

หลายคนคงเคยได้ยินประโยค “ผ่อน 0% นานสูงสุด 10 เดือน” ทำให้เข้าใจว่าอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันคิดแค่ 0% เท่านั้น แต่เมื่อถึงวันจ่ายหนี้บัตรเครดิต ก็ต่างตกใจไปตามๆ กัน เพราะไม่คิดว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะสูงกว่าที่คิด ด้วยเหตุนี้เราจึงนำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตมาฝากทุกคนกัน!
สารบัญบทความ
บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อรูปแบบหนึ่ง ที่ให้เจ้าของบัตรใช้วงเงินไปก่อน แล้วค่อยชำระคืนภายหลัง ซึ่งดอกเบี้ยบัตรเครดิตปัจจุบันอยู่ที่ 16% ต่อปี คิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน และวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต คือ
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด X อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต X จำนวนวันจนถึงวันก่อนสรุปบัญชีหนึ่งวัน 365
หากวางแผนใช้บัตรเครดิตให้ดี ก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่สาเหตุที่จะทำให้คุณต้องจ่ายดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้ธนาคาร ประกอบด้วย 4 เหตุผลดังต่อไปนี้
การใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสด จะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต 16 % ต่อปี พร้อมค่าธรรมเนียม 3% และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ทำให้การเบิกเงินสดออกมาเพียงครั้งเดียว ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ดังนั้นหากไม่จำเป็นไม่ควรเบิกเงินสดด้วยบัตรเครดิต
เมื่อคุณจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยจะหายไป หมายความว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะเริ่มคิดคำนวณทันที ซึ่งการจ่ายขั้นต่ำเป็นการชำระเงินเพียงบางส่วนของยอดการใช้จ่ายทั้งหมด โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ปี 2567 ต้องจ่ายขั้นต่ำ 8% จากเดิมอยู่ที่ 5%
แม้ว่าบัตรเครดิตจะเสนอโปรโมชันให้ผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน แต่ไม่ใช่สินค้าทุกรายการที่สามารถผ่อนด้วยเงื่อนไขดังกล่าวได้ หมายความว่าหากคุณรูดบัตรเครดิตกับสินค้านอกรายการ ก็จะต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิต
แน่นอนว่าหากคุณติดหนี้บัตรเครดิต ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย รวมทั้งค่าใช้จ่ายทวงถาม และถ้าไม่ยอมชำระหนี้บัตรเครดิต ก็จะเสียประวัติทางการเงิน ส่งผลให้ขอสินเชื่อยากขึ้นในอนาคต
ดอกเบี้ยบัตรเครดิตเกิดขึ้น เพราะเหตุผลทั้ง 4 ข้อตามที่กล่าวไปข้างต้น และการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตยังมีวิธีคำนวณถึง 3 วิธี ดังนี้
หากคุณจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตแต่ชำระเงินตรงเวลา ดอกเบี้ยบัตรเครดิตจะคิดเป็นสองส่วน ประกอบด้วย
ตัวอย่างเช่น นาย B ใช้บัตรเครดิตซื้อของ 20,000 บาท ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567 ธนาคารสรุปยอดการใช้จ่ายทุกวันที่ 20 ของเดือน กำหนดชำระทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป และเมื่อถึงวันครบกำหนดชำระ นาย B เลือกจ่ายขั้นต่ำ 8% คิดเป็นจำนวนเงิน 1,600 บาท
ดังนั้นกรณีนี้นาย B ต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากเงินต้นคงเหลือเท่ากับ
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวัน (นับจากวันที่ทำรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน) 365
โดยจำนวนวันในกรณีนี้เท่ากับ 10 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม = 25 วัน
เมื่อแทนค่าเข้าไปจะได้ว่า
(20,000 X 16% X 25) /365 = 219.178 บาท
ส่วนดอกเบี้ยเงินคงค้างที่เหลืออยู่ คำนวณได้จาก
เงินคงค้าง X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวันจากวันที่ชำระขั้นต่ำจนถึงวันสรุปยอดบัญชีถัดไป 365
ซึ่งจำนวนวันสำหรับคิดดอกเบี้ยเงินคงค้าง คือวันที่ 5 กรกฎาคม - 20 กรกฎาคม = 16 วัน
ดังนั้นดอกเบี้ยเงินคงค้างเท่ากับ
(18,400 X 16% X 16) /365 = 129.05 บาท
