สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

เคล็ดลับไม่ลับ บริหารเงินเดือน ฉบับเด็กจบใหม่วัยทำงานแบบง่าย ๆ

manage-salary.jpg

เด็กจบใหม่ทำงานเป็นครั้งแรก เมื่อเงินเดือนออกมักประสบปัญหาไม่รู้ว่าควรบริหารเงินเดือนอย่างไรกันใช่หรือไม่? เพราะหลังจากมีรายได้เป็นหลักเป็นแหล่งหลังเรียนจบก็เป็นเรื่องปกติที่จะมีของที่อยากได้ เช่น คอมพิวเตอร์เกมมิ่งรุ่นใหม่สเปกแรง หรือแม้แต่ซื้อตั๋วคอนเสิร์ตศิลปินที่คุณชื่นชอบนั่นเอง

แต่ไม่ต้องห่วงไป เพราะเราได้นำวิธีบริหารเงินเดือนอย่างมีประสิทธิภาพมาฝากเด็กจบใหม่ และถึงแม้ว่าทำงานมานานแล้วก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่ออ่านจบแล้ว รับรองว่าสิ้นเดือนมีเงินเก็บ เตรียมพร้อมวางแผนการเงินอย่างสดใสกันได้ทุกคน!

7 เทคนิคบริหารเงินเดือน ที่รู้แล้วเริ่มต้นวางแผนการเงินได้ก่อนใคร!

  1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
  2. เงินเดือนออกแล้ว วางแผนซื้อของใช้ในแต่ละเดือนให้ดี
  3. ลดการซื้อของฟุ่มเฟือย ก็ช่วยให้มีเงินเก็บเพิ่มพูน
  4. เก็บเงินในบัญชีฝากประจำ ช่วยสร้างวินัยทางการเงินที่ดีได้
  5. แอปเก็บเงิน อีกหนึ่งทางเลือกของผู้รักการออม
  6. วินัยการเงินไม่ดี เลิกรูดบัตรเครดิต
  7. ซื้อประกันสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยงในอนาคต
  • รู้จักกับ MAKE by KBank ผู้ช่วยบริหารเงินสุดอัจฉริยะ!

    1. Cloud Pocket
    2. Expense Summary
  • แค่ตั้งใจ เรียนรู้ และลงมือทำ เด็กจบใหม่ก็บริหารเงินเดือนได้

7 เทคนิคบริหารเงินเดือน ที่รู้แล้วเริ่มต้นวางแผนการเงินได้ก่อนใคร!

หลายคนคงเคยได้ยินเทคนิคบริหารเงินเดือนจากเพื่อนร่วมงานด้วยวิธีต่างๆ มากมาย ดังนั้น มาดูกันเลยดีกว่าว่า 7 เทคนิคที่เรานำจะเสนอต่อไปนี้จะเหมือนกับที่คุณรู้จักกันหรือไม่

1. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ช่วยบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

บัญชีรายรับรายจ่าย เป็นวิธีการบริหารเงินเดือนที่ทุกคนทำได้ ด้วยการหาสมุดบัญชีขนาดเล็กแล้วจดบันทึกรายการค่าใช้จ่ายเป็นประจำทุกวันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้คุณเห็นภาพรวมว่านำเงินไปใช้จ่ายกับรายการใดบ้างที่ไม่จำเป็น ส่งผลให้วางแผนเก็บเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลังจากทำบัญชีรายรับรายจ่ายเสร็จแล้ว ในวันสิ้นเดือนให้คุณรวบรวมบัญชีรายวันทั้งหมด สรุปเป็นงบการเงิน รวมรายได้ - รายจ่าย งบการเงินดังกล่าวจะช่วยให้วางแผนการใช้จ่ายในเดือนถัดไปง่ายขึ้นว่าควรปรับลดรายการใดเป็นพิเศษ ถึงจะเก็บเงินได้เป้าหมายที่ต้องการ

2. เงินเดือนออกแล้ว วางแผนซื้อของใช้ในแต่ละเดือนให้ดี

นอกจากค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันที่ต้องบันทึกลงในบัญชีรายรับรายจ่ายแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่วัยทำงานมองข้าม ไม่นำมาลงในบัญชีนั่นคือ ของใช้สำหรับการอุปโภค เช่น สบู่, ยาสระผม, แปรงสีฟัน, ครีมล้างหน้า ฯลฯ ซึ่งของเหล่านี้แม้เป็นค่าใช้จ่ายเล็กน้อย แต่สำหรับหลายคนแล้วเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงถึงหลักพันบาทต่อเดือน

แน่นอนว่าหากไม่นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณร่วมกับค่าใช้จ่ายอื่น ย่อมทำให้วางแผนบริหารเงินเดือนผิดพลาดจนใช้จ่ายเกินตัวได้ ดังนั้น หลังจากเงินเดือนออก ควรแบ่งเงินบางส่วนไว้ใช้จ่ายกับของใช้เพื่อการอุปโภคด้วย

