เช็กให้ชัวร์ กับ "สัญญาณเตือนใช้เงินเกินตัว" ที่ควรระวัง - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

เช็กให้ชัวร์ กับ "สัญญาณเตือนใช้เงินเกินตัว" ที่ควรระวัง

do-not-overspend-money.jpg

เรียกได้ว่าปัญหาใช้เงินเกินตัวอยู่คู่กับคนทุกอาชีพตั้งแต่เริ่มต้นทำงานเลยทีเดียว และหลายคนมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ใครๆ ก็ต้องเคยเจอมาก่อน แต่รู้หรือไม่ว่าปัญหาใช้เงินเกินตัว ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง, เครดิตทางการเงินที่แย่ลง และการก่อหนี้สิน เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้เราจึงได้นำลิสต์สัญญาณเตือน “ใช้เงินเกินตัว” มาให้ทุกคนได้เช็กสุขภาพทางการเงินของตนเองว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่? พร้อมทั้งแชร์เทคนิคห้ามใจไม่ให้ใช้เงินเกินตัว เพื่อให้ทุกคนเริ่มต้นมีเงินเก็บ สู่ความฝันมีเงินล้าน และลดโอกาสก่อหนี้ที่ไม่เกิดรายได้อีกด้วย

1. รายได้เริ่มไม่พอกับรายจ่าย

สัญญาณแรกที่ควรระวัง คือ รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ผู้มีทักษะจัดการเงินที่ดี จะออมเงินได้ทุกเดือน แม้ว่าเป็นเงินเก็บเพียงเล็กน้อย แต่หากเมื่อไหร่ที่ใช้เงินเกินตัวแล้ว จะไม่สามารถเก็บเงินได้ จนสุดท้ายก็ไม่พ้นต้องนำเงินเก็บออกมาใช้

คุณอาจลองแก้ปัญหาเบื้องต้นด้วยการมองหาแหล่งรายได้เสริมเพิ่มเติม, ลองเปลี่ยนงานใหม่ที่ได้เงินเดือนมากขึ้นกว่าเดิม และหันมาใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ, ย้ายมาอยู่ใกล้ที่ทำงานเพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าเดินทางที่ไม่จำเป็นลงได้

2. เริ่มชำระเงินช้า หรือขาดจ่าย

สัญญาณใช้เงินเกินตัวต่อมา คือ การชำระหนี้ช้า หรือขาดการผ่อนชำระ โดยเฉพาะการรูดบัตรเครดิตมากเกินไป จนจ่ายหนี้ไม่ไหว ซึ่งหากไม่ได้จ่ายค่างวดเพียง 3-4 ครั้งค่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมา ก็มากพอๆ กับเงินต้นแล้ว ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการจ่ายหนี้บัตรเครดิตช้า หรือพยายามไม่ก่อหนี้บัตรเครดิตจะดีที่สุด

3. การหมุนเงินเริ่มมีปัญหา

หากมีหนี้หลายก้อนอยู่แล้ว อาทิ หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ แล้วเริ่มก่อหนี้เพิ่มจากการใช้เงินเกินตัว เช่น นำรถยนต์ไปรีไฟแนนซ์ เพื่อนำเงินส่วนต่างซื้อรถยนต์ใหม่ ทั้งที่กำลังผ่อนหนี้รถยนต์ก้อนเก่าอยู่ และเอาบ้านไปรีไฟแนนซ์ แล้วนำเงินมาจ่ายค่างวดรถ ก็แสดงให้เห็นถึงการหมุนเงินเริ่มมีปัญหา ถ้าอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ควรหาทางปิดหนี้เป็นก้อนๆ ไป อย่าก่อหนี้ใหม่ เพราะจะทำให้เกิดวัฏจักรของการก่อหนี้ไม่รู้จบ

