Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

บัตรเครดิตคืออะไร? ชวนมือใหม่เข้าใจประเภทบัตรก่อนเลือกสมัคร

what-is-credit-card.jpg

บางคนมองว่าทำบัตรเครดิตไปทำไม เพราะในเมื่อก็ใช้เงินสด หรือ Mobile Banking จ่ายได้อยู่แล้ว แต่ลองคิดดูว่าแค่มีบัตรเครดิตใบเดียวชีวิตจะง่ายขึ้นขนาดไหน? เพราะเพียงพกบัตรเครดิตก็แตะจ่ายค่ารถไฟฟ้า หรือค่าทางด่วนได้เลย อย่างไรก็ตาม หลายคนไม่รู้ว่าบัตรเครดิตคืออะไรกันแน่ เพราะคิดว่าเป็นบัตรประเภทเดียวกับบัตรเดบิต ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับบัตรเครดิต พร้อมบอกข้อแตกต่างระหว่างบัตรเดบิตกับบัตรเครดิตว่าคืออะไร มาดูวิธีใช้บัตรเครดิตให้ถูกต้องได้เลย!

สารบัญบทความ

  • บัตรเครดิตคืออะไร? ต่างจากบัตรเดบิตอย่างไร?
  • ประเภทของบัตรเครดิต มีอะไรบ้าง?
  • บัตรเครดิตเครือข่ายการชำระเงินภายในประเทศ (Local Credit Card)
  • บัตรเครดิตเครือข่ายการชำระเงินระหว่างประเทศ (International Credit Card)
  • บัตรเครดิตพิเศษของห้างสรรพสินค้าชั้นนำ (Private Label Card)
  • บัตรเครดิตสะสมไมล์
  • บัตรเครดิตเติมน้ำมัน
  • 3 เครือข่ายบัตรเครดิตที่น่ารู้
  • ชวนทำความเข้าใจบัตรเครดิตมีประโยชน์อะไรบ้าง 1.ไม่ต้องซื้อสด ผ่อนจ่ายก่อนได้ 2.ลดหย่อนภาษี 3.ได้สิทธิประโยชน์เพียบ
  • คำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตด้วยตนเอง ทำได้อย่างไร?
  • แนะนำทริคเด็ด! ใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้ห่างไกลหนี้
  • บัตรเครดิต คืออะไร รู้แล้วห้ามพลาด MAKE by KBank ตัวช่วยจัดการค่าบัตรเครดิต

บัตรเครดิตคืออะไร? ต่างจากบัตรเดบิตอย่างไร?

บัตรเครดิต คือ บัตรอิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนึ่งที่สถาบันการเงินออกให้แก่ผู้ถือบัตร เพื่อนำไปใช้จ่ายแทนเงินสด ผ่อนชำระค่าสินค้าหรือค่าบริการ และกดเงินสดยามฉุกเฉิน โดยหลังจากใช้บัตรเครดิตแล้ว ไม่จำเป็นต้องชำระเงินคืนในทันที กล่าวคือ สถาบันการเงินจะเรียกเก็บบิลค่าบัตรเครดิตหลังจากวันสรุปบัญชี ซึ่งผู้ถือบัตรจะต้องชำระค่าบัตรเครดิตภายในระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย (Grace Period) มิเช่นนั้นจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 16% ต่อปี

ทั้งนี้ ผู้ที่เพิ่งมีบัตรเครดิตใบแรกอาจคิดว่าจะรูดซื้อสินค้าและบริการเท่าใดก็ได้ตามใจชอบ เพราะผู้ถือบัตรจะใช้จ่ายได้ตามวงเงินรวมบัตรเครดิต ซึ่งวงเงินรวมบัตรเครดิต คือ จำนวนเงินสูงสุดที่ผู้ถือบัตรจะสามารถใช้จ่ายได้ เช่น สมมติว่าวงเงินบัตรเครดิตคือ 30,000 บาท หากต้องการซื้อโทรศัพท์ราคา 35,000 บาท ก็จะซื้อไม่ได้ เพราะราคาโทรศัพท์สูงกว่าวงเงินของบัตรเครดิตนั่นเอง

