ขอเงินคืนภาษีกี่วันได้? ตอบคำถามพร้อมวิธีตรวจสอบสถานะ
การขอคืนภาษีเป็นสิทธิ์ที่ผู้เสียภาษีสามารถใช้ได้หากได้ชำระภาษีเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ แต่หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ เช่น การตรวจสอบเงินคืนภาษีว่ามีความคืบหน้าอย่างไร และคำถามยอดฮิตอย่าง ขอเงินคืนภาษีกี่วันได้? ก็ยังเป็นที่สงสัยของหลายคน แล้วถ้าต้องการติดตามสถานะคืนภาษีจะมีวิธีการและช่องทางในการตรวจสอบอย่างไร ในบทความนี้เราจะมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอคืนภาษีและวิธีการติดตามสถานะคืนภาษีอย่างละเอียด เพื่อให้คุณสามารถจัดการเรื่องภาษีได้อย่างมั่นใจและไม่พลาดทุกขั้นตอน!
สารบัญบทความ
- เงินคืนภาษีคืออะไร ทำไมถึงควรทำความรู้จัก?
- การตรวจสอบเงินคืนภาษีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
- ช่องทางรับเงินคืนภาษีที่กำหนดโดยกรมสรรพากร
- บัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
- เช็คพร้อมหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
- ยื่นเงินคืนภาษี กี่วันถึงได้คืน?
- จัดการเงินคืนภาษี และวางแผนการเงินผ่าน MAKE by KBank
- เงินคืนภาษี รู้จักไว้เพื่อประโยชน์ทางการเงิน
เงินคืนภาษีคืออะไร ทำไมถึงควรทำความรู้จัก?
เงินคืนภาษี คือ การที่ผู้เสียภาษีได้รับเงินคืนจากการที่ได้ชำระภาษีเกินไปในระหว่างปี โดยเงินที่ได้รับคืนจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น จำนวนภาษีที่ได้จ่ายไปแล้วและการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีต่างๆ เช่น ค่าลดหย่อนบุตร ประกันชีวิต หรือเงินบริจาค เป็นต้น และสามารถขอคืนภาษีได้ขึ้นอยู่กับยอดเงินที่กรมสรรพากรคำนวณจากการยื่นภาษีประจำปีนั้น ๆ
สำหรับคำถามที่ว่าเงินเดือนเท่าไหร่เสียภาษี ผู้ที่มีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนดจะต้องเสียภาษีเงินได้ตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด โดยศึกษาได้เพิ่มเติมได้ที่นี่ : วิธีคำนวณภาษี
การตรวจสอบเงินคืนภาษีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
การตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษีสามารถทำได้หลังจากที่ยื่นแบบภาษีเรียบร้อยแล้ว หากต้องการทราบว่าเงินคืนภาษีอยู่ในขั้นตอนใดแล้วจะมีวิธีตรวจสอบการคืนภาษีตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เตรียมข้อมูล : ก่อนที่จะตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษีจะต้องเตรียมข้อมูลพื้นฐานให้พร้อม เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี (เลขประจำตัวประชาชน) และข้อมูลจากแบบฟอร์มภาษี ซึ่งกรณียื่นทางออนไลน์จะมีเลขที่ยื่นภาษีหรือเลขที่เอกสารการยื่นภาษีอยู่แล้ว
- เข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากร : คุณสามารถตรวจสอบสถานะเงินคืนภาษีได้ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรที่ www.rd.go.th โดยเลือกที่เมนู “ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี”
- กรอกข้อมูล : ใส่ข้อมูลที่ระบบต้องการ เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถตรวจสอบสถานะล่าสุดของการคืนภาษีได้
- ติดตามสถานะ : ระบบจะบอกสถานะของเงินคืนภาษี เช่น พิจารณาคืนภาษี, ส่งคืนภาษี หรือได้รับภาษีคืน โดยอาจมีสถานะ “อยู่ระหว่างดำเนินการ” หากยังไม่ได้รับการอนุมัติ
- ตรวจสอบช่องทางการรับเงินคืน : หากสถานะบอกว่าอนุมัติแล้ว คุณจะสามารถตรวจสอบได้ว่าเงินคืนภาษีจะโอนเข้าบัญชีธนาคารที่คุณได้ผูกไว้กับเลขประจำตัวประชาชน หรือรับผ่านช่องทางอื่นๆ
- ติดตามผลเพิ่มเติม : หากสถานะยังค้างหรือไม่มีการอัปเดต คุณสามารถโทรติดต่อกรมสรรพากรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ
ช่องทางรับเงินคืนภาษีที่กำหนดโดยกรมสรรพากร
1.บัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
กรมสรรพากรจะโอนเงินภาษีที่ได้รับการอนุมัติคืนเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ได้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนเชื่อมโยงกับบัญชีธนาคาร และได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนภาษีผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารนั้น
2. ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
กรณีที่ผู้ขอคืนภาษีไม่ประสงค์รับเงินคืนผ่านการโอนเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อรับเงินคืนที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามที่ผู้ขอคืนเงินได้แจ้งความประสงค์ไว้ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
- กรณีผู้ขอคืนภาษีเดินทางไปรับเงินคืนภาษีด้วยตนเอง
สามารถแจ้งธนาคารให้คืนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนหลังได้รับหนังสือ ค.21 ได้เลย อีกช่องทางคือให้ธนาคารคืนเงินเข้ากับบัญชีธนาคารกรุงไทยหรือ ธ.ก.ส. หมดห่วงรอคำตอบว่าเงินภาษีได้คืนเมื่อไหร่ได้เลย - กรณีผู้ขอคืนภาษีมอบอำนายให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน
ธนาคารจะทำการคืนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทยหรือ ธ.ก.ส. ของผู้ขอคืนภาษีเท่านั้น ไม่สามารถให้ผู้อื่นรับเงินแทนได้
3. เช็คพร้อมหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
กรณีผู้ขอคืนภาษีที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เช่น ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ทางกรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 พร้อมเช็คเงินคนภาษี แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังที่อยู่ที่ระบุในแบบแสดงรายการ เพื่อนำไปฝากเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น
ยื่นเงินคืนภาษี กี่วันถึงได้คืน?
มาถึงคำถามที่ใครหลายๆ คนสงสัยนั่นก็คือ ขอคืนภาษีกี่วันได้? ส่วนมากแล้ว หากเอกสารครบถ้วนและได้รับการยืนยันจะได้เงินคืนภายในระยะเวลา 3-4 วันเท่านั้น แต่หากเอกสารมีปัญหาหรือไม่มีความชัดเจนอาจต้องทำการรอนานถึง 3 เดือนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น นอกจากต้องเช็กยอดคืนภาษีให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ต้องทำการเช็คเอกสารให้เรียบร้อยด้วยนั่นเอง
จัดการเงินคืนภาษี และวางแผนการเงินผ่าน MAKE by KBank
การวางแผนการเงินและการลดหย่อนภาษีเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความสำคัญในช่วงปลายปี ซึ่งการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ยังช่วยให้สามารถลดภาระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ แอป MAKE by KBank เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการเงินได้ง่ายและสะดวก เช่น Expense Summary ที่ช่วยในการจัดการและสรุปข้อมูลรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน หรือ Cloud Pocket ที่ตั้งกระเป๋าสำหรับแบ่งเงินเก็บและเงินใช้จ่ายเป็นสัดส่วน
รวมทั้งยังสามารถทำประกันชีวิตออมสั้น คืนไว 11/3 ผ่านแอป MAKE by KBank ได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการลดหย่อนภาษีที่ได้รับความนิยม ช่วยให้คุณวางแผนการเงินและลดหย่อนภาษีได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไป!
เงินคืนภาษี รู้จักไว้เพื่อประโยชน์ทางการเงิน
การขอเงินคืนภาษี ถือเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้คุณได้รับเงินที่จ่ายเกินจากการยื่นภาษีกลับมาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว โดยสามารถตรวจสอบสถานะการคืนภาษีและเลือกช่องทางการรับเงินคืนได้ตามสะดวก ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกที่สะดวกและรวดเร็วคือการรับเงินคืนภาษีผ่านระบบพร้อมเพย์ โดยหากใช้แอป MAKE by KBank ก็สามารถรับเงินคืนภาษีได้โดยตรง นอกจากนี้ แอป MAKE by KBank ยังช่วยให้คุณสามารถวางแผนการเงินและจัดการเงินที่ได้จากการคืนภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการทำประกันลดหย่อนภาษี การบริหารจัดการเงินในบัญชี หรือแม้แต่การออมเงินเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ก็ครบจบในแอปเดียว
เพียงแค่ดาวน์โหลด MAKE by KBank วันนี้ก็สามารถเริ่มต้นจัดการการเงินอย่างมืออาชีพ รับเงินคืนภาษีผ่านพร้อมเพย์ในแอป และวางแผนการเงินเพื่ออนาคตได้อย่างง่ายดาย