10 วิธีออมเงิน 1 ปี ให้ได้ตามเป้า ลองแล้วไม่ผิดหวัง! - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

10 วิธีออมเงิน 1 ปี ให้ได้ตามเป้า ลองแล้วไม่ผิดหวัง!

one-year-money-saving.jpg

ถ้าคุณกำลังวางแผนการเงิน เพื่อซื้อของชิ้นใหญ่ราคาสูงสักชิ้น ไม่ว่าจะเป็นบ้าน, รถยนต์, โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แล้วกำลังรู้สึกว่าไม่สามารถออมเงินตามเป้าหมายที่ต้องการ เนื่องจากเก็บเงินไม่อยู่ ต้องจ่ายหนี้สินทุกเดือน เป็นเสาหลักของครอบครัว หรือมีเหตุผลอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้การเก็บเงินสักก้อนเป็นเรื่องยาก เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ MAKE by KBank จึงนำ 10 วิธีออมเงิน 1 ปี ที่จะช่วยให้คุณสามารถออมเงินถึงเป้าหมายภายใน 1 ปีได้ง่ายๆ มาฝากกัน

สารบัญบทความ

  • 1.ตั้งเป้าหมายออมเงิน]
  • 2.ลองใช้ตารางออมเงิน 1 ปี
  • 3.บัญชีรายรับ-รายจ่าย ก็สำคัญ
  • 4.หักเงินออมทันทีเมื่อเงินเดือนออก
  • 5.หาทางปิดหนี้ก่อน
  • 6.ลดงดการสังสรรค์
  • 7.ซื้อของในช่วงจัดโปรโมชัน
  • 8.หางานเสริม
  • 9.หาแหล่งเงินฝากดอกเบี้ยสูง
  • 10.ออมเงิน 1 ปีด้วยฟีเจอร์จาก MAKE by KBank
  • สรุป

1. ตั้งเป้าหมายออมเงิน

ก่อนเริ่มต้นเก็บเงินแสน เงินล้าน สำหรับซื้อของตามความฝัน ควรกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมเป็นอันดับแรก เพราะการได้เห็นจุดหมาย จะช่วยให้คุณมีแรงบันดาลใจและช่วยเสริมสร้างวินัยทางการเงิน ซึ่งวิธีการตั้งเป้าหมาย เพื่อออมเงินภายใน 1 ปี ควรกำหนดยอดออมเป็นจำนวนเงินน้อยๆ เพื่อไม่ให้เคร่งเครียดกับการเก็บเงินจนเกินไป และถึงเป้าหมายอย่างค่อยเป็นค่อยไป

และอีกหนึ่งการตั้งเป้าหมายออมเงินสำหรับเก็บเงินใน 1 ปีที่เราแนะนำ ถ้าหากไม่มีไอเดียจริงๆ ว่าต้องตั้งเป้าเป็นเงินเท่าไหร่ดี เพียงแค่ใช้สูตร “รายได้ภายใน 1 ปี * 10%” ก็จะเท่ากับเป้าหมายเงินออมภายใน 1 ปีแล้ว

สมมติให้รายได้ของคุณเท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน หมายความว่าในหนึ่งปีจะมีรายได้เท่ากับ 240,000 บาท จึงได้ว่าเป้าหมายออมเงิน คือ 240,000 *10% = 24,000 บาท ซึ่งจะเป็นจำนวนเงินออมใน 1 ปีที่เราควรจะออมได้นั่นเอง

สาเหตุที่เราแนะนำให้เก็บเงิน 10% ของรายได้ เพราะเป็นเงินออมที่ไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้ และคนส่วนใหญ่สามารถทำได้ แต่ถ้ามีรายจ่ายเยอะ จนการเก็บเงินหมื่น เก็บเงินแสนภายใน 1 ปีเป็นเป้าหมายที่ยากเกินไป อาจปรับแผนการออมเป็น 3 - 5% ก็ได้ตามความเหมาะสม

2. ลองใช้ตารางออมเงิน 1 ปี

เมื่อตั้งเป้าหมายเก็บเงินเรียบร้อยแล้ว คุณอาจลองใช้วิธีออมเงินใน 1 ปีวิธีถัดไป ด้วยการใช้ตารางออมเงิน โดยตารางออมเงินมีหลายแบบ คุณควรเลือกตารางที่เหมาะสมกับรายรับและพฤติกรรมการใช้เงินของตนเอง วิธีการเก็บเงินแบบนี้ ผู้ชื่นชอบการนำเศษเงินติดกระเป๋าหยอดกระปุกไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