เมื่อรวมดอกเบี้ยทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน รอบครบกำหนดชำระถัดไป นาย B จะมียอดคงเหลือพร้อมดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ต้องชำระเท่ากับ 18,400 + 219.178 + 129.05 = 18,748.228 บาท
หากนาย B จ่ายเงินเต็มจำนวน แต่ชำระไม่ตรงเวลา เช่น กำหนดจ่ายวันที่ 5 แต่กลับชำระวันที่ 15 กรณีนี้นาย B จะต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตตามสูตร
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดX อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวัน (นับจากวันที่ทำรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน) 365
ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นว่านาย B รูดบัตรเครดิตซื้อของวันที่ 10 มิถุนายน และจ่ายวันที่ 15 กรกฎาคม เท่ากับว่าจำนวนวันในกรณีนี้คือ 35 วัน
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเท่ากับ (20,000 X 16% X 35) /365 = 306.849 บาท
แต่การคิดดอกเบี้ยกรณีดังกล่าวยังไม่จบแต่เพียงเท่านี้ เพราะธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมทวงถามจากการชำระล่าช้าด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่าธรรมเนียมทวงถามจะอยู่ที่ 100 บาท พร้อมคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากค่าธรรมเนียมทวงถาม
ดังนั้นเมื่อคิดดอกเบี้ยพร้อมค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป นาย B ต้องเสียดอกเบี้ยรวมทั้งหมดเท่ากับ 306.849 + 100 + (100 X 7%) = 413.849 บาท
การเบิกเงินสดด้วยบัตรเครดิต นอกจากจะเสียค่าธรรมเนียมการเบิกเงินสดแล้ว ยังต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย ตัวอย่างเช่น นาย B เบิกเงินสด 20,000 บาท ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2567 และชำระเงินคืนวันที่ 5 กรกฎาคม เท่ากับว่าจำนวนวันที่บันทึกรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน อยู่ที่ 25 วัน
หมายความว่า นาย B จะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตเท่ากับ
จำนวนเงินเบิกถอนเงินสด X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวัน (นับจากวันที่บันทึกรายการถึงวันก่อนวันชำระ 1 วัน) 365
ดังนั้นดอกเบี้ยบัตรเครดิต จากการกดเงินสดล่วงหน้าคือ (20,000 X 16% X 25) /365 = 219.178 บาท
และอย่าลืมว่า กรณีนี้นาย B ต้องเสียค่าธรรมเนียม 3% ของวงเงินที่เบิกออกมา พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ซึ่งเท่ากับ 20,000 X 3% = 600 + (600 X 7%) = 642 บาท
เมื่อรวมดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว นาย B จะเสียค่าใช้จ่ายในการเบิกเงินสดทั้งหมด 642 + 219.178 = 861.178 บาท
เมื่อทราบแล้วว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิต คิดยังไง? จะเห็นว่าแค่ค้างจ่ายบัตรเครดิตไม่กี่วัน ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ก็ใกล้เคียงกับค่าแรงขั้นต่ำ สำหรับใครที่ไม่อยากเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น เราก็ได้นำ 6 วิธีใช้บัตรเครดิตที่น่าสนใจ มาแชร์ให้ทุกคนแล้วดังนี้
เมื่อได้บัตรเครดิตใบแรกมาหลายคนมักใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เพราะมองว่าไม่ได้จ่ายเงินสดออกไปจริงๆ และการใช้จ่ายสินค้าด้วยบัตรเครดิตให้ความรู้สึกสะดวกสบายมากกว่าการสแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้เกิดพฤติกรรมใช้จ่ายเกินตัว และเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากการที่ไม่มีเงินมาชำระคืน ดังนั้นจึงควรใช้บัตรเครดิตยามจำเป็นเพื่อได้คะแนนสะสม หรือแต้มส่วนลด
ผู้มีวินัยทางการเงินที่ดีจะชำระหนี้บัตรเครดิตทันทีเมื่อถึงวันจ่ายชำระ เพื่อรักษาประวัติเครดิตบูโร และป้องกันไม่ให้ลืมจ่ายหนี้จนถูกคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิต ซึ่งหากคุณกังวลว่าจะลืมจ่ายค่าบัตรเครดิต ก็สามารถเขียนโน้ตแจ้งเตือนผ่าน Cloud Pocket ของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ได้
