How To บริหารชีวิตและวางแผนการเงินสำหรับนักศึกษา - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

How To บริหารชีวิตและวางแผนการเงินสำหรับนักศึกษา

Banner ช่วงชีวิตในวัยนักศึกษาถือเป็นวัยที่กำลังสนุก ได้เปิดประสบการณ์ใหม่กับชีวิตของตนเอง อย่างไรก็ตามน้อง ๆ ทุกคนต้องรู้จักวิธี บริหารชีวิตและวางแผนการเงิน ให้ชัดเจนด้วย เพราะเอาเข้าจริงนี่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนเข้าสู่โลกแห่งการทำงานที่ต้องสร้างรายได้ ดังนั้นถ้ามีพื้นฐานดีนอกจากระหว่างเรียนไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องเงินยังฝึกเป็นนิสัยติดตัวได้อีกต่างหาก คำถามคือแล้วจะมีวิธีเก็บเงินให้อยู่อย่างไร ต้องทำบัญชีเก็บสนุกเอาไว้หรือไม่ จะขอแนะนำ How To ทริคเก็บเงิน วัยเรียนให้ลองนำไปใช้กันเลย

ทริควางแผนการเงินและบริหารชีวิตสำหรับนักศึกษา

Image2

1. จัดสรรรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือนให้ชัดเจน

วิธีแรกถือเป็นพื้นฐานเบื้องต้นซึ่งทุกคนคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ถ้าอยากมีเงินเหลือใช้แบบชนเดือน ไม่ต้องมองหาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือต้องไปกู้หนี้ยืมสินใครเขาก็ต้องฝึกจัดสรรรายรับ-รายจ่ายของตนเองในแต่ละเดือนให้ชัดเจน ด้วยวัยที่เป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ผู้ปกครองก็น่าจะใช้เงินแบบรายเดือนแล้วจึงรู้รายรับแน่นอนในแต่ละเดือนว่าเท่าไหร่ จากนั้นก็ถึงการทำรายจ่ายให้บาลานซ์กัน แนะนำว่าให้ลิสต์รายจ่ายแต่ละเดือนเพื่อความชัดเจน จะทำให้คุณมองเห็นเบื้องต้นว่ามีส่วนไหนอาจเกินจริงไปนิดแล้วพยายามประหยัดเข้าไว้ เมื่อเริ่มต้นด้วยการบริหารชีวิตภายใต้กำลังทรัพย์ที่มีได้สำเร็จ ถือว่าเป็นการเปิดตัวที่สวยงาม

2. แยกบัญชีเงินเก็บเอาไว้ต่างหาก

การวางแผนการเงินไม่ใช่แค่มีเงินให้เหลือใช้แบบเดือนชนเดือนเท่านั้น แม้เป็นนักศึกษาก็สามารถมีเงินเก็บได้หากรู้ทริคเก็บเงิน วัยเรียนอย่างเหมาะสม ซึ่งการเก็บเงินอันแสนง่ายดายในช่วงที่ยังเรียนหนังสืออยู่ย่อมหนีไม่พ้นวิธีเก็บหอมรอมริบ เก็บเล็กผสมน้อย มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท แต่ครั้นจะใส่รวมเอาไว้ในบัญชีเดียวกับที่ตนเองใช้จ่ายก็ดูอันตรายไปนิด เพราะบางทีอาจเผลอลืมตัวนำเงินก้อนดังกล่าวออกมาใช้ รวมถึงไม่มั่นใจว่ามีเงินเก็บเท่าไหร่กันแน่ คำแนะนำคือให้สร้างบัญชีเก็บสนุกขึ้นมา จะใช้วิธีเปิดบัญชีกับธนาคารใหม่ไปเลยก็ได้ หรือจะเลือกใช้แอปพลิเคชัน MAKE by KBank ก็ดีงามไม่แพ้กัน