ตัวอย่างวิธีออมเงิน 1 ปีแบบนี้ ในกรณีที่ตั้งเป้าหมายออมเงิน 24,000 บาท ภายใน 1 ปี เราสามารถตีตาราง 365 วันด้วยตนเอง จากนั้นกำหนดให้เราออมเงินวันละ 65 บาท และ 66 บาทสลับกันไป หรืออาจจะเป็นตัวเลขอื่นๆ ก็ได้ บ้างมากน้อยบ้างแล้วแต่พฤติกรรมการใช้เงินของเรา เมื่อเริ่มเก็บก็ให้หยอดเงินลงกระปุก วันใดเก็บเงินใส่กระปุกได้แล้ว ก็ให้ขีดฆ่าวันนั้นๆ ออก สิ้นปีเมื่อทุบกระปุกออกมา เราก็สามารถจับเงินหมื่นแบบง่ายๆ ได้แล้ว

3. บัญชีรายรับ-รายจ่าย ก็สำคัญ

อีกหนึ่งวิธีออมเงิน 1 ปีแบบง่ายๆ คือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งช่วยให้เราทราบได้ทันทีว่ามีวันใดใช้เงินผิดปกติหรือไม่ และเสริมสร้างวินัยทางการเงินด้วยตนเองแบบง่ายๆ แต่ถ้าการลงบัญชีที่ต้องบันทึกทุกรายละเอียดเป็นเรื่องยาก เราแนะนำแอปพลิเคชัน MAKE by KBank จากธนาคารกสิกรที่มีฟีเจอร์ Expense Summary และ Cloud Pocket ที่ช่วยให้การวางแผน และจัดสรรเงินเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย

4. หักเงินออมทันทีเมื่อเงินเดือนออก

วิธีออมเงิน 1 ปี ด้วยตารางออมเงิน เหมาะสำหรับผู้มีนิสัยรักการหยอดเงินใส่กระปุก อย่างไรก็ตามทุกวันนี้มนุษย์เงินเดือนต่างก็ยุ่งมาก จนไม่มีเวลาเก็บเงินเล็กๆ น้อยๆ และมักเผลอใช้จ่ายเกินตัวจนไม่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยการหักเงินออมทันทีเมื่อได้รับเงินเดือน

โดยการหักเงินออมออกจากเงินเดือน ควรหักเท่าๆ กัน จะได้ไม่สร้างภาระให้เดือนใดเดือนหนึ่งมากเกินไป เช่น จากกรณีที่ตั้งเป้าหมายเงินเก็บ 24,000 บาทใน 1 ปี จะได้ว่าแต่ละเดือน ต้องหักเงินเดือนละ 24,000 /12 = 2,000 บาท สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้ เป็นเพราะจดจำง่าย และบริหารจัดการได้ดี แต่ถ้าหัก 1,500/1,000/2,000 บาทสลับไปมา รับรองเลยว่ามีหลงลืม แถมทำให้เก็บเงินไม่ถึงเป้าใน 1 ปีอีกด้วย

5. หาทางปิดหนี้ก่อน

เมื่อทำความรู้จักกับ 4 วิธีออมเงินภายใน 1 ปีไปข้างต้นแล้ว ถ้าคุณเป็นหนี้ สิ่งที่ควรสนใจ คือ หาทางปิดหนี้เสียก่อน เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากมาก ต่อให้คุณเก็บเงินไปฝาก ก็ยังได้ผลตอบแทนไม่พอจ่ายดอกเบี้ย และหนี้บางประเภทหากค้างชำระ เดือนต่อไปยอดจะสูงขึ้น ทำให้ยากแก่การปิดหนี้ได้

ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจกับการผ่อนชำระหนี้สินก่อนเริ่มต้นออมเงิน เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาในการวางแผนการเงินสำหรับอนาคตมากเกินไปนั่นเอง

6. ลดงดการสังสรรค์

เชื่อหรือไม่เมื่อคุณออกไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูงทุกวันสิ้นเดือน จะใช้เงินเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง เมื่อครบ 1 ปีก็จ่ายเงินออกไปถึง 12,000 บาทอย่างไม่รู้ตัว! ดังนั้นนอกจากจะกำหนดวิธีออมเงิน เพื่อให้ถึงเป้าหมายตามที่ต้องการแล้ว การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ภายในเวลาเพียง 1 ปี ก็ช่วยให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นแบบง่ายๆ ได้เช่นเดียวกัน

