอง แต่บัญชีเงินฝากประจำ ต้องฝากเงินเป็นประจำทุกเดือน และเงื่อนไขในการถอนเงินซับซ้อนกว่า เช่น เงินฝากประจำ 12 เดือน หมายความอีก 12 เดือนข้างหน้าถึงจะถอนเงินได้ ถ้าถอนเงินก่อนระยะเวลากำหนด จะได้ดอกเบี้ยในเรทของดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แทน
2. สลากออมสิน ก็เป็นตัวเลือกออมเงินที่น่าสนใจ
ถ้ากำลังตั้งคำถามว่าออมเงินแบบไหนดี? ที่ให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ไม่ควรพลาดกับสลากออมสิน เพราะนอกจากจะให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีแล้ว ยังมีโอกาสลุ้นเงินรางวัลใหญ่อีกด้วย แถมเงินรางวัล และดอกเบี้ยไม่ต้องเสียภาษีเหมือนกับดอกเบี้ยเงินฝาก
3. ออมทองคำ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
การออมเงินในทองคำก็เป็นวิธีเก็บเงินของมนุษย์เงินเดือนยอดฮิตเช่นกัน เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ผลตอบแทนทองคำโดยเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากทุกคนมั่นใจว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่จะอยู่ได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นเกิดสงคราม หรือโรคระบาด
แล้วควรออมเงินกับทองแบบไหนดีถึงจะตอบโจทย์มากที่สุด? เพราะการลงทุนทองมีหลายประเภท เช่น กองทุนรวมทองคำ หรือการออมทอง ถ้าไม่ได้ต้องการถือทองจริงๆ การลงทุนในกองทุนรวมทองคำเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่หากอยากมีทองใส่เป็นเครื่องประดับ เราแนะนำให้ออมทองแทน
4. มีเงินเย็น รับความเสี่ยงต่ำ แนะนำให้ซื้อพันธบัตร
หากมีเงินเย็นอยู่ก้อนหนึ่งแล้วสงสัยว่าควรออมเงินแบบไหนดี? ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าสลากออมสินและการฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ เราแนะนำให้ซื้อพันธบัตรรัฐบาล เพราะจ่ายตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณ 2-3% ต่อปี ส่วนงวดการจ่ายดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่พันธบัตรนั้นๆ กำหนด
แต่การออมเงินในพันธบัตรรัฐบาล จะมีระยะเวลาไถ่ถอน เช่น พันธบัตรรุ่นอายุ 7 ปี (SB305A) อัตราดอกเบี้ย 2.70% ต่อปี หมายความว่า ถ้าคุณซื้อพันธบัตรชนิดนี้ 1 ล้านบาท อีก 7 ปีข้างหน้าถึงจะได้เงินต้นคืน การออมเงินในพันธบัตร จึงควรเป็นเงินเย็นเท่านั้น เพราะไม่สามารถถอนเงินออกมาได้เหมือนกับบัญชีเงินฝาก
และพันธบัตรรัฐบาล ก็มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อพันธบัตรของประเทศที่ไม่มีการจัดอันดับเรทติ้ง หรือมีเรทติ้งต่ำกว่าระดับ BB+ ไปจนถึง D การซื้อพันธบัตรจึงควรพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดการผิดนัดชำระด้วย ไม่อย่างนั้นแล้วจะสูญเสียเงินต้นทั้งหมด
5. รู้จักกับการลงทุนเป็นอย่างดี แนะนำให้ออมในหุ้น
