ลงทุนอะไรดี มือใหม่เริ่มต้นง่าย ได้เงินจริง
ยุคนี้มนุษย์เงินเดือนทำงานเก็บเงินอย่างเดียว ก็ดูเหมือนจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มทุกปี แต่รายได้กลับเพิ่มขึ้นเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ไม่ทันราคาของที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้นอกจากจะมองหาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แล้ว หากเป็นคนมีเงินลงทุนก็อาจวางแผนว่าต้องลงทุนอะไรดีถึงจะให้เงินทำงานแทนเราได้ แต่ปัญหาคือ มือใหม่มักไม่รู้ว่าควรลงทุนอะไรดีถึงจะได้ผลกำไร และรักษาเงินต้นจนมีเงินเก็บ ถ้าอยากวางแผนลงทุนด้วยตนเองง่ายๆ มาศึกษากันได้เลย
สารบัญบทความ
- ทำความเข้าใจ ก่อนตัดสินใจเลือกลงทุนอะไรดี
- ลงทุนอะไรดีที่เหมาะกับคุณ ผ่านการรู้จักกับ 6 ช่องทางการลงทุนง่ายๆ
- ลงทุนในบัญชีเงินฝาก
- ลงทุนกับทองคำแท่ง
- ลงทุนในประกันสะสมทรัพย์
- ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ
- ลงทุนในหุ้นสามัญ
- ลงทุนในกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ
- ลงทุนอะไรดี? ทำอย่างไรถึงเริ่มลงทุนด้วยตนเองได้
- มีเงินเย็นมากพอหรือไม่
- ศึกษารายละเอียดสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน
- วางเป้าหมายการลงทุน พร้อมรับมือกับความเสี่ยง
- อายุของผู้สนใจลงทุน
- ก่อนจะลงทุนอะไรดี? ให้ MAKE by KBank จัดสรรเงินในพอร์ตลงทุนด้วยตนเอง
- ลงทุนอะไรดี? รู้แล้วอย่าลืมวางแผนสำรอง
ทำความเข้าใจ ก่อนตัดสินใจเลือกลงทุนอะไรดี
ก่อนเลือกลงทุนอะไรดี สิ่งที่ต้องรู้เป็นอันดับแรกคือ เราลงทุนไปทำไม? ซึ่งการลงทุน คือ การวางแผนการเงินรูปแบบหนึ่งที่ให้เงินงอกเงยขึ้น แต่ทั้งนี้ใช่ว่าลงทุนไปแล้ว จะได้ผลตอบแทนกลับมาเสมอไป ดังนั้นจึงควรศึกษาว่าลงทุนอะไรได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับตัวเรา
หากรู้ว่าควรลงทุนกับอะไรดีตั้งแต่เริ่มทำงาน ในระยะยาวก็จะมีเงินเตรียมพร้อมสำหรับวัยเกษียณได้ เพราะเมื่อเปรียบเทียบคนที่ลงทุนกับคนที่ไม่ลงทุนแล้ว พบว่าคนที่วางแผนลงทุน จะมีเงินเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไปด้วยพลังของอัตราดอกเบี้ยทบต้น จนมีเงินมากพอให้อยู่ในวัยเกษียณได้ แต่ผู้ไม่สนใจการออมและการลงทุน นอกจากจะไม่มีเงินเก็บแล้ว ช่วงบั้นปลายชีวิตยังต้องทำงานเพื่อให้มีเงินใช้จ่ายอีกด้วย
ลงทุนอะไรดีที่เหมาะกับคุณ ผ่านการรู้จักกับ 6 ช่องทางการลงทุนง่ายๆ
หากเข้าใจแล้วว่าการลงทุนมีความสำคัญอย่างไร หลายคนเห็นแล้วก็คงอยากนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินช่วยทำงานอีกทาง แต่ถ้าไม่เคยลงทุนมาก่อนก็เป็นเรื่องยากที่จะเลือกว่าควรลงทุนอะไรดีถึงจะไม่ขาดทุน เราจึงได้รวบรวม 6 ช่องทางการลงทุนต่อไปนี้มาฝากทุกคน รับรองว่าเหมาะกับทั้งนักลงทุนหน้าใหม่ และนักลงทุนผู้มากประสบการณ์แน่นอน
1. ลงทุนในบัญชีเงินฝาก