3. ลดการซื้อของฟุ่มเฟือย ก็ช่วยให้มีเงินเก็บเพิ่มพูน

เป็นเรื่องปกติหลังจากเงินเดือนออกแล้ว ทุกคนจะให้รางวัลแก่ตนเอง เช่น เข้าร้านอาหารที่ชื่นชอบ หรือซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนมที่อยากได้ แต่ค่าใช้จ่ายซื้อของฟุ่มเฟือยไม่ควรสูงจนเกินไป เพราะจะกระทบต่อการบริหารเงินเดือนในส่วนอื่นๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันในเดือนถัดไป รวมไปถึงการวางแผนออมเงินด้วย

4. เก็บเงินในบัญชีฝากประจำ ช่วยสร้างวินัยทางการเงินที่ดีได้

การบริหารเงินเดือนที่ดี นอกจากควบคุมค่าใช้จ่ายแล้ว ยังต้องออมเงินทันทีเมื่อเงินเดือนออกด้วย ซึ่งวิธีเก็บเงินยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือนคงหนีไม่พ้นกับการเปิดบัญชีเงินฝากประจำ เนื่องจากกำหนดให้ฝากเงินอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทุกเดือนออมเงินได้แน่นอน และหากฝากเงินน้อยกว่ายอดฝากขั้นต่ำ ก็จะได้รับดอกเบี้ยในเรทของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แทน

แต่สำหรับมือใหม่ผู้เริ่มต้นออมเงินครั้งแรก เราไม่แนะนำให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี เพราะทางธนาคารกำหนดเงื่อนไขการฝากเงินซับซ้อนมากกว่าบัญชีเงินฝากประจำทั่วไป กล่าวคือ บัญชีเงินฝากประจำทั่วไป ขอแค่ฝากเงินให้เกินขั้นต่ำก็ได้รับผลตอบแทนในอัตราที่ระบุ ในขณะที่บัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี นอกจากต้องฝากเงินให้เกินขั้นต่ำแล้ว ยังต้องฝากเงินเท่ากันทุกเดือนด้วย

5. แอปเก็บเงิน อีกหนึ่งทางเลือกของผู้รักการออม

แม้ว่าการออมเงินกับบัญชีเงินฝากประจำจะช่วยให้คุณมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นก็จริง แต่บัญชีเงินฝากประจำมีข้อเสียนั่นคือ ต้องฝากเงินขั้นต่ำตามเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับสถาบันการเงิน โดยขั้นต่ำของแต่ละธนาคารก็แตกต่างกันออกไป เช่น ธนาคาร A กำหนดให้ฝากอย่างน้อย 500 บาทต่อเดือน ในขณะที่ธนาคาร B ระบุให้ฝากขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น

ผู้มีภาระทางการเงิน ต้องส่งเงินให้ทางบ้านสม่ำเสมอ มักประสบปัญหาฝากเงินขั้นต่ำตามเงื่อนไขที่บัญชีเงินฝากประจำกำหนดไม่ได้ การออมเงินกับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อแอปเก็บเงินอาจเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์มากกว่า

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากแอปเก็บเงินไม่ได้กำหนดให้ผู้เปิดบัญชีต้องฝากเงินขั้นต่ำทุกเดือน เหมือนกับบัญชีเงินฝากประจำ และไม่ได้ห้ามถอนเงินก่อนครบกำหนดสัญญา ทำให้ถอนเงินสดได้ตลอดเวลาผ่านแอปพลิเคชัน โดยไม่ต้องเดินทางไปถึงธนาคารเหมือนกับการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำ ทำให้ผู้มีรายได้น้อย ไม่มีเงินเก็บสำรองยามฉุกเฉิน บริหารจัดการเงินเดือนง่ายกว่า

อีกทั้งผลตอบแทนของแอปเก็บเงิน อยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับบัญชีเงินฝากประจำ เช่น แอปจัดการเงิน MAKE by KBank ให้ผลตอบแทนถึง 1.5% ต่อปี สำหรับเงินฝาก 300,000 บาทแรก และส่วนเกิน 300,000 บาท จะได้รับดอกเบี้ยในอัตรา 0.65% ต่อปี

6. วินัยการเงินไม่ดี เลิกรูดบัตรเครดิต

หากวางแผนให้ดี บัตรเครดิตก็เป็นตัวช่วยบริหารเงินเดือนแก่ผู้รู้จักคิดก่อนใช้ได้ ด้วยเงื่อนไขผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน ทำให้เด็กจบใหม่ที่ไม่มีเงินเก็บแต่ต้องซื้อของที่จำเป็นแก่การทำงาน เช่น แล็ปท็อป ก็สามารถรูดบัตรก่อนแล้วค่อยผ่อนชำระหลังจากเงินเดือนออก

แต่ถ้าคุณรูดบัตรเครดิตบ่อยจนวงเงินเต็มทุกเดือนและชำระขั้นต่ำอย่างเดียว ในกรณีนี้ เราแนะนำให้ลดการรูดบัตรเครดิตลง มิเช่นนั้นแล้วอาจเป็นหนี้บัตรเครดิตเรื้อรัง ที่นอกจากจะเสียคะแนนเครดิตสกอริ่งทำให้ยื่นขอสินเชื่อในอนาคตยากแล้ว ยังเริ่มต้นเก็บเงินไม่ได้อีกด้วย

