แจกฟรี! ตารางออมเงิน เก็บเงินง่าย เป็นระบบ ด้วยแอปออมเงิน 365 วัน
เชื่อว่ามือใหม่หัดออมเงินคงตั้งเป้าหมายในแต่ละเดือน ว่าจะตั้งใจจะเก็บเงินจำนวนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้มีวินัยออมเงินแล้ว การออมเงินตามเป้าก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ผู้เริ่มต้นสนใจอยากออมเงิน ในระยะแรกก็เก็บได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำเอาหลายคนเหนื่อยจนถอดใจไปเลย
ด้วยเหตุนี้เองตัวช่วยเก็บเงินอย่าง “ตารางออมเงิน” จึงเป็นวิธีเก็บเงินสำหรับมือใหม่ที่ช่วยให้การออมเงินง่ายขึ้น เพราะมีส่วนสร้างนิสัยการวางแผนการเงิน และช่วยให้มีเงินออมก้อนใหญ่ในระยะยาว
สารบัญบทความ
- ตารางออมเงิน คืออะไร ใช้อย่างไรให้ได้ผล
- ตารางเก็บเงิน 1 เดือน ที่คุณเริ่มต้นได้ง่ายๆ
- ตารางออมเงิน 1000 บาท ทำอย่างไร ใช้เวลากี่วัน
- ตารางออมเงิน 5000 บาท ง่ายๆ แค่ตั้งเป้าก็ถึงเส้นชัย
- ตารางออมเงิน 10000 บาทน่ารักๆ
- รู้จักกับแอปออมเงิน 365 วัน “MAKE by KBank”
- เปลี่ยนการทำตารางออมเงินสู่การเก็บด้วยแอปออมเงิน 365 วัน
- สรุป
1. ตารางออมเงิน คืออะไร ใช้อย่างไรให้ได้ผล
ตารางออมเงิน คือ ตารางที่กำหนดว่าแต่ละวันควรเก็บเงินเท่าไหร่ และในส่วนหัวของตาราง จะระบุยอดเงินเก็บที่ตั้งเป้าหมาย กับจำนวนวันที่ใช้เวลาเก็บออม เช่น ใน 50 วัน จะมีเงินเก็บ 1,500 บาท เป็นต้น ยิ่งตั้งเป้าหมายให้เก็บเงินก้อนใหญ่มากเท่าไหร่ ความยากและความท้าทายก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น
โดยตารางออมเงิน เป็นรูปภาพที่สามารถดาวน์โหลดได้ทางอินเทอร์เน็ต และเซฟเก็บใส่บนหน้าจอสมาร์ทโฟนได้ วันไหนที่ออมเงินตามเป้าได้แล้ว ให้ใช้ฟังก์ชัน “วาดภาพ” ของแอปแต่งรูป เลือกหมึกสีแดงสำหรับขีดฆ่าวันนั้นออก จากนั้นให้ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงวันสุดท้ายของตารางออมเงิน
การใช้ตารางออมเงินให้ได้ผล มีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้เริ่มต้นเก็บเงิน ควรตั้งเป้าหมายออมเงินให้สัมพันธ์กับรายได้ หากรายได้น้อยและตั้งเป้าสูง จะกลายเป็นว่าแผนการเก็บเงินไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากคาดหวังกับการออมเงินมากเกินไป ดังนั้นเงินออมควรอยู่ที่ 10% ของรายได้ ถึงจะสมเหตุสมผล
2. ตารางเก็บเงิน 1 เดือน ที่คุณเริ่มต้นได้ง่ายๆ
ก่อนใช้งานตารางออมเงินที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ควรทำความเข้าใจกับพื้นฐานของ “ตารางออมเงิน 30 วัน” เสียก่อน โดย 1 ช่องของตาราง หมายถึง 1 วัน และเราสามารถออกแบบได้ว่า แต่ละวันจะเก็บเงินจำนวนกี่บาท ไม่จำเป็นต้องเก็บเงินเท่าๆ กันก็ได้ เอาตามกำลังที่ทำได้ไหว