การออมเงินในบัญชีเงินฝาก เป็นช่องทางการลงทุนที่เหมาะกับมือใหม่ผู้ไม่รู้ว่าควรลงทุนอะไรดีมากที่สุด เนื่องจากความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างวินัยทางการเงินอีกด้วย อีกทั้งการออมเงินในบัญชี แค่ฝากเงินเข้าไป ก็ได้รับผลตอบแทนกลับมาตามที่ธนาคารกำหนด ไม่ต้องรับความเสี่ยงในการขาดทุน ทำให้การฝากเงินในบัญชีเหมาะแก่คนทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีอายุน้อย (ต่ำกว่า 18 ปี) หรือผู้ที่มีเงินทุนน้อยก็ตาม
แต่หลังจากออมเงินในบัญชีได้จำนวนหนึ่งแล้ว หากเห็นว่าดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์น้อยเกินไป ก็อาจเปิดบัญชีเงินฝากประจำ 3 เดือนหรือ 6 เดือน ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่การบริหารจัดการเงินออมในบัญชีเงินฝากประจำอาจยากกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพราะกำหนดเงื่อนไขการฝากและถอนเงินเข้ามาด้วย เช่น บัญชีเงินฝากประจำ 3 เดือน กำหนดให้ฝากเงินทุกเดือน และถอนเงินได้ทุกๆ 3 เดือนเท่านั้น ถึงจะได้รับดอกเบี้ยตามที่กำหนด
ทำให้ในกรณีที่ต้องการใช้เงินด่วน การฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ ก็อาจขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ แต่ถ้าเปิดบัญชีเงินฝากแบบพิเศษอย่าง MAKE by KBank ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.5% ต่อปี ซึ่งจะฝากหรือถอนเงินออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ ย่อมมีสภาพคล่องทางการเงิน ดีกว่าการฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำ
2. ลงทุนกับทองคำแท่ง
ถ้าไม่รู้จะลงทุนอะไรดี การนำเงินไปลงทุนกับทองคำ ก็นับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง แต่ทั้งนี้ใช่ว่าทุกคนจะเหมาะแก่การลงทุนในทองคำ เนื่องจากเมื่อซื้อทองคำมาแล้ว หากต้องการใช้เงินสด ก็ต้องนำทองคำไปขายที่ร้าน ซึ่งก็อาจขายไม่ได้ สาเหตุเกิดจากบางร้านรับซื้อทองเฉพาะร้านค้าในเครือ จึงเห็นได้ว่าทองคำมีสภาพคล่องน้อยกว่าการฝากเงินในบัญชีเงินฝาก การลงทุนทองคำจึงเหมาะแก่ผู้ที่มีเงินเย็นเหลืออยู่แล้ว และต้องการรักษาความมั่งคั่งจากเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นทุกปี
3. ลงทุนในประกันสะสมทรัพย์
หากรับความเสี่ยงในการลงทุนได้น้อย และมองว่าการทำประกันสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น เราแนะนำให้ลงทุนในประกันสะสมทรัพย์ เพราะถึงแม้จะไม่ได้เคลมกรมธรรม์ แต่เมื่อถึงเวลาที่กำหนดก็จะได้รับเงินคืนกลับมาพร้อมผลตอบแทนจำนวนหนึ่ง
ยิ่งไปกว่านี้ผลตอบแทนจากประกันสะสมทรัพย์ ยังไม่ต้องเสียภาษีเหมือนกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ และเบี้ยประกันสะสมทรัพย์ ทั้งยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 1 แสนบาท อย่างไรก็ตาม ความคุ้มครองของประกันสะสมทรัพย์ก็อาจน้อยกว่าประกันสุขภาพและประกันชีวิต ด้วยเหตุนี้ ถ้าต้องการความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ก็ควรสมัครแผนประกันชีวิตและประกันสุขภาพเพิ่มเติมด้วย
4. ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ
ถ้างบน้อย ไม่รู้จะลงทุนอะไรดีที่มีความเสี่ยงต่ำ เราแนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้ เพราะลงทุนง่าย เหมาะแก่วัยทำงานที่ไม่มีเวลาจัดการพอร์ตลงทุน และวัยเกษียณที่ต้องการดอกเบี้ยมาเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน โดยตราสารหนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะของผู้ออกตราสาร ได้แก่
- ตราสารหนี้ภาครัฐ - พันธบัตรออมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล
- ตราสารหนี้ภาคเอกชน - หุ้นกู้
หลังจากนักลงทุนเข้าซื้อตราสารหนี้เหล่านี้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ทำให้ได้รับผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยกลับมาทุกงวด และเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่ถอน ผู้ถือตราสารจะได้เงินต้นกลับมาพร้อมผลตอบแทนในงวดสุดท้าย ทั้งนี้ตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงผิดนัดชำระได้เช่นกัน หากผู้ออกตราสารไม่มีเงินชำระคืน
5. ลงทุนในหุ้นสามัญ
อยากรวยลงทุนอะไรดี? คนส่วนใหญ่มักตอบว่าต้องลงทุนในหุ้น ซึ่งไม่ใช่ความคิดที่ผิดนัก แต่การลงทุนในหุ้น นั้นยากกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น เพราะผู้ลงทุนต้องรู้ว่าบริษัทที่สนใจลงทุน ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร มีโครงสร้างของรายได้อย่างไรบ้าง ที่สำคัญถึงแม้จะเลือกบริษัทที่เติบโตแล้ว หากหุ้นที่ซื้อราคาแพงเกินไป ก็อาจไม่ใช่การลงทุนที่ดีนัก เนื่องจากมีโอกาสที่ราคาหุ้นปรับตัวลงสู่พื้นฐานความเป็นจริงได้เสมอ
นอกจากนี้การขาดทุนในตลาดหุ้นเกิน 20% ยังถือเป็นเรื่องปกติ ผู้ที่จะลงทุนในตลาดหุ้นจึงต้องรับความเสี่ยงจากการลงทุนให้ได้ ประกอบกับต้องมีเงินเย็นมากเพียงพอ และเข้าใจธุรกิจที่ต้องการลงทุนเป็นอย่างดี ถึงจะทำกำไรได้
6. ลงทุนในกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ
กองทุนรวมเป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่เหมาะแก่ผู้วางแผนลงทุนระยะยาว และไม่มีเวลาบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนด้วยตนเอง ซึ่งกองทุนรวมมีหลายประเภท ทั้งกองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ทำให้มือใหม่ไม่รู้ว่าควรซื้อกองทุนไหนดี ซึ่งเราแนะนำให้อ่านหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมก่อนว่า กองทุนที่คุณสนใจมีความเสี่ยงเท่าไหร่ จ่ายปันผลหรือไม่ เพื่อจัดการแบ่งเงินมาลงทุนได้อย่างเหมาะสม และเลือกกองทุนรวมที่เหมาะแก่ตนเองได้
ลงทุนอะไรดี? ทำอย่างไรถึงเริ่มลงทุนด้วยตนเองได้
หลังจากที่ได้รู้จักกับ 6 ช่องทางการลงทุนที่แนะนำไปข้างต้น หลายคนคงมีไอเดียแล้วว่าจะลงทุนอะไรดีถึงเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด แต่ก่อนลงทุนก็ควรศึกษารายละเอียดดังต่อไปนี้ให้ดี มิเช่นนั้นอาจขาดทุนเงินต้น จนไม่สามารถนำผลตอบแทนที่ได้รับไปใช้จ่ายตามที่ตั้งใจเอาไว้
มีเงินเย็นมากพอหรือไม่