แล้วบัตรเครดิตต่างจากบัตรเดบิตอย่างไร? บัตรเดบิตจะทำหน้าที่ผูกเข้ากับบัญชีธนาคาร เพื่อถอนเงินสดออกจากตู้ ATM หรือนำไปรูดจ่ายได้โดยไม่ต้องถอนเงินสดออกมา ซึ่งใช้จ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินในบัญชีที่มีอยู่ และเมื่อใช้บัตรเดบิตแล้ว เงินจะถูกตัดออกจากบัญชีในทันที ทั้งนี้บัตรเดบิตไม่คิดดอกเบี้ยเหมือนกับบัตรเครดิต

ประเภทของบัตรเครดิต มีอะไรบ้าง?

หากไม่เคยสมัครบัตรเครดิตมาก่อน ก็จะเข้าใจว่าบัตรเครดิตมีเพียงประเภทเดียว แต่ความจริงแล้วบัตรเครดิต มีหลายประเภทโดยแบ่งตามลักษณะของการใช้งาน ลักษณะของผู้ออกบัตร และสิทธิประโยชน์ภายในบัตร ซึ่งมีประเภทของบัตรเครดิตที่น่ารู้ ดังต่อไปนี้

บัตรเครดิตเครือข่ายการชำระเงินภายในประเทศ (Local Credit Card)

บัตรเครดิต Local Credit Card คือ บัตรเครดิตที่ใช้งานได้เฉพาะภายในประเทศ เพราะเครือข่ายของบัตรเครดิตไม่รองรับการชำระเงินกับร้านค้าต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นบัตรเครดิตประเภทนี้มากนัก

บัตรเครดิตเครือข่ายการชำระเงินระหว่างประเทศ (International Credit Card)

บัตรเครดิต International Credit Card คือ บัตรเครดิตที่ใช้งานได้ในระดับสากล เนื่องจากเครือข่ายของบัตรเครดิตรองรับการชำระเงินทั่วโลก เช่น บัตรเครดิตเครือ Visa, Mastercard หรือ American Express ทำให้พกบัตรเครดิตที่มีสัญลักษณ์ของเครือข่ายเหล่านี้ ก็ใช้จ่ายได้ทั่วมุมโลก

บัตรเครดิตพิเศษของห้างสรรพสินค้าชั้นนำ (Private Label Card)

บัตรเครดิต Private Label Card เป็นบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินจับมือกับร้านค้า เพื่อเสนอบัตรเครดิตรุ่นพรีเมียมแก่ลูกค้าที่มีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขพิเศษโดยเฉพาะ

บัตรเครดิตนิติบุคคล (Corporate Executive Card)

บัตรเครดิตนิติบุคคลเป็นบัตรเครดิตที่สถาบันการเงินออกให้แก่ลูกค้าองค์กรเท่านั้น โดยผู้บริหารและพนักงานขององค์กรจะสามารถใช้บัตรเครดิต สำหรับจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแทนการใช้เงินสด เช่น ค่าอาหารรับรองลูกค้าบริษัท หรือค่าที่พักโรงแรม เป็นต้น

บัตรเครดิตเงินคืน (Cashback Credit Card)

บัตรเครดิตเงินคืนจะเสนอสิทธิประโยชน์เครดิตเงินคืนให้แก่ผู้ถือบัตรเป็นหลัก ซึ่งเครดิตเงินคืนจะเป็นส่วนลดที่ผู้ถือบัตรจะได้รับกลับมาเมื่อใช้จ่ายถึงยอดที่สถาบันการเงินกำหนด โดยยิ่งใช้บัตรเครดิตมากเท่าไหร่ ก็ได้เครดิตเงินคืน หรือส่วนลดกลับมามากขึ้นเท่านั้น

3 เครือข่ายบัตรเครดิตที่น่ารู้

what-is-credit-card-loan.jpg

จากข้อมูลประเภทของบัตรเครดิต จะเห็นได้ว่าเครือข่ายของบัตรเครดิตเป็นสิ่งสำคัญ กล่าวคือ ต่อให้สิทธิประโยชน์บัตรเครดิตมากเพียงใด แต่หากใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายไม่ได้ เพราะเครือข่ายของบัตรเครดิตไม่รองรับ ก็ย่อมไม่ได้สิทธิประโยชน์ ดังนั้นเราจึงควรเลือกบัตรเครดิตที่มีเครือข่ายแพร่หลายในระดับสากล ได้แก่

