สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

แจกวิธีเก็บเงินให้ได้เร็ว ฉบับนักเรียน ที่เริ่มออมเงินได้ตั้งแต่วันนี้เลย

save-money-as-a-student.jpg

หากอยู่ในช่วงกำลังศึกษาไม่ว่าจะวัยประถม มัธยม หรือแม้แต่นักศึกษามหาวิทยาลัย แล้วกำลังมองหาวิธีเก็บเงิน ให้ได้เร็ว ในฉบับนักเรียน เพื่อออมเงินก้อนใหญ่สำหรับเรื่องในอนาคต ไม่ว่าจะซื้อของที่อยากได้ เช่น หนังสือสักเล่ม, ขนมหวานที่ชอบ, บัตรคอนเสิร์ตศิลปินที่ชอบ หรือเก็บเงินก้อนสำหรับช่วยทางบ้านลดภาระค่าใช้จ่าย มาดูวิธีออมเงินสำหรับวัยเรียนกันดีกว่าว่า สามารถวางแผนเก็บเงินง่ายๆ อย่างไรได้บ้าง

สารบัญบทความ

  • 1.ดูรายรับ-รายจ่าย ในแต่ละวัน
  • 2.แบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วน
  • 3.เก็บเงินติดตัวเท่าที่ใช้
  • 4.เก็บเศษเหรียญ หรือ แบงก์ 20
  • 5.หารายได้เสริม
    1. ใช้ Cloud Pocket ในการช่วยจัดการเงิน
  • 7.เปิดบัญชีเงินฝากประจำ
  • 8.กำหนดจำนวนครั้งสังสรรค์กับเพื่อน
  • 9.ใช้งานระบบขนส่งสาธารณะ
  • 10.สิทธิประโยชน์สำหรับนักเรียนใช้ให้คุ้ม
  • สรุป

1. ดูรายรับ-รายจ่าย ในแต่ละวัน

วิธีเก็บเงินให้ได้เร็วที่เหมาะกับนักเรียน ไม่จำเป็นต้องหาเงินให้ได้มากๆ เพียงแค่ฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพียงซื้อสมุดเล็กๆ สักหนึ่งเล่ม ก็เริ่มต้นได้แล้ว โดยประโยชน์ของการจัดทำบัญชี คือเราสามารถดูได้ว่าในแต่ละวัน เราใช้เงินไปกับเรื่องอะไรบ้าง เป็นการสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเงินไปในตัว

ในช่วงแรกไม่จำเป็นต้องบันทึกรายการค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดมากนัก เพียงแค่ฝึกลงรายรับต่อวันง่ายๆ ว่าได้เงินจำนวนกี่บาท และเหลือเงินกลับบ้านทั้งสิ้นเท่าไหร่ จากนั้นค่อยเพิ่มระดับความยากด้วยการลงรายละเอียดรายการต่อรายการ โดยให้ทำบัญชีตามขั้นตอนตัวอย่างต่อไปนี้

วันที่ 9 มิถุนายน 2566

รายรับ 350 บาท ค่าอาหาร 200 บาท ค่าเดินทาง 60 บาท เหลือ 90 บาท

จะเห็นได้ว่าการลงบัญชีรายการต่อรายการ จะบันทึกค่าใช้จ่ายทั้งหมด และลงวันที่ระบุด้วย เพื่อสรุปยอดค่าใช้จ่ายรายเดือนว่าในเดือนนั้นๆ เราเหลือเก็บ หรือติดลบทั้งสิ้นกี่บาท

Expense Summary คืออะไร?

หากเรามีสมาร์ตโฟน อาจไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายใส่สมุดให้ยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank จากธนาคารกสิกร ที่มีฟีเจอร์เด็ดอย่าง “Expense Summary” ซึ่งช่วยให้เราดูสรุปรายการค่าใช้จ่ายรายเดือนได้แบบไม่ยาก เหมาะแก่วัยเรียนที่เก็บเงินไม่ค่อยอยู่อย่างยิ่ง

2. แบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วน

ถ้าไม่อยากวางแผนการเงินซับซ้อน คอยนั่งจำค่าใช้จ่าย เพื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้เสียเวลา มีอีกวิธีเก็บเงิน ให้ได้เร็ว สำหรับนักเรียน-นักศึกษาแบบง่ายๆ นั่นคือ การแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเงินเก็บ และส่วนเงินใช้จ่าย

