15 วิธีเก็บเงินง่ายๆ สำหรับทุกเพศทุกวัย ทำได้ทุกคน! - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

15 วิธีเก็บเงินง่ายๆ สำหรับทุกเพศทุกวัย ทำได้ทุกคน!

Banner

ใครเคยตั้งสเตตัส “New Year’s Resolution” บนหน้าไทม์ไลน์ของตัวเองบ้าง ยกมือขึ้นเลย New Year’s Resolution ของแต่ละคนก็ตั้งใจวางแผนจะทำสิ่งใหม่ๆ เช่น การออกกำลังกาย อ่านหนังสือ หรือตั้งเป้าเก็บเงินให้ได้ทุกเดือนใช่หรือเปล่า? แต่จะว่าไปแล้วการออมเงินก็ไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าไม่มีตัวช่วย ทำให้หลายคนเผลอหมดเงินไปกับรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอยู่เป็นประจำ ดังนั้นมาดูกันเลยว่าวิธีเก็บเงิน ที่จะช่วยให้ New Year’s Resolution สำเร็จได้ง่ายขึ้น มีอะไรบ้าง

สารบัญ

  1. ได้เงินมาแล้วรีบเก็บ
  2. เงินเย็นต้องมี จะเก็บมากเก็บน้อยก็เก็บเถอะ
  3. เศษเงินในบัญชีเก็บออมให้หมด
  4. ขยันจัดการเงิน
  5. ให้บัตรเครดิตเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน
  6. คิดก่อนซื้อ
  7. ตั้งเวลาโอนเงินอัตโนมัติ
  8. จัดการเงินให้เหมาะกับความสำคัญและระยะเวลา
  9. ชวนแฟนเก็บเงิน
  10. วางเป้าหมายการออม
  11. เก็บแบงก์ 50 ทุกใบที่ได้รับ
  12. เงินทอนหยอดกระปุก
  13. ซื้อเท่าไหร่ ออมเท่านั้น
  14. หาวิธีเพิ่มพูนเงินในบัญชี
  15. ใช้แอป MAKE by KBank ช่วยเก็บเงิน

1. ได้เงินมาแล้วรีบเก็บ

รู้หรือไม่การออมเงินหลังหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว เป็นแนวทางที่ไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เพราะเรามักเผลอใช้จ่ายเกินตัวตลอด เช่น เงินเดือน 20,000 บาท ช่วงใกล้สิ้นเดือน อาจเหลือเพียง 200 บาท แต่การเลือกออมเงินก่อนใช้ อย่างน้อยออม 10% ของรายได้ จะช่วยให้เราวางแผนการเงินรัดกุมขึ้น

นอกจากนี้การลิสต์รายการค่าใช้จ่ายที่รออยู่ก็จำเป็น เพราะจะช่วยจัดการได้ว่ารายการใดไม่จำเป็น และค่อยลดรายจ่ายในส่วนนั้นลง ถ้าลิสต์รายจ่ายเยอะมาก สามารถใช้แอปพลิเคชัน MAKE by KBank ที่ช่วยให้เก็บเงินได้ดีขึ้น ด้วยฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่ทุกคนสามารถสร้างกระเป๋าตามรายการค่าใช้จ่ายของตัวเองได้ เช่น ค่าบ้าน ค่ารถ ค่าประกันสังคม ฯลฯ ให้คุณจัดการเงินได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

วิธีเก็บเงินก่อนใช้จ่าย มีข้อดีคือ เราสามารถออมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้แน่นอน แต่เราไม่ควรออมเงินมากเกินกว่า 50% ของรายได้ เพราะอาจจะทำให้เราไม่มีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น อย่าลืมว่าต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต และในบางครั้งสามารถซื้อของเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเป็นรางวัลขอบคุณตัวเอง หลังจากทำงานหรือออมเงินสำเร็จตามเป้าหมายด้วย ป้องกันไม่ให้การออมเงินสร้างภาระให้กับคุณมากเกินไป

2. เงินเย็นต้องมี จะเก็บมากเก็บน้อยก็เก็บเถอะ

เงินเย็นหมายถึง เงินก้อนที่คาดว่าจะไม่นำมาใช้ในอนาคต ซึ่งก่อนมี “เงินเย็น” ต้องออมเงินให้สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเดือนละ 100 หรือ 1,000 บาท แม้เป็นเงินก้อนเล็ก ถ้าหมั่นออมทุกเดือนก็กลายเป็นเงินก้อนใหญ่ จนเป็นเงินที่สามารถช่วยเรายามฉุกเฉิน และต่อยอดทำธุรกิจ สร้างรายได้อื่นอีกทาง

