6 เทคนิค ก้าวสู่ความมั่งคั่งของอิสรภาพทางการเงินอย่างถูกวิธี - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

6 เทคนิค ก้าวสู่ความมั่งคั่งของอิสรภาพทางการเงินอย่างถูกวิธี

wealth-and-rich.jpg

อิสรภาพทางการเงินเป็นความฝันที่คนรุ่นใหม่อยากไปถึงเป้าหมายก่อนวัยเกษียณ เพราะไม่มีใครต้องการทำงานหนักในช่วงที่อายุมากแล้ว และเทรนด์ของคนในยุคปัจจุบัน ต่างนิยมเกษียณเร็ว เพื่อใช้ชีวิตตามที่ตัวเองต้องการ เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศกับแฟน หรือทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ

แต่การไปถึงอิสรภาพทางการเงินก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นในบทความนี้เราจึงนำ 6 เทคนิคที่จะให้ทุกคนก้าวสู่ความมั่งคั่ง พร้อมแชร์วิธีเก็บเงิน ที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนทำได้ง่ายๆ เพื่อเป็นสเต็ปแรกให้เริ่มต้นความมั่งคั่ง อย่างมั่นคง

ความมั่งคั่งคืออะไร แตกต่างจากความร่ำรวยอย่างไรบ้าง

หลายคนมักเข้าใจว่าความมั่งคั่ง กับความร่ำรวยเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะคนรวยอาจไม่ใช่คนที่มีความมั่งคั่งก็ได้ แต่คนมั่งคั่งทุกคนล้วนแต่เป็นคนรวย หรืออาจเป็นคนรวยได้ในอนาคต

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากคนรวยตามที่เราเห็น อาจมีหนี้สินจำนวนมากก็ได้ เช่น มีบ้านราคาแพง หรือขับรถหรู แท้จริงแล้วอาจไม่มีความมั่งคั่งเลย โดยความมั่งคั่งสุทธิคำนวณได้จาก สินทรัพย์รวมของบุคคล - หนี้สินทั้งหมด

ตัวอย่างเช่น นาย A มีสินทรัพย์ทั้งหมด 20 ล้านบาท แต่มีหนี้สินรวม 30 ล้านบาท ในกรณีนี้นาย A ความมั่งคั่งติดลบ 10 ล้านบาท ส่วนนาย B มีสินทรัพย์รวม 1 แสนบาท แต่ไม่มีหนี้สิน ทำให้นาย B ที่ภายนอกดูเหมือนร่ำรวยน้อยกว่านาย A แต่ความจริงแล้วมีความมั่งคั่งมากกว่าถึง 1 แสนบาท ทำให้นาย B เมื่อตั้งใจเก็บเงิน วางแผนการเงินอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตการมีสินทรัพย์ 20 ล้านบาทเหมือนกับนาย A ก็ไม่ใช่เรื่องยาก

ความมั่งคั่ง สำคัญอย่างไร ทำไมทุกคนควรมี

หลังจากที่ทุกคนได้ทำความรู้จักกับความแตกต่างระหว่างความรวยและความมั่งคั่งกันไปแล้ว มาดูกันเลยดีกว่าว่าความมั่งคั่งมีความสำคัญอย่างไร

1. เป็นเจ้าของสินทรัพย์ได้ง่ายๆ

หากวางแผนเก็บเงินซื้อบ้าน แล้วไม่มีเงินสดเพียงพอสำหรับวางเงินดาวน์ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะซื้อบ้านสักหลัง แต่ถ้าคุณมีเงินในระดับถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่สามารถดาวน์บ้านได้ การซื้อบ้านก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และหากมีเงินมากเพียงพอก็อาจซื้อบ้านด้วยเงินสดได้เลย ไม่ต้องหาสินเชื่อ และผู้ค้ำประกันให้ยุ่งยาก

2. ไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาหนี้สิน

ผู้ที่มีความมั่งคั่ง พร้อมมีวินัยการเงิน สุขภาพทางการเงินย่อมดีกว่าผู้ที่ใช้เงินเกินตัว และสุดท้ายต้องแก้ปัญหาดัวยการกู้หนี้ยืมสิน ซึ่งนอกจากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยจำนวนมากในแต่ละเดือนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้ด้วย หากเกิดเหตุที่ทำให้ไม่สามารถหารายได้ได้เหมือนเดิม

3. เตรียมพร้อมกับวัยเกษียณได้ก่อนใคร

ยิ่งสร้างความมั่งคั่งเร็วตั้งแต่อายุยังน้อย ก็สามารถวางแผนเกษียณเร็วกว่าคนอื่น เช่น หากเก็บเงินเดือนละ 1,000 บาทตั้งแต่อายุ 23 เมื่อายุครบ 30 ปี ก็จะมีเงินเก็บทั้งหมด 84,000 บาท ส่วนผู้ที่ไม่ได้วางแผนเก็บเงินเลย เพิ่งมาวางแผนเก็บเงินตอนอายุ 30 ก็ย่อมวางแผนเกษียณได้ช้ากว่าผู้ที่เริ่มต้นเก็บเงินตั้งแต่เรียนจบ

