Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

ทำบัญชีรายรับรายจ่ายง่ายๆ ใช้จ่ายไม่มีสะดุด ด้วย MAKE by KBank

Banner

การจัดการด้านการเงินอาจเป็นงานที่ท้าทายและซับซ้อนสำหรับทั้งบุคคลและผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องติดตามรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อเราใช้เครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า “บัญชีรายรับรายจ่าย” เพราะจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างง่ายดาย

นอกจากนี้บัญชีรายรับรายจ่ายยังทำให้ “การยื่นภาษี” ที่เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเจอในการดำเนินธุรกิจนั้นสะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถติดตามการทำธุรกรรมต่างๆ ในธุรกิจได้อย่างครบถ้วน ไม่ต้องมาปวดหัวทุกครั้งที่จะต้องทำการยื่นภาษีในแต่ละปี

ในบทความนี้จะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่ายที่สามารถทำได้จริง เพื่อสร้างบัญชีรายรับรายจ่าย ที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปพร้อมๆ กับแอปฯ MAKE by KBank

สารบัญบทความ

  1. ทำความรู้จัก บัญชีรายรับรายจ่าย
  2. ผู้ประกอบการ คนค้าขายต้องรู้! บัญชีรายรับรายจ่าย ทำกรณีใดบ้าง?
  3. หลักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากร
  4. ขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่าย
  5. ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย กรอกอย่างไรให้ถูกต้อง 6.ทำบัญชีรายรับรายจ่ายง่ายขึ้นด้วย แอป MAKE by KBank
  6. ดาวน์โหลด MAKE by KBank สมัครฟรี ใช้งานง่ายมากที่สุด

1. ทำความรู้จัก บัญชีรายรับรายจ่าย

บัญชีรายรับรายจ่าย คือ เครื่องมือทางการเงินที่จะถูกใช้เพื่อติดตามสถานะทางการเงินของบุคคลหรือธุรกิจ โดยจะแสดงรายได้ที่ได้รับและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งความแตกต่างระหว่างรายได้รวมและค่าใช้จ่ายรวมที่เกิดขึ้นที่เราเรียกกันว่า “กำไรหรือขาดทุนสุทธิ” จะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านการเงินของแต่ละบุคคลหรือธุรกิจในแต่ละช่วงเวลา

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีความสำคัญมาก ที่จะช่วยให้บุคคลหรือธุรกิจสามารถรับรู้ได้ถึงสถานะทางการเงินและประสิทธิภาพในการดำเนินงานของพวกเขา รวมถึงสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดสำหรับวางแผนการเงินในอนาคตต่อไป

2. ผู้ประกอบการ คนค้าขายต้องรู้! อาชีพประเภทไหนต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่ผู้ประกอบการและคนค้าขายต้องรู้ เพราะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามและวิเคราะห์สถานะทางการเงินของธุรกิจ และในส่วนนี้เราจะพูดถึงอาชีพอิสระซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • 1 อาชีพค้าขาย ธุรกิจร้านค้า งานบริการประเภทต่างๆ
  • 2 อาชีพรับจ้าง
  • 3 อาชีพเกษตรกร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่

อาชีพอิสระทั้ง 3 ประเภทนี้ถือเป็นผู้มีเงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 ของกรมสรรพากร ซึ่งจะใช้สูตรในการทำบัญชีรายรับรายจ่ายสูตรเดียวกันทั้งหมด คือ

รายได้ - รายจ่าย = กำไร/ขาดทุนของกิจการ

โดยการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะขึ้นอยู่กับวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจเลือก ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ การหักแบบเหมาร้อยละ 40 และ 60 และการหักตามจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาร้อยละ 40 และ 60: การเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา หมายความว่าผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องยื่นบัญชีรายรับรายจ่ายต่อกรมสรรพากร โดยจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราตาม “ ตารางอัตราการหักค่าใช้จ่าย เป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)

  2. การหักค่าใช้จ่ายตามจริง: การเลือกแบบที่สองนี้ ผู้ประกอบการจะต้องบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้มีสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายตามจริง

one million saving trips

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลบางส่วนอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่ละอาชีพ ผู้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำข้อมูลรายรับรายจ่ายในแต่ละวันใส่ลงในบัญชีที่ทำขึ้นได้อย่างถูกต้องต่อไป

3. หลักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากร

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากรเป็นการจัดทำบัญชีที่สอดคล้องกับหลักการทางการเงินและมาตรฐานที่กำหนดโดยกรมสรรพากร ซึ่งมีกฎเกณฑ์ดังนี้