แต่ข้อจำกัดของวิธีเก็บเงินวิธีนี้ คือต้องตั้งเป้าหมายต่อเนื่องทุกเดือน หากรายได้น้อย จนต้องกู้หนี้ยืมสิน อาจสร้างภาระแก่การดำเนินชีวิตมากเกินไป ดังนั้นอาจต้องแก้ปัญหาด้วยการหาวิธีเพิ่มรายได้ และปิดหนี้ที่มีอยู่ให้หมดก่อน แล้วค่อยเก็บเล็กผสมน้อย ค่อยเป็นค่อยไปทีละสเต็ป

3. เศษเงินในบัญชีเก็บออมให้หมด

Image2

เศษเงินในบัญชีหลักหน่วย หลักสิบ ไม่สามารถถอนออกมาจากตู้ ATM ได้ แต่สามารถเก็บออมได้ สำหรับคนที่เก็บเงินไม่อยู่ การสร้างบัญชีเงินฝากสำหรับเก็บเงินจำนวนเล็กน้อยแบบนี้ จะทำให้เงินไม่กี่สิบบาทกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ได้ วิธีเก็บเงินดังกล่าว เหมาะกับผู้ที่มีเงินในบัญชีหลักหมื่นขึ้นไป แต่การเก็บเงินแบบนี้ อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีเงินในบัญชีหลักร้อย หลักพัน เพราะหากโอนเงินออกไปยังบัญชีเงินออมอีก เงินในบัญชีสำหรับใช้จ่ายจะเหลือน้อยเกินไป

4. ขยันจัดการเงิน

ใครที่รายจ่ายเยอะจนไม่รู้จะจัดการอย่างไร เราแนะนำให้ทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยการแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ เช่น เงินค่าเช่าบ้าน เงินเก็บออม ค่าผ่อนรถ ฯลฯ หากมีเงินจำนวนหนึ่งเหลือจากนี้ ควรนำไปใช้กับค่าประกันชีวิต เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรืออาจนำไปเป็นเงินลงทุนบางส่วน สำหรับการต่อยอดรายได้

วิธีการแบ่งเงินเป็นสัดส่วน ช่วยให้เราเก็บเงินได้ดีขึ้น ทราบได้ง่ายว่าเงินส่วนใดบริหารผิดพลาด และมีโอกาสต่อยอดสร้างรายได้มากกว่าเดิมหรือไม่ แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้มีรายได้มากเพียงพอ หากใครมีภาระเป็นเสาหลักของครอบครัว มีหนี้สิน ควรให้ความสำคัญกับการจัดการรายจ่ายเป็นหลัก และปิดหนี้เสียก่อนจะแบ่งเงินมาซื้อประกันชีวิต หรือเก็บเงินทีละน้อย ดีกว่านำเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยงรออยู่

5. ให้บัตรเครดิตเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน

เมื่อเกิดเหตุต้องการเงินด่วน เช่น เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือรถเสีย การใช้บัตรเครดิตเป็นตัวเลือกแรกที่หลายคนเลือก เพราะช่วยชะลอการจ่ายเงินสดออกไป ทำให้ในช่วงก่อนถึงกำหนดชำระบิลบัตรเครดิต ก็สามารถหาเงินมาจ่ายก่อนโดนดอกเบี้ยบัตรเครดิตได้

แต่บัตรเครดิตเปรียบเสมือนดาบสองคม หากใช้งานถูกวิธีก็ช่วยให้เราเก็บเงินได้ง่ายขึ้น ทั้งยังมีโปรโมชันต่างๆ ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายของเราถูกลงได้ แต่ก็อาจทำให้เราเผลอรูดบัตรเครดิตซื้อของมากเกินไปจากกับดัก ผ่อน 0% นาน 10 เดือน และการจ่ายบิลบัตรเครดิตควรตรงต่อเวลา เมื่อจ่ายไม่ครบยอดหรือจ่ายช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนด อาจโดนคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูง มีโอกาสสร้างหนี้เพิ่มอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนใช้บัตรเครดิต ต้องใช้สติไตร่ตรองเสมอ และควรวางแผนการเงินให้ดีก่อนใช้เสมอ

