Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

เริ่มต้นออมเงิน 1,000 บาท ไม่ยาก ใคร ๆ ก็ทำได้

saving-money-1000-baht.jpg

หลังเงินเดือนออก มนุษย์เงินเดือนคงวางแผนการใช้จ่ายต่างๆ สำหรับเป็นรางวัลให้แก่ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าโรงภาพยนตร์, ซื้อแล็ปท็อปรุ่นใหม่สักเครื่อง หรือไปเที่ยวต่างจังหวัด รู้ตัวอีกทีก็ไม่มีเงินเก็บตามที่ตั้งใจเอาไว้

เพื่อให้คุณออมเงินได้อย่างน้อยเดือนละ 1,000 บาทแน่นอน เราจึงนำ 5 เทคนิคการวางแผนการเงิน ที่จะช่วยให้ทุกคนมีเงินเก็บ จนสามารถต่อยอดแผนการเงินอื่นๆ ในอนาคต หมดปัญหาไม่มีเงินช่วงสิ้นเดือน จนต้องกู้หนี้ยืมสินให้เสียดอกเบี้ยไปได้เลย

1. ออมเงินทันทีเมื่อเงินเดือนออก

คนส่วนมากนิยมการออมเงินหลังใช้จ่ายเพราะมักคิดว่าการออมเงินก่อนใช้ จะทำให้ไม่มีเงินถึงวันสิ้นเดือน จนต้องขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือแม้แต่ยืมเงินกับคนรู้จัก

ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะออมเงิน 1,000 บาท หลังจากใช้จ่ายไปแล้ว เพราะระหว่างต้นเดือนจนถึงสิ้นเดือน คุณจะเจอกับสิ่งล่อตาล่อใจไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ที่จัดโปรโมชันผ่อน 0% นาน 10 เดือน หรือเข้าร้านอาหารที่นักรีวิวแนะนำ ทำให้การออมเงินกลายเป็นเริ่องยาก

ดังนั้นเมื่อเงินเดือนออก เราแนะนำหักออมทันทีใส่บัญชีเงินฝากประจำที่ได้เปิดเอาไว้ ซึ่งจะช่วยให้คุณมีเงินเก็บแน่นอน แถมการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำก็ไม่ง่าย เพราะต้องเดินทางไปถอนถึงสาขา และการถอนเงินออกมาก่อนระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด ก็จะได้รับดอกเบี้ยในเรทของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แทน

แต่ถ้าออมเงิน 1,000 บาทไม่ได้ เพราะมีค่าใช้จ่ายมากเกินไป เช่น ส่งเงินให้ครอบครัว
อย่างน้อยควรออมขั้นต่ำ 100 - 500 บาทแทน เพื่อมั่นใจได้ว่าจะมีเงินเก็บทุกเดือน สำหรับเตรียมพร้อมกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

2. หาแรงบันดาลใจในการช่วยออมเงิน

การตั้งเป้าหมายออมเงิน เช่น เก็บเงินซื้อบ้าน หรืออยากมีธุรกิจส่วนตัว จะช่วยให้คุณออมเงินได้ดีขึ้น เพราะการเก็บเงินอย่างไร้จุดหมาย เมื่อเจอสิ่งล่อตาล่อใจ ก็จะใช้เงินไปกับสิ่งนั้นทันที ทำให้ออมเงินไม่ได้ตามที่ต้องการ

แต่ถ้ามองว่าการเก็บเงินซื้อบ้าน หรือทำธุรกิจส่วนตัวเป็นเรื่องยากเกินไป จนไม่อยากออมเงินเสียก่อน คุณอาจเริ่มต้นเก็บเงินกับการซื้อของเล็กน้อย เช่น ตั้งเป้าซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่อยากได้ด้วยเงินสด เมื่อเก็บเงินได้ตามที่ต้องการแล้ว ค่อยขยับจากการออม 1,000 บาท ไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น

3. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจ

การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เป็นเรื่องที่ทุกคนเคยได้ยิน แต่การลงตัวเลขในบัญชีอย่างถูกต้องกลับไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด เพราะหลายคนมักละเลยกับค่าใช้จ่ายเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นค่าขนมจุกจิก หรือค่ารถประจำทาง นอกจากจะลงรายการไม่ครบแล้ว ยังมีโอกาสลืมทำบัญชีรายรับรายจ่ายอีกด้วย

ดังนั้นหากต้องการตรวจสอบแผนการใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้ตรงความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้เริ่มต้นออมเงิน 1,000 บาทได้ จึงควรหมั่นลงตัวเลขอย่างสม่ำเสมอ และพยายามลงรายการค่าใช้จ่ายให้ครบทุกรายการ

