แชร์ 6 เทคนิค เก็บเงินเที่ยวอย่างไร ทริปไม่ล่ม
หากคุณเป็นสายท่องเที่ยวที่ต้องจัดทริปไปกับเพื่อนฝูง หรือเที่ยวกับครอบครัวเป็นประจำ ต่างต้องเคยเจอกับปัญหาทริปล่มแน่นอน ซึ่งสาเหตุของการเกิดทริปล่มก็มีหลากหลายด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นนอนตื่นสาย, ติดธุระ หรือแม้แต่ไม่มีเงินเหลือพอที่จะไปเที่ยวได้ ทำให้ต้องยกเลิกทริปกลางคัน
ดังนั้นถ้าใครกำลังประสบกับปัญหาไม่มีเงินมากพอที่จะท่องเที่ยว เราจึงได้นำ 6 เทคนิค “เก็บเงินเที่ยว” ที่จะช่วยให้ทุกคนเพลิดเพลินไปกับทุกทริปการเดินทาง รับรองว่าหมดปัญหาเรื่องเงินมารบกวน จนทำให้การเที่ยวพักผ่อนไม่สนุก
1. เปิดบัญชีเก็บเงินโดยเฉพาะ
หลายคนอาจสงสัยว่าแม้ว่าจะใช้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ทำหน้าที่รับเงินเดือน, สแกนโอนจ่าย และใช้เก็บเงินอยู่แล้ว ทำไมถึงต้องเปิดบัญชีเพื่อเก็บเงินเที่ยวเพิ่ม? สาเหตุเพราะการใช้บัญชีเงินฝากบัญชีเดียวมีโอกาสที่จะเก็บเงินไม่อยู่ เนื่องจากอาจเผลอนำเงินเก็บมาใช้จ่ายนั่นเอง
นอกจากนี้ข้อดีของการเปิดบัญชีเก็บเงินเที่ยวโดยเฉพาะ จะทราบได้ทันทีว่ามีเงินเท่าไหร่แล้ว หากใกล้ถึงเวลาออกทริปแล้วพบว่าจำนวนเงินเก็บยังไม่เพียงพอ ก็สามารถปรับแผนการเงินใหม่ เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายสำหรับท่องเที่ยวให้มากขึ้น
2. เก็บเงินให้ได้มากพอก่อนใช้
หากคุณต้องการเก็บเงินเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ควรออมเงินก่อนใช้ เนื่องจากการใช้เงินก่อนแล้วออมทีหลังมีโอกาสที่จะใช้เงินเกินตัว จนไม่สามารถเก็บเงินตามที่ตั้งใจเอาไว้ได้ ดังนั้นเมื่อเงินเดือนออกควรหักเงิน 10 % ของรายได้ เข้าบัญชีเงินออมทันที แต่ถ้ารู้สึกว่าการเก็บเงินเที่ยว 10 % ของรายได้เยอะเกินไป อาจลองปรับแผนการออมเป็น 3 - 5% ก็ได้เช่นกัน
3. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
นอกจากเปิดบัญชีเพื่อเก็บเงินโดยเฉพาะ และการหักเงินออมก่อนใช้แล้ว คุณควรกำหนดเป้าหมายการออมควบคู่ไปด้วย เพราะการมีเป้าหมายออมชัดเจน จะทำให้ทราบว่าต้องเก็บเงินเที่ยวเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างออกทริป
โดยแนะนำให้ประเมินค่าใช้จ่ายของการท่องเที่ยวคร่าวๆ ผ่านรีวิวของผู้ที่เคยท่องเที่ยวในสถานที่แห่งนั้นมาก่อน ประกอบกับสำรวจราคาค่าที่พัก ก็จะได้ตัวเลขเป้าหมายเงินออมที่ต้องเก็บไว้เป็นส่วนของค่าใช้จ่ายแล้ว
ที่สำคัญอย่าลืมเก็บเงินเที่ยวให้มากกว่าเป้าหมายเล็กน้อยด้วย เพราะมีโอกาสใช้เงินมากกว่างบประมาณที่ตั้งไว้ เช่น กำหนดเป้าหมายเก็บเงินเที่ยวอยู่ที่ 10,000 บาท ควรเผื่อเหลือเผื่อขาดประมาณ 10 % ของเงินออม จะได้ว่าเป้าหมายเก็บเงินเที่ยว + เงินเผื่อเหลือเผื่อขาด เท่ากับ 11,000 บาท เป็นต้น
ทั้งนี้การกำหนดเป้าหมายเงินออมไว้ใช้จ่ายสำหรับท่องเที่ยวไม่ควรสูงจนเกินไป เพราะอาจรบกวนการออมเงินเพื่อเป้าหมายอื่นๆ ของชีวิต เช่น การเก็บเงินซื้อบ้าน หรือเก็บเงินซื้อรถ ดังนั้นควรตั้งเป้าเก็บเงินท่องเที่ยวอย่างพอประมาณ
4. จำกัดวงเงินในการใช้จ่าย
การจำกัดวงเงินสำหรับใช้จ่ายจะช่วยให้เก็บเงินเที่ยวได้ง่ายขึ้น เพราะป้องกันการใช้จ่ายเกินตัวได้ดีเยี่ยม โดยแนะนำให้ตั้งงบประมาณสำหรับเป็นวงเงินในการใช้จ่ายทันทีเมื่อเงินเดือนออก พร้อมๆ ไปกับการเก็บเงินก่อนใช้