ถ้าอยากลงทุน สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ ตรวจสอบว่ามีเงินเย็นหรือไม่? เพราะหากไม่มีเงินเย็นและเป็นหนี้อยู่ แล้วนำเงินมาลงทุนระยะสั้น หวังผลตอบแทนสูง ๆ เพื่อมีเงินปลดหนี้ได้ทั้งหมด จะยิ่งทำให้สถานการณ์ทางการเงินย่ำแย่ลง เนื่องจากไม่มีการลงทุนระยะสั้นใดที่ให้ผลตอบแทนจำนวนมาก ดังนั้นในกรณีที่ไม่มีความพร้อมด้านการเงิน ก็ควรปลดหนี้ให้หมดก่อน จากนั้นค่อยเก็บเงินก้อน แล้วนำเงินมาลงทุนต่อไป
ศึกษารายละเอียดสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุน
การศึกษาข้อมูลการลงทุนจะทำให้เข้าใจได้ว่า เราเหมาะแก่การเริ่มต้นลงทุนกับสินทรัพย์ใด เพราะการลงทุนบางประเภทแทบไม่ต้องศึกษาอะไรเลยก็ได้ผลตอบแทนกลับมาแล้ว เช่น บัญชีเงินฝาก หรือทองคำ ในขณะที่สินทรัพย์บางอย่าง ต้องใช้เวลาเรียนรู้นานหลายปีถึงจะให้ผลตอบแทนแก่นักลงทุนได้ เช่น การลงทุนในหุ้น
วางเป้าหมายการลงทุน พร้อมรับมือกับความเสี่ยง
เมื่อศึกษาข้อมูลการลงทุนแต่ละรูปแบบเสร็จแล้ว ให้วางเป้าหมายการลงทุนด้วยว่าต้องการผลตอบแทนที่ได้ไปจัดการเป้าหมายใดในชีวิต เช่น ถ้าวางแผนเกษียณก็ควรลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อมั่นใจได้ว่าจะมีเงินต้นเหลือถึงวัยเกษียณ อาทิ บัญชีเงินฝากประจำ ประกันสะสมทรัพย์แบบบำนาญ หรือหักเงินจำนวนมากในกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพ
แต่หากลงทุนเพราะต้องการผลตอบแทนจำนวนมากเพื่อจัดการเป้าหมายชีวิตระยะกลาง เช่น การแต่งงาน หรือซื้อรถยนต์ ก็ควรเลือกลงทุนกับสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างหุ้นหรือกองทุนรวม ทั้งนี้เมื่อตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ก็ควรลงทุนด้วยเงินเย็น และยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
อายุของผู้สนใจลงทุน
แม้อยากเริ่มลงทุนมากเพียงใด แต่ถ้าอายุไม่ถึงช่วงที่กำหนดก็ลงทุนไม่ได้ โดยสินทรัพย์เพื่อการลงทุนแต่ละชนิดกำหนดเงื่อนไขอายุของผู้ลงทุนไว้ดังนี้
- บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ : อายุ 12 ปีขึ้นไป (อาจปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)
- บัญชีหุ้น : อายุ 18 ปีขึ้นไป หากอายุยังไม่ถึง 20 ปี ต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง
- พันธบัตรรัฐบาล : สิทธิ์การซื้อในตลาดแรก (Primary Market) ต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป ในกรณีที่อายุยังไม่ถึง 20 ปี ต้องมีเอกสารยินยอมจากผู้ปกครอง
- ผลิตภัณฑ์ประกัน : เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์
- ทองคำแท่ง ทองคำรูปพรรณ : ไม่กำหนดอายุของผู้ซื้อขาย เว้นแต่กองทุนรวมทองคำ ผู้สนใจลงทุนต้องมีอายุเกิน 20 ปีขึ้นไป
ก่อนเลือกลงทุนอะไรดี จัดสรรเงินในพอร์ตลงทุนของตนเองได้ง่ายๆ ด้วย MAKE by KBank