4. ไม่มีเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน

ถ้าใช้เงินเกินตัวจากการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น จนกระทบกับการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ปกติกินข้าวมื้อละ 70 บาท แต่ลดค่าข้าวลงเหลือมื้อละ 20 บาท แถมต้องอดมื้อกินมื้อ ก็เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าสถานะทางการเงินของคุณอยู่ในเกณฑ์ไม่สู้ดีนัก และการที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน ก็มีโอกาสที่สุขภาพทรุดโทรม จนอาจต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพื่อรักษาตัว ทำให้อาจก่อหนี้ใหม่เพื่อมารักษาตัวอีกด้วย

5. เริ่มยืมเงินผู้อื่น

สัญญาณเตือนคลาสสิกของปัญหาใช้เงินเกินตัว ก็คือ ไม่มีเงินจนต้องยืมเงินคนรอบข้าง หรืออาจลามไปถึงการยืมเงินคนที่เพิ่งรู้จักกันครั้งแรกเลยก็ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วหากยืมเงินผู้อื่นควรเป็นเหตุเฉพาะหน้าที่ใช้เงินด่วนจริงๆ เช่น คนในครอบครัวเข้าโรงพยาบาล หรือต้องจ่ายค่าเทอมลูก

ถ้าคุณยืมเงินคนรอบข้างบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุจำเป็น และไม่ทยอยจ่ายเงินคืน ก็ย่อมกระทบความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทางการเงินจริงๆ ถึงตอนนั้นก็จะไม่มีใครอยากให้ยืมเงินอีกต่อไป

6. มีการใช้เงินในอนาคตมากขึ้น

เมื่อใช้เงินเกินตัวจนยืมคนรอบข้างไปหมดแล้ว ก็ถึงคิวของสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งเป็น
การนำเงินในอนาคตออกมาใช้ โดยสินเชื่อของธนาคารควรขอเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างบ้าน, รถยนต์ที่ทำให้คุณประหยัดค่าเช่าบ้าน และเดินทางได้สะดวก

แต่ถ้าขอสินเชื่อธนาคารไปใช้จ่ายกับเรื่องที่ไม่จำเป็น เช่น นำเงินไปซื้อเครื่องดนตรีราคาแพง เพราะเป็นความชอบส่วนตัว ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพ การใช้เงินเกินตัวในลักษณะนี้ ก็ยิ่งเป็นอุปสรรคในการสร้างเนื้อสร้างตัวให้แก่ชีวิตมากยิ่งขึ้น

7. กู้ยืมเงินนอกระบบ

ท้ายที่สุดหากใช้เงินเกินตัวจนกระทั่งการกู้ยืมเงินในระบบไม่เพียงพออีกต่อไป ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินนอกระบบ อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าหนี้นอกระบบ อัตราดอกเบี้ยสูงมาก อาจสูงถึง 1,000% ต่อปี ถึงแม้จะขายบ้าน ขายทรัพย์สินทุกอย่างออกไปหมด ก็ไม่สามารถปิดหนี้นอกระบบได้

ในบรรดาสัญญาณเตือนใช้เงินเกินตัวทั้งหมด การกู้ยืมเงินนอกระบบเป็นข้อที่อันตรายมากที่สุด เพราะนอกจากจะสูญเสียทรัพย์สินที่ไม่สามารถเอาคืนกลับมาได้แล้ว ยังอาจเกิดอันตรายขึ้นกับตนเอง และชีวิตของคนรอบข้างคุณอีกด้วย

แชร์วิธีห้ามใจไม่ให้ใช้เงินเกินตัว ใครก็ทำตามได้

เมื่อคุณทราบ 7 สัญญาณเตือนของการใช้เงินเกินตัวไปข้างต้นแล้ว มาดูกันเลยดีกว่าว่าเราจะจัดการกับปัญหาการเงินนี้อย่างไร เพื่อให้คุณมีเงินเก็บมากยิ่งขึ้น จนสามารถวางแผนเกษียณ หรือเก็บเงินไปเที่ยวตามที่ต้องการได้ในอนาคต

