สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

วิธีคำนวณภาษี 2567 ง่ายๆ ที่มือใหม่เริ่มต้นได้ด้วยตนเอง

how-to-calculate-tax.jpg

วิธีคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปัญหาน่าปวดหัวอันดับต้นๆ ของมนุษย์เงินเดือนยุคใหม่ เพราะไม่มีใครสอนเรื่องนี้ในระบบการเรียน พอถึงเวลาต้องคิดภาษีเองก็ทำได้ไม่ถูกต้อง เพราะมีรายการลดหย่อนภาษีมากมายเต็มไปหมด ดังนั้น ในบทความนี้เราจึงชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับวิธีคำนวณภาษีด้วยตนเอง อ่านจบแล้วแม้เป็นมือใหม่ก็คำนวณภาษีบุคคลธรรมดาได้อย่างถูกต้อง!

สารบัญบทความ

  • ก่อนคำนวณภาษีควรรู้อะไรบ้าง?
  • รายได้ทั้งปี
  • รายการลดหย่อนภาษี
  • อัตราภาษี
  • รายได้สุทธิ
  • ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีด้วยตนเอง
  • การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
  • การคำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย
  • ประกันลดหย่อนภาษีจาก MAKE by KBank ตัวช่วยประหยัดภาษีได้ง่ายๆ
  • Cloud Pocket
  • วิธีคำนวณภาษีไม่ยากอย่างที่คิด แม้เป็นมือใหม่ก็ทำได้!

ก่อนคำนวณภาษีควรรู้อะไรบ้าง?

ก่อนเริ่มศึกษาวิธีคำนวณภาษีด้วยตนเอง จำเป็นต้องรู้เป็นอันดับแรกว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างที่นำมาใช้ในการคำนวณภาษี เพื่อคิดภาษีได้อย่างถูกต้อง โดยมีข้อมูลที่ทุกคนควรรู้ดังต่อไปนี้

รายได้ทั้งปี

รายได้ทั้งปีเป็นข้อมูลทางการเงินเบื้องต้นที่สะท้อนว่าผู้จ่ายภาษีมีความสามารถในการหารายได้ทั้งหมดเท่าไหร่ภายในหนึ่งปี โดยสามารถหารายได้ทั้งปีได้จากสูตร รายได้ต่อเดือน x12 เช่น หากทำงานได้เงินเดือน 40,000 บาท เท่ากับว่ารายได้ทั้งปีจะอยู่ที่ 40,000x12 = 480,000 บาท ทั้งนี้ หากผู้เสียภาษีทำงานเสริมก็ต้องนำรายได้จากงานพิเศษมาคำนวณเพื่อหารายได้ทั้งปีด้วย

รายการลดหย่อนภาษี

รายการลดหย่อนภาษีเป็นสิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐเสนอให้แก่ผู้เสียภาษีในการนำไปหักรายได้ทั้งปี เพื่อให้เสียภาษีลดลง ซึ่งตัวอย่างของรายการที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ที่ลดหย่อนได้สูงสุด 60,000 บาท หรือค่าลดหย่อนจากการทำประกันชีวิตที่สามารถลดหย่อนได้ตามประเภทและเกณฑ์ของกรมสรรพากร เป็นต้น ด้วยเหตุนี้หากศึกษาวิธีคิดลดหย่อนภาษีให้ดีจะช่วยประหยัดภาษีที่ต้องเสียไปได้

อัตราภาษี

อัตราภาษีเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายว่าบุคคลที่มีรายได้สุทธิในช่วงต่างๆ จะเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น หากมีรายได้สุทธิอยู่ในช่วง 0-150,000 บาทต่อปีจะได้รับการยกเว้นภาษี หรือรายได้สุทธิในช่วง 150,001-300,000 บาท จะเสียภาษีในอัตรา 5% เป็นต้น ทั้งนี้ หากผู้เสียภาษีมีรายได้สุทธิเกินกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป จะเสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 35%

รายได้สุทธิ

กรมสรรพากรไม่ได้นำรายได้ทั้งปีของผู้จ่ายภาษีมาใช้ในการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่จะคิดฐานเสียภาษี จากรายได้สุทธิ โดยรายได้สุทธิยิ่งสูง อัตราภาษีที่จ่ายก็ยิ่งมากตาม ซึ่งสามารถคำนวณหารายได้สุทธิ ได้จากสูตร

รายได้สุทธิ = รายได้ทั้งปี - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

หลังจากคำนวณรายได้สุทธิเสร็จแล้ว จะนำไปเทียบกับตารางรายได้สุทธิ-อัตราภาษีของกรมสรรพากร เพื่อคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดต่อไป

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีด้วยตนเอง

เมื่อทราบกันไปแล้วว่าองค์ประกอบที่นำมาใช้การคํานวณภาษีมีอะไรบ้าง เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงวิธีคำนวณภาษีด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ก็สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากตัวอย่างการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังต่อไปนี้

การคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

การคำนวณภาษีดังกล่าว เป็นวิธีคำนวณภาษีเงินได้ขั้นพื้นฐานที่กรมสรรพากรใช้ในการคำนวณว่าบุคคลนั้นๆ ต้องจ่ายภาษีจำนวนเท่าไหร่ โดยนำรายได้สุทธิไปเทียบกับตารางรายได้สุทธิ-อัตราภาษี ดังนี้

tax rate.png

สมมติว่าคุณมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 40,000 บาท มีสิทธิ์หักลดหย่อนอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ สิทธิ์ลดหย่อนส่วนตัว ซึ่งลดหย่อนได้สูงสุด 60,000 บาท และสิทธิ์จากการทำประกันลดหย่อนได้ 100,000 บาท เท่ากับว่ารายได้สุทธิของคุณจะอยู่ที่ (40,000x12) - 60,000 - 100,000 = 320,000 บาท