6. คิดก่อนซื้อ

เราต่างมีของที่อยากได้เต็มไปหมด นั่นก็สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่กล้องเทพ นี่ก็เป็นเกมที่อยากได้ และสิ่งล่อตาล่อใจพวกนี้ ทำให้เราอยากจ่ายเงินซื้อเหลือเกิน คำว่า “สติยับยั้งชั่งใจ” เป็นสิ่งที่ผู้เริ่มต้นออมเงินต้องมี ดังนั้นก่อนซื้อของทุกครั้งควรคิดให้ดีว่าจำเป็นต่อชีวิตเราจริงหรือเปล่า? หรือมีของอื่นถูกกว่าแทนได้

การเทียบสเปกและความจำเป็น จึงเป็นวิธีหนึ่งในการเก็บเงิน เพราะของบางอย่างราคาถูก อาจใช้งานได้นาน และคุณภาพไม่แพ้ของราคาแพง เช่น ใช้สมาร์ทโฟนรุ่นหลักพัน แทนรุ่นราคาหลักหมื่น หากไม่ได้ใช้งานกล้องบ่อย หรือรอช่วงเวลาจัดโปรโมชั่น ลดราคาสินค้าที่ต้องการซื้อ ก็ช่วยประหยัดเงินไปได้เยอะ

แต่การเก็บเงินด้วยวิธีอาจทำให้รู้สึกเข้มงวดต่อตนเองที่มากเกินไป จากการคิดแล้วคิดอีก อาจก่อให้เกิดความเครียดและความกดดันในการออมเงินอย่างไม่รู้ตัว ดังนั้นการเดินทางสายกลาง ออมเงินแบบค่อยเป็นค่อยไปอาจดีต่อสุขภาพของตนเองมากกว่า และมีทัศนคติที่ดีต่อการออมเงินในระยะยาว

7. ตั้งเวลาโอนเงินอัตโนมัติ

แอปพลิเคชันของธนาคารมีฟังก์ชันตั้งค่า “การโอนเงินอัตโนมัติ” เป็นตัวช่วยจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ บัตรเครดิต ได้ตรงเวลา ไม่หลงลืม และยังมีคุณสมบัติโอนเงินไปยังบัญชีสำหรับการออมได้ด้วย การจ่ายบิลต่างๆ ให้ตรงเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการจ่ายหนี้บัตรเครดิตที่ต้องจ่ายตรงเวลา หากเลยกำหนดจะโดนคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมาก

การตั้งเวลาโอนเงินอัตโนมัติถือเป็นวิธีเก็บเงินที่ทำได้ในทันที เพราะเมื่อเงินเดือนเข้ามา ก็สามารถโอนเงินเข้าบัญชีเงินออม หรือ Cloud Pocket ได้เลย แต่ข้อเสียของวิธีนี้ คือการโอนเงินอัตโนมัติจะทำให้เรา ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลบิลรายจ่ายอย่างละเอียดก่อนที่จะทำการโอน ทำให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายตามยอดเงินที่ตั้งค่าไว้ เราอาจจะจ่ายไม่ครบหรือจ่ายเกินได้โดยไม่รู้ตัว

8. จัดการเงินให้เหมาะกับความสำคัญและระยะเวลา

แม้ตั้งใจวางแผนวิธีการเก็บเงินเป็นอย่างดี แต่บางครั้งสถานการณ์ก็ไม่เป็นใจให้ เพราะมีรายจ่ายเข้ามาเยอะมาก และรายได้ลดลงจากเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ตกงาน หรือต้องเข้าโรงพยาบาลกะทันหัน ระหว่างนี้อาจไม่ต้องออมเงินก็ได้ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ค่อยเริ่มออมเงินให้มากกว่าเดิม เพื่อชดเชยเงินออมที่หายไป

การเก็บเงินด้วยวิธีนี้ ช่วยให้เรายืดหยุ่นกับสถานการณ์ทางการเงินได้เหมาะสมกับเรื่องต่างๆ แต่ก็อาจเผื่อเงินกับเหตุการณ์ฉุกเฉินมากเกินไป จนเสียโอกาสต่อยอดสร้างรายได้