สมมติว่าตั้งเป้าออมเงิน 300 บาท ในหนึ่งเดือน ให้เราเก็บเงินวันละ 10 บาท ก็จะมีเงินเพิ่มในบัญชี 300 บาทแล้ว หรือถ้าเป้าหมายออมเงิน 900 บาท เพียงแค่เก็บวันละ 30 บาท เห็นได้ว่าการเก็บเงินเล็กๆ น้อยๆ สามารถต่อยอดไปสู่การเก็บเงินแสน หรือเงินล้านในอนาคตได้ไม่ยาก
นอกจากนี้ ตารางออมเงิน 1 เดือน ไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนวันเท่ากับ “30 วัน” เพราะบางเดือนอย่างกรกฎาคม สิงหาคม มีจำนวนวันเท่ากับ 31 วัน ในขณะที่เดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนวัน คือ 28 หรือ 29 วัน ดังนั้นเราจึงสามารถประยุกต์ใช้งานตาราง ด้วยการปรับเวลาตามจำนวนวันของแต่ละเดือนก็ได้
อย่างไรก็ตามเมื่อจำนวนวันลดลง หรือมากกว่า 30 วัน แต่ยอดเก็บเงินเท่าเดิม เราอาจใช้วิธี “ถัวเฉลี่ย” ให้วันใดวันหนึ่งออมเงินมากขึ้น หรือลดลง เพื่อให้ไม่เป็นภาระการออมในวันอื่นๆ มากเกินไป เช่น โดยปกติในเดือนที่มี 30 วัน ตั้งเป้าเก็บเงินวันละ 20 บาท แต่ปรากฏว่าเดือนถัดไปมี 31 วัน ก็อาจปรับลดการออมให้บางวันให้เหลือวันละ 15 บาท หรือ 18 บาทก็ได้ ตามที่สะดวก
3. ตารางออมเงิน 1000 บาท ทำอย่างไร ใช้เวลากี่วัน
หากใครสนใจตารางออมเงิน 1,000 บาท สามารถดาวน์โหลดและเซฟเก็บใส่สมาร์ทโฟนได้เลย โดยจุดเด่นของตารางออมเงินนี้ คือ เก็บเงินจำนวนน้อยๆ ในแต่ละวัน เพียงแค่ 5 บาท 10 บาท ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการสร้างวินัยด้านการเงิน ลดปัญหาเก็บเงินไม่อยู่ ก่อนจะขยับไปออมเงินก้อนใหญ่ในอนาคต
จะเห็นได้ว่าตารางออมเงิน 1,000 บาท ประกอบไปด้วย
- จำนวนวันสำหรับออมเงิน 5 บาท เท่ากับ 60 วัน
- จำนวนวันของการเก็บเงิน 10 บาท คือ 30 วัน
- และจำนวนวันของการออมเงิน 20 บาททุกวัน อยู่ที่ 20 วัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การออมเงิน 1,000 บาท ต้องใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 110 วัน
4. ตารางออมเงิน 5000 บาท ง่ายๆ แค่ตั้งเป้าก็ถึงเส้นชัย
ถ้าการเก็บเงิน 1,000 บาท เป็นวิธีออมเงินที่ง่ายสำหรับคุณ ไม่ต้องรอถึง 110 วัน จึงอยากออมเงินกับเป้าหมายใหม่ที่ท้าทายขึ้น แนะนำให้ลองใช้ตารางออมเงิน 5,000 บาทที่จะเก็บออมได้ยากขึ้นมาอีกระดับ โดยกำหนดให้จำนวนวันเท่ากับ 130 วัน โดยแต่ละวันควรออมเงินดังนี้
-
50 วันแรกออมเงินวันละ 20 บาท
-
80 วันที่เหลือออมเงินวันละ 50 บาท
จุดเด่นของตารางออมเงินนี้ คือในช่วงแรกระดับการออมเงินจะทำได้ไม่ยากเลย เพียงออมเงินวันละ 20 บาท และจะทิ้งช่วงให้คุ้นเคยกับเงินจำนวนนี้เป็นเวลา 50 วัน ต่อมาจึงขยับขึ้นเป็น 50 บาท ช่วงแรกอาจเก็บเงินยากหน่อย แต่เมื่อทำติดต่อกันนานเข้าก็จะเคยชิน ทำให้การเก็บเงินวันละ 50 บาทเป็นเวลา 80 วัน ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
5. ตารางออมเงิน 10000 บาทน่ารักๆ
มาถึงการตั้งเป้าหมายออมเงินจำนวน 10,000 บาท ซึ่งบอกเลยว่าท้าทายสุดๆ แต่ถ้าผ่านด่านตารางออมเงิน 5,000 บาทสุดหินมาแล้ว ตารางออมเงิน 10,000 บาท เราก็ต้องทำได้เช่นกัน โดยกำหนดให้จำนวนวันเท่ากับ 110 วัน เหมือนกับการเก็บเงิน 1,000 บาท จะได้ว่า