ชวนทำความรู้จักกับองค์ประกอบของความมั่งคั่ง

องค์ประกอบของความมั่งคั่งมีทั้งหมด 3 ส่วนดังต่อไปนี้

1. สินทรัพย์สภาพคล่อง (Liquid Assets)

สินทรัพย์ประเภทนี้มาพร้อมกับคุณสมบัติเปลี่ยนเป็นเงินสดง่ายกว่าสินทรัพย์อื่นๆ ทำให้เหมาะแก่การสำรองไว้สำหรับเตรียมพร้อมกับเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุกะทันหัน หรือการตกงานเพราะบริษัทเลิกจ้าง

ตัวอย่างของสินทรัพย์ประเภทนี้ เช่น เงินฝากในบัญชีธนาคาร โดยแนะนำให้คุณมีสินทรัพย์ดังกล่าวอย่างน้อย 6 เดือนของรายได้ เช่นเงินเดือน 20,000 บาท ควรมีสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากในบัญชี 120,000 บาท สาเหตุที่แนะนำให้มีเงินสำรองไว้ 6 เดือน เนื่องจากคนส่วนมากหางานใหม่ได้โดยเฉลี่ยระยะเวลาประมาณ 6 เดือน หลังจากตกงานกะทันหันนั่นเอง

2. สินทรัพย์เพื่อการลงทุน (Investment Assets)

สินทรัพย์เพื่อการลงทุน คือ สินทรัพย์ที่ช่วยให้คุณมีรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว ทำให้มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของสินทรัพย์ประเภทนี้ เช่น ทองคำ หุ้นกู้ หรือกองทุนรวม โดยแนะนำให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่คุณคุ้นเคย และมีความรู้เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขาดทุน เพราะไม่เข้าใจลักษณะของสินทรัพย์

3. สินทรัพย์ส่วนตัว (Personal Assets)

สินทรัพย์ส่วนตัว คือ สินทรัพย์ทุกอย่างที่คุณเป็นเจ้าของ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรือแม้แต่ของเล็กน้อยอย่างเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเกม ฯลฯ และรวมไปถึงมรดกที่อาจจะได้รับในอนาคต

ทั้งนี้ตราบใดที่กำลังผ่อนของนั้นๆ อยู่ เช่น ผ่อนบ้าน อย่าเข้าใจผิดว่าบ้านคือ สินทรัพย์ส่วนตัวของคุณ เพราะสินทรัพย์นั้นจะยังเป็นของสถาบันการเงิน แต่ถ้าผ่อนหมดแล้ว ก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ส่วนตัว ดังนั้นหากยังผ่อนไม่หมด ควรหลีกเลี่ยงการใช้เงินฟุ่มเฟือย เพื่อป้องกันการขาดผ่อนชำระภายหลัง

ทำอย่างไรให้เริ่มต้นสร้างวิธีบริหารความมั่งคั่ง อย่างยั่งยืน

how-to-wealth-and-rich.jpg

1. ตั้งเป้าหมายในการออม จุดเริ่มต้นของการสร้างความมั่งคั่ง

ก่อนเริ่มต้นสร้างความมั่งคั่งได้ จำเป็นต้องมีเป้าหมายในการออมเงินเป็นอันดับแรก เพราะจะช่วยให้คุณมีสติในการใช้ชีวิต มุ่งมั่นในการออมเงินได้ดีขึ้น ไม่เผลอใช้เงินไปกับของที่ไม่จำเป็น และทำร้ายร่างกายอย่างบุหรี่ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

ถ้าต้องการตัวช่วยตั้งเป้าหมายการออม เราแนะนำให้ดาวน์โหลดแอปเก็บเงิน อย่าง MAKE by KBank ซึ่งมาพร้อมกับฟีเจอร์ “Cloud Pocket” ที่ให้คุณสามารถแบ่งกระเป๋าได้เป็นหลายกระเป๋า โดยไม่ต้องเปิดหลายๆ บัญชี ซึ่งถ้าหากอยากป้องกันไม่ให้เผลอนำเงินเก็บออกมาใช้จ่ายก็สามารถล็อคกระเป๋าไว้ได้ แถมยังตั้งเป้าหมายการออมบนกระเป๋าเงินได้ด้วย

2. ออมเงินสม่ำเสมอในทุกเดือน

หลังจากตั้งเป้าหมายในการเก็บเงินได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การออมเงินสม่ำเสมอ เพราะผู้ที่มีความมั่งคั่งทุกคนล้วนเริ่มต้นจากการออมเงินเป็นประจำ แม้จำนวนเงินเล็กน้อย เช่น 5 บาท, 10 บาท เมื่อออมไปเรื่อยๆ ก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ จนสามารถต่อยอดไปลงทุนในสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ต้องการได้

แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะวางแผนออมเงินรายวันอย่างไรดี? สามารถใช้ฟีเจอร์ตัวช่วยอย่าง “แผ่นออมเงิน” ที่แค่ตั้งชื่อ Cloud Pocket ว่า “แผ่นออมเงิน” หรือจะเป็นชื่ออะไรก็ได้ แต่ต้องใส่หน้าอีโมจิ “

” ด้วย แล้วกดล็อกกระเป๋าเงิน คุณจะพบกับน้องเมค ผู้ช่วยออมเงินอัจฉริยะ ที่ทำหน้าที่คำนวณว่าต้องเก็บเงินออมเท่าไหร่ ถึงจะออมเงินได้ตามเป้าที่ต้องการ หลังจากที่คุณเลือกจำนวนที่ต้องการออมแล้ว ทำให้สมาชิก MAKE by KBank วางแผนออมเงินสม่ำเสมอในทุกเดือนง่ายยิ่งขึ้น

3. หลีกเลี่ยงการซื้อของฟุ่มเฟือย

การซื้อของฟุ่มเฟือยจะทำให้ความมั่งคั่งลดลง ซึ่งคุณสามารถทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อตรวจสอบการใช้จ่ายย้อนหลัง โดยแนะนำให้ลงตัวเลขในบัญชีดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยให้เช็กรายการใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น และนำไปสู่การออกแบบแผนการเงินที่ทำให้มีความมั่งคั่งในระยะยาว

4. อย่าลืมบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพ และชีวิต

นอกจากความมั่งคั่งด้านการเงินแล้ว ความเสี่ยงด้านสุขภาพก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหลายคนเก็บเงินมาทั้งชีวิต แต่เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันด้านสุขภาพ เช่น ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย ต้องใช้เงินรักษาจำนวนมาก ความมั่งคั่งที่สะสมมาก็หายไปกับค่ารักษาพยาบาล

ดังนั้นเพื่อรับมือกับเหตุดังกล่าว จึงควรทำประกันอุบัติเหตุ หรือประกันสุขภาพไว้สักฉบับ สำหรับลดภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ และหากคุณมีคนที่ต้องดูแลอยู่ข้างหลัง การทำประกันชีวิตไว้ก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะทำให้คุณสามารถส่งต่อความมั่งคั่งให้คนข้างหลังมีเงินใช้ ในยามที่คุณจากไปแล้ว

5. ลดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น

การก่อหนี้นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้มุ่งสู่ความมั่งคั่งยากขึ้น เพราะหนี้สินทำให้ความมั่งคั่งสุทธิลดลง และส่งผลให้ความมั่งคั่งสุทธิติดลบได้เลย ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น อย่างหนี้บัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด เนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยต่อปีสูงกว่าหนี้สินกลุ่มอื่นๆ และไม่สร้างรายได้ในระยะยาวอีกด้วย

6. นำเงินไปลงทุน

คุณสามารถนำเงินไปลงทุนผ่านเทคนิคแบ่งเงินออมออกเป็น 4 ส่วน ซึ่งประกอบไปด้วย 1.เงินออมซื้อความสุข 2.เงินออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน 3.เงินออมสำหรับลงทุน และ 4.เงินออมเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณ

ตัวอย่างเช่น หากออมเงินได้เดือนละ 2,000 บาท เมื่อแบ่งเงินออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน จะได้ว่ามีเงินออมสำหรับลงทุนเท่ากับ 500 บาท และนำเงินออมส่วนนี้มาซื้อสินทรัพย์อย่างทองคำ หรือกองทุนรวมเป็นประจำทุกเดือน รับรองว่ามีเงินเก็บจนไปสู่ความมั่งคั่งได้แน่นอน

รู้จักกับMAKE by KBank ตัวช่วยให้คุณบริหารความมั่งคั่งง่ายๆ

ก้าวแรกสู่ความมั่งคั่งไม่ใช่เรื่องยาก ขอแค่มีวินัยออมเงินอย่างสม่ำเสมอ ลดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น และนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนมากกว่ารายได้ประจำ เพียงเท่านี้คุณก็มุ่งสู่ความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน

ถ้ากำลังมองหาผู้ช่วยบริหารความมั่งคั่ง อย่าลืมดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ที่นอกจากจะมาพร้อมกับฟีเจอร์ Cloud Pocket แล้ว ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ “แผ่นออมเงิน” ผู้ช่วยวางแผนออมเงินรายวันอัจฉริยะ และเพียงแค่ฝากเงินเข้าไปในบัญชี MAKE by KBank ยังได้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปีอีกด้วย!

กลับไปหน้าแรก