7. ซื้อของในช่วงจัดโปรโมชัน

นอกจากลดการสังสรรค์เพื่อออมเงินแล้ว สิ่งสำคัญต่อมา คือการเลือกซื้อของอย่างชาญฉลาดด้วยการซื้อของในช่วงจัดโปรโมชันเพื่อลดค่าใช้จ่ายลง หลายคนอาจคิดว่าถ้าไม่ต้องรอโปรโมชัน แล้วซื้อสินค้าที่มีราคาถูกมากๆ อยู่แล้วจะไม่ดีกว่าหรือ? ความจริงแล้วการซื้อของที่มีราคาถูกจนเกินไปก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะการซื้อของที่ราคาถูกจนผิดปกติ มีโอกาสได้สินค้าที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เสียเวลา และเสียเงินซื้อของชิ้นนั้นใหม่อย่างไม่จำเป็น แต่ปัญหาจะหมดไปเมื่อซื้อของในช่วงจัดโปรโมชัน

สาเหตุที่ของจัดโปรโมชันคุณภาพสูงกว่าเป็นเพราะร้านค้าต้องการโละของในสต๊อกออกไป หรือเพื่อส่งเสริมการขาย ทำให้สินค้าที่ซื้อมีคุณภาพเท่าสินค้าราคาเต็ม ในขณะที่สินค้าที่ราคาถูกอยู่แล้วมักเป็นของที่ผลิตออกมาอย่างไม่มีคุณภาพ หรือใช้วัตถุดิบไม่มีคุณภาพในการผลิต

เมื่อเลือกซื้อของในราคาถูก และมีคุณภาพ จะช่วยให้มีเงินเหลือมากขึ้น จึงจัดอีกเป็นวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายที่ทำให้คุณออมเงินในเวลา 1 ปี ได้เร็วกว่าเดิม อย่างไรก็ตามสินค้าในช่วงจัดโปรบางรุ่นอาจมีคุณภาพไม่ดีนัก ควรอ่านรีวิวก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อให้คุณซื้อของได้คุ้มค่ามากที่สุด

8. หางานเสริม

หากคุณกำลังรู้สึกว่างานประจำรายได้น้อยเกินไป ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว และเก็บเงินไม่ถึงตามเป้าหมายแล้ว การหางานเสริมจึงเป็นทางออกที่ดี! เพราะเป็นอีกวิธีออมเงิน 1 ปี ที่ช่วยให้มีเงินมากพอสำหรับวางแผนซื้อของต่างๆ ในอนาคต

อย่างไรก็ตามไม่ควรคาดหวังกับรายได้เสริมมากกว่ารายได้ประจำ เพราะจะทำให้คุณเหนื่อยล้าเกินไป จนทำให้ Burn-out ถอดใจไปง่ายๆ เสียก่อน และเมื่อได้เงินจากงานเสริมมาแล้ว ควรหาทางออมให้ได้อย่างน้อย 10% ด้วย เพื่อให้เก็บเงินถึงเป้าหมายภายใน 1 ปี

9. หาแหล่งเงินฝากดอกเบี้ยสูง

นอกจากประหยัด และมองหาแหล่งรายได้อื่นๆ แล้ว การฝากเงินกับบัญชีอัตราดอกเบี้ยสูง ก็จัดว่าเป็นวิธีออมเงิน ที่ทำให้เราเก็บเงินถึงเป้าหมายภายในระยะเวลา 1 ปีได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยแนะนำให้คุณเลือกฝากเงินกับบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือน เพราะผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ และใช้เวลาเพียง 6 เดือน ก็สามารถถอนเงินออกมาได้แล้ว จึงเหมาะแก่ผู้เริ่มต้นเก็บเงินมือใหม่อย่างยิ่ง

แต่ถ้าไม่อยากติดเงื่อนไขระยะเวลาของการถอนเงินบัญชีเงินฝากประจำ มือใหม่หัดเก็บเงินหรือคนทั่วไปที่อยากได้บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยสูง สามารถเปิดบัญชีบนแอปเก็บเงิน MAKE by KBank แล้วฝากเงินเข้าไป เพียงเท่านี้ก็ได้รับผลตอบแทน 1.5% ต่อปีแล้ว ซึ่งผลตอบแทนเท่านี้ถือว่าเยอะไม่แพ้บัญชีเงินฝากประจำเลย