วิธีแบ่งเงินออกเป็น 2 ส่วนนี้ ขั้นแรกคือเมื่อได้รับเงินมาให้เราเริ่มต้นหักเงินออมออกจากรายรับก่อนจะใช้จ่ายใดๆ เพราะการออมก่อนตั้งแต่แรกทำให้เรามั่นใจได้ว่าจะมีเงินเก็บแน่ๆ และถ้าไม่ทราบว่าจะออมเงินเท่าไหร่ดี ให้ประมาณจากเงินที่เหลือในแต่ละวัน เช่น เฉลี่ยเหลือเก็บวันละ 10 บาท ก็ให้หักออมไปเลย 10 บาท

ส่วนเงินสำหรับการใช้จ่ายแนะนำว่า ควรใช้ให้หมดไปเลย เพราะหักเงินออมไว้แล้ว และไม่ควรเขียมเงินเพื่อออมในส่วนของเงินใช้จ่าย เนื่องจากจะทำให้เหนื่อยเกินไป และสร้างความรู้สึกไม่ดีกับการออมเงิน อย่าลืมว่าการใช้เงินอย่างพอประมาณ ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

3. เก็บเงินติดตัวเท่าที่ใช้

เชื่อว่าวัยเรียนต่างก็มีสิ่งของล่อตาล่อใจเต็มไปหมด เช่น สมาร์ตโฟนรุ่นใหม่, สกินตัวละครที่ชื่นชอบ, อัลบั้มศิลปิน, เสื้อผ้าใหม่ ฯลฯ ซึ่งสำหรับวัยเรียนที่สนใจอยากออมเงิน อาจเริ่มต้นใช้เงินสดเท่าที่มีติดตัวไปก่อน เพราะการพกบัตรเดบิต หรือใช้ Online Banking ผ่านแอปพลิเคชันที่ไม่มีฟังก์ชัน Cloud Pocket ไว้คอยกันเงินเป็นส่วนๆ จะทำให้เราเผลอใช้เงินเยอะเกินตัวจนเก็บเงินตามที่ตั้งใจไม่ได้

ซึ่งวิธีเก็บเงินแบบนี้ จะช่วยออมเงินให้ได้เร็ว เนื่องจากเป็นการควบคุมค่าใช้จ่าย ทำให้เหล่านักเรียน มีเงินเก็บเพิ่มมากกว่าเดิม และสร้างวินัยด้านการเงินอีกด้วย

4. เก็บเศษเหรียญ หรือ แบงก์ 20

วิธีเก็บเงินให้ได้เร็วนอกจากกำหนดค่าใช้จ่าย และหักเงินออมก่อนล่วงหน้าแล้ว ถ้าวันไหนนักเรียน นักศึกษาใช้เงินไม่หมด มีเศษเงินเหลือติดกระเป๋าเป็นบางครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเงินทอน 5 บาท จากค่ารถเมล์ หรือเงินทอนแบงก์ 20 บาทหลังซื้อข้าวกลางวัน เงินเหล่านี้ถึงแม้จะเป็นเงินเพียงเล็กน้อยก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ หากเก็บสะสมไปเรื่อยๆ

หากเป็นไปได้ อยากแนะนำให้เก็บแบงก์ 20 บาทเป็นพิเศษ เพราะออมง่าย ไม่เหมือนกับเศษเหรียญที่มีโอกาสหล่นหาย และเป็นจำนวนเลขลงตัวพอดี ทำให้รู้ได้ทันทีว่าเหลือเงินกี่บาทในแต่ละวัน ไม่ต้องเสียเวลานับเหรียญให้เมื่อยด้วย

5.หารายได้เสริม

วิธีการเก็บเงิน ให้ได้เร็ว นอกจากวางแผนออมเงินอย่างรอบคอบแล้ว การมองหางานเสริม ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง ที่นักเรียน นักศึกษาทำได้ เพื่อเพิ่มพูนเงินเก็บให้มากขึ้น ซึ่งงานเสริมที่เหมาะกับวัยนี้ ควรมีคุณสมบัติ 2 ข้อ คือ 1.ทำงานหลังเลิกเรียนได้ และ 2.ไม่เลิกดึกจนเกินไป ตัวอย่างงานเสริมที่แนะนำ เช่น

  1. พนักงานแคชเชียร์ห้างสรรพสินค้า เพราะเลิกงานประมาณ 3 - 4 ทุ่ม
  2. งานตัดต่อวิดีโอ ที่กำหนดเวลาทำงานหลังเลิกเรียนได้
  3. รับสอนพิเศษ เนื่องจากสามารถเลือกเวลาสอนวันเสาร์-อาทิตย์ได้

