แชร์ 12 เคล็ดลับ ให้สิ้นเดือนไม่สิ้นใจอีกต่อไป
ปัญหาใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนที่ทุกคนล้วนต้องเจอ นั่นคือ ไม่มีเงินช่วงวันสิ้นเดือน จนมีคำกล่าวยอดฮิตติดปากกันว่าสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจกันเลยทีเดียว สาเหตุหลักคงหนีไม่พ้นกับการใช้จ่ายที่มากเกินไป
ไม่ว่าจะเป็นค่าบุฟเฟ่ต์, ดูหนัง หรือแม้แต่การซื้อเสื้อผ้าใหม่ ฯลฯ
เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป เราจึงนำ 12 เคล็ดลับที่ช่วยให้คุณมีเงินเก็บ รับรองว่าสิ้นเดือนจะไม่สิ้นใจอีกต่อไป ไม่ต้องสร้างหนี้ใหม่โดยไม่จำเป็น แถมมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้รับมือกับเหตุไม่คาดฝันอีกด้วย
1. อย่าลืมจดรายรับ-รายจ่ายต่อเดือนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งหมด
การจดบัญชีรายรับรายจ่ายล่วงหน้าช่วยให้คุณวางแผนการเงิน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เหมือนกับการบันทึกรายรับรายจ่ายรายวันแบบทั่วไป โดยขั้นตอนคือ ให้คุณลิสต์รายรับและรายจ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้ครบทุกรายการ จากนั้นก็ประมาณการว่าสิ้นเดือนถัดไป
จะเหลือเงินออมเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่างการทำบัญชีรายรับรายจ่ายล่วงหน้า
เดือนมกราคม 2567
รายรับ
เงินเดือน 18,000 บาท
งานเสริม 4,000 บาท
รวมรายรับ 22,000 บาท
รายจ่าย
ค่าอาหาร 8,000 บาท
ค่าหอพัก 5,000 บาท
ค่าโทรศัพท์ 400 บาท
ค่าเดินทาง 2,500 บาท
ให้ครอบครัว 2,500 บาท
รวมรายจ่าย 18,400 บาท
เหลือเก็บ 3,600 บาท
เมื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายล่วงหน้าเสร็จแล้ว ก็ควรทำบัญชีรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวันควบคู่กันไปด้วย เพื่อเปรียบเทียบว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้หรือไม่? หากพบว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นสูงกว่าที่ประเมินไว้ ค่อยหาทางลดรายจ่ายนั้นลงภายหลัง
2. อย่าสะสม กับของที่ไม่จำเป็น
เป็นเรื่องปกติของนักสะสมเมื่อมีอัลบั้มศิลปิน, ฟิกเกอร์ หรือหนังสือที่ชื่นชอบออกใหม่ ก็ต้องไม่พลาดจับจองเป็นเจ้าของแน่นอน ซึ่งหากของสะสมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในอนาคตเราแนะนำให้ซื้อเก็บไว้ เพราะถือเป็นการออมรูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าซื้อเอาไว้ แล้วไม่ได้ใช้งาน และมูลค่าก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น หากลดของสะสมเหล่านี้ได้ จะช่วยให้มีเงินเก็บวันสิ้นเดือนไม่น้อยเลยทีเดียว
3. ฝึกนิสัยให้รักการจดบันทึก
เพื่อให้การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีประสิทธิภาพมากที่สุด จำเป็นต้องฝึกนิสัยให้ชื่นชอบการจดบันทึก เพราะในแต่ละวันมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเล็กน้อยอย่างน้ำดื่ม, ค่ากระดาษทิชชู หรือแม้แต่ค่าลูกอม
นอกจากค่าใช้จ่ายเล็กน้อยแล้ว ก็ยังมีค่าใช้จ่ายตามวาระพิเศษด้วย เช่น ค่าซองงานแต่งงานเพื่อน หรือค่าซื้อของขวัญในวันขึ้นปีใหม่ แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้มักไม่ได้ถูกจดบันทึกเอาไว้ในบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้ตัวเลขออกมาต่ำกว่าความเป็นจริง แต่เมื่อนับรวมรายการเหล่านี้เข้าไป ก็พบว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอๆ กับรายจ่ายประจำ จนทำให้วันสิ้นเดือนไม่มีเงินเก็บได้เลย
4. ออมก่อน ใช้ทีหลัง
เมื่อเงินเดือนออกควรหักออมอย่างน้อย 10% ทันที ไม่ควรใช้เงินก่อนแล้วออมทีหลัง เพราะมักเผลอใช้จ่ายเกินตัว จนสุดท้ายเมื่อถึงวันสิ้นเดือน ก็ไม่สามารถเก็บออมได้ แต่ถ้ารู้สึกว่าการออมเงิน 10% ของเงินเดือนเป็นเรื่องยากเกินไป อาจเริ่มต้นจากจำนวนเงินน้อยๆ เช่น 2% หรือ 3% ก่อนก็ได้
แนะนำตัวช่วยเก็บเงินที่ดีมาก “MAKE by KBank”
หากต้องการผู้ช่วยให้วิธีบริหารเงินของคุณได้ผลมากยิ่งขึ้น ไม่ควรพลาดกับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ Expense Summary และ Cloud Pocket ที่ช่วยให้วันสิ้นเดือนมีเงินออมมากยิ่งขึ้น จนบอกลาคำว่าสิ้นใจไปได้เลย โดยมีรายละเอียดดังนี้
