กลุ้มใจ มีปัญหาการเงิน รับมืออย่างไร? - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

กลุ้มใจ มีปัญหาการเงิน รับมืออย่างไร?

saving-problems.jpg

‘เงิน’ เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี แต่ก็มีหลายคนที่กำลังเจอกับปัญหาการเงิน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้สิน เก็บเงินไม่อยู่ รายจ่ายมากกว่ารายได้ ปัญหาเกี่ยวกับการออมเงิน หรือปัญหาอื่นๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจทำให้รู้สึกเครียด กังวล และส่งผลกระทบต่อชีวิตในด้านต่างๆ

สิ่งสำคัญคือ คุณต้องหาวิธีรับมือกับปัญหาอย่างถูกต้อง โดยมีหลายวิธีที่ช่วยให้จัดการกับปัญหาการเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการเงิน การขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่าย

ในบทความนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาการเงินในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ได้แบบง่ายๆ

รวมปัญหาการเงิน 7 เรื่องยอดฮิต ที่หลายคนเคยเจอ!

การเผชิญหน้ากับปัญหาการเงินอาจเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับใครหลายคน ดังนั้น คุณจึงจำเป็นที่จะต้องสำรวจ และค้นหาวิธีประหยัดเงิน เพื่อรับมือกับความยุ่งยากเหล่านี้อย่างเหมาะสม ให้ชีวิตเดินหน้าต่อไปได้ แบบไม่ยากลำบากจนเกินไป

การมีปัญหาการเงินอาจทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยคุณอาจต้องรัดเข็มขัด ดูแลการใช้จ่ายอย่างรอบคอบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องวางแผนบริหารจัดการเงินที่มีอยู่ เพื่อรองรับกับสถานการณ์ทางการเงินที่ท้าทาย ท่ามกลางเศรษฐกิจอันผันผวน และความไม่แน่นอนต่างๆ ในยุคปัจจุบัน

มาดูกันว่า ปัญหาการเงินที่เราพบเห็นกันบ่อยๆ นั้น มีเรื่องอะไรบ้าง

1. เงินไม่พอใช้ในชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีรายได้น้อย หรือคนที่มีรายได้มากก็ตาม ถ้าคุณบริหารจัดการเงินไม่ดี อาจมีปัญหาการเงินเรื่องเงินไม่พอใช้ตามมา ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รายได้ไม่เพียงพอ, ใช้จ่ายเกินตัว, ซื้อของฟุ่มเฟือย หรือภาระหนี้สินที่มากเกินไป

โดยวิธีแก้ปัญหาเงินไม่พอใช้นั้น คุณอาจจะเริ่มจากการวางแผนการเงิน กำหนดเป้าหมาย และใช้จ่ายอย่างรอบคอบ โดยแยกระหว่างค่าใช้จ่ายที่จำเป็น กับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นออก รวมทั้งอาจหารายได้เสริมเพิ่ม หากพบว่ารายได้ไม่เพียงพอ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้มากขึ้น

2. รายจ่ายที่จำเป็นมีเยอะมาก

ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ข้าวของแพงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ จนทำให้ใครหลายคนอาจพบว่า มีรายการค่าใช้จ่ายจำเป็นที่เยอะขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งล้วนเป็นการใช้เงินในเรื่องที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ค่าเช่าที่อยู่, ค่าน้ำ, ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ ไปจนถึงค่าเทอมลูก สำหรับคนที่มีครอบครัวแล้ว

ถ้าไม่สามารถลดรายจ่ายที่จำเป็นได้ คุณอาจต้องหาทางเพิ่มรายได้ เช่น การทำงานเสริม งานพาร์ตไทม์ การลงทุนเพื่อเพิ่มรายได้ โดยคุณอาจพัฒนาทักษะ หรือความรู้ที่สามารถนำมาทำเป็นงานเสริม เพื่อให้สามารถรองรับรายจ่ายที่มีมากขึ้น และลดปัญหาการเงินให้เบาบางลง

3. ไม่มีเงินเก็บ

สาเหตุที่ทำให้มีปัญหาการเงินจากการไม่มีเงินเก็บนั้น อาจมีหลายปัจจัย เช่น รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากเกินไป หรือการใช้เงินโดยไม่มีการวางแผนที่ดี รวมถึงการมีภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีรายได้น้อย จนทำให้ไม่มีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือน

สำหรับวิธีที่สามารถทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น เริ่มต้นจากการทำงบประมาณรายจ่ายและรายได้ โดยควรตั้งเป้าหมายการออมด้วยการกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการเก็บในแต่ละเดือนหรือปี การหักเงินออมก่อนใช้ และการออมเงินแบบอัตโนมัติ ด้วยการให้หักเงินออมจากบัญชีธนาคาร เป็นต้น

แก้ปัญหาไม่มีเงินเก็บ กับ MAKE by KBank

saving-problems-of-money.jpg

เชื่อว่าหลายคนคงมีความตั้งใจที่จะเก็บเงินกันมากขึ้น แต่หลายครั้งคุณอาจรู้สึกว่า ภาระของการจัดการเงินเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะไม่มีเวลามานั่งทำบัญชีรายรับรายจ่าย หรือจดบันทึกธุรกรรมในทุกรายละเอียด จนทำให้ความตั้งใจที่มีหมดไป และไม่มีเงินเก็บอย่างเพียงพอ

การใช้แอป MAKE by KBank จะเป็นตัวช่วยในการจัดการเงิน และเป็นทางออกที่ตอบโจทย์ เนื่องจากมีฟีเจอร์หลากหลายที่ช่วยให้คุณจัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย จนทำให้ปัญหาการเงินอย่างการไม่มีเงินเก็บไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

  1. Cloud Pocket

Cloud Pocket เป็นฟีเจอร์ที่ให้คุณสามารถจัดการกระเป๋าเงินแบบมีระเบียบ ด้วยการแยกกระเป๋าเงินออกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน โดยไม่ต้องยุ่งยากในการเปิดบัญชีใหม่เพื่อแยกเงินแต่ละรายการ

โดยวิธีนี้จะทำให้คุณมองเห็นเงินสำหรับรายการต่างๆ ได้อย่างชัดเจน เช่น เงินเก็บห้ามใช้เพื่อเป้าหมายเงินล้านบาท, เงินลงทุน, ค่าเช่าบ้าน, ค่าทริปไปเที่ยว ฯลฯ ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการเงินเป็นไปอย่างมีระบบและประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเงินในแต่ละส่วนไม่ปนกันเหมือนที่ผ่านมา

  1. Expense Summary

ฟีเจอร์นี้มีหน้าที่เสมือนผู้ช่วยส่วนตัว ที่คอยทำการสรุปยอดรายจ่ายให้กับคุณในแต่ละเดือน โดยจะแยกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นออกเป็นหมวดหมู่หลัก ได้แก่ อาหาร, ค่าเดินทาง, ค่าชอปปิง, ความบันเทิง, การชำระบิล และหมวดอื่นๆ

เมื่อคุณได้เห็นการแสดงยอดการใช้จ่ายของเดือนก่อนหน้าทั้งหมดแล้ว คุณอาจพบว่า มีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในบางรายการที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน ซึ่งก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการปรับปรุงปัญหาการเงิน และแก้ไขแผนการใช้จ่ายในเดือนถัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่สำคัญ ยังช่วยให้คุณวางแผนการเงินในอนาคต ให้มีการใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรายได้และความจำเป็นอีกด้วย

4. ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน

ปัญหาการเงินบางอย่างนั้น อาจไม่ส่งผลทันทีในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นการไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน ทำให้คุณอาจละเลยความสำคัญของการเตรียมเงินในส่วนนี้

แต่บางครั้งชีวิตเราอาจเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ จนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินจริงๆ คุณจะไม่สามารถรับมือกับความยุ่งยากเหล่านี้ได้ เพราะขาดการเตรียมความพร้อมทางการเงินไว้นั่นเอง

การเตรียมเงินสำหรับกรณีฉุกเฉิน จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ เนื่องจากไม่ว่าจะวางแผนไว้อย่างรัดกุมขนาดไหน ชีวิตก็อาจมีความไม่แน่นอน และเรื่องฉุกเฉินอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

