20 ข้อ เกี่ยวกับเรื่องเงิน ที่เรารวบรวมมาไว้ให้คุณ! - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

20 ข้อ เกี่ยวกับเรื่องเงิน ที่เรารวบรวมมาไว้ให้คุณ!

20-tips-about-money.jpg

เรื่องเงิน เรื่องทอง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรวางแผนเนิ่นๆ เมื่อก้าวเท้าสู่วัยทำงาน เพื่อให้มีเงินเก็บมากกว่าใคร ไม่ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงิน ไม่มีเงินใช้จ่าย จนต้องยืมเงินกับคนรู้จัก หรือขอสินเชื่อเงินด่วนเมื่อถึงวันสิ้นเดือน

เราจึงชวนทุกคนมาเรียนรู้เรื่องเงินกับ 20 เทคนิคในบทความนี้ รับรองว่าจะบริหารจัดการเงินได้ดียิ่งขึ้น และต่อยอดไปสู่การลงทุนอื่นๆ ให้แผนการเงินชีวิตในระยะยาวเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิม สามารถนำข้อมูลไปปรับใช้ได้เลยทันที!

  • รู้จักกับเทคนิคการแบ่งเงินเป็นสัดส่วน ให้เป็นคนใหม่ที่มีเงินเก็บมากกว่าเดิม
  • จัดการเงินเพื่อเป้าหมายในชีวิต ทำอย่างไรบ้าง
  • เตรียมตัวเกษียณอย่างยั่งยืน กับเทคนิคต่อไปนี้
  • บริหารเงินกับสินเชื่อต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปิดหนี้ได้ก่อนใคร

เรียนรู้เรื่องการออมเงิน กับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank

  1. Cloud Pocket
  2. Expense Summary

20 เรื่องเงินทุกคนทำได้ไม่ยาก ขอแค่ตั้งใจและมีทัศนคติทางการเงินที่ดี

รู้จักกับเทคนิคการแบ่งเงินเป็นสัดส่วน ให้เป็นคนใหม่ที่มีเงินเก็บมากกว่าเดิม

การแบ่งเงินเป็นสัดส่วน ช่วยให้การบริหารเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องง่าย เพราะคุณไม่สามารถจัดการเรื่องเงินอย่างมีประสิทธิภาพได้ หากรวมเงินออม และเงินใช้จ่ายรวมอยู่ในบัญชีเดียว ซึ่งเทคนิควางแผนการเงินให้เป็นสัดส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. เปิดบัญชีเงินออมเพิ่มเติม

การเปิดบัญชีเงินออมแยกออกมาจากบัญชีรับเงินเดือน จะช่วยให้คุณมีเงินเก็บก่อนถึงวันสิ้นเดือนได้ ในขณะที่การออมด้วยบัญชีรับเงินเดือนเพียงอย่างเดียว จะบริหารจัดการเงินออมลำบาก เพราะมีโอกาสใช้เงินออมไปกับค่าใช้จ่ายต่างๆ นั่นเอง

2.ทฤษฎี 6 Jars

คุณอาจลองประยุกต์ทฤษฎีดังกล่าวด้วยการฝากระปุกออมสิน หรือเปิดบัญชีธนาคารเพิ่ม เพื่อแบ่งเงินเดือนออกเป็น 6 ส่วนได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น 55%, การศึกษาและพัฒนาตนเอง 10%, เงินรางวัลให้แก่ชีวิตตนเอง 10%, เงินลงทุนระยะยาว 10%, ทำบุญ 5% และเงินลงทุนเพื่ออิสรภาพทางการเงิน 10%

3. ใช้สูตร 50-30-20

อีกสูตรยอดฮิตของเรื่องการบริหารเงิน โดย 50% หมายถึงแบ่งเงินเดือนเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน, 20% หมายถึงค่าใช้จ่ายส่วนตัว และ 20% แบ่งเก็บไว้สำหรับเงินออม

4. แบ่งเงินออมเป็น 4 ส่วน

เมื่อออมเงิน หลังจากเงินเดือนออกแล้ว สามารถต่อยอดนำเงินเก็บที่ได้ แบ่งไว้ในช่องทางต่างๆ ได้แก่เงินลงทุน, เงินสำหรับวัยเกษียณ, เงินสำหรับซื้อของเพื่อความสุข และเงินเตรียมพร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน

5. แบ่งเงินออมตามเป้าหมายในชีวิต

แต่ละคนล้วนมีเป้าหมายในชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ทำให้นอกจากแบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วนแล้ว อาจลองแบ่งเงินออมตามเป้าหมายในชีวิตด้วย เช่น เป้าหมายในระยะยาวให้ เปิดบัญชีสำหรับเก็บเงินแต่งงาน หรือเก็บเงินซื้อบ้าน และในระยะสั้นซื้อของชิ้นเล็ก ก็อาจเปิดบัญชีเงินเก็บเพื่อซื้อโทรศัพท์ หรือซื้อโน้ตบุ๊ก โดยเฉพาะ

จัดการเงินเพื่อเป้าหมายในชีวิต ทำอย่างไรบ้าง

หลังจากทุกคนได้เรียนรู้เรื่องการแบ่งเงินให้เป็นสัดส่วนแล้ว การจัดการเงินเพื่อเป้าหมายในชีวิตก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งเราได้นำเทคนิคต่างๆ มาฝากทุกคนแล้วดังต่อไปนี้

อยากรวยเร็วศึกษาความเสี่ยงให้ดี

หากตั้งเป้าหมายรวยเร็ว ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย หลายคนคงมองหาช่องทางลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงอย่างคริปโตเคอเรนซี ตลาดหุ้น หรือตราสารอนุพันธ์ประเภท Future ซึ่งสินทรัพย์กลุ่มนี้ก่อนลงทุนควรศึกษาความเสี่ยงให้ดี เพราะแม้มีโอกาสทำกำไรได้มาก ก็มีสิทธิ์ขาดทุนสูงด้วยเช่นกัน

เก็บเงินให้ลูกแนะนำประกันสะสมทรัพย์

ใครมีลูกน้อยแล้ววางแผนการเงินให้มีเงินเก็บเตรียมพร้อม หลังจากเรียนจบมหาลัย เราแนะนำให้คุณทำประกันสะสมทรัพย์ไว้สักฉบับ เพราะนอกจากจะให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพแล้ว เมื่อจ่ายเบี้ยกรมธรรม์ครบกำหนดสัญญายังได้เงินก้อนคืนให้บุตรหลาน มีเงินทุนตั้งตัวหลังเรียนจบมหาลัยอีกด้วย

ดาวน์บ้านผ่อนบ้าน วางแผนให้รัดกุม

เมื่อวางแผนซื้อบ้าน ให้คุณคำนวณให้ดีว่าต้องใช้เงินดาวน์บ้านเท่าไหร่ เพื่อให้ผ่อนบ้านได้หมดก่อนถึงวัยเกษียณ เพราะหากดาวน์น้อยก็ยิ่งใช้เวลาผ่อนบ้านนานขึ้น ทำให้ต้องยิ่งหาเงินก้อนมาโปะบ้าน เพื่อให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนต่ำลง

ทำธุรกิจ ต้องเตรียมเงินสำรองเอาไว้ด้วย

หากมีความฝันเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณควรเก็บเงินสักก้อนเตรียมพร้อมกับเหตุฉุกเฉิน เพราะถ้ามีเงินน้อยเกินไป อาจจะกระทบต่อการหมุนเงินได้ ในกรณีที่ลูกหนี้การค้าหาเงินมาจ่ายไม่ทัน และนอกจากเตรียมเงินให้พอแล้ว การจัดทำงบการเงินในธุรกิจก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะช่วยให้เรื่องการบริหารเงินของกิจการง่ายกว่าเดิม จากการมีสภาพคล่องที่มากเพียงพอ

ไม่อยากมีหนี้ เดินทางสายกลาง เก็บออมสม่ำเสมอ

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีเป้าหมายในชีวิตเรื่องเงินเรื่องใดเป็นพิเศษ และอยากออมเงินไปเรื่อยๆ เพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เราแนะนำให้คุณฝากเงินกับบัญชีเงินฝากประจำที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น บัญชีเงินฝากประจำ 24 เดือน หรือ 48 เดือน เป็นต้น

เตรียมตัวเกษียณอย่างยั่งยืน กับเทคนิคต่อไปนี้

หากสนใจวางแผนเรื่องเงิน เตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณ มารู้จักกับ 5 เทคนิคต่อไปนี้กันได้เลย

1. คำนวณเงินเกษียณให้เพียงพอ

ก่อนเริ่มต้นเกษียณให้ทุกคนคำนวณเงินที่ต้องใช้จ่ายว่าควรมีเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอ ผ่านสูตรคำนวณ รายจ่าย x จำนวนเดือนที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อหลังเกษียณ เช่น หากคิดว่าหลังเกษียณต้องใช้เงินเดือนละ 20,000 บาท และคิดว่าจะอยู่ได้อีก 20 ปี หมายความว่าควรเตรียมเงินเก็บไว้อย่างน้อย 20,000 x12 เดือน x20 ปี = 4.8 ล้าน

