น่ารู้! เป้าหมายการออมเงิน ควรตั้งเท่าไหร่? - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

น่ารู้! เป้าหมายการออมเงิน ควรตั้งเท่าไหร่?

collect-money-salaryman.jpg

ปัญหาใหญ่ของผู้เริ่มต้นเก็บเงิน คือ ไม่รู้ว่าแต่ละเดือนต้องตั้งเป้าหมายการออมเท่าไหร่ดี? ถึงจะเหมาะสม เพราะถ้าออมเงินมากเกินไปก็อาจกระทบต่อการใช้จ่ายจนตึงมือ แต่หากออมน้อยเกินไป หรือไม่ออมเลยก็เกิดปัญหาไม่มีเงินเก็บ แถมมีโอกาสสร้างหนี้ให้ต้องมาแก้ปัญหาทีหลังอีก

ด้วยเหตุนี้เราจึงนำวิธีตั้งเป้าหมายการออมเงิน มาฝากผู้คนทุกช่วงวัยให้บริหารจัดการเงินได้ง่ายขึ้น พร้อมแชร์เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจให้คุณเห็นประโยชน์ของการออมเงิน เพื่ออยากเริ่มต้นเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ ให้ชีวิตมั่นคงทางการเงินในอนาคต

เป้าหมายการออม คืออะไร

หากคุณออมเงินโดยไม่มีแรงบันดาลใจ หรือไม่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าต้องเก็บเงินในแต่ละเดือนเพราะอะไร? จะทำให้คุณไม่อยากเก็บเงิน จนนำเงินเก็บก้อนเก่าออกมาใช้ และสุดท้ายเมื่อเงินเก็บก้อนเก่าหมด ก็ต้องกู้หนี้มาใช้จ่าย ทำให้ไม่อาจสร้างความมั่งคั่งด้านการเงินได้

การตั้งเป้าหมายการออมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้คุณมีแรงผลักดัน ต่อการเก็บเงินได้ง่ายกว่าเดิม โดยเป้าหมายการออมอาจเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ เช่น เก็บเงินซื้อสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่ที่อยากได้ หรือซื้ออัลบั้มศิลปินที่ชื่นชอบมาเก็บสะสม เป็นต้น

ซึ่งการออมเงินเพื่อซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ช่วยให้คุณมีวินัยทางการเงินมากยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่ต้องก่อหนี้เพื่อนำมาซื้อของ ทำให้สามารถเก็บเงินเพื่อเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น ออมเงินให้ลูก, ออมเงินเพื่อการลงทุน หรือออมเงินสำหรับเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณ

ควรตั้งเป้าหมายการออมเงินเท่าไหร่ดี

ในทุกเดือนผู้คนทุกวัยต่างมีค่าใช้จ่ายที่รออยู่ตรงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยทำงานที่นอกจากจะมีรายจ่ายประจำอย่างค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ค่าผ่อนบ้าน ยังมีค่าใช้จ่ายเพื่อเติมเต็มความฝันครอบครัว เช่น ค่านมลูกม ค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ หากบริหารเงินไม่ดี รับรองว่าเป้าหมายการออมไม่ถึงฝันที่วางแผนไว้แน่นอน

ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงตั้งคำถามว่า เป้าหมายการออมเท่าไหร่ดี ถึงจะเหมาะสม? ซึ่งเป้าหมายที่แนะนำ คือ ออมเงิน 10% ของรายได้ และมีวินัยเก็บเงินอย่างสม่ำเสมอ

ถ้าคุณมีภาระทางการเงินมากเกินไป จนไม่สามารถออม 10% อาจปรับเป้าหมายการออมลงมาที่ 1 - 5% ของรายได้ ถึงแม้จะเป็นจำนวนเงินออมเพียงเล็กน้อย เมื่อเก็บเงินไปนานวันเข้าก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ และช่วยลดโอกาสก่อหนี้ลงได้ด้วย

รู้จักกับ 4 เป้าหมายออมเงิน ช่วยให้มีแรงบันดาลใจในการเก็บเงินอย่างไรบ้าง

how-much-should-savings-goals.jpg

เมื่อทุกคนรู้จักกับวิธีตั้งเป้าหมายออมเงินในแต่ละเดือนไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณสามารถแบ่งเงินออมที่ได้ ออกเป็น 4 ส่วน กับ 4 เป้าหมายการออมเงินดังต่อไปนี้ เพราะช่วยให้มีแรงบันดาลใจในการเก็บเงินมากยิ่งขึ้น และเป็นการวางแผนให้ใช้เงินออมเพื่อเกิดประโยชน์มากที่สุดด้วยนั่นเอง