ซึ่งเมื่อเทียบตารางขั้นภาษีรายได้สุทธิ-อัตราภาษีแล้ว พบว่ารายได้สุทธิสูงสุดตกอยู่ที่ช่วง 300,001-500,000 บาท แต่ทั้งนี้ การคิดภาษีแบบขั้นบันไดจะไม่นำอัตราภาษี 10% ไปคิด ด้วยสูตรคำนวณภาษี รายได้สุทธิ*อัตราภาษีโดยตรง เพราะต้องคำนวณภาษีของรายได้สุทธิขั้นก่อนหน้าเสียก่อน จะได้ว่า

ภาษีเงินได้ขั้นที่ 1 ช่วงรายได้ 0-150,000 บาท เท่ากับ 150,000*0% = 0 บาท

ภาษีเงินได้ขั้นที่ 2 ช่วงรายได้ 150,001-300,000 บาท เท่ากับ 150,000*5% = 7,500 บาท

ภาษีเงินได้ขั้นที่ 3 ช่วงรายได้ 300,001-500,000 บาท เท่ากับ 20,000*5% = 1,000 บาท

ดังนั้น กรณีนี้จะเสียภาษีเงินได้ทั้ง 2 ขั้น รวมกันเท่ากับ 0+7,500+1,000 = 8,500 บาท

การคำนวณภาษีแบบเหมาจ่าย

สำหรับภาษีบุคคลธรรมดาแบบเหมาจ่ายมีวิธีคํานวณด้วยสูตร

(เงินได้ทุกชนิด - เงินเดือน)X0.005

วิธีคิดภาษีแบบนี้แตกต่างจากการคิดภาษีแบบขั้นบันไดตรงที่จะไม่คิดเงินเดือนรวมเข้ากับเงินได้พิเศษจากการทำงานเสริมเข้าไป จึงเหมาะแก่พนักงานประจำที่มีรายได้หลายช่องทาง แต่ทั้งนี้ เงินได้ทุกชนิดของผู้เสียภาษีต้องมากกว่า 1,000,000 บาทขึ้นไปถึงจะคำนวณภาษีแบบเหมาจ่ายได้ และหากคำนวณออกมาแล้วภาษีแบบเหมาจ่ายออกมาน้อยกว่า 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บ

ตัวอย่างเช่น นาย ก. เงินได้ทุกชนิดทั้งปีรวมกัน 1.05 ล้านบาท มีเงินเดือน 25,000 บาท เมื่อคิดภาษีแบบเหมาจ่ายแล้วจะได้ว่า (1,050,000 - 25,000) X 0.005 = 5,125 บาท ซึ่งกรณีนาย ก. ต้องจ่ายภาษีให้แก่กรมสรรพากร เพราะภาษีที่เสียเกินกว่า 5,000 บาท

ประกันลดหย่อนภาษีจาก MAKE by KBank ตัวช่วยประหยัดภาษีได้ง่ายๆ

how-to-calculate-tax-by-yourself.jpg

จากวิธีคำนวณภาษีทั้ง 2 รูปแบบที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทุกคนคงเห็นภาพมากขึ้นแล้วว่าการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาทำได้อย่างไร แต่การใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องยุ่งยาก ทำให้ต้องใช้ตัวช่วยทางการเงินอย่าง MAKE by KBank ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์บริหารจัดการเงิน และประกันลดหย่อนภาษีภายในแอปเดียว ดังรายละเอียดต่อไปนี้

Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้งานสร้างกระเป๋า Cloud Pocket ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้หลังจากเงินเดือนออกแล้ว ก็สามารถนำเงินแบ่งเข้ามาในกระเป๋า Cloud Pocket เพื่อนำเงินไปซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สำหรับลดหย่อนภาษีได้ และหากไม่รู้ว่าจะซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์แบบไหนดีที่จะช่วยลดหย่อนภาษี แอปพลิเคชัน MAKE by KBank ก็มีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์น่าสนใจ อย่างประกันชีวิตออมสั้นคืนไว 11/3 ให้ผู้ใช้งานลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ อีกด้วย และยังมีประกันประเภทอื่นๆ อีกหลายตัวที่สามารถใช้ลดหย่อยภาษีได้ ใครที่กำลังมองหาประกันดีๆ ที่น่าเชื่อถือก็ลองเข้าไปดูบนแอป MAKE by KBank ได้เลย

วิธีคำนวณภาษีไม่ยากอย่างที่คิด แม้เป็นมือใหม่ก็ทำได้!

ถึงแม้ว่าในสมัยเรียน ไม่มีใครสอนถึงวิธีคำนวณภาษีว่าต้องทำอย่างไร แต่วิธีคิดภาษีเงินได้ทุกคนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ผ่านการคำนวณภาษีทั้งแบบขั้นบันไดและแบบเหมาจ่าย ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจหลักการเสียภาษี และหาทางลดหย่อนได้อย่างถูกต้อง

หากมีรายการลดหย่อนภาษีหลายรายการ ไม่รู้จะบริหารจัดการเงินอย่างไรดี? ห้ามพลาดกับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ตัวช่วยให้การบริหารจัดการเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องง่าย มาพร้อมกับฟีเจอร์รู้ใจมนุษย์เงินเดือนและผลิตภัณฑ์ประกันสะสมทรัพย์น่าสนใจมากมาย

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