แจก How to วิธีเก็บเงิน 200,000 ใน 1 ปี ที่ทำได้จริง
หลายคนอาจยังเข้าใจผิดว่า หากมีรายได้เยอะขึ้นแล้วก็จะมีเงินเก็บเพิ่มขึ้นตาม แต่ความจริงแล้วยิ่งมีรายได้มากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเยอะเท่านั้น เพราะมีสิ่งที่อยากได้มากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นบ้าน, รถ, ที่ดิน หรือแม้แต่ยับยั้งชั่งใจในการรูดบัตรเครดิตได้น้อยลง รวมถึงมีแนวโน้มก่อหนี้ได้ง่าย จากการที่มีเครดิตทางการเงินดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ เราจึงนำวิธีเก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปี มาฝากกลุ่มผู้มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ให้สามารถวางแผนการเงินเพื่อชีวิตในอนาคต ไม่ติดหลุมพรางกับดักการใช้จ่าย และมีเงินเตรียมพร้อมสู่ชีวิตหลังเกษียณอย่างมั่นคง
1. รวบรวมเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อสำรวจสถานะทางการเงิน
ก่อนเริ่มต้นวางแผนการเงินเพื่อชีวิตในอนาคต คุณจำเป็นต้องสำรวจสถานะทางการเงินของตนเองเป็นอันดับแรกว่ามีเงินเก็บเป็นจำนวนเท่าไหร่? เพราะหลายคนมีเงินฝากหลายบัญชี ทำให้เข้าใจว่ามีเงินเก็บจำนวนมาก แต่ความเป็นจริงแล้ว อาจมีไม่เพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน 3 เดือนด้วยซ้ำ
ดังนั้นควรนำเงินฝากทั้งหมดรวมเป็นก้อนเดียวกัน เพื่อให้สามารถวางแผนเก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปีได้ง่ายขึ้น และเห็นภาพรวมของสถานะทางการเงินของตนเองอย่างถ่องแท้นั่นเอง
2. บริหารจัดการเงินง่ายๆ เพียงแค่นำเงินมาแบ่งสัดส่วนทันที
เมื่อเงินเดือนออกแล้ว เราสามารถบริหารจัดการได้ง่ายๆ ผ่านสูตร 50 - 30 - 20 หรือความหมายคือ ใช้จ่ายประจำ 50 %, ใช้จ่ายซื้อความสุข 30 % และเก็บเงินออม 20 % ของรายได้ วิธีนี้จะช่วยบริหารจัดการเงินได้ดีขึ้น เช่น รายได้ 40,000 บาท ก็แบ่งเงิน 20,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายประจำ, ใช้เงิน 12,000 บาทสำหรับซื้อความสุขส่วนตัว และแบ่งเงินสำหรับออม 8,000 บาท
อย่างไรก็ตามหากต้องการเก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปี อาจลดค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อความสุขลง เพื่อที่จะสามารถเก็บออมได้มากขึ้นแทน
3. แยกบัญชีเงินออม ออกจากบัญชีใช้จ่าย
การใช้จ่ายรวมกับบัญชีเงินออมจะทำให้ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ยาก เพราะเจ้าของบัญชีมักเข้าใจผิด คิดว่ามีเงินสำหรับใช้จ่ายอยู่มาก ทั้งที่ความจริงมีส่วนของเงินออมรวมอยู่ด้วย ทำให้เผลอใช้จ่ายเกินตัวด้วยการนำเงินออมออกมาใช้ รู้ตัวอีกทีเงินออมก็ติดลบไปไม่น้อยแล้ว
การเปิดบัญชีเงินออมแยกออกจากบัญชีใช้จ่าย จึงเป็นเทคนิคที่ทำได้ง่ายๆ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปี ซึ่งบัญชีเงินออมที่เปิดใหม่ไม่ควรนำมาใช้งานเลย จนกว่าจะเก็บเงินถึงเป้าหมายแล้วจริงๆ
4. เก็บก่อนใช้เท่านั้น รับรองมีเงินเก็บ
คนส่วนใหญ่คิดว่าควรใช้เงินก่อน แล้วค่อยออมทีหลัง เพราะกังวลว่าจะมีเงินไม่พอใช้ ไปจนถึงวันสิ้นเดือน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เนื่องจากมีโอกาสที่จะใช้จ่ายเกินตัวสูงมาก เช่น ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ไปรับประทานบุฟเฟต์ หรือเที่ยวต่างจังหวัด จนสุดท้ายก็ไม่มีเงินเหลือเก็บ ทำให้ช่วงสิ้นเดือนเหลือเงินเพียงหลักสิบ ต้องประทังชีวิตไปจนถึงวันเงินเดือนออก
แต่ปัญหาจะหมดไปเมื่อคุณหักเงิน 10% ของรายได้เข้าบัญชีเงินออมทันที เช่น เงินเดือน 35,000 บาท ก็หักเข้าบัญชีเงินออมไปเลย 3,500 บาท หรือออมมากกว่า 50 % ก็ได้ในกรณีที่คุณไม่มีภาระค่าใช้จ่ายทางบ้าน เพียงเท่านี้ก็สามารถเก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปี ได้แล้ว
5. ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น
เข้าใจว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นเรื่องที่หลายคนไม่สนใจ เพราะมองว่าเสียเวลาและยุ่งยาก แถมบางครั้งก็ลืมใส่รายการใช้จ่ายบางส่วนด้วย ทำให้ตัวเลขที่ออกมาไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงนัก แต่อย่างน้อยบัญชีรายรับรายจ่ายก็สามารถทำให้เห็นภาพรวมว่าใช้เงินไปมากน้อยเท่าใดแล้ว
เมื่อเห็นว่าค่าใช้จ่ายส่วนใดเยอะเป็นพิเศษ ก็ค่อยหาทางลดรายการนั้นลง ทำให้เก็บเงินถึง 200,000 บาท ใน 1 ปีได้เร็วขึ้น โดยแนะนำให้คุณใช้สมุดเล่มเล็ก สำหรับทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้ลงรายการใช้จ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา ลดอาการหลงลืมได้อีกด้วย
6. ควบคุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและค่าใช้จ่ายเพื่อความสุข ให้มีเงินเก็บ ไม่เครียดจนเกินไป
การตั้งเป้าเก็บเงินจำนวนมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความเครียดโดยไม่จำเป็น แถมทำให้ท้อจนไม่อยากออมเงิน จึงควรเก็บเงินบางส่วนไว้เป็นรางวัลเล็กๆ น้อยๆ แก่ตนเอง ให้มีกำลังใจออมเงินมากยิ่งขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายเพื่อความสุขไม่จำเป็นต้องมีราคาสูง อาจเป็นแค่เสื้อผ้าราคาประหยัดที่จัดโปรโมชัน เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเพื่อความสุข คือ ควบคุมไม่ให้จ่ายเงินไปกับเรื่องฟุ่มเฟือย และควบคุมความอยากได้ แต่ถ้าเผลอใช้เงินในส่วนนี้มากเกินไปจนเริ่มเก็บเงินไม่อยู่ อาจใช้ตัวช่วยอย่างตารางรายรับรายจ่าย เพื่อตรวจสอบว่าจ่ายเงินไปกับเรื่องฟุ่มเฟือยหรือไม่ หากพบแล้วก็หาทางลดค่าใช้จ่ายนั้นลง จนเหลือแต่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และค่าใช้จ่ายเพื่อความสุขเท่านั้น
7. ต่อยอดเงินออม ด้วยการทำบัญชีเงินฝากประจำเพิ่มเติม
บางทีการฝากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้สนใจฝากเงินในระยะยาว เพราะอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก แต่ปัญหาจะหมดไปเมื่อเลือกฝากกับบัญชีเงินฝากประจำที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า 1.5% ต่อปี แน่นอนว่าในช่วงปีแรกผลตอบแทนอาจไม่สูงมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยอัตราดอกเบี้ยทบต้น ก็จะทำให้มีเงินเก็บเพิ่มพูนเป็นหลักแสน หรือหลักล้านได้ในอนาคต
8. ต่อยอดเงินด้วยการลงทุนที่คุณเข้าใจ
นอกจากการฝากเงินกับบัญชีเงินฝากประจำที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แล้ว
หากคุณสามารถรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้จากการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม, หุ้น หรือหุ้นกู้ ฯลฯ เราแนะนำให้ต่อยอดเงินออมด้วยการลงทุนอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้เก็บเงิน 200,000 ใน 1 ปีได้เร็วขึ้น
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าการลงทุนมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ ดังนั้น ควรศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน ไม่อย่างนั้นแล้วแทนที่จะได้กำไร จะกลายเป็นสูญเสียเงินต้นแทน และควรเลือกลงทุนกับสิ่งที่คุณเข้าใจ เพื่อประเมินความเสี่ยงของการลงทุนที่เหมาะแก่ตนเองได้ดียิ่งขึ้น
9. ใช้เครดิตให้คุ้มค่าที่สุด ก็ช่วยให้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น