มนุษย์เงินเดือนหลังจากได้บัตรเครดิตใบแรก ก็มักนำไปผ่อน 0% กับสินค้าราคาแพง และจ่ายเงินผ่อนชำระไม่ไหว เมื่อไม่มีเงิน หลายคนจึงเลือกแก้ปัญหาด้วยการเปิดบัตรเครดิตเพิ่มเพื่อรูดซื้อของอื่นๆ สุดท้ายก็ไม่พ้นต้องแก้ปัญหาหนี้สินเรื้อรังด้วยการขอสินเชื่อรวมหนี้บัตรเครดิตซึ่งสินเชื่อดังกล่าวคิดดอกเบี้ยสูงถึง 25% ต่อปี แถมใช้เวลาผ่อนชำระนานกว่าหนี้บัตรเครดิตอีกด้วย
หากต้องการเบิกเงินสดเพื่อใช้เงินฉุกเฉิน ก็ควรสมัครบัตรกดเงินสดแทนการใช้บัตรเครดิต เพราะบัตรเครดิตออกแบบมาเพื่อผ่อนชำระสินค้าเท่านั้น ซึ่งการเบิกเงินสดออกมาแต่ละครั้งนอกจากจะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตแล้ว ยังเสียค่าธรรมเนียมเบิกถอน และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย
นอกจากจะต้องระวังอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตแล้ว ค่าธรรมเนียมก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม อีกทั้งเงื่อนไขการจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีของแต่ละธนาคารก็ไม่เหมือนกัน โดยมีทั้งค่าธรรมเนียมคงที่รายปี และค่าธรรมเนียมกำหนดยอดการใช้จ่าย ถ้าคุณมองว่าไม่สามารถจ่ายค่าธรรมเนียมได้สม่ำเสมอ ก็ควรเลือกใช้บัตรเครดิตที่ไม่เสียค่าธรรมเนียม
หากลอง 5 วิธีที่ได้แนะนำไปข้างต้นแล้ว และยังใช้จ่ายเงินเกินตัว จนเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตเป็นประจำ ทำไมไม่ลองใช้งาน แอปรายรับรายจ่าย MAKE by KBank? แอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ปลอดภัยสูง มาพร้อมกับ 3 ฟีเจอร์รู้ใจ ที่พร้อมแก้ปัญหารูดบัตรเครดิตเกินตัวดังนี้
หากมีบัญชีหลายธนาคารทั้งบัญชีออมทรัพย์ บัญชีจ่ายค่าบัตรเครดิต บัญชีรับเงินเดือน ฯลฯ ทำให้ปวดหัวเป็นประจำเวลาโอนเงินระหว่างบัญชี และไม่รู้ว่าใช้เงินไปเท่าไหร่แล้ว แต่ถ้าดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank มาใช้งาน จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้เลย เพราะ Cloud Pocket จะแยกค่าใช้จ่ายแต่ละกระเป๋าได้อย่างชัดเจน ทำให้เห็นเงินเข้าออกตลอดเวลา และควบคุมการใช้จ่ายได้
ถ้ากังวลว่างานยุ่ง จนไม่มีเวลาจัดสรรเงินเป็นสัดส่วน และกลัวว่าจะใช้เงินปนไปมาทำให้เก็บเงินไม่อยู่ เพียงแค่ใช้ฟีเจอร์ Schedule Transfer ก็จะตั้งค่าโอนเงินอัตโนมัติ จาก Cash Box เข้ากระเป๋า Cloud Pocket ได้ทุกเมื่อ ทำให้บริหารเงินได้อย่างเป็นสัดส่วน
ใครไม่แน่ใจว่าตนเองมีประวัติการใช้จ่ายบัตรเครดิตเท่าไหร่ ถึงยอดตามที่กำหนดเพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีแล้วหรือยัง? เพียงแค่เปิด Expense Summary ขึ้นมา คุณก็จะเห็นประวัติการใช้จ่ายอย่างครบถ้วน ทำให้วางแผนได้ว่าควรใช้บัตรเครดิตที่เสียค่าธรรมเนียมรายปีหรือไม่ และถ้าได้สร้าง Cloud Pocket สำหรับแยกจ่ายค่าบัตรเครดิตเอาไว้แล้ว ก็จะเห็นว่าเราใช้จ่ายค่าบัตรเครดิตเดือนที่ผ่านมาเท่าไหร่อีกด้วย
บัตรเครดิตหากใช้ให้ดีก็เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเสนอเครดิตเงินคืน ช่วยให้คุณประหยัดเงินได้จำนวนมาก แถมมอบคะแนนสะสมไว้แลกของต่างๆ ให้ด้วย และเมื่อชำระตรงเวลา ไม่จ่ายขั้นต่ำ ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้แก่ธนาคารแม้แต่บาทเดียว
อย่างไรก็ตาม การบริหารเงินไม่ดี ใช้บัตรเครดิตโดยไม่ยั้งคิด ก็ทำให้ต้องเสียค่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตอย่างไม่จำเป็น ดังนั้นหากต้องการผู้ช่วยจัดการเงิน ทำให้บริหารจัดการเงินได้ดีขึ้น จ่ายหนี้บัตรเครดิตได้ตรงเวลาเห็นรายละเอียดทุกค่าใช้จ่าย ไม่ใช้เงินเกินตัว เราแนะนำให้ดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank ที่เสนอผลตอบแทนถึง 1.5 % ต่อปี ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าแอปโมบายแบงก์กิ้งทั่วไป แถมถอนเงินได้ทุกเมื่อ ไม่ติดเงื่อนไขในการถอน หากสนใจ MAKE by KBank ถ้ามีบัญชีกสิกรอยู่แล้วสมัครผ่านแอปพลิเคชันได้ทันที แต่หากเปิดบัญชีกสิกรครั้งแรก ก็สมัคร MAKE by KBank ได้ เพียงนำบัตรประชาชนของคุณไปยืนยันตัวตนผ่านตู้ ATM กสิกรใกล้บ้าน ทำเสร็จแล้วก็เริ่มสมัครได้เลย!