4. อย่ารูดบัตรเครดิตโดยไม่จำเป็น

หนี้สินเป็นอุปสรรคสำคัญของผู้วางแผนออมเงินเดือนละ 1,000 บาท เพราะทำให้เก็บเงินได้น้อยลง จากการที่ต้องแบ่งเงินบางส่วนไปผ่อนหนี้ และสินเชื่อส่วนบุคคลอย่างบัตรเครดิต ก็คิดอัตราดอกเบี้ยสูงไม่แพ้กับสินเชื่ออื่นๆ

ซึ่งอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต คือ 16% ต่อปี สาเหตุที่คิดดอกเบี้ยสูง เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้หากชำระไม่ตรงเวลา หรือจ่ายขั้นต่ำแทนที่จะชำระเต็มวงเงิน รับรองว่าดอกเบี้ยที่ต้องชำระต่องวด อาจเพิ่มขึ้นมาพอๆ กับเงินต้นได้เลย

แต่บัตรเครดิตหากใช้ให้ดีก็ช่วยให้คุณออมเงิน 1,000 บาทได้ เพราะแต้มบัตรเครดิตมีสิทธิพิเศษที่สามารถใช้เป็นส่วนลดกับสินค้าที่เข้าร่วมรายการ ทำให้ออมเงินได้เพิ่มขึ้นนั่นเอง

5.หาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ก็ช่วยให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น

หากกำลังประสบปัญหาไม่สามารถออมเงิน 1,000 บาทได้ เพราะค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันสูงเกินไป ประกอบกับรายได้น้อย และเงินเดือนแทบไม่เคยขึ้น วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ทุกคนทำได้ คือ การหาอาชีพเสริม ที่เหมาะสมกับตนเอง

การทำอาชีพเสริมมีหลากหลายช่องทาง และสมัครง่าย เพียงแค่ใช้สมาร์ตโฟน เช่น สมัครเป็นไรเดอร์ หรือรับงานฟรีแลนซ์ต่างๆ ซึ่งงานเสริมรูปแบบดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงออฟฟิศ ทำให้คุณออกแบบเวลาการทำงานได้อย่างเหมาะสม เพราะเลือกเวลาการทำงานได้ด้วยตนเอง

แต่ทั้งนี้หากคุณตัดสินใจทำงานเสริมแล้ว ก็อย่าหักโหมจนเกินไป ควรหาเวลาสำหรับการออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ทำงานเสริมได้ในระยะยาว ที่สำคัญไม่ควรให้อาชีพเสริมกระทบกับงานประจำ เพราะหากขาดรายได้ประจำขึ้นมาแล้ว ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนการเงินในระยะยาวแน่นอน

ตัวอย่างตารางออมเงิน 1,000 บาท

หลังจากทำความรู้จัก 5 วิธีเก็บเงินของมนุษย์เงินเดือน เพื่อออมเงินให้ได้ 1,000 บาทไปเบื้องต้นแล้ว รู้หรือไม่ว่ายังมีอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณออมเงินได้ด้วย นั่นคือ ตารางออมเงิน ซึ่งเป็นวิธีเก็บเงินในแบบฉบับคนรุ่นเก่า

คนรุ่นใหม่อาจสงสัยว่าตารางออมเงิน คืออะไร? คำตอบคือ เป็นตารางที่ช่วยวางแผนออมเงินได้ทุกวัน ไม่ว่าจะวันละ 5 บาท หรือ 10 บาท เมื่อหยอดเงินได้แล้ว ก็ใช้ปากกาขีดฆ่าวันนั้นๆ ออก ซึ่งตารางออมเงินก็มีหลายประเภท เช่น ตารางออมเงิน 500 บาท หรือตารางออมเงิน 1,000 บาท

ถ้าคุณวางแผนออมเงิน 1,000 บาท ให้ได้ทุกเดือน ก็อาจสร้างตารางด้วยตนเอง โดยกำหนดให้เก็บเงินวันละ 30-40 บาท เมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน แน่นอนว่าจะมีเงินเก็บ 1,000 บาท ตามที่ตั้งใจเอาไว้ และหากออมเงิน 1,000 บาทได้แล้ว ก็สามารถใช้ตารางออมเงินที่ยากขึ้น เช่น ตารางออมเงิน 5,000 บาท เป็นต้น

item-for-saving-money.jpg

รู้จักกับตัวช่วยออมเงิน 1,000 บาท เป็นเรื่องง่ายอย่าง “MAKE by KBank”

หากกำลังมองหาผู้ช่วยให้ออมเงิน1,000 บาทได้ทุกเดือนแน่นอน ไม่ควรพลาดกับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank เพราะมาพร้อมกับ 4 ฟีเจอร์ที่จะช่วยให้วิธีบริหารเงินของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. Cloud Pocket

