ใครเก็บเงินไม่อยู่มาทางนี้! MAKE by KBank มีเคล็ดลับจัดการเงินให้คุณ - MAKE by KBank
Scan to Download
MAKE logo
MAKE logo

ใครเก็บเงินไม่อยู่มาทางนี้! MAKE by KBank มีเคล็ดลับจัดการเงินให้คุณ

Banner

เชื่อว่าหลายๆคนมีปัญหากับการจัดการเงินเดือน เช่น เงินไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือน หรือ สิ้นเดือนเงินหมด ทำให้ต้องไปขอคุณพ่อคุณแม่เพิ่ม หรือไม่ก็ยืมเพื่อน แต่ใครจะไปรู้ละว่าปัญหา “สิ้นเดือนเงินหมด” เป็นเหมือน ตัววัดสัญญาณเตือนสุขภาพการเงินของคุณ ระวังอย่าปล่อยให้สัญญาณนี้เกิดขึ้นบ่อย เพราะจะส่งผลที่สุขภาพการเงินในอนาคต รวมถึงแพลนในชีวิตของคุณในอนาคตด้วย

การจะมีสุขภาพการเงินที่ดีได้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทำได้ไม่ยาก หรือต้องใช้เวลาในการศึกษา เพราะจริง ๆ วิธีพื้นฐานที่ทำให้คุณมีสุขภาพการเงินที่ดีได้คือ การจัดการรายรับ-รายจ่าย ให้สมดุล

วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคสำหรับจัดการรายรับ-รายจ่าย หรือจัดการเงินเดือน ที่ทุกคนทำตามได้ง่าย ๆ เลย…

  1. อย่าปล่อยให้รายจ่ายมากกว่ารายรับ การที่เราจ่ายรัว ๆ อยากได้อะไรก็ซื้อ รู้ตัวอีกทีสิ้นเดือนเงินหมด เงินไม่พอ นั่นก็เป็นเพราะเราบริหารจัดการเงินเดือนได้ไม่ดีพอ สำหรับหลักการจัดการรายรับ-รายจ่าย ที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ เพิ่มรายรับ และลดรายจ่าย แต่สิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด และเริ่มได้เลย นั่นก็คือ ลดรายจ่าย เพราะฉะนั้นนำไปสู่เทคนิคที่ 2 คือวิธีจัดการรายจ่าย

  2. รวบรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน เขียนรายจ่ายของคุณทั้งหมดลงใน Excel หรือกระดาษ หลังจากนั้นจัดลำดับความสำคัญของค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เขียนมา วิธีนี้จะช่วยให้เห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และสามารถตัดออก เพื่อลดการใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ แต่การจะตัดค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนได้ เราต้องรู้ก่อนว่าค่าใช้จ่ายนั้นมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของเรามากน้อยขนาดไหน ตามที่จะเล่าต่อไป

  3. แบ่งประเภทรายจ่าย รายจ่ายสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

    • รายจ่ายคงที่ คือ รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุก ๆ เดือน ปรับลดหรือไม่จ่ายไม่ได้ หากค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมีผลต่อการใช้ชีวิต เช่น ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต รวมถึงรายจ่ายชิ้นใหญ่ ๆ เช่น ค่าบ้าน, ค่ารถ, ค่าประกัน, ค่าเทอม เป็นต้น
    • รายจ่ายผันแปร คือ รายจ่ายที่สามารถลด หรือตัดออกไปได้ ไม่มีส่วนนี้ก็สามารถดำเนินชีวิตปกติได้ ส่วนใหญ่เป็นของไม่จำเป็น เช่น ค่าปิ้งย่าง, ชาบู หรือ ของที่ไป CF มาตอนลดราคา เป็นต้น ซึ่งรายจ่ายส่วนนี้อยากให้ปรับ ลดได้ตามความพอดี บางทีเครียดไปก็ไม่ดีนะคะ
    • ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและลงทุน คือ ค่าใช้จ่ายที่กันไว้สำหรับอนาคต หรือ เป้าหมายต่าง ๆ เช่น ซื้อรถ, ซื้อบ้าน หรือเรียนต่อ เป็นต้น โดยควรกันไว้ประมาณ 20% ของรายได้ต่อเดือน หรือจะเอาเงินส่วนนี้ไปลงทุนตามความเสี่ยงที่ตัวเองรับได้ก็ได้เช่นกัน
  4. หาตัวช่วยที่ดี การจัดการรายรับ-รายจ่าย หรือการจัดการเงินเดือน อาจไม่ใช่เรื่องง่ายของสำหรับทุกคน เพราะฉะนั้นการที่มีตัวช่วยดี ๆ น่าจะเป็นไอเดียที่ดีสำหรับคนที่พึ่งเริ่มต้นจัดการรายรับ-รายจ่ายใช่ไหมคะ และวันนี้อยากจะนำเสนอ แอพพลิเคชัน MAKE by KBank ให้ทุกคนลองใช้กันค่ะ

MAKE by KBank ช่วยจัดการเงินรายรับ-รายจ่าย ให้ง่ายขึ้น ได้ยังไงนะ?