  • บัตรเครดิต Visa บัตรวีซ่า คือ เครือข่ายระบบการชำระเงินรุ่นแรกของโลกที่ได้รับการพัฒนามาจาก Bank of America ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958 ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 200 ประเทศทั่วโลกที่ยอมรับเครือข่าย Visa

  • บัตรเครดิต Mastercard บัตรมาสเตอร์การ์ด คือ เครือข่ายระบบการชำระเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองมาจากเครือข่าย Visa เริ่มต้นพัฒนาครั้งแรกในช่วงปี ค.ศ. 1970 โดยกลุ่มธนาคารจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และบัตรเครดิตเครือ Mastercard ก็นับเป็นรายแรกที่ให้บริการชำระในรูปแบบออนไลน์อีกด้วย

  • บัตรเครดิต JCB เป็นเครือข่ายการชำระเงินจากประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นใช้งานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1981 มีจุดเด่นตรงที่เสนอโปรโมชันพิเศษแก่นักท่องเที่ยวผู้เดินทางมาญี่ปุ่นเช่น จุดบริการ JCB ซึ่งให้บริการเก็บกระเป๋าเดินทางฟรี หรือบริการ JCB Plaza Call Center ที่เป็นผู้ช่วยให้นักท่องเที่ยวจองที่พักล่วงหน้าได้ เป็นต้น

ชวนทำความเข้าใจบัตรเครดิตมีประโยชน์อะไรบ้าง

การทำบัตรเครดิตเอาไว้ใช้จ่ายย่อมมีประโยชน์มากกว่าการซื้อสินค้าด้วยเงินสด เพราะนอกจากจะใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายแล้ว เจ้าของบัตรยังได้สิทธิพิเศษอีกมากมาย อาทิ

1. ไม่ต้องซื้อสด ผ่อนจ่ายก่อนได้

เรียกได้ว่าเป็นข้อเสนอพิเศษแก่ผู้ถือบัตรเครดิตโดยเฉพาะ กล่าวคือ การจ่ายด้วยเงินสดหรือสแกนจ่ายผ่าน Mobile Banking จะขอผ่อนจ่ายกับร้านค้าโดยตรงไม่ได้ แต่ผู้สมัครบัตรเครดิตออนไลน์ไม่ต้องควักเงินก้อนจ่ายในครั้งเดียว เนื่องจากใช้บัตรเครดิตผ่อนชำระได้ โดยไม่เสียดอกเบี้ยนั่นเอง

2. ลดหย่อนภาษี

หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าเราสามารถใช้บัตรเครดิตลดหย่อนภาษีได้ ด้วยการนำแต้มสะสมคะแนนที่ได้รับ ไปแลกเป็นเงินเพื่อบริจาคให้แก่มูลนิธิ โรงเรียน หรือโรงพยาบาลที่เข้าร่วมรายการ ซึ่งจะลดหย่อนได้ 2 เท่าของยอดบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้ หลังหักค่าใช้จ่าย หรือค่าลดหย่อนอื่นๆ และนอกจากจะลดหย่อนกลุ่มบริจาคได้แล้ว ยังสามารถนำแต้มคะแนนไปแลกเงินลงทุนในกองทุน SSF ซึ่งจะลดหย่อนได้ 30% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะใช้แต้มบัตรเครดิตแลกเป็นเงินบริจาคหรือเงินลงทุน ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่าแต้มบัตรเครดิตแลกเป็นเงินได้เท่าไหร่ เพราะเงื่อนไขของผู้ออกบัตรเครดิตแต่ละรายไม่เหมือนกัน เช่น บางสถาบันการเงินอาจกำหนดให้นำทุก 1,000 คะแนน แลกเป็นเงินบริจาคได้ 100 บาท แต่อีกสถาบันการเงินก็อาจกำหนดให้แลกได้ 200 บาท ดังนั้น หากกำลังวางแผนลดหย่อนภาษีก็ควรเลือกบัตรเครดิตที่แต้มคะแนนสามารถแลกเป็นเงินบริจาคหรือเงินลงทุนได้มากกว่า เพื่อลดหย่อนภาษีได้มากที่สุด