  1. การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มช่องรายการให้เหมาะสมกับสภาพของกิจการได้ เช่น เพิ่มช่องรายการเงินสดที่มีการโอนเงินระหว่างบัญชี, เพิ่มช่องบันทึกรายการเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการของพนักงานหรือเพิ่มช่องบันทึกรายการเงินสดที่เกี่ยวกับการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการสอดคล้องกับกิจกรรมทางธุรกิจ

  2. ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นภาษาไทย ในกรณีที่ทำเป็นภาษาต่างประเทศ ผู้ประกอบการก็ต้องมีภาษาไทยกำกับไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าใจและตรวจสอบได้อย่างถูกต้อง

  3. ผู้ประกอบการจะต้องลงรายการในบัญชีรายรับรายจ่ายภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย เพื่อความครบถ้วนและป้องกันการตกหล่นของข้อมูล

  4. รายการที่นำมาลงในบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นมีข้อกำหนดดังนี้

    • ต้องมีเอกสารใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษี เพื่อประกอบและเป็นหลักฐานสำหรับรายการต่างๆ ในบัญชีรายรับรายจ่าย
    • การลงรายการรายรับรายจ่ายให้ลงเป็นยอดรวมของแต่ละวันทำการ
    • รายจ่ายที่นำมาลงในบัญชีรายรับรายจ่ายจะต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเท่านั้น
    • สำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้นสามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายได้เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ได้เป็นผู้ประกอบที่ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT
    • หากมีการขายสินค้า/ให้บริการ หรือซื้อสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการในวันที่ได้รับชำระหรือวันที่จ่ายชำระค่าสินค้า/บริการนั้น โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
  5. ผู้ประกอบการจะต้องสรุปยอดรายรับรายจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยรายงานที่สรุปยอดรายรับและรายจ่ายนี้จะต้องมีการระบุวันที่และรายละเอียดของรายการรับและจ่าย เช่น วันที่รับเงิน วันที่จ่ายเงิน จำนวนเงิน และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับและจ่ายเงินดังกล่าว ภายในเดือนนั้นๆ ไว้อย่างครบถ้วน

4. ขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่าย

การทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นส่วนสำคัญในการจัดการการเงิน ไม่ว่าคุณจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือทำธุรกิจ การเก็บบันทึกรายรับและรายจ่ายที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณตัดสินใจทางการเงินได้อย่างชาญฉลาด และเตรียมการสำหรับการยื่นภาษีของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น ในหัวข้อนี้เราจะอธิบายขั้นตอนการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบง่ายๆ 3 ขั้นตอน ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้จริง

ขั้นตอนที่ 1: บันทึกรายรับและรายจ่าย

ขั้นตอนแรกผู้ประกอบการจะต้องเริ่มบันทึกรายการรับและรายการจ่ายในทุกๆ วัน โดยกรอกรายละเอียดในตารางให้ครบถ้วน ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบภายหลัง สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ ผู้ประกอบการจะต้องลงรายการในบัญชีรายรับรายการจ่ายภายใน 3 วัน นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย โดยจะต้องบันทึกแค่รายการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 2: เตรียมหลักฐานให้พร้อม

ขั้นตอนต่อมา เมื่อบันทึกรายการรายรับรายจ่ายแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องเก็บหลักฐานของการรับหรือจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จหรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลที่อยู่ในตารางและสำหรับใช้ในการตรวจสอบในอนาคต

ขั้นตอนที่ 3: สรุปบัญชีในทุกๆ เดือน

ขั้นตอนสุดท้ายผู้ประกอบการจะต้องทำการสรุปยอดบัญชีรายรับรายจ่ายในทุกๆ สิ้นเดือน เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานของธุรกิจในเดือนนั้นๆ และเพื่อการคำนวณเงินได้สุทธิสำหรับการชำระภาษีส่วนบุคคลต่อไป

5. ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย กรอกอย่างไรให้ถูกต้อง

ตัวอย่างตารางรายรับรายจ่ายจากกรมสรรพากร

ในหัวข้อนี้ เราจะมาแนะนำแนวทางการกรอกแบบฟอร์มรายรับรายจ่ายที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและการตกหล่นของข้อมูล ซึ่งเราจะใช้แบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่ายจากกรมสรรพากรมาเป็นตัวอย่าง โดยมีรายละเอียดการกรอกแบบฟอร์มที่ถูกต้องดังนี้

