Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

10 วิธีออมเงิน 1 ปี ให้ได้ตามเป้า ลองแล้วไม่ผิดหวัง!

one-year-money-saving.jpg

ถ้าคุณกำลังวางแผนการเงิน เพื่อซื้อของชิ้นใหญ่ราคาสูงสักชิ้น ไม่ว่าจะเป็นบ้าน, รถยนต์, โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แล้วกำลังรู้สึกว่าไม่สามารถออมเงินตามเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากเก็บเงินไม่อยู่ ต้องจ่ายหนี้สินทุกเดือน เป็นเสาหลักของครอบครัว หรือมีเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้การเก็บเงินสักก้อนเป็นเรื่องยาก เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ MAKE by KBank จึงนำ 10 วิธีออมเงิน 1 ปี ที่จะช่วยให้คุณสามารถออมเงินถึงเป้าหมายภายใน 1 ปีได้ง่ายๆ มาฝากกัน

สารบัญบทความ

  • 1.ตั้งเป้าหมายออมเงิน]
  • 2.ลองใช้ตารางออมเงิน 1 ปี
  • 3.บัญชีรายรับ-รายจ่าย ก็สำคัญ
  • 4.หักเงินออมทันทีเมื่อเงินเดือนออก
  • 5.หาทางปิดหนี้ก่อน
  • 6.ลดงดการสังสรรค์
  • 7.ซื้อของในช่วงจัดโปรโมชัน
  • 8.หางานเสริม
  • 9.หาแหล่งเงินฝากดอกเบี้ยสูง
  • 10.ออมเงิน 1 ปีด้วยฟีเจอร์จาก MAKE by KBank
  • สรุป

1. ตั้งเป้าหมายออมเงิน

ก่อนเริ่มต้นเก็บเงินแสน เงินล้าน สำหรับซื้อของตามความฝัน ควรกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมเป็นอันดับแรก เพราะการได้เห็นจุดหมาย จะช่วยให้คุณมีแรงบันดาลใจและช่วยเสริมสร้างวินัยทางการเงิน ซึ่งวิธีการตั้งเป้าหมาย เพื่อออมเงินภายใน 1 ปี ควรกำหนดยอดออมเป็นจำนวนเงินน้อยๆ เพื่อไม่ให้เคร่งเครียดกับการเก็บเงินจนเกินไป และถึงเป้าหมายอย่างค่อยเป็นค่อยไป

และอีกหนึ่งการตั้งเป้าหมายออมเงินสำหรับเก็บเงินใน 1 ปีที่เราแนะนำ ถ้าหากไม่มีไอเดียจริงๆ ว่าต้องตั้งเป้าเป็นเงินเท่าไหร่ดี เพียงแค่ใช้สูตร “รายได้ภายใน 1 ปี * 10%” ก็จะเท่ากับเป้าหมายเงินออมภายใน 1 ปีแล้ว

สมมติให้รายได้ของคุณเท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน หมายความว่าในหนึ่งปีจะมีรายได้เท่ากับ 240,000 บาท จึงได้ว่าเป้าหมายออมเงิน คือ 240,000 *10% = 24,000 บาท ซึ่งจะเป็นจำนวนเงินออมใน 1 ปีที่เราควรจะออมได้นั่นเอง

สาเหตุที่เราแนะนำให้เก็บเงิน 10% ของรายได้ เพราะเป็นเงินออมที่ไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้ และคนส่วนใหญ่สามารถทำได้ แต่ถ้ามีรายจ่ายเยอะ จนการเก็บเงินหมื่น เก็บเงินแสนภายใน 1 ปีเป็นเป้าหมายที่ยากเกินไป อาจปรับแผนการออมเป็น 3 - 5% ก็ได้ตามความเหมาะสม