3. ได้สิทธิประโยชน์เพียบ

นอกจากจะผ่อน 0% นาน 10 เดือนได้แล้วความพิเศษของเครดิตการ์ดคือ มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์อีกมากมาย เช่น เราสามารถนำแต้มสะสมบัตรเครดิตไปแลกส่วนลดร้านอาหาร หรือ Gift Voucher ของห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมรายการ และเครดิตเงินคืนที่ได้รับ จากบัตรเครดิตประเภท Cashback ก็สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นส่วนลดค่าบัตรเครดิตได้ด้วยเช่นเดียวกัน

คำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตด้วยตนเอง ทำได้อย่างไร?

นอกจากจะรู้ว่าควรใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว การทำความเข้าใจถึงวิธีคิดคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตว่าคืออะไรก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยให้คุณไม่เสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น ซึ่งสามารถศึกษาวิธีคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้จากตัวอย่างดังนี้

นาย C ใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2567 โดยวันครบกำหนดชำระ คือ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 แต่ปรากฏว่านาย C จ่ายค่าบัตรเครดิต 50,000 บาท ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 โดยกรณีนี้แม้ว่านาย C จะจ่ายเต็มจำนวนก็จริง แต่จ่ายเลยวันกำหนดชำระ ซึ่งสามารถคิดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในกรณีนี้ ได้จากสูตรคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิต นั่นคือ

ค่าใช้จ่ายXอัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปีXจำนวนวัน(นับจากวันที่ทำรายการถึงวันก่อนชำระ 1 วัน)/365

โดยจำนวนวันในที่นี้ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 32 วัน (นับจากวันที่ 29 ตุลาคม - 29 พฤศจิกายน) เมื่อแทนค่าเข้าไปจะได้ว่า นาย C จะเสียดอกเบี้ยบัตรเครดิตเท่ากับ 50,000X16%X32/365 = 701.36 บาท

แต่ทั้งนี้ กรณีการจ่ายบัตรเครดิตล่าช้า นาย C จะต้องจ่ายค่าติดตามทวงถามบัตรเครดิต โดยในส่วนนี้ของแต่ละธนาคารจะคิดไม่เท่ากัน ซึ่งโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 100 บาท และเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% ด้วย

แนะนำทริคเด็ด! ใช้บัตรเครดิตอย่างไรให้ห่างไกลหนี้

จะเห็นได้ว่าบัตรเครดิตก็คือสินเชื่อประเภทหนึ่งเหมือนกับสินเชื่อส่วนบุคคลประเภทอื่น ก่อนใช้จ่ายจึงต้องคิดให้ดีทุกครั้ง มิเช่นนั้นจะเป็นหนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถ้าใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาดด้วยวิธีดังต่อไปนี้ ไม่มีทางเป็นหนี้ง่ายๆ แน่นอน

  1. คิดว่าการรูดบัตรเครดิตทุกครั้ง คือการจ่ายเงินออกไปจริงๆ
    บัตรเครดิตเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยให้ผู้ถือบัตรได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาควักเงินสดจ่าย และในปัจจุบันบัตรเครดิตก็ได้รับการพัฒนาให้ใช้จ่ายทางออนไลน์ได้อีกด้วย ซึ่งจากข้อดีเหล่านี้อาจทำให้ผู้ถือบัตรใช้จ่ายเกินตัว เพราะตอนใช้จ่ายไม่ได้จับเงินจริงๆ เลยไม่รู้ว่าได้ใช้จ่ายไปแล้วทั้งหมดเท่าไหร่ ซึ่งวิธีแก้ปัญหานี้ ก็ง่ายๆ เพียงจดบันทึกการใช้จ่ายบัตรเครดิตเป็นประจำทุกครั้ง ก็จะช่วยควบคุมการใช้จ่ายบัตรเครดิตได้