  1. วัน/เดือน/ปี: ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ที่เกิดการทำธุรกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  2. รายการ: ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกรายละเอียดที่เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน เช่น รายได้จากการขายสินค้า รายจ่ายจากค่าเช่า บิลค่าน้ำ บิลค่าไฟฟ้า และเงินเดือน เป็นต้น โดยผู้ประกอบการจะต้องลงรายการในรายงานเงินสดรับ–จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามเกณฑ์สรรพากรที่เราได้กล่าวไปในข้างต้น
  3. รายรับ : ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกจำนวนเงินที่ได้รับตามรายละเอียดในช่องรายการ
  4. รายจ่าย (ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้า) : ช่องนี้มีไว้สำหรับบันทึกจำนวนเงินที่ใช้จ่ายออกไปเพื่อการซื้อสินค้าซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  5. รายจ่าย (ค่าใช้จ่ายอื่นๆ) : ช่องนี้มีไว้สำหรับกรอกจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  6. หมายเหตุ : ช่องนี้มีไว้สำหรับบันทึกหรืออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการรับหรือจ่ายนั้นๆ
  • เราจะใช้หน่วย บาท เป็นหน่วยของสกุลเงินที่กรอกในบัญชีรายรับรายจ่าย

สิ่งที่อยากแนะนำอีกหนึ่งอย่างคือ การใช้งาน Microsoft Excel สำหรับการทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดย Microsoft Excel จะทำให้คุณสามารถเพิ่มรายการรายรับรายจ่ายธุรกิจของคุณลงใน Spreadsheet ได้อย่างสะดวกสบาย และยังสามารถใช้ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์และฟังก์ชันอื่นๆ เพื่อคำนวณผลรวมของรายรับและรายจ่ายได้อย่างรวดเร็ว ไม่เพียงเท่านี้ คุณยังสามารถแสดงข้อมูลเหล่านั้นในรูปแบบของกราฟ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินธุรกิจของคุณแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนอีกด้วย

6. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายง่ายขึ้นด้วย แอป MAKE by KBank

Image2

สำหรับผู้ที่ต้องมานั่งจดบันทึกรายรับรายจ่ายประจำวัน แถมบางครั้งก็หลงลืมรายการใดๆ ไปบ้าง ทำให้คำนวณตัวเลขออกมาไม่ตรงกับความเป็นจริง ด้วยเหตุเหล่านี้เราจึงต้องมีตัวช่วยจัดการด้านการเงินอย่างแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ซึ่งแอปเก็บเงิน MAKE by KBank นี้จะช่วยให้การทำบัญชีรายรับรายจ่ายของคุณง่ายขึ้น โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลที่ต้องการจัดการรายรับรายจ่ายส่วนตัว นอกจากนี้คุณยังสามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายประจำวัน จัดหมวดหมู่ และติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณได้อย่างง่ายดาย แถมยังเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารกสิกรไทยของคุณได้อย่างลงตัว ทำให้สามารถทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต สามารถจัดการเรื่องเงินแบบง่ายๆ ได้ครบจบในที่เดียว

6.1 Expense Summary

คุณสมบัตินี้ของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank จะทำการจำแนกค่าใช้จ่ายออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายสำหรับบันเทิง ค่าชอปปิง ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการชำระบิล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายในหมวดหมู่ต่างๆ ได้อย่างชัดเจน และสะดวกกว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบดั้งเดิม

MAKE by KBank จะช่วยสรุปค่าใช้จ่ายรวม และค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดหมู่ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้คนที่ต้องการวางแผนการเงินทราบได้ว่าในเดือนนั้นๆ เสียค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่และเสียไปกับเรื่องใดบ้าง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและวางแผนการใช้เงินสำหรับเดือนถัดไปได้ดียิ่งขึ้น

6.2 Cloud Pocket

คุณสมบัติ Cloud Pocket ของแอปพลิเคชัน MAKE by KBank จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งกระเป๋าเงินออกได้โดยไม่มีขีดจำกัด โดยเราสามารถแบ่งกระเป๋าเงินแยกย่อยสำหรับเรื่องต่างๆ เช่น กระเป๋าสำหรับการใช้จ่าย กระเป๋าเก็บเงินแสน กระเป๋าเงินสำรองฉุกเฉิน หรือกระเป๋าสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เรามีความพร้อมสำหรับเรื่องต่างๆ ในชีวิต ถ้าหากเราต้องการใช้เงินในเรื่องใด ก็สามารถหยิบจับเงินในกระเป๋าเงินนั้นๆ มาใช้ได้ในทันที ไม่เพียงเท่านั้น MAKE by KBank ยังมีคุณสมบัติที่จะช่วยให้ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น Pop Pay ที่ทำให้เราสามารถโอนเงินได้ทันทีสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้กันในรัศมี 10 เมตร ผ่านระบบบลูทูธ, Chat Banking ที่ช่วยให้เรารู้ได้ทันทีว่าใครโอนเงินมาให้เราหรือเราโอนเงินออกไปให้ใคร โดยจะโชว์รายการในรูปแบบแช็ตที่เข้าใจง่ายแถมยังสามารถแนบโน้ตกับรูปเพิ่มเติมได้อีกด้วย และ Money Request ที่จะทำให้การเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้นั้นง่ายขึ้น เพราะผู้ใช้งานจะสามารถส่งรายการเรียกเก็บเงินคืนผ่านแอปพลิเคชัน MAKE ได้โดยไม่ต้องทวงให้เหนื่อย