2. ลองใช้ตารางออมเงิน 1 ปี

เมื่อตั้งเป้าหมายเก็บเงินเรียบร้อยแล้ว คุณอาจลองใช้วิธีออมเงินใน 1 ปีวิธีถัดไป ด้วยการใช้ตารางออมเงิน โดยตารางออมเงินมีหลายแบบ คุณควรเลือกตารางที่เหมาะสมกับรายรับและพฤติกรรมการใช้เงินของตนเอง วิธีการเก็บเงินแบบนี้ ผู้ชื่นชอบการนำเศษเงินติดกระเป๋าหยอดกระปุกไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ตัวอย่างวิธีออมเงิน 1 ปีแบบนี้ ในกรณีที่ตั้งเป้าหมายออมเงิน 24,000 บาท ภายใน 1 ปี เราสามารถตีตาราง 365 วันด้วยตนเอง จากนั้นกำหนดให้เราออมเงินวันละ 65 บาท และ 66 บาทสลับกันไป หรืออาจจะเป็นตัวเลขอื่นๆ ก็ได้ บ้างมากน้อยบ้างแล้วแต่พฤติกรรมการใช้เงินของเรา เมื่อเริ่มเก็บก็ให้หยอดเงินลงกระปุก วันใดเก็บเงินใส่กระปุกได้แล้ว ก็ให้ขีดฆ่าวันนั้นๆ ออก สิ้นปีเมื่อทุบกระปุกออกมา เราก็สามารถจับเงินหมื่นแบบง่ายๆ ได้แล้ว

3. บัญชีรายรับ-รายจ่าย ก็สำคัญ

อีกหนึ่งวิธีออมเงิน 1 ปีแบบง่ายๆ คือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งช่วยให้เราทราบได้ทันทีว่ามีวันใดใช้เงินผิดปกติหรือไม่ และเสริมสร้างวินัยทางการเงินด้วยตนเองแบบง่ายๆ แต่ถ้าการลงบัญชีที่ต้องบันทึกทุกรายละเอียดเป็นเรื่องยาก เราแนะนำแอปพลิเคชัน MAKE by KBank จากธนาคารกสิกรที่มีฟีเจอร์ Expense Summary และ Cloud Pocket ที่ช่วยให้การวางแผน และจัดสรรเงินเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย

4. หักเงินออมทันทีเมื่อเงินเดือนออก

วิธีออมเงิน 1 ปี ด้วยตารางออมเงิน เหมาะสำหรับผู้มีนิสัยรักการหยอดเงินใส่กระปุก อย่างไรก็ตามทุกวันนี้มนุษย์เงินเดือนต่างก็ยุ่งมาก จนไม่มีเวลาเก็บเงินเล็กๆ น้อยๆ และมักเผลอใช้จ่ายเกินตัวจนไม่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยการหักเงินออมทันทีเมื่อได้รับเงินเดือน

โดยการหักเงินออมออกจากเงินเดือน ควรหักเท่าๆ กัน จะได้ไม่สร้างภาระให้เดือนใดเดือนหนึ่งมากเกินไป เช่น จากกรณีที่ตั้งเป้าหมายเงินเก็บ 24,000 บาทใน 1 ปี จะได้ว่าแต่ละเดือน ต้องหักเงินเดือนละ 24,000 /12 = 2,000 บาท สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้ เป็นเพราะจดจำง่าย และบริหารจัดการได้ดี แต่ถ้าหัก 1,500/1,000/2,000 บาทสลับไปมา รับรองเลยว่ามีหลงลืม แถมทำให้เก็บเงินไม่ถึงเป้าใน 1 ปีอีกด้วย

5. หาทางปิดหนี้ก่อน

เมื่อทำความรู้จักกับ 4 วิธีออมเงินภายใน 1 ปีไปข้างต้นแล้ว ถ้าคุณเป็นหนี้ สิ่งที่ควรสนใจ คือ หาทางปิดหนี้เสียก่อน เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก ต่อให้คุณเก็บเงินไปฝาก ก็ยังได้ผลตอบแทนไม่พอจ่ายดอกเบี้ย และหนี้บางประเภทหากค้างชำระ เดือนต่อไปยอดจะสูงขึ้น ทำให้ยากแก่การปิดหนี้ได้

ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจกับการผ่อนชำระหนี้สินก่อนเริ่มต้นออมเงิน เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการวางแผนการเงินสำหรับอนาคตมากเกินไปนั่นเอง

6. ลดงดการสังสรรค์

เชื่อหรือไม่เมื่อคุณออกไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูงทุกวันสิ้นเดือน จะใช้เงินเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง เมื่อครบ 1 ปีก็จ่ายเงินออกไปถึง 12,000 บาทอย่างไม่รู้ตัว! ดังนั้นนอกจากจะกำหนดวิธีออมเงิน เพื่อให้ถึงเป้าหมายตามที่ต้องการแล้ว การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ภายในเวลาเพียง 1 ปี ก็ช่วยให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นแบบง่ายๆ ได้เช่นเดียวกัน