กลุ่มคนที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาทต่อเดือน จะสามารถเข้าถึงเครดิตทางการเงินได้ง่าย ซึ่งคุณอาจใช้เครดิตสำหรับเพิ่มรายได้ในอนาคต เช่น ขอสินเชื่อประกอบธุรกิจ เพื่อเริ่มต้นทำอาชีพที่ 2 - 3 หรือใช้บัตรเครดิตที่มีสิทธิประโยชน์เป็นส่วนลดต่างๆ มากมาย เท่านี้การเก็บเงิน 200,000 ใน 1 ปีก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
10.มุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการรักษาวินัยในการเก็บเงิน
สิ่งสำคัญที่สุดของการเก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปี คงหนีไม่พ้นกับวินัยการเก็บเงินที่ดี เพราะต่อให้มีรายได้สูง แต่ถ้าไม่เริ่มต้นเก็บเงิน ก็เป็นเรื่องยากที่จะมีเงินออมตามที่ตั้งใจ หากเป็นคนที่เก็บเงินไม่อยู่ แนะนำให้ลองใช้งานตารางออมเงิน ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ออกแบบมาเพื่อฝึกวินัยทางการเงินโดยเฉพาะ
การใช้งานตารางออมเงินนั้นไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ทำตามแผนที่ตารางกำหนด เช่น ออมเงินวันละ 5 บาท, 20 บาท, 30 บาท จนถึงวันละ 100 - 200 บาท เมื่อเก็บเงินได้อย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้คุณมีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น จนมีเงินเก็บอย่างที่ต้องการ
รู้จักกับแอป MAKE by KBank ตัวช่วยเก็บเงิน 200,000 ใน 1 ปี
หลังจากที่รู้จักกับ 10 เทคนิค เก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปีที่ได้แนะนำไปข้างต้นแล้ว อาจลองใช้งานแอปเก็บเงิน อย่าง MAKE by KBank มาเป็นผู้ช่วยในการเก็บเงินให้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้นอีกช่องทาง ที่สำคัญ MAKE by KBank มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ทำให้การบริหารเงินเป็นเรื่องง่าย อาทิ “Cloud Pocket” และ “Expense Summary”
1. Cloud Pocket
ฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างกระเป๋าเงิน ทำหน้าที่แบ่งเงินในบัญชีเป็นสัดส่วน โดยคุณสามารถตั้งชื่อกระเป๋าได้ตามต้องการ เช่น กระเป๋าเงินออม, กระเป๋าลงทุน, กระเป๋าเตรียมพร้อมสู่วันเกษียณ หรือกระเป๋าใช้จ่ายรายเดือน ทำให้บริหารเงินในบัญชีง่ายกว่าเดิม แถมเก็บเงินง่ายขึ้น ไม่ต้องทำเรื่องเปิดบัญชีเงินฝากใหม่สำหรับเก็บเงินให้ยุ่งยาก
ที่สำคัญ Cloud Pocket ยังมีฟังก์ชันตั้งค่าล็อกกระเป๋าเงิน เพื่อป้องกันการใช้จ่ายเกินตัว และตั้งเป้าหมายเงินเก็บได้อีกด้วย Cloud Pocket จึงใช้งานในการเก็บเงิน 200,000 บาท ใน 1 ปี ได้อย่างดีเยี่ยม
2. Expense Summary
หมดปัญหาการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ยุ่งยากไปได้เลย เพราะ Expense Summary บันทึกรายการค่าใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะกิน, เที่ยว, ช้อป ฯลฯ ฟีเจอร์นี้ก็จะบันทึกไว้ทั้งหมด และเรียกดูรายการย้อนหลังได้ง่ายดาย ทำให้สามารถวางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย สำหรับเก็บเงิน 200,000 ใน 1 ปีได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้ MAKE by KBank ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น Shared Cloud Pocket ที่แชร์กระเป๋าเงินกับเพื่อน หรือคนในครอบครัว เพื่อบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือฟีเจอร์ Pop Pay ที่ไม่ต้องเสียเวลากรอกเลขที่บัญชีเพื่อโอนเงิน เพียงแค่โอนผ่านระบบ Bluetooth ได้ง่ายๆ
หากสนใจแอปเก็บเงิน MAKE by KBANK ที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงถึง 1.5% ต่อปี ไม่แพ้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ สามารถดาวน์โหลดได้เลยผ่าน App Store และ Play Store มาเริ่มต้นออมเงินง่ายๆ ตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตทางการเงินที่มั่นคง