ถ้ารู้สึกว่าการบริหารเงินป็นเรื่องน่าปวดหัว ไหนจะต้องออมเงิน 1,000 บาท ทุกเดือน แถมต้องนำเงินบางส่วนไปเป็นค่าใช้จ่ายอีกต่างหาก แต่ปัญหาจะหมดไปด้วยฟีเจอร์ Cloud Pocket เพราะทำหน้าที่ช่วยให้การจัดสรรเงินในบัญชีของคุณเป็นเรื่องง่าย โดยใน 1 บัญชี สามารถสร้างได้หลายกระเป๋า ให้คุณสามารถสร้างกระเป๋าเงินผ่านชื่อต่างๆ ด้วยการสร้างกระเป๋าเงินผ่านชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าค่าเช่าบ้าน, กระเป๋าค่าเดินทาง เป็นต้น

นอกจากจะช่วยการบริหารค่าใช้จ่ายแล้ว หากต้องการออมเงิน 1,000 บาท ก็แค่สร้างกระเป๋าเงินออมขึ้นมาสักใบ จากนั้นเมื่อถึงเวลาเงินเดือนออก ก็แบ่งเงินใส่กระเป๋าได้เลย และ Cloud Pocket ยังมาพร้อมกับฟังก์ชันตั้งค่าล็อกกระเป๋าเงิน หมดปัญหาแอบเอาเงินออมไปใช้จ่ายได้เลย

2. Expense Summary

ฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่สรุปค่าใช้จ่ายทันทีเมื่อมีการใช้เงินในบัญชี MAKE by KBank ทำให้คุณทราบว่าแต่ละเดือนใช้เงินไปซื้อของอะไรบ้าง หากพบว่ามีรายจ่ายฟุ่มเฟือยเกิดขึ้น ก็สามารถปรับลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตรงจุด ช่วยให้วางแผนการเงินได้ดียิ่งขึ้น

3. Pop Pay

ผู้ใช้งาน iPhone คงคุ้นเคยกับฟีเจอร์ AirDrop เป็นอย่างดี ที่สามารถรับส่งไฟล์ผ่านระบบ Bluetooth และ MAKE by KBank เป็นนวัตกรรมทางการเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ ก็สามารถทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบ Bluetooth ได้เช่นกัน ผ่านฟีเจอร์ Pop Pay

โดย Pop Pay ช่วยให้คุณโอนเงินให้แก่เพื่อนที่ใช้งาน MAKE by KBank ในระยะ 10 เมตรผ่านระบบ Bluetooth บอกลาการกรอกเลขที่บัญชี หรือขอเลขที่ PromptPay ให้เสียเวลา ซึ่งฟีเจอร์ดังกล่าวเหมาะอย่างยิ่งเวลาเดินทางไปยังสถานที่ผู้คนหนาแน่น แล้วคุณไม่สะดวกขอเลขที่บัญชี

4. Schedule Transfer

ฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติการตั้งค่าการโอนเงินอัตโนมัติ ช่วยให้การออมเงิน 1,000 บาท เป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีเงินเก็บ เพราะเมื่อถึงวันเงินเดือนออก เพียงแค่ตั้งค่าโอนเงินล่วงหน้าเข้าไปยังกระเป๋าเงิน Cloud Pocket เช่น สมมติว่าเงินเดือนออกทุกวันที่ 30 หากใช้ฟีเจอร์ Schedule Transfer ให้โอนเงินไปยังกระเป๋าเงินออมทุกๆ วันที่ 30 รับรองว่ามีเงินเก็บทันทีหลังจากเงินเดือนออก

ออมเงิน 1,000 บาท ทุกคนทำได้ ขอเพียงตั้งใจ และมีวินัยทางการเงินที่ดี

การออมเงิน 1,000 บาท ทุกเดือน ไม่ใช่เรื่องยาก หากมีวินัยทางการเงินที่ดี ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บเงินก่อนใช้ ก็มีเงินเก็บได้ และถึงแม้จะเป็นเงินเพียงเล็กน้อย แต่หากออมได้ 1 ปี ก็มีเงินถึง 12,000 บาทแล้ว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดไปสู่แผนการเงินอื่นๆ ในอนาคต

หากรู้สึกว่าการเก็บเงินเป็นเรื่องยาก ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งกับการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ผ่านทาง Play Store และ App Store ภายในแอป MAKE by KBank นอกจากมาพร้อมกับ 4 ฟีเจอร์ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เพียงแค่ฝากเงินเข้าไปยังให้ผลตอบแทนถึง 1.5 % ต่อปี ซึ่งสูงพอๆ กับฝากเงินกับบัญชีเงินฝากประจำเลยทีเดียว!

Back to Home

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