ออมเงินแบบไหนดี? ที่ให้ผลตอบแทนสูง ไม่ควรพลาดกับการออมหุ้น เพราะให้ผลตอบแทนมากกว่า 10% ต่อปี หากคุณเข้าใจ และมีความรู้ด้านการลงทุนมากเพียงพอ แต่การลงทุนหุ้นมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากกว่าการลงทุนอื่นๆ ด้วย เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ทำให้หุ้นขึ้น-ลง เช่น ปัจจัยจากตลาดต่างประเทศ หรือปัจจัยภายในของบริษัทที่กำลังลงทุนอยู่
ดังนั้นก่อนลงทุนหุ้นจึงควรศึกษาให้รอบคอบ ไม่ว่าจะด้านเทคนิค งบการเงิน หรือแม้แต่การบริหารจัดการเงิน เพื่อให้คุณอยู่รอดได้ในระยะยาว ที่สำคัญก่อนซื้อหุ้นควรศึกษาค่าธรรมเนียมการซื้อขายของแต่ละโบรกเกอร์ด้วย เพราะแต่ละโบรกมีค่าธรรมเนียมไม่เหมือนกัน
6. ซื้อกองทุนรวม หนึ่งในตัวเลือกการออมที่ไม่ควรมองข้าม
ถ้ากำลังตั้งคำถามว่าออมเงินแบบไหนดี ที่ให้ผลตอบแทนไม่แพ้หุ้น? เราแนะนำการลงทุนในกองทุนรวม เพราะเป็นเครื่องมือที่เหมาะกับมือใหม่ เนื่องจากสินทรัพย์ที่ผู้จัดการกองทุนเลือกถือว่ามีคุณภาพในระดับหนึ่ง และคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวได้ แถมไม่ต้องใช้เวลาบริหารจัดการพอร์ตลงทุนเหมือนกับการลงทุนหุ้น
แต่ก่อนซื้อกองทุนรวมควรอ่านหนังสือชี้ชวนเสมอ เพราะกองทุนแต่ละแห่งเลือกลงทุนในสินทรัพย์แตกต่างกัน เช่น กองทุน A อาจเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเท่านั้น ทำให้ผลตอบแทนน้อย ในขณะที่กองทุน B ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่ก็แลกมาด้วยผลตอบแทนที่สูงกว่า
ดังนั้นหากไม่ได้อ่านรายละเอียดของกองทุนให้ดี ก็มีโอกาสขาดทุน จากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของกองทุน ทำให้ประเมินแผนการลงทุนผิดพลาดไปนั่นเอง และจังหวะเข้าซื้อหน่วยลงทุนก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยแนะนำให้เริ่มซื้อกองทุนเมื่อราคากองทุนปรับตัวลงมาแล้ว เพื่อได้รับผลตอบแทนคุ้มค่าในระยะยาว
7. คาดหวังผลตอบแทนระยะยาว ออมในอสังหาริมทรัพย์ ก็น่าสนใจ
อสังหาริมทรัพย์เป็นการออมเงินยอดฮิตสำหรับผู้มีเงินเย็น เพราะราคาอสังหาฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ใช่ว่าอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทจะให้ผลตอบแทนกลับมาเสมอไป เช่น หากซื้อที่ดินที่มีหนองน้ำ ราคาจะปรับตัวขึ้นยาก เพราะการปรับผิวที่ดินต้องจ่ายเงินค่าถมดินจำนวนมาก ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน
การลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ จึงควรศึกษาลักษณะของอสังหาฯ แต่ละประเภทด้วย เพื่อให้คุณทราบว่าควรออมเงินในอสังหาริมทรัพย์แบบไหนดี?ถึงจะมีโอกาสสร้างผลกำไรในระยะยาว
อีกหนึ่งตัวช่วยออมเงินที่ทุกคนไม่ควรพลาดอย่าง “MAKE by KBank”
หลังจากทำความรู้จักกับ 7 รูปแบบการออมเงินที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรออมเงินแบบไหนดีไปแล้ว หากกำลังมองหาตัวช่วยเก็บเงิน พร้อมให้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปี ไม่ควรพลาดกับ MAKE by KBank โดยมีรายละเอียดของฟีเจอร์ที่น่าสนใจดังนี้
1. Cloud Pocket