9. ชวนแฟนเก็บเงิน

ใครมีแฟนต้องไม่พลาดกับวิธีเก็บเงินวิธีนี้ เพราะการมีรายได้มากกว่า 1 ทาง ต้องอาศัยทักษะการบริหารเงินมากกว่าเดิม การสร้างบัญชีร่วมกันด้วยฟีเจอร์ “Shared Cloud Pocket” จาก MAKE by KBank สำหรับออมเงินของทั้งคู่ เพื่อเตรียมพร้อมการซื้อบ้าน ซื้อรถ และเรื่องการสร้างครอบครัวในอนาคต เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้การออมเงินร่วมกันง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตามการชวนแฟนเก็บเงิน อาจไม่เหมาะสำหรับคู่รักที่มีพฤติกรรมการใช้เงิน หรือมีทัศนคติเกี่ยวกับการออมที่แตกต่างกันมากจนเกินไป จนสร้างภาระให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

10. วางเป้าหมายการออม

การตั้งเป้าหมายการออม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยว หรือเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ เป็นวิธีช่วยให้เราเก็บเงินได้ดีขึ้น เนื่องจากจะมุ่งมั่นตั้งใจเก็บเงินมากกว่าเดิม ที่สำคัญเป้าหมายการออมไม่ควรทำให้เราใช้เงินได้น้อยเกินความจำเป็นจนใช้ชีวิตลำบาก หากเก็บเงินไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ มุ่งมั่นหาเงินทั้งวันทั้งคืนจนไม่ได้พักผ่อน จะทำให้เกิดความเครียดจนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

11. เก็บแบงก์ 50 ทุกใบที่ได้รับ

แบงก์ 50 นานๆ ถึงจะได้รับมาจากพ่อค้าแม่ค้า วิธีการเก็บเงินด้วยแบงก์ดังกล่าวจึงเป็นตัวเลือกที่ดี เก็บ 50 บาททุกวัน ในหนึ่งเดือนก็กลายเป็น 1,500 บาทแล้ว แต่การเก็บเงิน 50 บาททุกวันอาจไม่เหมาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่อาจเก็บเงินไม่ไหว แนะนำว่าเก็บวันละ 10 20 บาท ก็ยังดี

12. เงินทอนหยอดกระปุก

มีเงินทอนเหลือ อย่ามองข้ามว่าเป็นเงินเล็กน้อยบาทสองบาท ตามสุภาษิตว่าไว้ “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท” แค่หยอดเงินทอนวันละ 10 บาท หนึ่งปีก็มีเงินออมแล้ว 3,650 บาท เมื่อเก็บไปเรื่อยๆ ทุบกระปุกออกมา อาจมีถึงหลักหมื่นเลยก็ได้

ซึ่งวิธีการเก็บเงินด้วยการหยอดกระปุก กระปุกที่ใช้ไม่ควรมีช่องสำหรับนำเงินออกมา หากใช้กระปุกที่แกะออกง่ายเกินไปอาจทำให้เราเก็บเงินออมก้อนใหญ่ตามเป้าหมายไม่ได้ เพราะเผลอเอาเงินไปกับค่าใช้จ่ายต่างๆ จนหมด

13. ซื้อเท่าไหร่ ออมเท่านั้น

ในแต่ละเดือนควรกำหนดว่ามีรายการค่าใช้จ่ายพิเศษอะไรบ้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายพิเศษ ได้แก่ ซื้อเครื่องแต่งกายใหม่ ค่าใช้จ่ายในการซ่อมสินค้า ฯลฯ รายการเหล่านี้ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจำเหมือนกับ ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งค่าใช้จ่ายพิเศษเหล่านี้ทำให้เงินออมลดลง จนติดลบมากกว่าเดิม

วิธีเก็บเงินในกรณีนี้ เดือนถัดไปควรออมเท่ากับเงินที่ใช้ไปกับค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น มีค่าใช้จ่ายพิเศษ 7,500 บาท เดือนหน้าต้องหาเงินมาออมเท่ากับ 7,500 บาท จึงช่วยรักษาระดับเงินออมได้คงที่ ลดโอกาสก่อหนี้บริโภค แต่ก็มีข้อเสีย คือค่าใช้จ่ายพิเศษอาจกินเวลานานหลายเดือน หรือหลายปี โดยเฉพาะช่วงเพิ่งเริ่มต้นซื้อสินทรัพย์ถาวร เช่น บ้าน หรือรถ ในระหว่างนี้อาจต้องปิดหนี้ระยะยาว ก่อนที่จะเริ่มออมใหม่อีกครั้ง