Expense Summary
ฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้ไม่ถนัดการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบเดิม เพราะ Expense Summary ช่วยรวบรวมข้อมูลทุกค่าใช้จ่ายในวันสิ้นเดือน ทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ด้วยว่ามีรายจ่ายส่วนใดที่ไม่จำเป็น ทำให้หาทางลดค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ
Cloud Pocket
หากมีค่าใช้จ่ายที่รออยู่ในวันสิ้นเดือนจำนวนมาก แล้วไม่รู้ว่าต้องวางแผนจ่ายชำระอย่างไร ไม่ควรพลาดกับ Cloud Pocket ฟีเจอร์ที่ช่วยสร้างกระเป๋าเงินตามที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ ค่าบ้าน ค่ารถยนต์ ฯลฯ ก็สามารถสร้างกระเป๋าเงินขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้จ่ายได้ทั้งหมด ทำให้จ่ายเงินได้ตรงเวลา ที่สำคัญยังสร้างกระเป๋าสำหรับออมเงินได้ด้วย หมดปัญหาเรื่องการเก็บเงินได้เลย
5. จัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายตามลำดับความสำคัญ
เมื่อได้รับเงินเดือนมาสิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ อย่าเพิ่งใช้จ่าย แต่หักออมให้เรียบร้อยเสียก่อน แล้วพิจารณาต่อว่า เราต้องใช้จ่ายอะไรบ้างในแต่ละเดือน ด้วยการแบ่งหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายตามลำดับความสำคัญ ได้แก่ 1.หนี้สิน 2.ค่าใช้จ่ายประจำ และ 3.ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำรงชีวิตประจำวัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- หนี้สิน
หลังจากได้รับเงินเดือนมาต้องจ่ายหนี้สินก่อนไปซื้อของที่ไม่จำเป็น เพราะหากค้างหนี้เอาไว้นาน ย่อมทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถหาเงินมาปิดหนี้ได้ แถมต้องจ่ายค่าปรับ หรือค่าทวงถามอีก ถ้าเป็นหนี้หลายก้อนแนะนำให้ปิดหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงเป็นอันดับแรก เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้บัตรกดเงินสด เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายประจำ
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน เช่น ค่าหอพัก,ค่าน้ำ, ค่าไฟ หรือค่าโทรศัพท์ โดยแนะนำว่าเมื่อจ่ายหนี้ออกไปแล้ว ค่อยมาชำระค่าใช้จ่ายส่วนดังกล่าวภายหลัง
- ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน
หลังจากหักหนี้สิน และค่าใช้จ่ายประจำเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเหลือเงินไว้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร หรือค่าเดินทาง จากนั้นให้คุณวางแผนให้อยู่รอดจนถึงวันสิ้นเดือนด้วยเงินที่เหลือต่อไป
6. ทำแผนใช้เงินให้อยู่รอดไปจนถึงสิ้นเดือน
เมื่อจัดหมวดหมู่ของค่าใช้จ่ายตามลำดับความสำคัญเสร็จสิ้น ก็ถึงเวลาวางแผนใช้เงินให้อยู่รอดไปถึงวันสิ้นเดือน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหักหนี้สิน และค่าใช้จ่ายประจำออกจากเงินเดือนแล้ว เหลือเงินเท่ากับ 8,000 บาท หมายความว่าเราเหลือเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเฉลี่ยวันละ 266 บาท
ดังนั้นคุณควรบริหารค่าใช้จ่ายต่อวันให้ไม่เกิน 266 บาท แต่ถ้ามีภาระครอบครัว ต้องดูแลคนข้างหลัง จนเหลือเงินไว้ใช้จ่ายน้อยเกินไป เราแนะนำให้มองหารายได้เสริมที่จะช่วยให้มีเงินเพิ่มขึ้น
7. ค่าอาหารมื้อพิเศษ รายจ่ายประจำที่ลดได้
ช่วงวันเงินเดือนออกหลายคนคงไปฉลองกับเพื่อน หรือครอบครัว ด้วยการไปรับประทานอาหารมื้อพิเศษไม่ว่าจะเป็นหมูกระทะ บุฟเฟ่ต์ หรือร้านอาหารดีๆ สักร้าน รู้หรือไม่ว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้แม้ดูเหมือนไม่มาก แต่เมื่อคิดรวมๆ กันแล้ว ถ้าใช้จ่ายเดือนละ 1,000 บาท ใน 1 ปี ก็จ่ายเงินไปถึง 12,000 บาทแล้ว
และเมื่อถึงวันสิ้นเดือน กลับกลายเป็นว่าต้องมานั่งรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อประคับประคองให้อยู่รอดไปถึงวันเงินเดือนออก ดังนั้นหากปรับลดค่าอาหารที่ราคาแพงลงไปได้ จะทำให้มีเงินเก็บไม่น้อยเลยทีเดียว