2. เก็บเงินเกษียณตั้งแต่เริ่มทำงาน

หลายคนมักมองข้ามเรื่องเงินเกษียณ เพราะมองว่าไกลเกินตัว และไปวางแผนการเงินอีกทีตอนอายุ 40-50 ปีซึ่งอาจจะสายเกินไป วิธีการวางแผนที่ถูกต้องคือ ควรวางแผนเก็บเงินทันทีที่เริ่มทำงาน รับรองว่าเมื่อถึงวัยเกษียณแล้วมีเงินเก็บเพียงพอแน่นอน

3. ลงทุนกับสินทรัพย์ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ

นอกจากเก็บเงินเตรียมเกษียณให้เร็วแล้ว การลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและความเสี่ยงต่ำ ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยเพิ่มเงินเก็บให้เกษียณได้เร็วขึ้น โดยแนะนำให้ลงทุนในสินทรัพย์ในช่วงราคาตก เพื่อสร้างผลตอบแทนจำนวนมากในระยะยาว เช่น ทองคำ หรือหุ้นปันผล แต่ต้องประเมินความเสี่ยงความผันผวนของราคาสินทรัพย์ด้วยเช่นกัน

4. เก็บเงินกับกองทุนที่ให้เงินสมทบสูง

ไม่ใช่แค่ลงทุนในสินทรัพย์เพียงอย่างเดียว หากบริษัทใครมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราก็แนะนำให้เก็บเงินกับกองทุนดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ เพราะให้เงินสมทบสูงสุดถึง 15% ทำให้มีเงินล้านก่อนถึงวัยเกษียณแน่นอน

5. ทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุ

เมื่อถึงวัยเกษียณหลายคนเพิ่งนึกได้ว่าต้องทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุเอาไว้ เพราะค่าใช้จ่ายรักษาโรคสูงมาก แต่การตัดสินใจทำประกันสุขภาพ หลังวัยเกษียณแล้วอาจไม่ใช่ความคิดที่ดีเท่าไหร่นัก เพราะค่าเบี้ยจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ดังนั้นควรรีบทำประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังไม่มาก เพื่อจะได้เสียค่าเบี้ยประกันน้อยๆ

บริหารเงินกับสินเชื่อต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปิดหนี้ได้ก่อนใคร

การวางแผนเกษียณอย่างอุ่นใจ ก็ควรจัดการปัญหาหนี้สินให้เรียบร้อย ซึ่งเราได้รวบรวมเทคนิคเรื่องเงิน เกี่ยวกับการบริหารสินเชื่อต่างๆ เอาไว้ให้คุณแล้ว

สำรวจหนี้สินว่ามีเท่าไหร่

ก่อนเริ่มต้นวางแผนการเงินเพื่อจัดการหนี้สิน ก็ควรสำรวจตัวเองให้เรียบร้อยว่ามีหนี้อะไรบ้าง และเหลือยอดหนี้เท่าไหร่ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของหนี้สินตามอัตราดอกเบี้ย หมายความว่ายิ่งหนี้ก้อนไหนอัตราดอกเบี้ยสูง ควรปิดหนี้ให้เร็ว เพื่อลดโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากการหมุนเงินไม่ทัน เพราะใช้เงินจ่ายดอกเบี้ยมากเกินไป

จ่ายหนี้เป็นประจำสม่ำเสมอ

ผู้ที่ประสบปัญหาเรื่องการเงินส่วนมากเกิดจากเป็นหนี้สินแล้วไม่ยอมชำระหนี้ ทำให้สถานการณ์หนี้สินแย่ยิ่งกว่าเดิม เพราะนอกจากเงินต้นจะไม่ลดลงแล้ว ยอดหนี้ยังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ขอสินเชื่อรวมหนี้ถ้าจำเป็น

หากมีหนี้หลายก้อน ไม่รู้ว่าจะจัดการหนี้ก้อนไหนดี ก็แนะนำให้ขอสินเชื่อรวมหนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้รถยนต์ หรือหนี้บ้าน ก็กลายเป็นหนี้เพียงก้อนเดียว ทำให้บริหารจัดการหนี้สินได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องเจอกับปัญหาลืมจ่ายหนี้จนทำให้ถูกคิดค่าติดตามทวงถามหนี้สินได้เลย

ประนีประนอมกับเจ้าหนี้

ลูกหนี้จำนวนไม่น้อยแก้ปัญหาหนี้สินด้วยการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ ทำให้หาทางปิดหนี้ไม่ได้ แต่การประนีประนอมหนี้ นอกจากจะช่วยขยายเวลาผ่อนชำระได้แล้ว ยังมีโอกาสได้ลดหนี้ หากเจ้าหนี้เห็นว่าคุณผ่อนชำระต่อไม่ไหว