หากต้องการออมเงินหลายประเภท แต่ไม่รู้ว่าจะจัดสรรเงินอย่างไร? ปัญหาจะหมดไป ด้วยฟีเจอร์ Cloud Pocket ผู้ช่วยให้การบริหารเงินออมเป็นเรื่องง่าย ผ่านการสร้างกระเป๋าเงินตามสไตล์ที่คุณต้องการ ด้วยการตั้งชื่อกระเป๋าเงินเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ เช่น กระเป๋าออมทอง หรือกระเป๋าซื้อกองทุนรวม เป็นต้น นอกจากนี้ Cloud Pocket ยังสามารถตั้งเป้าหมายในการออมเงินและทำการล็อค Cloud เพื่อป้องกันการโอนเงินออกได้อีกด้วย
2. Expense Summary
ลืมการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบเดิมไปได้เลย เพราะ Expense Summary บันทึกค่าใช้จ่ายทันทีเมื่อมีรายจ่ายเกิดขึ้น ทำให้ข้อมูลการใช้จ่ายตรงตามความเป็นจริงมากกว่าการจดบันทึกรายรับรายจ่ายด้วยสมุดและปากกา ทำให้คุณวางแผนการออมเงิน ด้วยการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. Pop Pay
ฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อให้การโอนเงินระหว่างคนรู้จักให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะการโอนเงินรูปแบบเดิม ต้องกรอกเลขที่บัญชี ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำธุรกรรมโอนในที่มีผู้คนอยู่จำนวนมาก
จึงมีโอกาสกรอกเลขที่บัญชีผิด
ในขณะที่ Pop Pay สามารถโอนเงินได้ทันทีผ่านระบบ Bluetooth เมื่อมีผู้ใช้งาน MAKE by KBank ที่อยู่ใกล้เคียงในระยะ 10 เมตร ไม่ต้องกรอกเลขที่บัญชี หรือแม้แต่ขอเลขพร้อมเพย์ให้เสียเวลาอีกต่อไป
4. Chat Banking
ฟีเจอร์ที่สรุปข้อมูลการใช้จ่ายในรูปแบบแชต ซึ่งดูรายละเอียดการใช้จ่ายง่ายกว่าการตรวจสอบ Statement ย้อนหลัง เพราะมีรูปภาพช่วยให้เช็กข้อมูลง่ายกว่าตัวเลขเพียงอย่างเดียว ทำให้ทราบได้อย่างรวดเร็วว่าโอน ถอน จ่าย ไปยังปลายทางบัญชีใดบ้าง
5. Money Request
หากเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าทวงเงินเพื่อน หรือคิดว่าทวงไปแล้วจะทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง แต่ไม่ต้องห่วงถ้าคุณใช้ฟีเจอร์ Money Request จาก MAKE by KBank ซึ่งช่วยคิดคำพูดทวงเงินอย่างนุ่มนวล ผ่านใบเรียกเก็บเงิน รับรองว่าความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนจะยังดีอยู่แน่นอน
รู้ว่าควรออมเงินแบบไหนดีไปแล้ว อย่าลืมดาวน์โหลดตัวช่วยให้การบริหารเงินเป็นเรื่องง่าย
เมื่อรู้จักกับ 7 รูปแบบการออมตามที่แนะนำไปแล้ว หวังว่าทุกคนจะได้รับคำตอบว่าควรออมเงินแบบไหนดี? ถึงจะเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด ซึ่งการออมเงินแต่ละแบบไม่มีผิด ไม่มีถูก ไม่จำเป็นต้องให้ผลตอบแทนสูง แต่ควรออมอย่างพอประมาณ และออมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ชีวิตมีความมั่งคั่งในระยะยาว
ถ้ามองหาผู้ช่วยที่ทำให้วิธีบริหารเงินของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้น อย่าลืมดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank โดยรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android มาเริ่มต้นออมเงิน เพื่อเป้าหมายในอนาคตตั้งแต่วันนี้ได้เลย!