-
10 วันแรก ออมเงินวันละ 10 บาท
-
ตั้งแต่วันที่ 11 - 20 ให้เก็บเงินวันละ 20 บาท
-
วันที่ 21 - 30 ออมเงินวันละ 30 บาท
-
วันที่ 31 - 40 เก็บเงินวันละ 40 บาท
-
วันที่ 41 -50 ออมเงินวันละ 60 บาท
-
วันที่ 51 - 60 ออมเงินวันละ 80 บาท
-
วันที่ 61 -70 เก็บเงินวันละ 100 บาท
-
วันที่ 71 - 80 ออมเงินวันละ 120 บาท
-
วันที่ 81 -90 ให้ออมเงินวันละ 160 บาท
-
วันที่ 91 - 100 ออมเงินวันละ 180 บาท
-
10 สุดท้าย ให้ออมเงินวันละ 200 บาท
จะเห็นได้ว่าตารางออมเงิน 10,000 บาท น่าดาวน์โหลด เซฟเก็บไว้บนมือถืออย่างยิ่ง เพราะจะไล่ระดับเงินออมอย่างชัดเจน จากน้อยไปมาก ทำให้นอกจากต้องมีวินัยการออมเงินที่ดีเยี่ยมแล้ว ตารางดังกล่าวยังช่วยสอนถึงทักษะการบริหารเงินด้วย
ทักษะบริหารเงิน คือ ทำอย่างไรให้ออมเงินได้มากขึ้น ในขณะที่รายได้ยังคงเท่าเดิม? วิธีแรกที่คุณทำได้ คือให้ออมเงินในช่วงแรกเกิน 10 - 20 บาท เพื่อให้ยอดออมเงินช่วงวันท้ายๆ ลดลง อีกวิธีหนึ่ง ก็คือ หารายได้เสริม หรือนำเงินไปฝากกับบัญชีเงินฝากที่อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตลาด อย่าง “MAKE by KBank”
6. รู้จักกับแอปออมเงิน 365 วัน “Make by KBank”
หากอยากได้ผู้ช่วยออมเงิน และบริหารเงินง่ายๆ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “MAKE by KBank” จากธนาคารกสิกรไทยได้เลย ด้วยแอปพลิเคชันดังกล่าวมีคุณฟีเจอร์มากมายที่ช่วยให้การจัดการเงินสะดวกขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินกับผู้คนที่อยู่ในระยะใกล้เคียง (Pop Pay) และการบันทึกประวัติธุรกรรมในรูปแบบของแชท (Chat Banking)
แอปเก็บเงิน MAKE by KBank ยังมีฟีเจอร์อย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary ที่ช่วยให้การเก็บเงินเป็นเรื่องง่าย ไม่ต้องเช็กตารางออมเงิน หรือคอยจดบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายให้เสียเวลา พร้อมสรุปค่าใช้จ่ายอัตโนมัติทุกเดือน นอกจากนี้เมื่อฝากเงินกับ “MAKE by Kbank” จะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูง ที่ 1.5 % ต่อปีอีกด้วย
7. เปลี่ยนการทำตารางออมเงินสู่การเก็บด้วยแอปออมเงิน 365 วัน
ปัจจุบันแอปพลิเคชันทำได้หลายอย่าง ลืมตารางออมเงินแบบเดิมที่ต้องคอยเช็ก และคอยจดบันทึกจนใช้เวลานานไปได้เลย ด้วยแอปออมเงิน 365 วัน อย่าง MAKE by KBank ซึ่งมีฟีเจอร์เด็ดอย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary ไม่ต้องเป็นมือโปร ก็เก็บเงินได้ดังนี้
7.1 มีฟีเจอร์ Cloud Pocket เป็นไฮไลท์เด็ดในการเก็บเงิน
