ไม่มีเงิน เก็บเงินไม่อยู่ ทำอย่างไรดี แนะนำวิธีวางแผนการเงิน - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

ไม่มีเงิน เก็บเงินไม่อยู่ ทำอย่างไรดี แนะนำวิธีวางแผนการเงิน

financial-planning.jpg

การไม่มีเงินเก็บ เป็นปัญหาที่แทบทุกคนพบเจอในชีวิตประจำวัน แต่หากคุณตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีเงินสักบาท หรือไม่สามารถเก็บเงินได้ ไม่ต้องกังวลไป! เพราะบทความนี้จะแนะนำวิธีจัดการเงินให้คุณอย่างมีประสิทธิภาพ

การวางแผนการเงินที่ดี เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณปรับตัวได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น มาเรียนรู้เคล็ดลับในการวางแผน และจัดการเงิน ให้เหมาะกับชีวิตของแต่ละคนกันเลย

ไม่มีเงิน ไม่มีเงินเก็บ เกิดจากอะไร

เพราะการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด คือแก้ที่ต้นเหตุ ดังนั้น หากคุณรู้เหตุผลที่ทำให้ไม่มีตังค์ ก็จะทำให้เริ่มปรับปรุงการเงินให้ดีขึ้นได้ โดยมีเหตุผลมากมายที่ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ดังนี้ ใช้จ่ายเกินเหมาะสม เช่น ซื้อของที่ไม่จำเป็น ไม่ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้ไม่มีการควบคุมและวางแผนอย่างรอบคอบ รายได้กับรายจ่ายไม่สัมพันธ์กัน อาจเกิดจากใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่รายได้เท่าเดิม จัดการเงินลงทุนไม่ดี จนเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินต้น

อยากแก้ปัญหาไม่มีเงินเก็บ เริ่มต้นอย่างไรดี

สำหรับใครที่กำลังเจอปัญหาไม่มีเงินเก็บ หรือมีเป้าหมายที่จะก้าวสู่การมีเงินล้านในบัญชี แต่ยังไม่มีเงิน ไม่สามารถเก็บเงินได้สักที ไม่ว่าจะพยายามประหยัด อดออม หรือเก็บหอมรอมริบมานานขนาดไหน คุณอาจเริ่มต้นเก็บเงินได้ ด้วย 2 วิธีหลักๆ ดังนี้

1. ตั้งเป้าหมายด้านการเงินใหม่

แน่นอนว่าการทำอะไรแบบมีเป้าหมายชัดเจน ย่อมทำให้คุณเห็นภาพรวม และรู้สถานการณ์ในการเก็บเงินได้ดีขึ้น โดยเป้าหมายการเงินที่ดี จะต้องกำหนดทั้งจำนวนเงิน และระยะเวลาที่แน่นอน เช่น อยากขายของแต่ไม่มีทุน หรืออยากมีรายได้เสริม แต่ไม่มีเงินลงทุน เลยต้องการเก็บเงินแสน ภายในระยะเวลา 6 เดือน หรือภายในวันที่ 31 ธันวาคม ของปีนี้

ซึ่งเมื่อคุณตั้งเป้าหมายไว้ ก็จะทำให้มีแรงผลักดัน และตัวกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา เพราะคุณจะรู้ว่าเหลือเวลา และจำนวนเงินที่ต้องเก็บอีกเท่าไหร่ เป้าหมายจึงจะสำเร็จ

โดยการกำหนดเป้าหมายนั้น ก็สามารถมีได้ทั้งเป้าหมายระยะสั้น อย่างรายวัน รายสัปดาห์ ไปจนถึงเป้าหมายระยะยาว เช่น การเก็บเงินให้ได้ 1 ล้านบาท สำหรับเตรียมเกษียณ

2. วางแผนการเงินให้ดีมากยิ่งขึ้น

เมื่อมีเป้าหมายแล้ว ขั้นต่อไปคือต้องรู้ว่า จะวางแผนการเงินอย่างไร เพื่อไม่ให้ล้มเหลวระหว่างทาง ซึ่งการวางแผนการเงินที่ดี ควรครอบคลุมทั้งเรื่องรายได้ และการใช้จ่าย

และสิ่งสำคัญคือ คุณควรทบทวนแผนการเงิน หรือตารางออมเงินเป็นประจำ เพื่อให้ประเมินได้ว่า แผนที่ทำอยู่และเป้าหมาย มีความเป็นไปได้แค่ไหน หรือแผนการเงินนั้น ตึงเกินไปสำหรับการใช้ชีวิตหรือไม่

โดยคุณอาจปรับแผนให้เหมาะกับสถานการณ์ ทั้งชีวิตส่วนตัว และเศรษฐกิจแต่ละช่วง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย แบบไม่กดดันตัวเองจนเกินไป

แก้ปัญหาไม่มีเงินเก็บ เพียงเริ่มจากปรับพฤติกรรม

how-to-financial-planning.jpg

ปัญหาไม่มีเงินเก็บ เป็นหนึ่งในเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบจัดการ เพราะถ้าถึงเวลาจำเป็น ต้องใช้จ่ายขึ้นมา ก็อาจจะต้องลำบากไปหยิบยืมคนรอบตัวมาใช้ ซึ่งจะก่อให้เกิดภาระหนี้สินเพิ่มเข้ามาอีก