8. ลด ละ เลิก รายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า
ไม่ใช่แค่ค่าอาหารเท่านั้นที่เป็นค่าใช้จ่ายยอดฮิตช่วงวันเงินเดือนออก การซื้อเสื้อผ้าใหม่ก็เป็นไอเทมที่มนุษย์เงินเดือนชอบซื้อเพื่อให้รางวัลแก่ตนเองเช่นกัน ซึ่งหากสามารถปรับลดเรื่องเสื้อผ้าไปได้ หรือซื้อใหม่ก็ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆ ย่อมทำให้มีเงินเหลือช่วงวันสิ้นเดือนมากขึ้น
9. เลือกบัญชีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากดีๆ
หนึ่งในวิธีเก็บเงินฉบับมนุษย์เงินเดือนคงหนีไม่พ้นกับการฝากเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร โดยปัจจุบันสถาบันการเงินหลายแห่งได้ออกบัญชีเงินฝากที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป เช่น MAKE by KBank ที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปี ทำให้หากทุกวันสิ้นเดือนออมเงินไว้ในบัญชีที่ให้ผลตอบแทนสูง ก็ช่วยให้ชีวิตในอนาคตมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
10. มองหาบัญชีเงินฝากอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ไม่ใช่แค่ออมทรัพย์
เมื่อเลือกบัญชีธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงไปแล้ว อย่าลืมฝากเงินในบัญชีอื่นๆ นอกเหนือจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เพราะบัญชีเงินฝากประจำให้ผลตอบแทนในระยะยาวสูงกว่า และเป็นเครื่องมือในการออมที่ดีกว่าบัญชีออมทรัพย์ เนื่องจากมีเงื่อนไขในการถอน ทำให้วันสิ้นเดือนมีเงินเก็บแน่นอน
11. ประหยัดเงินอย่างเดียวอาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป
การประหยัดเงินเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างทัศนคติด้านการเงินที่ดี และช่วยให้มีเงินเหลือเก็บในวันสิ้นเดือน แต่หากคุณมีเป้าหมายอื่นในชีวิต เช่น วางแผนเก็บเงินซื้อบ้าน การประหยัดเงินเพียงอย่างเดียวก็อาจไม่เพียงพอ เพราะการดาวน์บ้านหนึ่งหลังใช้เงินสูงมาก
ซึ่งคุณสามารถหาทางเพิ่มรายได้ เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายให้เร็วขึ้น ด้วยการนำเงินเก็บไปลงทุนในช่องทางที่คุณถนัด เช่น กองทุนรวม, หุ้นกู้ หรือพันธบัตรรัฐบาล โดยรูปแบบการลงทุนเหล่านี้สูงกว่าผลตอบแทนบัญชีเงินฝากทั่วไป ทำให้คุณมีเงินเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการทำงานเพียงอย่างเดียว และไปสู่เป้าหมายเร็วกว่าเดิม
12.คิดก่อนใช้บัตรเครดิต
บัตรเครดิตคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดถึงร้อยละ 16% ต่อปี ทำให้หากใช้จ่ายเกินตัวโดยการรูดเต็มวงเงิน และผ่อนชำระเพียงขั้นต่ำ จะยิ่งทำให้ยอดหนี้สูงขึ้น แต่บัตรเครดิตถ้าใช้ให้ดีก็เกิดประโยชน์ เช่น ช่วง
วันสิ้นเดือนถ้าต้องการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ เพราะของเก่าเสีย เราสามารถใช้แต้มจากบัตรเครดิต เพื่อลดราคาเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นนั้นลง
หมดปัญหาสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ ดาวน์โหลด MAKE by KBank ได้เลยตั้งแต่วันนี้!
เมื่อทราบกับ 12 เทคนิคตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าปัญหาสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ สามารถสรุปวิธีแก้ปัญหาเหลือเพียง 3 ขั้นตอนง่ายๆ นั่นคือ 1.วางแผนออมเงิน 2.ลดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น และ 3. ลงทุนสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม
หากสนใจผู้ช่วยวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ อย่าลืมดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเก็บเงิน MAKE by KBank ซึ่งรองรับทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android และนอกจากจะให้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปี ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Cloud Pocket, Expense Summary หรือแม้แต่ Shared Cloud Pocket ที่ช่วยจัดการปัญหาการเงินแบบกลุ่มได้ด้วย