7. ซื้อประกันสุขภาพ ป้องกันความเสี่ยงในอนาคต

ไม่ใช่แค่การฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำและบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น อีกทางเลือกที่เราแนะนำคือ การซื้อประกันสุขภาพที่ให้เงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา ทำให้นอกจากได้รับผลตอบแทนกลับมาแล้ว ยังได้รับความคุ้มครองโรคร้ายแรง ช่วยป้องกันความเสี่ยงทางการเงินจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพอีกด้วย

แต่ถ้ารู้สึกว่าการออมเงินในแอปเก็บเงิน, ฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ, ซื้อประกันสุขภาพ และต้องเก็บเงินเผื่อคนในครอบครัวเป็นการบริหารเงินเดือนที่ซับซ้อนจนเกินไป เพราะไม่ได้มีเงินออมมากพอ สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยเทคนิคแบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วน

ตัวอย่างเช่น วางแผนออมเงิน 3,000 บาท ต่อเดือน เมื่อแบ่งเงินเป็น 4 ส่วนแล้ว จะเหลือเงินส่วนละ 750 บาท จากนั้นให้นำเงินที่ได้ไปออมหรือใช้จ่ายในช่องทางต่างๆ ตามที่กำหนด ข้อดีของเทคนิคนี้คือ ได้รับผลตอบแทนหลากหลายช่องทาง ป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพ และมีเงินให้ครอบครัวยามฉุกเฉิน

รู้จักกับ MAKE by KBank ผู้ช่วยบริหารเงินสุดอัจฉริยะ!

how-to-manage-salary.jpg

หลังรู้จักกับ 7 วิธีบริหารเงินเดือนอย่างชาญฉลาดไปข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าหนึ่งในวิธีที่เราแนะนำคือการออมเงินกับแอป MAKE by KBank ซึ่งนอกจากจะให้ผลตอบแทนสูงแล้ว ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ผู้ช่วยเก็บเงินอย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่ให้เด็กจบใหม่บริหารจัดการเงินเดือนเป็นสัดส่วน ผ่านการสร้างกระเป๋าเงินได้แบบ Unlimited เมื่อสร้างกระเป๋าเงิน Cloud Pocket แล้ว ผู้ใช้งานก็สามารถออกแบบชื่อด้วยตนเองตามใจชอบ เช่น กระเป๋าเก็บเงิน กระเป๋าจ่ายค่าบัตรเครดิต หรือกระเป๋าค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นต้น

Cloud Pocket ไม่ใช่แค่ฟีเจอร์แบ่งเงินเป็นสัดส่วนแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะหากคุณตั้งชื่อกระเป๋าเงินว่า แผ่นออมเงิน แล้วตั้งค่าล็อก คุณจะพบกับฟีเจอร์ย่อยที่มาพร้อมกับตัวละครน้องเมคสีเหลืองสุดสร้างสรรค์ ผู้ทำหน้าที่ออกแบบตารางออมเงินซึ่งทำให้คุณเก็บเงินถึงเป้าหมายง่ายๆ

2. Expense Summary

หากรู้สึกว่าการบริหารจัดการเงินเดือนเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะในแต่ละเดือนมีภาระค่าใช้จ่ายมากมาย จนไม่สามารถสรุปรายการใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงแค่เปิดฟีเจอร์ Expense Summary ขึ้นมาคุณก็จะทราบทุกข้อมูลการใช้จ่าย ว่าแต่ละเดือน หมดเงินไปกับรายการใดเป็นพิเศษ ทำให้วางแผนปรับลดค่าใช้จ่ายได้ตรงจุด

แค่ตั้งใจ เรียนรู้ และลงมือทำ เด็กจบใหม่ก็บริหารเงินเดือนได้

เทคนิคการบริหารเงินเดือนเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อสรุปออกมาจะเหลือเพียง 3 เคล็ดลับง่ายๆ คือ การออมเงินทันทีหลังเงินเดือนออก วางแผนการใช้อย่างรอบคอบ และไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หากทำครบ 3 สเต็ปนี้ได้ ก็เก็บเงินได้ทุกเดือน เริ่มต้นสร้างเนื้อสร้างตัวได้เลย

ถ้าบริหารเงินเดือนไม่เก่งก็ไม่ต้องกังวลไป เพียงแค่ใช้งานแอปเก็บเงิน MAKE by KBank ที่นอกจากมาพร้อมกับฟีเจอร์อย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary แล้ว ทางแอปพลิเคชันยังได้สร้างฟีเจอร์อย่าง “[Shared Cloud Pocket](https://makebykbank.kbtg.tech/features/Share-Cloud-Pocket)” ซึ่งทำให้คู่รักร่วมกันบริหารเงินเดือนได้ด้วย

รู้แบบนี้แล้ว อย่ารอช้า ดาวน์โหลดแอปเก็บเงิน MAKE by KBank กันได้เลยผ่าน App Store และ Play Store

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