ซึ่งวงเงินใช้จ่ายคำนวณได้จาก รายจ่ายในแต่ละวัน * 30 วัน เช่น ใช้เงินเฉลี่ยวันละ 250 บาท จะได้ว่าวงเงินการใช้จ่ายใน 1 เดือน ควรอยู่ที่ประมาณ 7,500 บาท หากใช้เงินเกินกว่านี้มีโอกาสเก็บเงินไปเที่ยวได้น้อยลง
5. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากต้องการเก็บเงินเที่ยวให้มากขึ้น ต้องทำควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้วย โดยคุณอาจลองทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อตรวจสอบการใช้เงินในแต่ละเดือน ว่าเผลอใช้เงินไปกับเรื่องที่ไม่ควรจ่ายหรือไม่ เมื่อพบรายการใช้จ่ายที่ผิดปกติแล้ว ค่อยหาทางลดค่าใช้จ่ายนั้นลง
หรือถ้าต้องการซื้อของจริงๆ คุณอาจรอเวลาจัดโปรโมชัน ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก และสามารถใช้งานบัตรเครดิต หรือบัตรสมาชิกต่างๆ สำหรับเป็นแต้มส่วนลดเพิ่มเติม
6. ตั้งใจเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมาย
หลังจากได้ทราบวิธีกำหนดเป้าหมายเก็บเงิน การออมเงิน พร้อมทั้งวิธีลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแล้ว สิ่งสำคัญของการเก็บเงินเที่ยวที่สุด คงหนีไม่พ้นกับการตั้งใจออมเงินเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เพราะหากไม่ลงมือออมตั้งแต่วันนี้ คงมีเงินเก็บไม่ถึงเป้าหมายที่ต้องการใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยวแน่นอน
ถ้าคุณต้องการตัวช่วยเพื่อเก็บเงินได้ง่ายขึ้น เราแนะนำให้ลองใช้งานตารางออมเงิน ซึ่งก็มีตารางหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานตามความต้องการ เช่น ตารางออมเงิน 10,000 บาท หรือ ตารางออมเงิน 15,000 บาท โดยตารางจะกำหนดให้คุณเก็บเงินทุกวัน เช่น วันละ 5 บาท, 10 บาท ไปจนถึงหลักร้อยบาท
แน่นอนว่าหากคุณสามารถเก็บเงินได้ตามที่กำหนด ก็จะสามารถเก็บเงินเที่ยวได้ตามจำนวนที่ต้องการ ที่สำคัญระหว่างเก็บเงินด้วยตารางออมเงิน คุณยังได้ฝึกทัศนคติทางการเงินที่ดีขึ้นอีกด้วย ถือเป็นก้าวสำคัญของการมีเงินล้านและการมีอิสรภาพทางการเงินในอนาคต
แนะนำตัวช่วยเก็บเงินเที่ยว MAKE by KBank
หลังจากรู้จักกับ 6 เทคนิคเก็บเงินเที่ยวที่ได้แนะนำไปข้างต้นแล้ว คุณอาจลองใช้งานแอปเก็บเงิน อย่าง “Make by KBank” เป็นผู้ช่วยเก็บเงินเที่ยวอีกทาง ซึ่ง Make by KBank นอกจากจะให้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปีแล้ว ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ทำให้การบริหารจัดการเงินเป็นเรื่องง่าย อย่าง “Cloud Pocket” และ “Expense Summary”
- Cloud Pocket
ฟีเจอร์ที่ช่วยให้การเก็บเงินเที่ยว และบริหารจัดการเงินระหว่างออกทริปเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยหน้าที่ของ Cloud Pocket คือ สร้างกระเป๋าเงินเพื่อทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการออม การใช้จ่าย หรือการลงทุน
คุณสามารถประยุกต์ใช้งาน Cloud Pocket ควบคู่ไปกับ 6 เทคนิคที่ได้แนะนำไปข้างต้น เช่น สร้างกระเป๋าเก็บเงินเที่ยว แทนที่จะเปิดบัญชีเก็บเงินเพิ่ม เพราะการสร้างกระเป๋าเงินผ่านฟีเจอร์ Cloud Pocket เป็นเรื่องง่ายกว่าการเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ แถมการโอนเงินเข้ากระเป๋าก็สะดวกกว่าการโอนเงินระหว่างบัญชีอีกด้วย