หลายคนคงไอเดียไปแล้วว่าควรลงทุนอะไรดี ถึงจะตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินของตนเองได้ อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนที่อาจไม่ได้ลงทุนในช่องทางเดียว แต่กระจายความเสี่ยงโดยลงทุนหลายช่องทาง ทำให้ต้องมีตัวช่วยบริหารเงินเพื่อลงทุนในช่องทางต่างๆ ซึ่งเราขอแนะนำแอปออมเงิน MAKE by KBank ตัวช่วยจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ให้ผู้ใช้งานนำเงินไปลงทุนง่ายๆ ดังนี้
Cloud Pocket
ฟีเจอร์ที่จะทำให้มนุษย์เงินเดือนจัดสรรเงินไปลงทุนง่ายขึ้น ผ่านการสร้างกระเป๋าเงินที่สร้างได้อย่างไร้ขีดจำกัด และตั้งชื่อกระเป๋าอะไรก็ได้ตามแผนลงทุนที่ต้องการ เช่น ถ้าวางแผนลงทุนในทองคำก็ตั้งชื่อว่ากระเป๋าทองคำ จากนั้นหลังเงินเดือนออกก็โอนเงินเข้าไปทุกเดือน เมื่อออมเงินจนถึงจุดหนึ่งมีเงินมากพอใน Cloud Pocket ก็ค่อยนำไปเข้าพอร์ตการลงทุนในภายหลัง
Schedule Transfer
บางครั้งผู้ใช้งานโอนเงินจำนวนมากมาไว้ที่ Cashbox ก่อนนำเงินไปจัดสรรในกระเป๋า Cloud Pocket เพื่อเริ่มต้นลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ แต่ปัญหาคือ เมื่อโอนเงินเข้า Cashbox แล้วกลับลืมโอนเงินเข้า Cloud Pocket ซึ่งฟีเจอร์ Schedule Transfer จะให้ผู้ใช้งานตั้งค่าการโอนเงินล่วงหน้าระหว่าง Cashbox กับ Cloud Pocket ทำให้หมดกังวลกับปัญหาเรื่องลืมโอนเงินเข้า Cloud Pocket ไปได้เลย
แผ่นออมเงิน
ถ้าวินัยทางการเงินไม่ดี เก็บเงินไม่อยู่ ฟังทางนี้! MAKE by KBank ได้สร้างฟีเจอร์แผ่นออมเงิน ที่ให้สมาชิกทุกเพศทุกวัยออมเงินได้อย่างสนุก ผ่านตัวละครสุดน่ารักนามว่าน้องเมค ผู้ทำหน้าที่สร้างแผ่นออมเงินให้สมาชิกเก็บเงินได้ทุกวัน ซึ่งคุณจะพบน้องเมคได้จากการตั้งชื่อกระเป๋าว่า แผ่นออมเงิน จากนั้นน้องเมคจะปรากฏกายขึ้น พร้อมแผ่นออมเงินรูปแบบต่างๆ หากเก็บเงินได้ครบตามที่น้องเมคกำหนด ก็มีเงินก้อนพร้อมลงทุนได้ทันที
Expense Summary
ถ้าต้องการดูข้อมูลสรุปว่า แต่ละเดือนนำเงินไปลงทุนทั้งหมดเท่าไหร่ ก็เข้ามาที่ Expense Summary ฟีเจอร์นี้นอกจากจะเห็นภาพรวมการลงทุนทั้งหมดแล้ว ยังเห็นด้วยว่านำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทในสัดส่วนเท่าไหร่ ทำให้วางแผนบริหารพอร์ตการลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
ลงทุนอะไรดี? รู้แล้วอย่าลืมวางแผนสำรอง
ถึงแม้จะรู้ว่าต้องลงทุนอะไรดี ที่ตอบโจทย์แผนการเงินระยะต่างๆ ของชีวิตได้ ก็อย่าลืมวางแผนรับมือความเสี่ยงจากการขาดทุน ด้วยการเตรียมเงินสำรองยามฉุกเฉินเอาไว้ด้วยอย่างน้อย 6 เดือน เพราะไม่มีการลงทุนอะไรที่ดีที่สุดและได้รับตอบแทนกลับมาทุกครั้ง
แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนกับธนาคารด้วยการเปิดบัญชีเงินฝาก จะแตกต่างจากการลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม เพราะมั่นใจได้ว่าจะได้ดอกเบี้ยกลับคืนมาทุกงวดแน่นอน สำหรับใครที่ไม่อยากรับความเสี่ยงจากการขาดทุนเงินต้น และยังได้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปี ห้ามพลาดกับแอป MAKE by KBank แอปจัดจ่ายจดของคนรุ่นใหม่ สมัครง่ายได้ทุกที่ทุกเวลา มาพร้อมกับฟีเจอร์หลากหลาย และภายในแอปยังมี Mission สนุกๆ ให้สมาชิกร่วมลุ้นรับของรางวัลใหญ่อีกมากมาย!