1. ซื้อของทุกอย่างต้องมีเหตุผลอันสมควร

แม้ว่าปัจจุบันผู้ขายสินค้าจะจัดหนักจัดเต็ม ขนโปรโมชันมาล่อตาล่อใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวสินค้าใหม่รุ่น Limited Edition, จัดโปรลดราคาสินค้าเกินกว่า 50% หรือโปรผ่อน 0% นาน 10 เดือนที่ทำให้คุณคิดว่าเป็นเจ้าของสินค้าราคาแพงได้ง่ายๆ

หากหลงไปกับโปรโมชันเหล่านี้ก็คงทำให้ใช้เงินเกินตัวอย่างแน่นอน วิธีการแก้ปัญหาก็ง่ายๆ เพียงตั้งสติก่อนซื้อว่าสินค้านั้นจำเป็นจริงหรือไม่? และคิดว่าหากซื้อมาแล้วจะช่วยต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างไร? เท่านี้คุณก็จะมีเงินเก็บมากกว่าเดิม จากการเปลี่ยนทัศนคติการใช้เงินที่ไม่ใช่แค่ซื้อสินค้ามา เพราะคิดแค่ว่าของมันต้องมี

2. หยุดการเข้าหาช่องทางการช้อปปิ้งทุกกรณี

หากไม่สามารถหักห้ามใจซื้อของได้ง่ายๆ ลองนำตัวเองออกมาจากสถานการณ์ล่อต่อล่อใจไม่ว่าจะเป็นหลีกเลี่ยงการดูไลฟ์สดพ่อค้า-แม่ค้าออนไลน์, เลิกเข้าแอปพลิเคชัน E-commerce เวลาจัดโปรรายเดือน หรือลดการเดินห้างโดยไม่จำเป็น เพียงเท่านี้ก็ควบคุมการใช้เงินเกินตัวได้ดียิ่งขึ้น

3. ลองทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายง่าย ๆ ให้พอเห็นตัวเลขแต่ละเดือน

บัญชีรายรับรายจ่ายเป็นวิธีเก็บเงินแบบดั้งเดิมที่หลายคนไม่อยากจะทำนัก เพราะมองว่าเสียเวลา แถมต้องมานั่งจำรายการใช้จ่ายเงินแล้วมาบันทึกลงสมุดอีก แต่การทำบัญชีดังกล่าวจะช่วยให้คุณเห็นตัวเลขการใช้จ่ายแบบคร่าวๆ ว่าในเดือนนี้ใช้จ่ายไปเท่าไหร่แล้ว และถ้าเห็นว่าเริ่มใช้เงินเกินตัวก็ควรประหยัด ให้มากกว่าเดิม

ที่สำคัญการทำบัญชีรายรับรายจ่ายยังช่วยสร้างวินัยทางการเงินได้ดียิ่งขึ้น เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการควบคุมรายจ่าย หากทำอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คุณมีเงินเก็บจนซื้อของที่ตั้งใจเอาไว้ได้ โดยไม่ต้องก่อหนี้เลย

4. หยุดการรูดบัตรเครดิตแบบเด็ดขาด

บัตรเครดิตเปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้ให้ดีก็เกิดประโยชน์แก่เจ้าของบัตรที่ได้รับส่วนลดซื้อสินค้าเพิ่มเติม แถมได้ของสมนาคุณต่างๆ แต่ถ้าไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้เงินเกินตัว ต้องรูดบัตรเครดิตอยู่ตลอดเวลา ก็ควรยกเลิกบัตรเครดิตทุกใบ ใช้เงินสดซื้อสินค้าแทน เพื่อให้คุณทราบว่าใช้เงินไปเท่าไหร่แล้ว

5. ใช้ตัวช่วยอย่างแอป MAKE by KBank

หากกำลังมองหาผู้ช่วยจัดการเงินในสไตล์ของคนรุ่นใหม่ เพื่อลดการใช้เงินเกินตัวอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับบอกลาการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบเดิมๆ ลองใช้งานแอปเก็บเงิน “MAKE by KBank” ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์สุดฮิตอย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary ที่ช่วยให้คุณบริหารจัดการเงินได้ง่ายขึ้น

1. Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเงินอย่างเป็นสัดส่วน ด้วยการแบ่งเงินเข้าไปในกระเป๋าต่างๆ เช่น กระเป๋าเงินออม, กระเป๋ารายจ่าย, กระเป๋าค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน โดยชื่อกระเป๋าเหล่านี้ก็ตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินนั้นๆ

โดยเมื่อแบ่งเงินเป็นส่วนต่างๆ แล้ว ก็จะลดการใช้เงินเกินตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งเพราะ Cloud Pocket มีฟังก์ชันล็อกกระเป๋าเงิน จึงเผลอใช้จ่ายเกินตัวได้ยากกว่าเดิม และไม่นำเงินส่วนอื่นเข้ามาปนกับกระเป๋าใช้จ่าย ทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี และเก็บเงินได้มากยิ่งขึ้น

2. Expense Summary

ฟีเจอร์ที่สรุปยอดการใช้จ่ายในแต่ละเดือนแบบ Real-time ไม่ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เสียเวลา ซึ่ง Expense Summary ทำให้การบริหารการเงินเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะช่วยให้เห็นว่าใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และลดรายจ่ายที่ทำให้ใช้เงินเกินตัวได้ดีกว่าเดิม

ดาวน์โหลด MAKE by KBank ตั้งแต่วันนี้บอกลาการใช้เงินเกินตัวได้เลย

จะเห็นได้ว่าปัญหาใช้เงินเกินตัวสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ ตาม 5 ข้อที่ได้แนะนำไป ซึ่งหากทำควบคู่กันแล้วรับรองว่าจะช่วยให้คุณเริ่มต้นเก็บเงิน ออกแบบแผนชีวิตได้ดีกว่าเดิม ทั้งนี้แอป “MAKE by KBank” ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ นอกเหนือจาก Cloud Pocket และ Expense Summary ที่ช่วยให้บริหารจัดการเงินได้ง่ายขึ้น เช่น

  • ฟีเจอร์ Chat Banking

ฟีเจอร์ที่ช่วยเรียกรายการใช้จ่ายย้อนหลังในรูปแบบของ “แชท” ทำให้เห็นเส้นทางการใช้เงินไม่ว่าจะเป็นโอน ถอน จ่ายอย่างละเอียดว่ามีเงินเข้า-เงินออกในส่วนใดบ้าง ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ใช้งานควบคู่ไปกับฟีเจอร์ Expense Summary สำหรับตรวจดูรายการธุรกรรมทีละรายการได้ดีเยี่ยม

  • ฟีเจอร์ Pop Pay

ลืมการโอนเงินบัญชีแบบเก่าที่ต้องกรอกเลขที่บัญชีไปได้เลย เพราะ Pop Pay ช่วยให้คุณโอนเงินให้กับเพื่อนได้ทันทีที่อยู่ในระยะใกล้เคียง 10 เมตร ผ่านระบบ Bluetooth และไม่ต้องสแกน QR code หรือโอนผ่านระบบ Prompt Pay ให้เสียเวลาอีกด้วย

  • ฟีเจอร์ Money Request

ถ้าเป็นคนขี้เกรงใจ ไม่รู้ว่าจะพูดทวงเงินเพื่อนอย่างไรดีถึงจะไม่กระทบความสัมพันธ์ ซึ่งฟีเจอร์นี้จะส่งรายการเรียกเก็บเงินจากคนที่เราต้องการเงินคืนไป แถมยังมีวิธีติดตามการทวงเงินอีกด้วย รับรองว่าจะได้เงินคืนโดยไม่ผิดใจกันแน่นอน

หากคุณสนใจใช้งานผู้ช่วยบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ แถมให้ผลตอบแทนต่อปีสูงถึง 1.5% ที่ผลตอบแทนไม่แพ้เงินฝากประจำเลย สามารถดาวน์โหลดได้ทาง App Store และ Google Play Store มาเตรียมพร้อมอนาคตทางการเงินที่ยั่งยืน บอกลาการใช้เงินเกินตัวได้ตั้งแต่วันนี้เลย

กลับไปหน้าแรก