แอพนี้เป็นแอพที่รวมตัวกันระหว่างแอพจัดการเงิน และแอพทำธุรกรรมการเงินเข้าไว้ด้วยกันในที่เดียวเลย ทำให้เราสามารถจัดการรายรับ-รายจ่าย หรือจัดการเงินเดือนได้เป็นสัดส่วน แถมยังโอน จ่าย ถอน ได้อีกด้วย หากใครดาวน์โหลดแอพนี้แล้ว จำเป็นต้องเปิดบัญชี E-Savings ก่อน แต่เปิดง่ายมากผ่านแอพนี้ได้เลย หลังจากเปิดบัญชีเสร็จแล้วก็เริ่มจัดการเงินได้เลย !

MAKE by KBank มีฟีเจอร์ที่ใช้จัดการเงิน เรียกว่า ฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่สามารถแบ่งเงินในบัญชีออกเป็นกระเป๋าเงินย่อย ๆ ในแอพนี้ เราจะสร้างกี่ Cloud Pocket ก็ได้ตามใจ หลังจากสร้าง Cloud Pocket เป็นหลาย ๆ กระเป๋าแล้วจะเป็นหน้าจอแบบนี้ค่ะ

Image2

เพราะฉะนั้นสามารถสร้าง Cloud Pocket ตามรายจ่ายแต่ละประเภทที่เรามาข้างต้นได้เลย ตัวอย่างเช่น

Cloud Pocket สำหรับรายจ่ายคงที่

Image2

Cloud Pocket สำหรับรายจ่ายผันแปร

Image2

Cloud Pocket สำหรับ ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและลงทุน สามารถตั้งเป้าหมายสำหรับเงินในอนาคตได้ด้วยว่าจะกันเงินไว้จ่ายหรือซื้ออะไรเท่าไหร่ มีแถบแสดงให้เห็น process อีกด้วยว่าเก็บเงินใกล้ถึงเป้าหมายรึยัง

Image2

ข้อดีของการแบ่งรายจ่ายต่าง ๆ ด้วย Cloud Pocket คือ จะช่วยให้ทุกคนเห็นภาพรวมรายจ่ายของตัวเอง (Visualization) ช่วยจัดการเงินเดือน และช่วยสร้างวินัยทางการเงินของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อเราแบ่งเงินเป็นส่วน ๆ แยกกันชัดเจน รายจ่ายต่าง ๆ จะไม่ปนกัน และควบคุมตัวเองสำหรับรายจ่ายที่ฟุ่มเฟ่ยได้อีกด้วย (ห้ามช้อปเกินเงินใน Cloud Pocket นะ !)

Image2

ยกตัวอย่างให้ดูว่าทำไมใช้ Cloud Pocket แล้วรายจ่ายจะไม่ปนกัน คือ เวลาไปกินบุพเฟต์กับเพื่อน ๆ เงินที่ต้องโอนให้เพื่อนก็จะออกจาก Cloud Pocket ค่าบุพเฟต์เลย เพราะฉะนั้นมั่นใจได้เลยว่ามีเงินสำหรับรายจ่ายคงที่ หรือรายจ่ายจำเป็นแน่นอน

Image2

จาก 4 เทคนิคจัดการรายรับ-รายจ่าย ที่แนะนำมาข้างต้น ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ตามรูปแบบของตัวเองได้ เพราะการจัดการเงินมีได้หลากหลายรูปแบบ หลายสไตล์ เช่น เด็กวัยรุ่น วัยเรียน อาจจะมีเป้าหมายในการจัดการเงินเพื่อให้มีเงินซื้อของที่อยากได้ หรือวัยทำงานพอมีภาระมากขึ้น อาจจะต้องโฟกัสการจัดการเงินเดือนในแต่ละเดือน หรือเก็บเงินเพื่ออนาคต

แต่อย่าลืมสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการจัดการรายจ่าย-รายจ่ายให้ดี อย่าให้รายจ่ายมากกว่ารายรับ เพราะสุขภาพการเงินที่ดี เริ่มต้นจากการมีการจัดการเงินที่ดี และอย่าลืม Cloud Pocket ฟีเจอร์ดี ๆ จาก MAKE by KBank นะคะ

สามารถดาวน์โหลด แอพพลิเคชัน MAKE by KBank ได้ที่นี่

หรืออ่านบทความเกี่ยว Cloud Pocket เพิ่มเติมได้เลย จะได้ไม่จัดการเงิน เดือนชนเดือน

Back to Home