ซึ่งที่จริงแล้ว ปัญหานี้ไม่ได้แก้ไขยากอย่างที่คิด ถ้าวางแผนทางการเงินอย่างเหมาะสม รวมทั้งคุณอาจนำเครื่องมือ หรือเทคโนโลยีบางอย่างมาเป็นตัวช่วย หรือจะเริ่มต้นจากวิธีง่ายๆ อย่างการปรับพฤติกรรมบางอย่างที่ทำให้คุณไม่มีเงิน ไม่ว่าจะเป็น

1. เลิกใช้งานบัตรเครดิต และซื้อเฉพาะเงินสดหรือเงินโอนเท่านั้น

พฤติกรรมใช้บัตรเครดิตแบบรูดรัวๆ แล้วตอนสิ้นเดือนต้องมาเครียด ไม่มีเงิน เพราะไม่ได้คิดคำนวณหรือประเมินยอดค่าใช้จ่ายไว้ จนสุดท้ายก็จ่ายไม่ไหว ต้องชำระขั้นต่ำ และกลายเป็นภาระหนี้สินอีกหนึ่งก้อน

ขอแนะนำให้คุณตัดใจ โดยการเลิกใช้บัตรเครดิตไปเลยอาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะบัตรเครดิตคือ การซื้อก่อน จ่ายทีหลัง ทำให้หลายคนเผลอตัว คิดว่ามีกำลังซื้อ จ่ายได้อย่างไม่มีขีดจำกัด จนนำไปสู่ปัญหาไม่มีเงินเก็บในที่สุด

2. หากิจกรรมอื่นแทนนั่งดูไลฟ์ขายของหรือเข้าแอปช้อปปิ้งออนไลน์

ใครจะไปคิดว่าความทันสมัยของเทคโนโลยีทุกวันนี้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณไม่มีเงิน เพราะในเวลาว่างหลายคนก็เข้าแอปช้อปปิ้ง หรือดูไลฟ์ขายของต่างๆ ซึ่งมักมีโปรโมชันล่อใจอยู่ตลอดเวลา

ไม่ว่าจะโปรรายเดือน จนถึงรายชั่วโมง รู้ตัวอีกทีก็กดจ่ายเงินไปเรียบร้อย ซึ่งวิธีแก้ก็ง่ายๆ เพียงแค่คุณหากิจกรรมอื่นมาทดแทนกิจกรรมที่ทำให้ไม่มีเงินเก็บเหล่านี้ อย่างการอ่านหนังสือ หรือดูซีรีส์ ก็น่าจะสนุกไม่แพ้กัน

3. แยกเงินออกเป็นสัดส่วนในแต่ละเรื่องให้ชัดเจน

หลายคนที่ยังไม่มีเงินเก็บ อาจเคยพยายามจดบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายในทุกรายการที่เกิดขึ้นมาแล้ว แต่สุดท้ายก็พังไม่เป็นท่า เพราะลืมจด หรือไม่ได้มีการแยกบัญชีชัดเจน จนสุดท้ายเงินที่มี ก็รวมอยู่เป็นก้อนเดียวกัน แล้วทำให้ใช้จ่ายเพลินแบบไม่รู้ตัว จนไม่มีเงินกินข้าว

ลองเปลี่ยนวิธีการทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายออกให้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งในส่วนนี้ คุณอาจสงสัยว่า จะทำยังไงให้ง่ายและสะดวกที่สุด วันนี้ก็มีคำแนะนำดีๆ มาเล่าให้ฟังแล้ว

แยกเงินเป็นสัดส่วนด้วย MAKE by KBank บอกลาปัญหาไม่มีเงินเก็บ

ในช่วงนี้ หลายคนอาจพบกับปัญหาไม่มีเงินเก็บเพียงพอ เพราะค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด ไม่จำเป็น ไปจนถึงการขาดแคลนรายได้

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ขอแนะนำแอปเก็บเงิน MAKE by KBank ตัวช่วยที่จะทำให้คุณมีการบริหารเงินที่ดีขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเงินเพื่อออมเงิน การวางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละประเภท รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน เพื่อกำจัดความไม่มีเงินให้หมดไป มาดูกันว่า MAKE by KBank มีฟีเจอร์น่าสนใจอะไรบ้าง

1. Cloud Pocket

ฟีเจอร์แรก เป็นคุณสมบัติของแอปที่จะทำให้คุณแบ่งกระเป๋าเงินได้ตามใจชอบ แบบไม่มีลิมิต เรียกได้ว่าในแต่ละเดือน คุณใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ก็สามารถแยกออกมาเป็นกระเป๋าแต่ละใบอย่างชัดเจนเลย เพื่อไม่ให้เงินปะปนกัน

