Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

OPD คืออะไร เลือกประกันแบบไหนความคุ้มครองรักษา OPD?

What-is-OPD-insurance.jpg

ทุกคนอาจเคยรักษาตัวที่แผนก OPD ด้วยอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ทั้งที่ไม่รู้ว่าแผนก OPD คืออะไร และคำศัพท์ดังกล่าวมักจะพบได้ในผลิตภัณฑ์ประกันมากมาย ทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ดังนั้น ในบทความนี้เราจะพามารู้จักกับ OPD กันให้มากขึ้น พร้อมแนะนำว่าควรทําประกันชีวิตแบบไหนดีถึงจะตอบโจทย์ตัวเราเองมากที่สุด

สารบัญบทความ

OPD คืออะไร ประกันแบบไหนบ้างที่ครอบคลุม OPD?

OPD คืออะไร ทำไมถึงควรรู้?

OPD ต่างจาก IPD อย่างไรบ้าง

ประกันที่ครอบคลุม OPD คือประกันประเภทใดบ้าง?

วิธีเลือกประกัน OPD ง่ายๆ ด้วยตนเอง

ประโยชน์ของประกัน OPD มีอะไรบ้าง?

Cloud Pocket ฟีเจอร์ MAKE by KBank ที่ให้จัดการค่าเบี้ยประกันได้ง่ายๆ

ประกัน OPD คือ ประกันที่ช่วยปกปิดความเสี่ยงสุขภาพแม้อาการเพียงเล็กน้อย!

OPD คืออะไร ทำไมถึงควรรู้?

OPD คือ คำศัพท์ทางการแพทย์สำหรับใช้เรียกกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาตัวแล้วกลับได้ทันที ซึ่งอาการที่เข้าข่ายกลุ่มผู้ป่วย OPD เช่น เป็นหวัด แพ้อาหาร ท้องผูก ฯลฯ โดย OPD ย่อมาจาก Out Patient Department ที่แปลว่าผู้ป่วยนอก ด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกประกันสุขภาพที่คุ้มครองโรคเกี่ยวกับกลุ่มผู้ป่วยนอกเป็นพิเศษว่า “ประกันสุขภาพ OPD”

OPD ต่างจาก IPD อย่างไรบ้าง

ก่อนทำประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ นอกจากควรรู้ความหมายว่า OPD คืออะไรแล้ว คำว่า IPD ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดย IPD คือศัพท์ทางการแพทย์สำหรับใช้เรียกกลุ่มผู้ป่วยอาการรุนแรง ต้องเข้าพักรักษาตัวเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป ทำให้เราเรียกประกันสุขภาพที่คุ้มครองในกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในว่าประกัน IPD ซึ่งประกัน IPD ให้ความคุ้มครองแตกต่างจากประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก โดยจะจ่ายค่าห้องพัก ค่าอุปกรณ์ผ่าตัด รวมไปถึงค่าอาหารระหว่างพักรักษาตัวอีกด้วย

ประกันที่ครอบคลุม OPD คือประกันประเภทใดบ้าง?

what-is-opd.jpg หลังจากที่ได้รู้แล้วว่าประกัน OPD คืออะไร บางคนอาจสนใจทำประกัน OPD เพราะไม่อยากเสียค่ารักษาพยาบาลด้วยอาการเพียงเล็กน้อย แต่การทำประกัน OPD ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องซื้อจากประกัน OPD เพียงอย่างเดียว เราสามารถทำประกัน OPD จากสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ายกรมธรรม์ประเภทอื่น หรือที่เรียกว่าสัญญาพ่วงได้ ซึ่งประกันที่เปิดโอกาสให้ซื้อประกัน OPD แนบท้ายสัญญาได้คือ ประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ประกันสุขภาพ ประกันสุขภาพนอกจากจะมีแผนประกันสุขภาพ OPD อย่างเดียวแล้ว ยังมีแผนอื่นๆ ให้เลือกได้อีกด้วย เช่น ประกันสุขภาพโรคร้ายแรงที่เน้นคุ้มครองกลุ่มโรคร้าย หรือประกันสุขภาพ IPD ที่คุ้มครองเมื่อต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งประกันสุขภาพเหล่านี้สามารถซื้อประกัน OPD เพิ่มเติมแนบท้ายสัญญา เพื่อเพิ่มสิทธิ์การรักษาได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น*

  • ประกันชีวิต ประกันชีวิตสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการจ่ายเบี้ยประกันได้ 2 แบบ คือ ประกันชีวิตจ่ายเบี้ยสั้นคุ้มครองชีวิตชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยประกันชีวิตทั้ง 2 แบบ ผู้เอาประกันสามารถซื้อประกัน OPD แนบท้ายสัญญาเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ประกันชีวิตทุกประเภทที่สามารถทำประกัน OPD แนบท้ายสัญญาได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ให้ดีก่อนสมัครประกันชีวิต

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่แต่ละกรมธรรม์กำหนด

วิธีเลือกประกัน OPD ง่ายๆ ด้วยตนเอง

ประกันสุขภาพเป็นสินค้าที่ต้องซื้อในระยะยาว ทำให้ต้องพิจารณาให้ดี เพื่อให้ได้กรมธรรม์ที่ตอบโจทย์ตนเองมากที่สุด ซึ่งวิธีเลือกประกัน OPD ที่ใช่คืออะไรบ้างนั้น มาดูกัน!