ซื้อเงินสด แทนการก่อหนี้สิน

ถ้าต้องการซื้อของเล็กๆ น้อยๆ แทนที่จะขอสินเชื่อ หรือใช้บัตรเครดิต ก็อาจเก็บเงินสดซื้อได้เลย เพราะการซื้อของแทนเงินสด เป็นการเริ่มต้นฝึกวินัยทางการเงินที่ดี และช่วยลดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นได้อีกด้วย

เรียนรู้เรื่องการออมเงิน กับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank

tips-for-money.jpg

หลังจากเรียนรู้ 20 เรื่องเงิน ไปข้างต้นแล้ว หากสนใจผู้ช่วยเก็บเงิน ไม่ควรพลาดกับ MAKE by KBank ที่ให้คุณเริ่มต้นวางแผนการเงินผ่าน 2 ฟีเจอร์เด็ดใช้งานง่ายอย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary

1. Cloud Pocket

ลืมเรื่องการแบ่งเงินแบบเดิมที่ต้องคอยเปิดบัญชีหลายๆ ธนาคารให้ปวดหัวไปได้เลย เพราะ Cloud Pocket เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณแบ่งเงินสุดสร้างสรรค์ผ่านการสร้างกระเป๋าเงินเท่าไหร่ก็ได้ตามที่คุณต้องการ และยังกำหนดหน้าที่ของกระเป๋าเงินผ่านการตั้งชื่อต่างๆ เช่น กระเป๋าเงินเก็บ หรือกระเป๋าเงินสำหรับใช้จ่ายรายเดือน เป็นต้น

แถม Cloud Pocket ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ “แผ่นออมเงิน” ซึ่งช่วยแก้ปัญหาผู้ที่ไม่รู้ว่าควรออมเงินแบบไหนดี ให้เป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะเพียงแค่ตั้งชื่อ Cloud pocket ด้วยชื่อ “แผ่นออมเงิน” จะพบกับน้องเมคสุดอัจฉริยะ ผู้ทำหน้าที่ออกแบบแผนการเงินให้คุณออมเงินรายวันผ่านตารางออมเงินที่น้องเมคสร้างขึ้น

2. Expense Summary

ฟีเจอร์ผู้ช่วยสรุปค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้คุณทราบว่าใช้เงินกับรายการใดในกระเป๋า Cloud Pocket เป็นพิเศษ ทำให้วางแผนการเงินเพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายได้อย่างตรงจุด โดยไม่ต้องขอบัญชี Statements ธนาคารย้อนหลังให้ยุ่งยาก และปวดหัวอีกต่อไป

20 เรื่องเงินทุกคนทำได้ไม่ยาก ขอแค่ตั้งใจและมีทัศนคติทางการเงินที่ดี

20 ข้อเกี่ยวกับเรื่องเงินที่ได้รวบรวมมาข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ทุกคนวางแผนการเงินได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลักการสำคัญของการบริหารเงินให้ประสบความสำเร็จนั้นมีเพียงหัวใจ 3 ข้อคือ ออมเงินก่อนใช้จ่าย บริหารค่าใช้จ่ายอย่างรัดกุม และนำเงินไปลงทุนต่อยอด ก็ช่วยให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น หมดปัญหาหมุนเงินไม่ทัน ต้องกู้หนี้ยืมสินอย่างไม่จำเป็นได้เลย

ฟีเจอร์ของ MAKE by KBank อย่าง “แผ่นออมเงิน” ก็พร้อมเป็นที่ปรึกษาให้คุณเก็บเงินรายวันง่ายขึ้น แถมยังช่วยฝึกวินัยการเงินที่ดี ผ่านการเริ่มต้นเก็บเงินสม่ำเสมอในทุกวัน ที่สำคัญ MAKE by KBank ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์อื่นๆ ที่ช่วยวางแผนเรื่องเงิน อย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary อีกด้วย

ด้วยประโยชน์ขนาดนี้ ก็พลาดไม่ได้แล้วที่ต้องดาวน์โหลดแอปเก็บเงิน “MAKE by KBank” ที่พร้อมให้คุณมีเงินออมมากขึ้น ให้จัดการเป้าหมายต่างๆ ในชีวิตได้อย่างลงตัว ที่สำคัญแค่ฝากเงินเข้าไปในบัญชี MAKE by KBank ยังให้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปี แถมภายในแอปยังมี Mission สนุกๆ เอาใจสมาชิกใหม่และเก่า ให้ร่วมลุ้นรางวัลอีกมากมาย!

กลับไปหน้าแรก