1. เป้าหมายการออม เพื่อการลงทุน

หากกำลังมองหาแหล่งรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว และวางแผนเกษียณเร็วกว่ากำหนด คุณควรตั้งเป้าหมายการออมเพื่อลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นวัยทำงาน ซึ่งอาจออมเป็นเงินจำนวนเล็กน้อย โดยเราแนะนำให้ออม 1,000 บาท เป็นประจำทุกเดือน แล้วนำเงินไปลงทุนในแหล่งอื่นๆ ต่อไป

การลงทุนนั้นมาคู่กับความเสี่ยง และมีโอกาสขาดทุน ผู้สนใจจึงควรศึกษารายละเอียดการลงทุนให้ดีเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจสูญเสียเงินต้น จนไม่สามารถสร้างรายได้ตามที่คุณคาดหวัง ซึ่งแนะนำให้คุณเลือกลงทุนในรูปแบบการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนน่าสนใจ เช่น บัญชีเงินฝากประจำ 48 เดือน หรือฝากเงินไว้ในบัญชีของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ที่ให้ผลตอบแทน 1.5% ต่อปี เป็นต้น

2. เป้าหมายการออม เพื่อสำรองฉุกเฉิน

ถ้ากังวลว่าในอนาคตข้างหน้าอาจเกิดเหตุร้ายจนทำให้คุณต้องใช้เงินฉุกเฉิน เช่น ตกงานกะทันหัน หรือเข้าโรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งเหตุฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ หากไม่มีเงินสำรองเตรียมไว้ รับรองว่าคุณต้องกู้หนี้ยืมสิน จนสุขภาพทางการเงินแย่ลงในที่สุด

การตั้งเป้าหมายในการออมเพื่อเตรียมรับมือกับเหตุฉุกเฉิน จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเป้าหมายที่ควรออมสำหรับรับมือกับเหตุฉุกเฉิน คือ เงินสำรองฉุกเฉิน 1 ปี ซึ่งเป็นจำนวนเท่ากับ “ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรายเดือน x 12”

เช่น ค่าใช้จ่ายทุกเดือนอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท ดังนั้นเงินสำรองฉุกเฉิน 1 ปี จึงเท่ากับ 120,000 บาท โดยวิธีนี้จะช่วยให้คุณมีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แม้ยังตกงานอยู่ ส่วนสาเหตุที่แนะนำให้มีเงินสำรองเป็นระยะเวลา 1 ปี เนื่องจากหากเกิดเหตุตกงาน คนส่วนมากจะหางานใหม่ได้ภายในเวลา 6 เดือน - 1 ปี ทำให้การมีเงินสำรอง 1 ปี จึงช่วยให้การดำเนินชีวิตระหว่างไม่มีรายได้ ไม่ลำบากจนเกินไป

ทั้งนี้หากไม่สามารถเก็บเงินได้ตามสูตรดังกล่าว เพราะมีภาระค่าใช้จ่ายทางบ้าน อาจลองปรับเปลี่ยนมาเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน 1-3 เดือนก็ได้เช่นกัน และนอกจากเก็บเงินออมไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว คุณอาจซื้อประกันสุขภาพสักฉบับ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคร้าย และลดภาระค่ารักษาพยาบาล

3. เป้าหมายการออม เพื่อซื้อความสุข

ถ้าทุกคนตั้งเป้าหมายในการเก็บเงินเพื่อการลงทุนเพียงอย่างเดียว โดยไม่นำเงินไปใช้จ่ายเพื่อความสุขส่วนตัวเลย รับรองว่าในระยะยาวหลายคนอาจล้มเลิกในการเก็บเงิน เพราะเกิดความเครียดจนเกินไป ซึ่งคุณอาจหยุดพักระหว่างทาง เพื่อซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้ แถมเป็นรางวัลที่ช่วยให้คุณหายเหนื่อยกับการทำงานทุกวัน และมีกำลังใจอยากเก็บเงินต่อ

สูตรการตั้งเป้าหมายการออม เพื่อซื้อความสุขนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าของที่ต้องการซื้อคืออะไร? สมมติว่าคุณอยากได้นาฬิการาคา 6 พันบาท คุณอาจลองใช้งาน ตารางออมเงิน 6,000 บาท เพื่อเก็บเงินทุกวัน วันละ 20 บาท เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 10 เดือน ก็มีเงินมากพอที่จะซื้อนาฬิกาที่ต้องการได้แล้ว