และที่สำคัญคือ ป้องกันการเผลอตัว นำเงินจากส่วนหนึ่ง ไปใช้กับอีกส่วน เช่น กระเป๋าเงินเก็บไปเที่ยว กระเป๋าเงินลงทุน กระเป๋าเงินค่าบ้าน ซึ่งถ้าคุณแบ่งกระเป๋าอย่างมีวินัย จะทำให้ปัญหาเรื้อรังอย่างการไม่มีเงินเก็บ หายไปในเร็ววันอย่างแน่นอน

2. Expense Summary

ตัวช่วยขั้นเทพในการสรุปยอดค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน โดยจะแยกออกเป็น 6 หมวดหมู่ คือ

  • ค่าอาหาร
  • ค่าเดินทาง
  • ความบันเทิง
  • ช้อปปิ้ง
  • ชำระบิล
  • หมวดอื่นๆ

ซึ่งการสรุปค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่แบบนี้ เป็นอีกวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาความยุ่งยากของการทำตารางรายรับรายจ่าย และการไม่มีเงินเก็บให้ได้ผล เพราะจะทำให้คุณเห็นภาพว่า เดือนที่ผ่านมา ใช้เงินในเรื่องไหน เกินที่ตั้งไว้หรือไม่ เพื่อจะได้หาทางแก้ไข และลดค่าใช้จ่ายให้เหมาะกับรายได้ที่มีนั่นเอง

3. Pop Pay

ถ้าคุณชอบใช้ Bluetooth, Airdrop ในการส่งรูป หรือรู้สึกลำบาก เวลาขอเลขบัญชีเพื่อโอนเงินให้คนอื่น รับรองว่าฟีเจอร์นี้จะทำให้คุณหลงรักแน่นอน

เพราะถ้าคุณจะโอนเงินให้เพื่อนที่ใช้แอป MAKE by KBank เพียงเปิด Bluetooth เชื่อมต่อกัน ก็โอนเงินได้ทันที โดยไม่ต้องมีเลขบัญชีใดๆ

นอกจากนี้ ฟีเจอร์ Pop Pay ยังใช้ถอนเงินจากตู้ ATM ของธนาคารกสิกรไทย และชำระเงินที่ร้านค้าได้ เรียกว่า นอกจากเป็นวิธีเก็บเงินที่ช่วยแก้ปัญหาไม่มีเงินเก็บแล้ว MAKE by KBank ยังมีฟีเจอร์ในการทำธุรกรรมอื่นๆ อย่างครบครัน

4. Chat Banking

อีกหนึ่งฟีเจอร์เด่น ที่ใช้ความคุ้นเคยกับโปรแกรมแชตของคนในยุคโซเชียลมีเดีย มาเป็นลูกเล่นที่ทำให้การจัดการเงินไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป โดยฟีเจอร์นี้จะทำหน้าที่เหมือนเลขา คอยบันทึกรายการต่างๆ โดยสามารถเรียกดูรายละเอียด หรือประวัติการทำรายการได้ง่ายๆ จนทำให้คุณหมดข้อสงสัยสักทีว่า ทำไมที่ผ่านมาจึงไม่มีเงินเก็บ

โดยการแสดงผลจะอยู่ในรูปแบบกล่องข้อความสนทนา เหมือนโปรแกรมแชตที่ทุกคนใช้งานกันในชีวิตประจำวัน ทำให้เช็กการทำธุรกรรม และการใช้จ่ายต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ไม่ต่างจากแชตคุยกับเพื่อน

5. Money Request

สำหรับฟีเจอร์สุดท้ายที่อยากแนะนำวันนี้คือ Money Request ซึ่งมีความโดดเด่น ไม่ซ้ำกับฟีเจอร์อื่น โดยเฉพาะถ้าคุณเคยลำบากใจ เวลาต้องเรียกเก็บเงินจากเพื่อนๆ จนอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตัวเองไม่มีเงิน

โดยถ้าเพื่อนของคุณใช้แอป MAKE by KBank ฟีเจอร์นี้จะทำหน้าที่ในการส่งรายการเรียกเก็บเงินแทนคุณ ซึ่งสามารถแนบสลิปที่ใช้จ่ายร่วมกันควบคู่ไปด้วยได้เลย ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าควรใช้คำพูดอย่างไร หรือจะผิดใจกันหรือไม่

สรุปปัญหาไม่มีเงิน เก็บเงินไม่อยู่

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่กำลังมีปัญหาไม่มีเงินเก็บ หรือมีฐานะการเงินที่ดีอยู่แล้ว ด้วยความพิเศษของฟีเจอร์ต่างๆ ในแอป MAKE by KBank จะทำให้คุณวางแผนการใช้จ่าย และจัดการการใช้จ่ายของตัวเองได้อย่างง่ายดาย และสะดวกมากกว่าเดิม

และสำหรับใครที่อยากศึกษารายละเอียด หรือข้อมูลของแอป MAKE by KBank เพิ่มเติม สามารถติดตามรีวิวจาก Than Money Trick Influencer การเงินชื่อดังที่มาให้ข้อมูลได้ที่นี่

กลับไปหน้าแรก