3. หากเงินไม่พอใช้หรือมีเงินเก็บน้อยก็ต้องหาเพิ่ม

เป็นสัจธรรมของการใช้ชีวิตหากรู้ว่ารายรับของตนเองยังไม่เพียงพอกับรายจ่ายหรือหมิ่นเหม่จะใช้เกินตัวมาก ๆ อย่าว่าแต่วิธีเก็บเงินให้อยู่ แค่ใช้เงินให้พอยังเหนื่อย วิธีอันแสนง่ายดายที่สุดคงหนีไม่พ้นหาเงิน สร้างรายได้ให้กับตนเอง ด้วยวัยนักศึกษาสามารถหางานพาร์ทไทม์ได้เยอะมาก มีหลายแห่งพร้อมต้อนรับและให้ค่าแรงตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือใครมั่นใจว่าตนเองมีทักษะเฉพาะจะทำงานแนวฟรีแลนซ์ใช้ฝีมือก็ไม่ว่ากัน เมื่อเงินเยอะขึ้นแต่ค่าใช้จ่ายไม่ได้เพิ่มตาม เงินส่วนที่เหลือก็แยกใส่บัญชีเก็บสนุกไว้เลย รับรองนอกจากไม่เดือดร้อนไปกู้ยืมใคร หรือไม่เดือดร้อนเงินทางบ้านเพิ่มเติม ยังมีเงินสะสมเอาไว้เผื่อตอนเริ่มเข้าทำงานอีกด้วย

4. วางแผนการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาวเอาไว้บ้าง

วิธีวางแผนทางการเงินในวัยนักศึกษาหลายคนอาจคิดว่าแค่เรื่องของการทำงานพิเศษก็เพียงพอ แต่ความจริงคือในอนาคตน้อง ๆ ยังต้องเจอกับโลกแห่งการทำงานรวมถึงมีค่าใช้จ่ายอื่นรออยู่อีกเพียบ การรู้จักลงทุนอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มพูนเงินให้งอกเงย แต่ทั้งนี้ไม่ใช่อยู่ดี ๆ จะสุ่มสี่สุ่มห้าไปลงมั่วเพราะโอกาสขาดทุนหรือโดนโกงก็ไม่ไม่น้อย แนะนำให้วางแผนลงทุนทั้งระยะสั้นกับระยะยาวควบคู่กันไป แต่เน้นผลกำไรตายตัว ไม่ต้องหวือหวาแต่ผลลัพธ์ยากปฏิเสธ เช่น กองทุน, ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ เป็นต้น ถือเป็นทริคเก็บเงิน วัยเรียนที่น่าใช้งานไม่น้อย

MAKE by KBank ตัวช่วยวางแผนการเงินสำหรับนักศึกษา

เมื่อเข้าใจพื้นฐานของวิธีวางแผนการเงินกันไปเรียบร้อย จะเห็นว่าต้องเริ่มตั้งแต่การเช็กยอดคงเหลือแต่ละเดือน แบ่งเงินเก็บ และมีการลงทุนเพิ่มเติม สูตรสำเร็จที่ใครก็ทำตามได้ แต่จะดีกว่าหรือไม่หากสามารถนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม MAKE by KBank แอปพลิเคชันทางการเงินดี ๆ ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์เด่นโดนใจเพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันติดมือถือไว้ก็เริ่มต้นได้เลย ฟีเจอร์ที่ขอแนะนำสำหรับนักศึกษาผู้กำลังมองหาวิธีเก็บเงินให้อยู่จะมีด้วยกัน 2 ตัว คือ

  • Cloud Pocket เป็นฟีเจอร์ที่จะแยกกระเป๋าเงินออกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน ซึ่งคุณสามารถทำกระเป๋าได้ไม่จำกัด มีค่าใช้จ่ายกี่อย่าง เงินเก็บกี่ประเภท ที่สำคัญเมื่อรู้ว่าเงินก้อนนี้จะใช้กับอะไรก็ไม่มีการหยิบเงินส่วนอื่นมาปนกันมั่วแน่ สร้างบัญชีเก็บสนุกแบบไม่ต้องเปิดบัญชีธนาคารใหม่เลยด้วยซ้ำ

  • Expense Summary เสมือนพีเจอร์ที่จะคอยสรุปรายจ่ายแต่ละเดือนของคุณว่าหมดไปเท่าไหร่กับหมวดหมู่สินค้าประเภทใด ทั้งหมวดอาหาร, ช้อปปิ้ง, จ่ายบิล, ความบันเทิง, การเดินทาง และอื่น ๆ พอเห็นแล้วว่าเดือนก่อนหน้าใช้อะไรมากเป็นพิเศษ ถ้าไม่สำคัญก็ลดลงบ้าง นี่แหละวิธีเก็บเงินให้อยู่ตัวจริง

น้อง ๆ นักศึกษาคนไหนอยากวางแผนการเงินและบริหารชีวิต ลองนำเอาทริคเก็บเงิน วัยเรียนที่บอกเล่ามานี้ไปใช้ได้เลย รวมถึงแอปพลิเคชันมืออาชีพอย่าง MAKE by KBank แยกบัญชีเก็บสนุกพร้อมเข้าใจวิธีเก็บเงินให้อยู่กันอย่างละเอียด

กลับไปหน้าแรก