1. ตรวจสอบสิทธิ์สวัสดิการของตนเอง

ก่อนจะทำประกันสุขภาพ OPD ให้เราเช็กสิทธิ์รักษาพยาบาลของตนเองว่าครอบคลุมถึงการรักษา OPD หรือไม่ หากไม่มีควรทำประกัน OPD เอาไว้ เพื่อได้สิทธิ์การรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

2. เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เท่าไหร่

ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกของแต่ละกรมธรรม์เบิกเงินค่ารักษาพยาบาลเป็นรายครั้งได้ไม่เท่ากัน ซึ่งมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่นบาท หากค่ารักษาพยาบาลเกินวงเงินของประกัน ผู้เอาประกันจะต้องออกส่วนต่างเอง ทำให้ก่อนทำประกัน OPD ต้องประเมินว่าอาการเจ็บป่วยที่ผ่านมาในอดีต มีค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งหากเสียค่ารักษาพยาบาลต่อครั้งจำนวนมากแล้ว ควรเลือกทำประกัน OPD แบบเหมาจ่าย เพราะจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้มากกว่าประกัน OPD แบบต่อครั้ง

3. ประเมินจากอาการเจ็บป่วย

หากเป็นคนป่วยง่าย ต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นประจำ การทำประกันผู้ป่วยนอกแบบเหมาจ่ายอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะกว่าประกัน OPD แบบต่อครั้ง เพราะพบแพทย์ได้หลายครั้งในหนึ่งเดือน และวงเงินความคุ้มครองสูง ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องจ่ายค่ารักษาส่วนต่างเมื่อพักรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากนี้ ค่ารักษาพยาบาล OPD แบบเหมาจ่ายยังครอบคลุมไปถึงบริการพิเศษอื่นๆ อีกด้วย เช่น ค่าบริการ Telemedicine หรือค่ากายภาพ เป็นต้น

4. เบี้ยประกัน

แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่สุดก่อนจะทำประกัน OPD คือ การเช็กว่าราคาเบี้ยประกันภัยแพงเกินไปหรือไม่ หากเบี้ยประกันราคาสูงเกินไป จนทำให้จ่ายเบี้ยประกันไม่ได้ตลอดสัญญาแล้ว ย่อมต้องทำเรื่องขอเวนคืนกรมธรรม์ เพื่อขอคืนเบี้ยประกันที่ได้จ่ายไป แต่ทั้งนี้ ผู้เอาประกันจะไม่ได้เงินคืนเต็มจำนวน ดังนั้นก่อนตัดสินใจทำประกัน OPD ควรวางแผนให้ดีว่าเราสามารถจ่ายเบี้ยได้ตลอดสัญญาหรือไม่ เพื่อไม่ให้เสียเบี้ยประกันที่ได้จ่ายไปโดยเปล่าประโยชน์

5. เครือโรงพยาบาลที่เข้าร่วม

นอกจากพิจารณาถึงเบี้ยประกันแล้ว จำนวนโรงพยาบาลคู่สัญญา ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะถึงแม้ว่าเบี้ยประกันจะต่ำแค่ไหนก็ตาม แต่หากโรงพยาบาลคู่สัญญามีน้อย และสถานที่ตั้งอยู่ไกล จนเดินทางไปรักษาไม่สะดวก ก็กลายเป็นว่าทำไปแล้วไม่คุ้มค่า ต้องกลับไปใช้สิทธิ์บัตรทอง หรือสิทธิ์ประกันกลุ่มของบริษัทตามเดิมได้

ประโยชน์ของประกัน OPD มีอะไรบ้าง?

หลายคนอาจคิดว่าประกัน OPD มีแค่การจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการทำประกัน OPD ยังมีประโยชน์อีกมากมายดังต่อไปนี้

  • ได้รับสิทธิ์การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลใกล้เคียง ข้อดีของประกัน OPD ข้อแรกคือ ทำให้เรารักษาตัวอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยกับโรงพยาบาลเอกชนใกล้บ้าน ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและค่าเดินทางได้

  • ลดหย่อนภาษี ประกัน OPD นอกจากจะช่วยให้รักษาตัวกับโรงพยาบาลใกล้เคียงได้แล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาท และเมื่อรวมกับสิทธิ์ลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตอื่นๆ แล้วจะลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท อย่างไรก็ตามสิทธิ์ลดหย่อนภาษีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อซื้อ OPD เป็นประกันสัญญาหลักเท่านั้น กล่าวคือ หากซื้อ OPD เป็นสัญญาแนบท้ายจะนำค่าเบี้ยไปลดหย่อนภาษีไม่ได้