นอกจากนี้ยังมีอาชีพเสริมอีกมากที่เหมาะแก่กับวัยเรียน แต่ควรแบ่งเวลาทำงานให้เหมาะสมกับเวลาเรียนด้วย อย่าทำงานเก็บเงินมากเกินไป เพราะผลการเรียนมีโอกาสย่ำแย่ลง จนอาจไม่ได้ทำงานที่ใฝ่ฝันในอนาคต

6. ใช้ Cloud Pocket ในการช่วยจัดการเงิน

money-saving-tips-for-students.jpg

นอกจากแอปเก็บเงิน MAKE by KBank จะมีฟีเจอร์ช่วยสรุปค่าใช้จ่ายอย่าง “Expense Summary” ยังมีอีกฟีเจอร์ยอดฮิตที่เป็นหนึ่งในวิธีเก็บเงิน ให้ได้เร็ว ซึ่งเหล่านักเรียนพลาดไม่ได้เลยนั่นคือ “Cloud Pocket”

Cloud Pocket คืออะไร?

Cloud Pocket คือ ฟีเจอร์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานแบ่งเงินในบัญชีออกเป็นกระเป๋า และสามารถออกแบบกระเป๋าเงินของตนเองได้อย่างอิสระ ซึ่งหน้าที่ของเงินแต่ละกระเป๋าก็แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งชื่อเองได้เลย เช่น “กระเป๋าเงินเก็บห้ามใช้”จะไม่มีการถอนเงินออกมาเลย ในขณะที่ “กระเป๋าค่าใช้จ่าย” ก็ทำหน้าที่ชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน เช่น ค่าอาหาร, ค่าโดยสาร, ค่าโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ฟีเจอร์ Cloud Pocket ช่วยให้วัยเรียนจัดสรรเงินง่ายกว่าการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายแบบเดิมๆ แถมยังมีฟังก์ชัน “ล็อก Cloud Pocket” ที่ทำให้กระเป๋าที่ถูกล็อกไม่สามารถย้ายเงินในกระเป๋านั้นไปยังบัญชีอื่นหรือกระเป๋าอื่นได้ เพื่อซัปพอร์ตให้เราออมเงินถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ลดโอกาสเผลอถอนเงินออมไปใช้ ทั้งนี้กระเป๋าเงิน Cloud Pocket ยังเปรียบเสมือนแอปพลิเคชันธนาคารขนาดย่อมๆ เพราะนอกจากสามารถเก็บเงินแยกเป็นกระเป๋าได้แล้ว MAKE by KBank ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินระหว่างบัญชี, Scan จ่ายเงินผ่าน QR code, และยังมีฟีเจอร์เฉพาะของ MAKE ที่ช่วยให้จัดการเงินง่ายขึ้น เช่น การโอนเงินให้เพื่อนในระยะใกล้เคียง (Pop Pay), เช็กรายการค่าใช้จ่ายในรูปแบบแชท (Chat Banking), และ ฟีเจอร์ Shared Cloud Pocket ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานกระเป๋าเงินร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ได้

7. เปิดบัญชีเงินฝากประจำ

สำหรับวัยเรียนที่ความรู้ทางการเงินดีเยี่ยม แต่จำนวนเงินในบัญชียังมีไม่มาก การจะลงทุนเหมือนกับวัยทำงาน เช่น หุ้น หรือกองทุน ก็มีความเสี่ยงไม่น้อย แถมอาจขาดทุนจนเงินต้นหายอีก การเปิดบัญชีเงินฝากประจำ จึงเป็นอีกวิธีเก็บเงิน ให้ได้เร็ว ในฉบับของนักเรียน นักศึกษา ที่ทั้งทำได้ง่ายและความเสี่ยงต่ำ

แม้ในช่วง 1 - 2 ปีแรก ผลตอบแทนดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝากประจำจะน้อย แต่ด้วยพลังของ ดอกเบี้ยทบต้น จะช่วยให้ผลตอบแทนในปีหลังๆ เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ขอแค่ออมเงินในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ก็ช่วยให้มีเงินหมื่นก้อนแรกได้ไม่ยากเย็นนัก

อย่างไรก็ดีถ้ากำลังมองหาช่องทางลงทุน ที่ผลตอบแทนใกล้เคียงกับบัญชีเงินฝากประจำ เพียงเปิดบัญชีออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน MAKE by KBank แล้วฝากเงินไว้ในบัญชี จะได้รับดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนใกล้เคียงกับบัญชีเงินฝากประจำ 12 เดือน แถมไม่ติดเงื่อนไขการถอนเงินออกมาอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม : วิธีออมเงิน 1 ปี