14. หาวิธีเพิ่มพูนเงินในบัญชี

Image2

ยุคนี้การหาเงินมีหลายช่องทาง ตั้งแต่นำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้น หรือคริปโตเคอร์เรนซีที่ให้ผลตอบแทนสูงลิ่ว แต่การลงทุนดังกล่าว ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป เพราะอาจขาดทุน ติดดอยจนปวดหัว แต่ก็มีวิธีที่ช่วยให้เก็บเงินอย่างปลอดภัย แถมได้ดอกเบี้ยเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง นั่นคือ MAKE by KBank

ข้อดีของ MAKE by KBank คือ ให้ดอกเบี้ยสูงสุด 1.5 % ต่อปีสำหรับยอดฝาก 3 แสนบาทแรก ส่วนเกิน 300,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.65 % ต่อปี และยังช่วยบริหารจัดการเงินเป็นอย่างดี ไม่ต้องเสี่ยงให้เงินต้นลดลง แม้อัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างจากบัญชีเงินฝากประจำ แต่ก็เป็นช่องทางที่เพิ่มพูนเงินในบัญชีได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน

15. ใช้แอป MAKE by KBank ช่วยเก็บเงิน

วิธีเก็บเงินด้วยหนึ่งบัญชี ที่ทำหน้าที่ทุกอย่างตั้งแต่รับเงินเดือน จ่ายประกัน จ่ายค่าบัตรเครดิต ฯลฯ เป็นข้อเสียที่เราอาจหลงลืมไปว่ารายการใดลืมจ่าย เราจึงควรมีอีกบัญชีเพื่อช่วยจัดการค่าใช้จ่ายและออมเงิน ซึ่งแอปเก็บเงิน MAKE by KBank จากธนาคารกสิกรไทยนอกจากมาพร้อมกับฟีเจอร์เด็ดอย่าง Cloud Pocket แล้วยังมี Pop Pay, Chat Banking, และ Expense Summary ให้คุณจัดการเงินได้อย่างง่ายดาย

Pop Pay - ปลดล็อกข้อจำกัดของการโอนเงินที่ไม่ต้องขอเลขที่บัญชี ธนาคาร และชื่อผู้รับ เพราะเมื่ออยู่ใกล้กันรัศมี 10 เมตร หน้าไอคอนของเพื่อนคุณก็จะปรากฏขึ้น และโอนเงินผ่านไอคอนนั้นได้ทันที

Chat Banking - ปัจจุบันเวลากดเข้ากล่อง SMS ต่างกลัวกันไปหมด ว่าจะเผลอไปโดนลิงก์ไวรัสของแฮกเกอร์หรือเปล่า แต่ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณเห็นรายการธุรกรรมของเพื่อนและของคุณ โดยไม่ต้องเข้ากล่อง SMS เลย

Expense Summary - เป็นตัวช่วยสรุปรายการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ว่าเงินหมดไปกับค่าใช้จ่ายอะไรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งระบบของ MAKE by KBank มีให้บันทึก 6 หมวดค่าใช้จ่าย ได้แก่ 1. ค่าอาหาร 2. การเดินทาง 3. ความบันเทิง 4. การจ่ายชำระบิล 5. ค่าชอปปิง และ 6. หมวดรายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ

สรุป

หากทุกคนรู้จักกับวิธีเก็บเงินตามข้างต้นไปแล้ว แต่ไม่อยากเปิดบัญชีเงินฝากหลายบัญชี สำหรับจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือต้องใช้แอปพลิเคชันสำหรับจดบันทึกรายการค่าใช้จ่ายให้ยุ่งยาก ตัวช่วยอย่าง MAKE by KBank ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ช่วยอำนวยความสะดวกต่างๆ จะทำให้การบริหารเงินง่ายขึ้น

ถ้าสนใจ MAKE by KBank มีวิธีการสมัครใช้งานดังนี้

  1. ดาวน์โหลดและเปิดบัญชีใหม่ (ใช้ได้ทั้ง iOS และ Android)
  2. กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
  3. ยืนยันตัวตนผ่าน KPLUS
  4. พร้อมใช้งานได้เลย!
กลับไปหน้าแรก