  • ไม่ต้องสำรองจ่าย ปัญหาของมนุษย์เงินเดือนที่มีสิทธิ์สวัสดิการประกันผู้ป่วยนอก OPD กับทางบริษัท คือ เมื่อรักษาตัวแล้วจะต้องสำรองจ่ายก่อน แล้วค่อยทำเรื่องเบิกกับทางบริษัทในภายหลัง ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะได้รับเงินคืน และหลายคนไม่มีเงินมากพอที่จะสำรองเงินจ่ายออกไปก่อน แต่หากทำประกัน OPD เอาไว้แล้ว บริษัทประกันจะจ่ายเงินชดเชยให้ในทันที โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

Cloud Pocket ฟีเจอร์ MAKE by KBank ที่ให้จัดการค่าเบี้ยประกันได้ง่ายๆ

why-should-do-OPD-insurance.jpg

ลักษณะการจ่ายเบี้ยประกัน OPD คือ ต้องจ่ายเป็นรายงวดจึงจะได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง ทำให้มนุษย์เงินเดือนต้องวางแผนจ่ายเบี้ยให้ตรงเวลา หากลืมจ่ายจนเลยระยะเวลาผ่อนผันเมื่อไหร่ และต้องเคลมประกันขึ้นมาก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันที แต่ปัญหาจะหมดไปเมื่อรู้จักกับฟีเจอร์ Cloud Pocket จากแอป MAKE by KBank ที่ให้คุณจัดสรรเงินได้อย่างเป็นสัดส่วน

Cloud Pocket เป็นฟีเจอร์ที่ให้ผู้ใช้งานบริหารจัดการเงินด้วยตนเองผ่านการสร้างกระเป๋า Cloud Pocket โดยการตั้งชื่อต่างๆ เช่น กระเป๋าจ่ายเบี้ยประกัน กระเป๋าจ่ายค่าน้ำค่าไฟ กระเป๋าจ่ายค่าบ้าน ฯลฯ ซึ่งหลังจากเงินเดือนออกแล้ว ผู้ใช้งานก็สามารถโอนเงินจาก Cash Box เข้าสู่ Cloud Pocket แบบอัตโนมัติได้ ทำให้มีเงินพอจ่ายเบี้ยประกัน OPD เมื่อถึงเวลาครบกำหนดชำระแน่นอน

ยิ่งไปกว่านั้น แอปพลิเคชัน MAKE by KBank ยังเปิดโอกาสให้ชาว MAKE ซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ อย่างประกันชีวิตและสุขภาพ D Health Easy Care ที่ให้ความคุ้มครอง ดังนี้ Banner SEO_D Health.png

  • คุ้มครองครอบคลุมโรคระบาด โรคร้ายแรง รวมโรคอุบัติใหม่ และ อุบัติเหตุ

  • ไม่จำกัดวงเงินค่าห้อง ค่ารักษา/ปี คุ้มครองสูงสุด 700,000 บาท/ครั้ง นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานได้ทุกโรงพยาบาล

  • รับเงินก้อนเพิ่ม เมื่อตรวจเจอมะเร็งทุกระยะ ทั้งระยะเริ่มต้น-ลุกลาม

  • คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD

  • มีเงินชดเชยรายได้ รักษาได้ทุกโรงพยาบาล

  • สมัครง่ายผ่านออนไลน์ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

  • เบี้ยเริ่มต้น 1,298 บาท/เดือน

*รับประกันชีวิตโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต บมจ. ธนาคารกสิกรไทยในฐานะนายหน้านิติบุคคล ใบอนุญาตเลขที่ ช00024/2546 รับประกันชีวิตโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

**ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ประกัน OPD คือ ประกันที่ช่วยปกปิดความเสี่ยงสุขภาพแม้อาการเพียงเล็กน้อย!

OPD คือ การรักษาสำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง หากทำประกัน OPD เอาไว้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าเดินทาง ด้วยการรักษาตัวกับโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ ที่สำคัญการทำประกัน OPD ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ซื้อแล้วได้ความคุ้มครองทันที และถ้าไม่รู้ว่าจะทำประกันสุขภาพที่ไหนดี ยุคนี้แค่เปิดแอปโมบายแบงก์กิ้งขึ้นมา ก็มีประกันสุขภาพหลากหลายแบบเสิร์ฟให้คุณถึงที่!

และหลังจากเลือกประกันสุขภาพ OPD ได้แล้ว ก็อย่าลืมดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank ควบคู่กันไปด้วย เพราะฟีเจอร์ Cloud Pocket จะช่วยให้คุณจัดสรรเงินได้อย่างเป็นสัดส่วน เงินเดือนออกเมื่อไหร่ แบ่งเงินเข้า Cloud Pocket ได้ทุกเมื่อ ทำให้มีเงินพอจ่ายเบี้ยประกันทุกงวด ไม่มีลืมจนต้องเวนคืนกรมธรรม์ แถมภายในแอปยังมีแผนประกันอื่นๆ ให้คุณเลือกอีกด้วย ยิ่งไปกว่านี้ ดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank แล้ว แค่ทำตาม Mission สนุกๆ ก็พร้อมลุ้นรางวัลได้ทุกเมื่อ Banner SEO.png

Back to Home

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