5. เป็นหนี้บัตรเครดิต

บัตรเครดิต เป็นหนึ่งในช่องทางการใช้จ่ายยอดฮิตในยุคสังคมไร้เงินสด ซึ่งการใช้บัตรเครดิต ทำให้คุณสามารถจ่ายเงินได้อย่างสะดวก ไม่ต้องคอยหยิบเงินสดมาใช้ ซึ่งอาจทำให้หลงลืมจำนวนเงินที่จ่ายไปจริงๆ และเป็นสาเหตุทำให้การใช้บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นเกินความตั้งใจ

เพื่อป้องกันหนี้บัตรเครดิตที่อาจกลายเป็นปัญหาการเงิน คุณสามารถแบ่งจ่ายไว้ล่วงหน้า เช่น สัปดาห์นี้ใช้บัตรเครดิต 2,000 บาท เมื่อปลายสัปดาห์ก็โอนเงินแยกกระเป๋าไป 2,000 บาท เพื่อไว้จ่ายค่าบัตรสิ้นเดือน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณควบคุมยอดการใช้จ่าย และไม่เผลอใช้บัตรเครดิตมากเกินไป

6. หมุนเงินไม่ทัน

อีกหนึ่งปัญหาการเงินที่มักเจอในชีวิตประจำวันคือ การหมุนเงินไม่ทันตามรอบเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีภาระหลายอย่างในชีวิต ซึ่งบางครั้งรายได้ที่คุณได้รับมาอาจไม่เพียงพอ หรือไม่ทันต่อรอบการใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จนทำให้ต้องหาช่องทางสร้างรายได้ให้มากขึ้น หรือกู้ยืมมาก่อน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ซึ่งปัญหานี้ คุณควรเริ่มต้นจากการวางแผนบริหารจัดการเงินให้ยืดหยุ่น และเหมาะสมกับภาระค่าใช้จ่ายที่มีอยู่ เพื่อให้เงินเหลือเพียงพอต่อรายการการใช้จ่ายที่จำเป็น และหาวิธีลดค่าใช้จ่ายในรายการฟุ่มเฟือย เพื่อที่จะมีเก็บเงินสำรอง หรือเงินออมในอนาคต

7. เริ่มยืมเงินคนอื่นเยอะ

ถ้าคุณมีปัญหาการเงินข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อในข้างต้น บางคนอาจแก้ปัญหาด้วยการกู้ยืม ไม่ว่าจะเป็นการกู้จากสถาบันการเงินตามกฎหมายอย่างธนาคาร ยืมจากคนรู้จัก หรือแม้แต่กู้เงินนอกระบบ ซึ่งอาจตามมาด้วยปัญหาใหญ่ที่ยากจะรับมือ

ถึงแม้การกู้ยืมจะช่วยให้คุณได้เงินมาในทันที แต่คุณควรพิจารณาให้ดี โดยไม่ควรยืมมากเกินความจำเป็น และควรมีแผนผ่อนชำระที่ชัดเจน โดยลองคิดคำนวณดูก่อนว่า ถ้ากู้ยืมในจำนวนนั้น จะต้องผ่อนจ่ายเดือนละเท่าไหร่ และอยู่ในขอบเขตที่สามารถจ่ายไหวหรือไม่

ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ก็ควรกู้ยืมมาทีละก้อน เพื่อไม่ให้ภาระหนี้ที่มี พอกพูนจนส่งผลกระทบต่อชีวิตด้านอื่นๆ ในอนาคต

ปัญหาการเงินแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เมื่อใช้ MAKE by KBank

เป็นเรื่องที่สังเกตเห็นได้ว่า ถ้าคุณไม่มีการวางแผนจัดการเงินอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาการเงินตามมาได้ ซึ่งถ้ามีการแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไม่ถูกวิธี ก็จะนำมาซึ่งหนี้สินที่ไม่สามารถจ่ายได้ หรือสูญเสียเงินออมที่เก็บสะสมไว้ในท้ายที่สุด

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณกำลังมองหาเครื่องมือที่จะช่วยให้จัดการเรื่องเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ MAKE by KBank น่าจะเป็นหนึ่งในแอปเก็บเงินที่คุณควรพิจารณาดาวน์โหลดในสมาร์ตโฟนของคุณ ด้วยฟีเจอร์ที่ครอบคลุมทุกรายละเอียดการเงิน ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจแล้วจัดการเงินได้อย่างง่ายดาย และสามารถแก้ไขปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นได้ในเร็ววัน

กลับไปหน้าแรก