จะเห็นได้ว่าการเก็บเงินเพื่อซื้อความสุขนั้น ช่วยให้คุณอดทนเก็บเงิน ทำให้ทัศนคติ และวินัยทางการเงินดียิ่งขึ้น แถมมีความสุขกับการซื้อของที่อยากได้อีกด้วย

4. เป้าหมายการออม เพื่อชีวิตหลังเกษียณ

การเก็บเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณถือเป็นเป้าหมายการออม ที่ควรวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน เพราะหลังเกษียณไม่สามารถหารายได้เหมือนเดิม แต่ค่าใช้จ่ายก็มากมายเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่างวดผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนบุตร ฯลฯ ทำให้การออมเพื่อวางแผนเกษียณเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

โดยเป้าหมายการออมสำหรับชีวิตหลังเกษียณควรเท่ากับ

“ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน x จำนวนปีที่คาดว่าจะยังมีชีวิตเหลืออยู่หลังเกษียณ”

เช่น ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณคาดว่าอยู่ที่ 25,000 บาท และประมาณการว่าจะมีชีวิตหลังเกษียณอีก 20 ปี ดังนั้นเป้าหมายเงินออมที่ควรมีหลังเกษียณ คือ 5 ล้านบาท

ซึ่งคุณอาจใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อเก็บเงินเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณได้ดียิ่งขึ้น อาทิ นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ (RMF) เพราะมีระดับความเสี่ยงของการลงทุนต่ำ แต่สามารถจับเงินก้อนใหญ่หลังเกษียณ หรือซื้อประกันชีวิต เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว

รู้จักกับ MAKE by KBank แอปช่วยเก็บเงิน แถมตั้งเป้าหมายออมเงินได้ง่ายๆ

หากคุณรู้จักกับ 4 เป้าหมายการออมเงินที่เราแนะนำไปข้างต้นแล้ว ก็ถึงเวลาของ “แอปพลิเคชัน MAKE by KBank” แอปผู้ช่วยเก็บเงิน ที่ทำให้คุณตั้งเป้าหมายเก็บเงินได้ง่ายกว่าเดิม ไม่ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้ยุ่งยาก มาพร้อมกับฟีเจอร์เด็ด “Expense Summary” และ “Cloud Pocket”

1. Expense Summary

ฟีเจอร์ที่ทำให้คุณทราบได้ทันทีว่าใช้เงินในแต่ละเดือนหมดไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ไม่ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เสียเวลา พร้อมสรุปยอดการใช้จ่ายที่สามารถย้อนดูรายการย้อนหลัง ทำให้คุณตั้งเป้าหมายการออมได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ดีกว่าเดิม

2. Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่ทำหน้าที่สร้างกระเป๋าเงิน เพื่อแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนต่างๆ ทำให้คุณบริหารจัดการเงินในบัญชีได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยคุณสามารถสร้างกระเป๋าได้ไม่จำกัด! เมื่อสร้างกระเป๋าออกมาแล้ว Cloud Pocket ก็มีชื่อให้คุณเลือกใช้งานด้วย เช่น เงินเก็บห้ามใช้, จ่ายบัตรเครดิต หรือตั้งชื่อกระเป๋าเองตามใจชอบได้เช่นกัน

ซึ่ง Cloud Pocket สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับเป้าหมายการออมเงินได้อีกด้วย เริ่มแรกให้คุณเริ่มต้นสร้างกระเป๋าออกมาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 ใบ แล้วตั้งชื่อดังต่อไปนี้

  1. ลงทุน
  2. ใช้จ่ายฉุกเฉิน
  3. ซื้อความสุข
  4. วัยเกษียณ

โดยฟีเจอร์ Cloud Pocket มีคุณสมบัติตั้งค่าเป้าหมายจำนวนเงินออม ทำให้คุณเห็นได้อย่างชัดเจนว่าออมเงินถึงเป้าหมายแล้วหรือไม่? แถมยังสามารถตั้งค่าล็อกกระเป๋าเงินไม่ให้คุณเผลอนำเงินไปใช้จ่าย ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องได้ ทำให้แผนการออมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางแผนไว้มากยิ่งขึ้น

หากสนใจแอปพลิเคชันผู้ช่วยจัดการเงิน “MAKE by KBank” สามารถดาวน์โหลดได้ทาง app play store ทั้งระบบปฏิบัติ IOS และ Android มาตั้งเป้าหมายการออมเงินตั้งแต่วันนี้ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การวางแผนการเงินที่ยั่งยืนในอนาคต

กลับไปหน้าแรก