7. ดาวน์โหลด MAKE by KBank สมัครฟรี ใช้งานง่ายมากที่สุด

หลังจากที่ทราบเกี่ยวกับขั้นตอนการทำรายรับรายจ่ายกันแล้ว เราจะมาทำความเข้าใจกับตัวแอปพลิเคชัน MAKE by KBank กันให้มากขึ้น โดยจะแนะนำวิธีการสมัครแอปฯ MAKE by KBank ที่ละเอียดทุกขั้นตอน ผู้อ่านสามารถทำตามได้ง่ายๆ และยังสามารถสมัครใช้งานแอปพลิเคชันนี้ได้ฟรีอีกด้วย

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและสมัครตามขั้นตอนที่ระบุเอาไว้

  • เปิดหน้าแอปพลิเคชัน กรอกหมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ตั้งรหัสผ่านสำหรับการเข้าใช้งานแอปพลิเคชันและตั้งชื่อผู้ใช้
  • อ่านรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน แล้วกด “เริ่มเลย”
  • อ่านเงื่อนไขการเปิดบัญชีแล้วกด “ยอมรับ”
  • สำหรับผู้ใช้งานที่มีแอปพลิเคชัน K PLUS อยู่แล้ว เลือก “เปิดบัญชีด้วย K PLUS” ทำการยืนยันตัวตนและสามารถเริ่มใช้งานได้ทันที
  • ในกรณีที่ยังไม่เคยใช้งานแอปพลิเคชัน K PLUS เลือก “เปิดบัญชีโดยกรอกข้อมูล”แล้วกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและกดยืนยัน

กรณีทำการยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชน

  • ค้นหาตู้ ATM ธนาคารกสิกรไทย หรือเครื่องที่มีสัญลักษณ์ยืนยันตัวตน (K CHECK ID)
  • เลือกเมนู “ยืนยันตัวตน” แล้วทำการสอดบัตรประจำตัวประชาชนในช่องที่ระบุ
  • รอจนดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วจะได้รับข้อความแจ้งว่าทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
  • เข้าสู่ขั้นต่อการดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันต่อไป

การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าผ่านแอปพลิเคชัน

เปิดแอปพลิเคชันอีกครั้งเพื่อทำสแกนใบหน้าตามที่แอปพลิเคชันระบุ เช่น หันหน้าซ้าย-ขวา กะพริบตา หน้าตรง ไม่สวมแว่นหรือเครื่องประดับที่ปิดปังใบหน้า ฯลฯ จากนั้นรอการประมวลผลเพื่อยืนยันความถูกต้อง หากไม่มีปัญหาใดๆ ก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที

เพียงทำตามขั้นตอนที่กล่าวไปตามลำดับ คุณก็สามารถสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ได้อย่างรวดเร็วและสามารถเริ่มใช้งานได้ในทันที

หากคุณกำลังมองหาเครื่องมือที่จะช่วยให้การจัดการด้านการเงิน เช่น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับธุรกิจหรือการทำตามฝันที่จะออมเงินล้านให้สำเร็จเพื่อให้พร้อมสำหรับกิจกรรมต่างๆ ในทุกช่วงของชีวิต แอปพลิเคชัน MAKE by KBank คือ คำตอบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ เพราะการทำบัญชีรายรับรายจ่ายผ่านคุณสมบัติ Expense Summary หรือการออมเงินผ่านคุณสมบัติ Cloud Pocket ของ MAKE by KBank จะทำให้การจัดการเงินของคุณนั้นเป็นไปอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ประสบปัญหาเก็บเงินไม่อยู่

ลองใช้วันนี้แล้วคุณจะรู้ว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนอีกต่อไป

ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ได้ที่ -> MAKE by KBank

อ้างอิง

  • กรมสรรพากร. (2565 23 มิถุนายน). วิธีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย. https://shorturl.at/nrKUV
  • กรมสรรพากร. (2563 21 พฤษจิกายน). ประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี. https://shorturl.at/nuLM8
  • กรมสรรพากร. (2563 21 พฤศจิกายน). ประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี. https://shorturl.at/nuLM8
  • กรมสรรพากร. (2565 23 มิถุนายน). วิธีการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย. https://shorturl.at/nrKUV
Back to Home

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