10. ออมเงิน 1 ปีด้วยฟีเจอร์จาก MAKE by KBank

one-year-savings-plan.jpg

หากกำลังรู้สึกว่าวิธีออมเงิน 1 ปี แบบเก่าๆ อย่างการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หรือตารางออมเงินเป็นเรื่องยุ่งยาก ทั้งไม่มีเวลา และอาจหลงลืมการออมเงินเป็นประจำ ทำให้วินัยทางการเงินเริ่มหละหลวม จนรู้สึกว่าไม่สามารถเก็บเงินได้ตามเป้าหมาย

แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อคุณเลือกใช้งานแอปพลิเคชัน “MAKE by KBank” ตัวช่วยจัดการเงิน ให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์เด็ดยอดนิยมอย่าง Cloud Pocket และ Expense Summary รูปจากทีมกราฟิค

1. Expense Summary

ฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณสรุปรายการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้แบบง่ายๆ ทำให้ทราบได้ทันทีว่าแต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เปรียบเสมือนผู้ช่วยทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ซึ่งฟีเจอร์ Expense Summary จะทำให้คุณสามารถย้อนดูประวัติย้อนหลังได้ ช่วยให้รู้ว่าที่ผ่านมาใช้จ่ายกับอะไรเป็นพิเศษ ให้คุณสามารถวางแผนประหยัดเงินในอนาคตได้

2. Cloud Pocket

ถ้ากำลังปวดหัวอยู่กับค่าใช้จ่ายต่างๆ แถมต้องวางแผนเก็บเงินเพื่ออนาคต ตัวช่วยที่ทุกคนไม่ควรพลาด คือ ฟีเจอร์ Cloud Pocket ซึ่งเป็นการแบ่งเงินเป็นส่วนๆ ในรูปแบบของกระเป๋าเงิน โดยเราสามารถตั้งชื่อกระเป๋าตามที่แอปแนะนำได้ ไม่ว่าจะเป็น “เงินเก็บห้ามใช้” “ค่าใช้จ่าย” “ค่าอาหาร” ฯลฯ หรือจะตั้งชื่อเองก็ทำได้ง่ายๆ เช่นกัน

ซึ่งนอกจากช่วยแบ่งเงินออกเป็นสัดส่วนตามวัตถุประสงค์ของการตั้งชื่อแล้ว Cloud Pocket ยังทำให้คุณสามารถทำธุรกรรมตามปกติผ่านกระเป๋าเหล่านี้ได้ด้วย ทั้งสแกนจ่ายผ่าน QRcode, โอนเงินผ่านเลขบัญชีหรือพร้อมเพย์, และยังสามารถโยกย้ายเงินไปที่กระเป๋าอื่นๆ ได้อย่างอิสระด้วย ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานอย่างมาก นอกจากนี้ แอปพลิเคชันยังมาพร้อมกับฟังก์ชัน “ตั้งค่าโอนเงินอัตโนมัติ” ทำให้เราหักเงินออมจากบัญชีเงินเดือนเข้าสู่บัญชี MAKE by KBank ได้ทันที

ที่สำคัญ Cloud Pocket ยังมีฟีเจอร์ย่อยที่ช่วยให้เราแชร์กระเป๋าเงินร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ได้ นั่นคือ “Shared Cloud Pocket” ทำให้คนในครอบครัวทราบได้ทันทีว่ากระเป๋าเงินที่เก็บร่วมกันเหลือเงินเท่าไหร่ และช่วยให้บริหารจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ง่ายขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าวิธีออมเงิน 1 ปี มีหลักการสำคัญ คือ 1.ตั้งเป้าหมาย-จัดสรรเงิน 2.หาทางประหยัดเงิน และ 3.การฝากเงินในบัญชีที่ผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งหลักการทั้ง 3 ข้อนี้ สามารถแบ่งออกเป็น 10 วิธีที่ช่วยให้ทุกคนออมเงินง่ายๆ ตามที่กล่าวไป

ถ้าสนใจผู้ช่วยที่ทำให้คุณสามารถจัดการเงินแบบง่ายๆ อย่าง “MAKE by KBank” สามารถดาวน์โหลดผ่าน Play Store ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ซึ่งนอกจากฟีเจอร์ Expense Summary และ Cloud Pocket แล้ว ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ควรพลาด!

กลับไปหน้าแรก