7. ซื้อของในช่วงจัดโปรโมชัน

นอกจากลดการสังสรรค์เพื่อออมเงินแล้ว สิ่งสำคัญต่อมา คือการเลือกซื้อของอย่างชาญฉลาดด้วยการซื้อของในช่วงจัดโปรโมชันเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง หลายคนอาจคิดว่าถ้าไม่ต้องรอโปรโมชัน แล้วซื้อสินค้าที่มีราคาถูกมากๆ อยู่แล้วจะไม่ดีกว่าหรือ? ความจริงแล้วการซื้อของที่มีราคาถูกจนเกินไปก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะการซื้อของที่ราคาถูกจนผิดปกติ มีโอกาสได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เสียเวลา และเสียเงินซื้อของชิ้นนั้นใหม่อย่างไม่จำเป็น แต่ปัญหาจะหมดไปเมื่อซื้อของในช่วงจัดโปรโมชัน

สาเหตุที่ของจัดโปรโมชันคุณภาพสูงกว่าเป็นเพราะร้านค้าต้องการโละของในสต๊อกออกไป หรือเพื่อส่งเสริมการขาย ทำให้สินค้าที่ซื้อมีคุณภาพเท่าสินค้าราคาเต็ม ในขณะที่สินค้าที่ราคาถูกอยู่แล้วมักเป็นของที่ผลิตออกมาอย่างไม่มีคุณภาพ หรือใช้วัตถุดิบไม่มีคุณภาพในการผลิต

เมื่อเลือกซื้อของในราคาถูก และมีคุณภาพ จะช่วยให้มีเงินเหลือมากขึ้น จึงจัดอีกเป็นวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายที่ทำให้คุณออมเงินในเวลา 1 ปี ได้เร็วกว่าเดิม อย่างไรก็ตามสินค้าในช่วงจัดโปรบางรุ่นอาจมีคุณภาพไม่ดีนัก ควรอ่านรีวิวก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อให้คุณซื้อของได้คุ้มค่ามากที่สุด

8. หางานเสริม

หากคุณกำลังรู้สึกว่างานประจำรายได้น้อยเกินไป ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว และเก็บเงินไม่ถึงตามเป้าหมายแล้ว การหางานเสริมจึงเป็นทางออกที่ดี! เพราะเป็นอีกวิธีออมเงิน 1 ปี ที่ช่วยให้มีเงินมากพอสำหรับวางแผนซื้อของต่างๆ ในอนาคต

อย่างไรก็ตามไม่ควรคาดหวังกับรายได้เสริมมากกว่ารายได้ประจำ เพราะจะทำให้คุณเหนื่อยล้าเกินไป จนทำให้ Burn-out ถอดใจไปง่ายๆ เสียก่อน และเมื่อได้เงินจากงานเสริมมาแล้ว ควรหาทางออมให้ได้อย่างน้อย 10% ด้วย เพื่อให้เก็บเงินถึงเป้าหมายภายใน 1 ปี

9. หาแหล่งเงินฝากดอกเบี้ยสูง

นอกจากประหยัด และมองหาแหล่งรายได้อื่นๆ แล้ว การฝากเงินกับบัญชีอัตราดอกเบี้ยสูง ก็จัดว่าเป็นวิธีออมเงิน ที่ทำให้เราเก็บเงินถึงเป้าหมายภายในระยะเวลา 1 ปีได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยแนะนำให้คุณเลือกฝากเงินกับบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือน เพราะผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ และใช้เวลาเพียง 6 เดือน ก็สามารถถอนเงินออกมาได้แล้ว จึงเหมาะแก่ผู้เริ่มต้นเก็บเงินมือใหม่อย่างยิ่ง

แต่ถ้าไม่อยากติดเงื่อนไขระยะเวลาของการถอนเงินบัญชีเงินฝากประจำ มือใหม่หัดเก็บเงินหรือคนทั่วไปที่อยากได้บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง สามารถเปิดบัญชีบนแอปเก็บเงิน MAKE by KBank แล้วฝากเงินเข้าไป เพียงเท่านี้ก็ได้รับผลตอบแทน 1.5% ต่อปีแล้ว ซึ่งผลตอบแทนเท่านี้ถือว่าเยอะไม่แพ้บัญชีเงินฝากประจำเลย