8. กำหนดจำนวนครั้งสังสรรค์กับเพื่อน

เชื่อว่าชาวนักเรียน นักศึกษาต้องนัดเที่ยวกับเพื่อนบ่อยแน่นอน และสถานที่สุดโปรดของคนวัยนี้คงหนีไม่พ้นกับร้านชาบู, หมูกระทะ, โรงภาพยนตร์, และห้างสรรพสินค้า ที่ทำให้เราเสียเงินเป็นประจำทุกเดือน แต่วิธีเก็บเงินด้วยการกำหนดจำนวนครั้งสำหรับออกนอกบ้านไปเที่ยวกับเพื่อน ก็ช่วยให้เราเก็บเงินได้เร็ว

โดยจำนวนครั้งที่ชาววัยรุ่นนักเรียนไปเที่ยวกับเพื่อน ไม่ควรเกิน 2 ครั้งต่อเดือน เพราะการเที่ยวแต่ละครั้งใช้เงินเฉลี่ยประมาณ 300 บาท และอาจสูงกว่านั้นถ้ารับประทานอาหารราคาแพง หรือซื้อของแบรนด์เนม ดังนั้นหากลดการท่องเที่ยวที่ไม่จำเป็นออกไปได้ จะประหยัดเงินได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

9. ใช้งานระบบขนส่งสาธารณะ

แม้ว่ารถโดยสารสาธารณะ เช่น รถเมล์ หรือรถไฟฟ้า จะเสียเวลารอไปเสียหน่อย แต่การเลือกใช้รถโดยสารสาธารณะแทนรถแท็กซี่หรือบริการเรียกรถแบบออนไลน์ ก็เป็นวิธีเก็บเงินให้ได้เร็ว ที่นักเรียนทุกคน สามารถทำได้เลย เพราะค่าโดยสารถูกกว่ามาก แถมรถเมล์ รถไฟฟ้ายังช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงจากการเดินเท้าไปรอที่ป้าย หรือสถานีใกล้เคียงอีกด้วย

10. สิทธิประโยชน์สำหรับนักเรียนใช้ให้คุ้ม

ในวัยเรียนอย่าลืมว่ายังมีสิทธิประโยชน์มากมาย ซึ่งเป็นส่วนลดที่พลาดไม่ได้! เพราะการซื้อของลดราคา ก็เป็นวิธีเก็บเงิน ให้ได้เร็ว ที่นักเรียนทำได้ไม่ยากนัก โดยตัวอย่างของส่วนลด ได้แก่ ค่าโน้ตบุ๊กหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นสำหรับการเรียน, ค่าตั๋วดูหนังในโรงภาพยนตร์, หนังสือเตรียมสอบที่ลดราคาเซลล์ไม่ต่ำกว่า 20% ฯลฯ

หากติดตามสิทธิประโยชน์สำหรับนักเรียนบ่อยๆ เชื่อว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ไม่น้อย เพราะถ้าเข้าสู่วัยทำงานแล้ว เราจะไม่ได้รับส่วนลดแบบเดิมอีกต่อไป

สรุป

จะเห็นได้ว่าวิธีเก็บเงินให้ได้เร็ว ในฉบับของนักเรียนทำได้ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องมีรายได้เยอะๆ หรือต้องลงทุนเก่งๆ ก็เริ่มต้นมีเงินออมได้แล้ว ซึ่งในอนาคตเรียนจบทำงาน เงินแสน เงินล้าน ย่อมรออยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพียงแค่มีทัศนคติการเงินที่ดี รู้จักอดออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัวจนเป็นหนี้

แต่ถ้ามีผู้ช่วยบริหารจัดการเงิน อย่างแอปเก็บเงิน MAKE by KBank จะยิ่งช่วยให้การเงินเป็นเรื่องง่ายขึ้น เรียกได้ว่าแอปเดียวตอบโจทย์ทั้งด้านจัดสรรเงิน, ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับเงินฝากประจำ, และสรุปผลการใช้จ่ายง่ายกว่าบัญชีรายรับ-รายจ่ายอีกด้วย

หากสนใจ MAKE by KBank สามารถดาวน์โหลดได้ทาง Play Store รองรับทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android เรื่องการเงินวัยเรียนอย่ารอช้า เริ่มต้นสร้างทัศนคติที่ดีง่ายๆ ตั้งแต่วันนี้เลย!

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