

เชื่อว่าเด็กจบใหม่จำนวนไม่น้อย วางแผนอยากไปเรียนต่อ ต่างประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะในด้านที่ตนเองศึกษามา รวมถึงเปิดประสบการณ์ชีวิตเพื่อพบเจอกับสิ่งใหม่ทั้งเรื่องสังคม ภาษา แนวความคิด วัฒนธรรม และอีกมากมาย แต่เหนือสิ่งอื่นใดหากครอบครัวไม่ได้มีฐานะร่ำรวยก็ต้องวางแผนเก็บเงินด้วยตนเอง คำถามคือ ควรจัดการเงินยังไงให้มั่นใจว่าเป้าหมายที่วางแผนไม่ไกลเกินเอื้อม คำแนะนำอันแสนง่ายดายที่สุดคือ แค่มีแอปผู้ช่วยจัดการเงินดี ๆ อย่าง “MAKE by KBank” ก็สามารถสร้างบัญชีเงินเก็บของตนเองได้อย่างง่ายดายแล้ว
หากการเรียนต่อต่างประเทศคือเป้าหมายหลักของเด็กจบใหม่อย่างคุณ คำถามคือต้องจัดการเงินยังไงเพื่อให้มั่นใจว่าภายในระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า ตนเองจะมีเงินเก็บเพียงพอสำหรับเดินทางและใช้ชีวิตต่างแดน? นั่นจึงไม่ใช่แค่การหางานทำไม่ว่าจะเป็นงานประจำและงานพิเศษเพื่อสร้างรายได้เยอะเท่านั้น แต่ต้องรู้จักสร้างบัญชีเงินเก็บที่ช่วยแยกเป็นสัดส่วนเอาไว้ด้วย คำตอบอันแสนง่ายดายของเรื่องนี้คือการดาวน์โหลดแอปผู้ช่วยจัดการเงินชั้นเยี่ยมอย่าง “MAKE by KBank”
สำหรับคนที่ต้องการแยกบัญชีเงินเก็บของตนเองเอาไว้เพื่อเรียนต่อต่างประเทศ อย่างที่บอกไปว่า MAKE by KBank สามารถช่วยคุณอย่างง่ายดายเพียงแค่เลือกใช้ฟีเจอร์อย่าง “Cloud Pocket” จุดเด่นของฟีเจอร์นี้คือ สามารถแยกกระเป๋าเงินเพื่อสร้างบัญชีต่าง ๆ เอาไว้ได้แบบไม่จำกัด อธิบายแบบเห็นภาพชัดเจนคือ สมมุติคุณมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท พอรับเงินมาแล้วก็จัดการแยกสัดส่วนของเงินแต่ละเดือนเลยว่ามีค่าใช้จ่ายเรื่องไหน กี่บาท ต้องเก็บเงินกี่เรื่อง กี่บาท เช่น ค่าน้ำ-ค่าไฟ-ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าเดินทาง, ค่าอาหาร, ค่าของใช้ส่วนตัว เป็นต้น พอแยกกระเป๋าค่าใช้จ่ายเรียบร้อยคราวนี้ก็แยกกระเป๋าเงินเก็บ ซึ่งใครที่มีเป้าหมายหลายอย่างจะเก็บหลายกระเป๋าก็ไม่ว่ากัน เช่น เก็บเงินเรียนต่อต่างประเทศ, เก็บเงินลงทุน, เก็บเงินไว้ซื้อของขวัญให้พ่อแม่ เมื่อคุณสามารถแบ่งกระเป๋าเงินตนเองผ่านแอปผู้ช่วยจัดการเงินได้แบบนี้ก็มั่นใจว่าไม่มีทางนำเงินส่วนอื่นมาใช้ปะปนกันมั่วแน่นอน สามารถกำหนดเป้าหมายชัดเจนเลยว่าใช้เวลาอีกกี่ปีเพื่อเก็บเงินให้ครบถ้วนตามเป้าแล้วออกเดินทางไปเรียนต่อยังประเทศที่ตนเองใฝ่ฝันเอาไว้
เมื่อรู้จักกับฟีเจอร์ขั้นเทพที่จะช่วยให้การสร้างบัญชีเงินเก็บเพื่อเก็บเงินเรียนต่อต่างประเทศเป็นเรื่องง่ายดายกว่าเดิม แถมกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนแล้ว จริง ๆ เด็กจบใหม่อีกจำนวนไม่น้อยยังอาจไม่ค่อยมีประสบการณ์เกี่ยวกับวิธีบริหารจัดการเงินของตนเองอย่างเหมาะสมมากนัก ดังนั้นจะจัดการเงินยังไงให้ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนไม่บานปลาย ไม่ใช่แบบสุรุ่ยสุร่าย ลองมาฟีเจอร์ดี ๆ อย่าง “Expense Summary” ได้เลย
สำหรับฟีเจอร์ Expense Summary คืออีกผู้ช่วยมืออาชีพสำหรับทุกคน เพราะเมื่อถึงสิ้นเดือนจะทำการสรุปค่าใช้จ่ายมาให้ครบถ้วนแบ่งเป็น 6 หมวด ได้แก่ ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ความบันเทิง, ช้อปปิ้ง, ชำระบิล และอื่น ๆ หากคุณใช้เงินส่วนไหนผ่าน MAKE by KBank สถิติทุกอย่าจะระบุไว้ชัดเจน เดือนนี้ช้อปปิ้งเกินงบ, ใช้เงินกับความบันเทิงมากเกินไป ฯลฯ พอเห็นตัวเลขแบบนี้เดือนหน้าก็ปรับพฤติกรรมใหม่ ใช้จ่ายแบบไม่เกินตัว รับรองว่าช่วยให้การเก็บเงินง่ายขึ้นกว่าเดิมแน่
นอกจาก 2 ฟีเจอร์ที่กล่าวไปแอปผู้ช่วยจัดการเงิน MAKE by KBank ก็ยังมีฟีเจอร์พิเศษเพิ่มเติมให้ได้ทำความเข้าใจกันคร่าว ๆ ดังนี้
หาตู้ ATM กสิกรไทย หรือเครื่องที่มีสัญลักษณ์ K CHECK ID กดปุ่มยืนยันตัวตนบนเครื่อง สอดบัตรประจำตัวประชาชนตามช่องที่กำหนด เครื่องดำเนินการเรียบร้อยดึงบัตรออก ข้อความแจ้งได้ทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต้องดำเนินการต่อผ่านแอปพลิเคชัน
เปิดแอปแล้วสแกนใบหน้าตามที่ระบุ เช่น หันหน้าซ้าย-ขวา หน้าตรง กะพริบตา หรืออื่น ๆ เมื่อได้รับการยืนยันก็เปิดใช้งานบัญชีได้แล้ว
เป็นยังไงกันบ้างสำหรับเด็กจบใหม่ที่ยังสงสัยว่าควรจัดการเงินยังไงหากมีเป้าหมายเรียนต่อต่างประเทศ ลองใช้แอปผู้ช่วยจัดการเงินอย่าง MAKE by Kbank แล้วสร้างบัญชีเงินเก็บของตนเองแยกเอาไว้เลย งานนี้ เป้าหมายมีไว้พุ่ง ชนแน่นอน