10. ออมเงิน 1 ปีด้วยฟีเจอร์จาก MAKE by KBank

one-year-savings-plan.jpg

หากกำลังรู้สึกว่าวิธีออมเงิน 1 ปี แบบเก่าๆ อย่างการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หรือตารางออมเงินเป็นเรื่องยุ่งยาก ทั้งไม่มีเวลา และอาจหลงลืมการออมเงินเป็นประจำ ทำให้วินัยทางการเงินเริ่มหละหลวม จนรู้สึกว่าไม่สามารถเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย

แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อคุณเลือกใช้งานแอปพลิเคชัน “MAKE by KBank” ตัวช่วยจัดการเงิน ให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์เด็ดยอดนิยมอย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary รูปจากทีมกราฟิค

1. Expense Summary

ฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณสรุปรายการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้แบบง่ายๆ ทำให้ทราบได้ทันทีว่าแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เปรียบเสมือนผู้ช่วยทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ซึ่งฟีเจอร์ Expense Summary จะทำให้คุณสามารถย้อนดูประวัติย้อนหลังได้ ช่วยให้รู้ว่าที่ผ่านมาใช้จ่ายกับอะไรเป็นพิเศษ ให้คุณสามารถวางแผนประหยัดเงินในอนาคตได้

2. Cloud Pocket

ถ้ากำลังปวดหัวอยู่กับค่าใช้จ่ายต่างๆ แถมต้องวางแผนเก็บเงินเพื่ออนาคต ตัวช่วยที่ทุกคนไม่ควรพลาด คือ ฟีเจอร์ Cloud Pocket ซึ่งเป็นการแบ่งเงินเป็นส่วนๆ ในรูปแบบของกระเป๋าเงิน โดยเราสามารถตั้งชื่อกระเป๋าตามที่แอปแนะนำได้ ไม่ว่าจะเป็น “เงินเก็บห้ามใช้” “ค่าใช้จ่าย” “ค่าอาหาร” ฯลฯ หรือจะตั้งชื่อเองก็ทำได้ง่ายๆ เช่นกัน

ซึ่งนอกจากช่วยแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการตั้งชื่อแล้ว Cloud Pocket ยังทำให้คุณสามารถทำธุรกรรมตามปกติผ่านกระเป๋าเหล่านี้ได้ด้วย ทั้งสแกนจ่ายผ่าน QRcode, โอนเงินผ่านเลขบัญชีหรือพร้อมเพย์, และยังสามารถโยกย้ายเงินไปที่กระเป๋าอื่นๆ ได้อย่างอิสระด้วย ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานอย่างมาก นอกจากนี้ แอปพลิเคชันยังมาพร้อมกับฟังก์ชัน “ตั้งค่าโอนเงินอัตโนมัติ” ทำให้เราหักเงินออมจากบัญชีเงินเดือนเข้าสู่บัญชี MAKE by KBank ได้ทันที

ที่สำคัญ Cloud Pocket ยังมีฟีเจอร์ย่อยที่ช่วยให้เราแชร์กระเป๋าเงินร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ได้ นั่นคือ “Shared Cloud Pocket” ทำให้คนในครอบครัวทราบได้ทันทีว่ากระเป๋าเงินที่เก็บร่วมกันเหลือเงินเท่าไหร่ และช่วยให้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ง่ายขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าวิธีออมเงิน 1 ปี มีหลักการสำคัญ คือ 1.ตั้งเป้าหมาย-จัดสรรเงิน 2.หาทางประหยัดเงิน และ 3.การฝากเงินในบัญชีที่ผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งหลักการทั้ง 3 ข้อนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 10 วิธีที่ช่วยให้ทุกคนออมเงินง่ายๆ ตามที่กล่าวไป

ถ้าสนใจผู้ช่วยที่ทำให้คุณสามารถจัดการเงินแบบง่ายๆ อย่าง “MAKE by KBank” สามารถดาวน์โหลดผ่าน Play Store ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ซึ่งนอกจากฟีเจอร์ Expense Summary และ Cloud Pocket แล้ว ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ควรพลาด!

Back to Home

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ

เว็บไซต์ของบริษัทมีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณ รวมถึงเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความสนใจของคุณมากที่สุด ทั้งนี้ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้คุกกี้ของบริษัทได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้