และหากต้องการควบคุมวงเงินการใช้จ่าย ฟีเจอร์ Cloud Pocket ยังได้ออกแบบระบบล็อกกระเป๋าเงิน โดยฟังก์ชันดังกล่าวทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้ผู้ใช้งานเผลอใช้จ่ายเกินตัวได้ง่ายๆ รับรองว่าคุณจะควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น
- Expense Summary
หากเบื่อการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบเดิมที่ยุ่งยาก แถมมีโอกาสลงรายการบัญชีผิดพลาด Expense Summary จะทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป เพราะเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยสรุปรายการใช้จ่ายต่างๆ แบบอัตโนมัติ ทำให้เห็นชัดเจนว่าหมดเงินไปกับรายการอะไรบ้าง และเมื่อทราบว่าใช้เงินไปกับค่าใช้จ่ายส่วนใดเป็นพิเศษ ก็สามารถประหยัดเงินได้อย่างตรงจุด และวางแผนเก็บเงินเที่ยวได้ดีกว่าเดิม
นอกจาก 2 ฟีเจอร์ที่ช่วยเก็บเงินเที่ยวตามข้างต้น Make by KBank ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ได้แก่ 1.ฟีเจอร์ Pop Pay 2.ฟีเจอร์ Money Request และ 3. Chat Banking โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ฟีเจอร์ Pop Pay
Make by KBank ได้พัฒนาระบบการโอนเงินล่าสุดที่เพียงแค่เปิดหน้าไอคอนเพื่อนของคุณขึ้นมาภายในแอป ก็สามารถโอนเงินผ่าน Bluetooth ได้ทันทีในระยะ 10 เมตร หมดปัญหาขอเลขที่บัญชีของเพื่อนไม่สะดวก ระหว่างมีคนอยู่จำนวนมากในสถานที่ท่องเที่ยว
- ฟีเจอร์ Money Request
ถ้ากังวลว่าระหว่างท่องเที่ยวแล้วเพื่อนขอยืมเงินไป และคุณไม่กล้าทวง เพราะกลัวว่าจะทำให้ความสัมพันธ์แย่ลง แต่ Money Request จะช่วยให้การทวงเงินเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่ส่งรายการเรียกเก็บไปผ่านทางแอป ซึ่งทางฟีเจอร์ก็ได้คิดคำพูดทวงเงินแบบสุภาพไว้ให้แล้ว ไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์เองให้เหนื่อย
- ฟีเจอร์ Chat Banking
หากต้องการตรวจสอบรายการใช้จ่ายย้อนหลังระหว่างท่องเที่ยว ไม่ควรพลาดกับฟีเจอร์ Chat Banking ที่มีคุณสมบัติสามารถตั้งกลุ่มแชทขึ้น ทำให้ทราบได้ว่ากลุ่มทริปเดินทางของคุณใครโอนเงินให้กัน หรือใครออกค่าใช้จ่ายอะไรไปแล้วบ้าง หมดปัญหาจำไม่ได้ว่าใครจ่ายเงินไปแล้ว และยังไม่ได้เงินคืน
ดาวน์โหลด Make by KBank ผู้ช่วยเก็บเงินเที่ยวอย่างไร ให้ทริปเดินทางราบรื่น หมดห่วงเรื่องการเงิน
เป็นอย่างไรกันบ้าง จะเห็นได้ว่าการเก็บเงินเที่ยวไม่ยากอย่างที่คิด โดยทั้ง 6 เทคนิคที่ได้แนะนำไป เมื่อสรุปออกมาจะเหลือ 3 ขั้นตอนง่ายๆ คือ 1.ตั้งเป้าหมายเก็บเงิน 2.ออมเงิน และ 3.ลดค่าใช้จ่าย หากลงมือทำตามขั้นตอนได้ รับรองว่าทริปของคุณจะไม่ล่มเพราะปัญหาการเงินแน่นอน
การเก็บเงินเที่ยวแม้ดูเหมือนเป็นเป้าหมายทางการเงินเล็กๆ แต่ถ้าเก็บเงินได้ตามแผน ก็เป็นก้าวสำคัญไปสู่การวางแผนการเงินอื่นๆ ที่ช่วยให้ชีวิตของคุณประสบความสำเร็จด้านการเงินได้ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินซื้อบ้าน เก็บเงินซื้อรถ หรือแม้แต่วางแผนเกษียณ
หากสนใจผู้ช่วยเก็บเงินเที่ยวอย่างแอปพลิเคชัน Make by KBank สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android มาเริ่มต้นวางแผนการเงินได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ทุกทริปการเดินทางราบรื่น