“Cloud Pocket” ฟีเจอร์สำหรับอำนวยความสะดวกด้านการออมเงิน โดยทำหน้าที่แบ่งเงินเป็นสัดส่วน ในรูปแบบของกระเป๋าชื่อต่างๆ ซึ่งออกแบบได้ว่า จะให้กระเป๋าแต่ละใบทำหน้าที่อะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นกระเป๋าสำหรับการใช้จ่าย หรือกระเป๋าเงินออมระยะสั้น-ระยะยาว
สามารถเก็บเงินได้ง่าย เพียงแค่โอนเงินจาก MAKE by KBank เข้าสู่กระเป๋าเงินออม ซึ่งเราสามารถตั้งเป้าหมายการออมได้ว่าต้องการเก็บเงินจำนวนเท่าไหร่ ไม่ว่าจะ 1,000 บาท, 5,000 บาท, 10,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็ได้ และแนะนำว่ากระเป๋าเงินออม ต้องล็อก Cloud Pocket ไว้ เพื่อไม่ให้เราเผลอโอนเงินออกจนเงินเก็บไม่เหลือ
ล่าสุด MAKE by KBank ได้นำระบบ “โอนเงินอัตโนมัติ” ที่ช่วยให้เก็บเงินได้ทันทีหลังจากเงินเดือนออก ไม่ต้องคอยเก็บวันละ 5 บาท 10 บาท ให้เสียเวลาอีกต่อไป และการเก็บเงินออมตั้งแต่ต้นเดือน ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีเงินเก็บอย่างแน่นอน ลดโอกาสนำเงินไปซื้อของล่อตาล่อใจได้เป็นอย่างดี
7.2 มีฟีเจอร์ Expense Summary สรุปค่าใช้จ่ายได้ครบถ้วนทุกเดือน
MAKE by KBank ได้ออกแบบฟีเจอร์ “Expense Summary” อันเป็นระบบการสรุปค่าใช้จ่ายรายเดือน ด้วย 6 หมวดหมู่ ได้แก่
-
ค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
-
หมวดของการชอปปิง
-
ค่าเดินทาง
-
หมวดความบันเทิง
-
ค่าใช้จ่ายบิลชำระรายเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
-
หมวดหมู่อื่นๆ ที่ผู้ใช้งานสามารถกำหนดเองได้
ด้วยฟีเจอร์ดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ที่เริ่มเก็บเงิน เห็นได้ว่ามีค่าใช้จ่ายหมวดใดสูงเป็นพิเศษ ทำให้เราวางแผนลดค่าใช้จ่ายด้านนั้นๆ ลงในเดือนถัดไป เพื่อให้สามารถออมเงินถึงเป้าหมายตามที่ตั้งใจเอาไว้ได้
8. สรุป
ตารางออมเงิน เป็นเทคนิคยอดนิยมในอดีตที่ปัจจุบันยังสามารถใช้งานได้อยู่ แม้ข้อเสีย คือต้องคอยเช็กในแต่ละวันว่าเก็บเงินตามเป้าหมายที่กำหนดแล้วหรือไม่? รวมทั้งมีโอกาสหลงลืมว่าวันนี้ออมเงินแล้วหรือยัง? ยิ่งช่วงยุ่งๆ งานล้นตัวด้วยแล้ว ทำเอาหลายคนลืมไปเลยว่าเคยตั้งเป้าเก็บเงินไว้
แต่ปัญหาจะหมดไปด้วยแอปพลิเคชัน MAKE by KBank แอปคนรุ่นใหม่ เป็นแอปออมเงินที่คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าเป้าหมายของการเก็บเงินก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว และยังออกแบบระบบการออมเงินระยะสั้น-ระยะยาวได้ตามความต้องการอีกด้วย เรียกได้ว่าสามารถปรับให้การออมเงินเหมาะสมตามสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี
หากสนใจแอปพลิเคชัน MAKE by KBank สามารถดาวน์โหลดได้ทาง Play Store ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android ถ้ามีแอป K PLUS อยู่แล้ว ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว ลงทะเบียนไม่เกิน 10 นาที ก็เริ่มต้นออมเงิน และเริ่มต้นวางแผนบริหารจัดการเงินไปกับ MAKE by KBank ได้เลย!