  2. จ่ายขั้นต่ำให้น้อยที่สุด
    ผู้ถือบัตรเครดิตบางคนเลือกชำระขั้นต่ำ 3% แทนการชำระเต็มจำนวน เพราะไม่มีเงินสดมากพอจะจ่ายค่าบัตรเครดิตทั้งหมด ซึ่งช่วยให้ผู้ถือบัตรยังผ่อนชำระต่อได้โดยไม่ค้างชำระ แต่หากเป็นไปได้ แนะนำให้จ่ายขั้นต่ำให้น้อยครั้งที่สุดจะดีกว่า เนื่องจากยอดคงเหลือจากการชำระขั้นต่ำในงวดก่อน จะถูกยกยอดไปคิดคำนวณรวมกับยอดคงค้างบัตรเครดิตในงวดถัดไป และหากงวดถัดไปยังคงเลือกจ่ายขั้นต่ำอีก ยอดชำระขั้นต่ำก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น แบบงูกินหางที่ไม่มีที่สิ้นสุด

  3. ไม่ผ่อน 0% กับสินค้านอกรายการ
    บริการผ่อนบัตรเครดิต 0% คือ การผ่อนชำระกับสินค้าที่เข้าร่วมรายการ แบบไม่เสียดอกเบี้ย โดยจะผ่อนชำระได้นาน 10 เดือน แต่ทั้งนี้ใช่ว่าสินค้าทุกรายการจะเข้าร่วมบริการผ่อน 0% ด้วยเหตุนี้ก่อนรูดบัตรเครดิต ควรตรวจสอบให้ดีว่าบัตรเครดิตที่คุณถือครองอยู่เข้าร่วมกับรายการสินค้าที่คุณสนใจหรือไม่แล้ว มิเช่นนั้นแล้วเมื่อรูดบัตรเครดิตกับสินค้าที่ไม่เข้าร่วมรายการไป จะจ่ายดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ตามที่สถาบันการเงินกำหนด ซึ่งถือเป็นการก่อหนี้โดยไม่จำเป็น

บัตรเครดิต คืออะไร รู้แล้วห้ามพลาด MAKE by KBank ตัวช่วยจัดการค่าบัตรเครดิต

apply-online-credit-card.jpg

ทุกคนคงจะได้คำตอบไปอย่างครบถ้วนแล้วว่าบัตรเครดิตคืออะไร และเข้าใจความหมายของเครือข่าย Visa และ Mastercard กันไปแล้ว หากกำลังมองหาตัวช่วยให้ใช้จ่ายบัตรเครดิตให้ห่างไกลหนี้ ห้ามพลาดกับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank เพราะมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ให้คุณจัดการเงินได้อย่างเป็นสัดส่วน ได้แก่

  • Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้งานจัดการเงินได้อย่างเป็นสัดส่วน ผ่านการสร้างกระเป๋า Cloud Pocket ที่สามารถตั้งชื่อได้ตามที่ต้องการ เช่น ถ้าอยากวางแผนจ่ายค่าบัตรเครดิต ก็ตั้งชื่อกระเป๋าว่าค่าบัตรเครดิต โดยหลังจากรูดบัตรเครดิตแล้ว ก็โอนเงินเท่าที่ใช้จ่ายจาก Cashbox เข้ากระเป๋า Cloud Pocket และเมื่อถึงเวลากำหนดชำระแล้ว ก็ค่อยโอนเงินจากกระเป๋า Cloud Pocket โอนจ่ายค่าบัตรเครดิตต่อไป

  • Expense Summary

หากอยากรู้ว่าจ่ายค่าบัตรเครดิตไปแล้วทั้งหมดเท่าไหร่ แค่เข้าไปที่ฟีเจอร์ Expense Summary ก็จะทราบประวัติการจ่ายค่าบัตรเครดิตทั้งหมด ทำให้วางแผนการใช้บัตรเครดิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเดือนใดมีค่าบัตรเครดิตสูงกว่าเดือนก่อนหน้า ก็สามารถปรับลดรายจ่ายที่เกิดจากการรูดซื้อของที่ไม่จำเป็นได้

เมื่อรู้แล้วว่าฟีเจอร์ MAKE by KBank ช่วยให้คุณวางแผนทางการเงินได้ดีขนาดนี้ อย่าลืมไปดาวน์โหลดกันได้เลยที่ App Store และ Play Store ที่สำคัญแค่ฝากเงินเข้าไปใน MAKE by KBank ก็ได้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ดีกว่าแค่ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปแบบเห็นๆ

SEOBanner.png

Back to Home

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