สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

IPD คืออะไร คำที่ต้องเข้าใจก่อนทำประกัน

what-is-ipd.jpg ถ้าหากใครกำลังวางแผนทำประกันชีวิตเอาไว้ต้องคุ้นๆ กับคำว่า IPD อย่างแน่นอน ซึ่งหลายคนไม่รู้ว่า IPD คืออะไร ทำให้ซื้อประกันราคาสูงโดยไม่จำเป็น ทั้งที่ตนเองมีสิทธิ์ในการเคลมค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมถึง IPD อยู่แล้ว ดังนั้น เราจะพามาหาคำตอบกันว่า IPD คืออะไร และพนักงานออฟฟิศทำไมต้องทำประกันชีวิตเอาไว้

สารบัญบทความ

IPD คือการรักษาแบบใด ทำไมถึงต้องรู้ก่อนตัดสินใจทำประกัน

IPD คืออะไร แบบไหนถึงจะเรียกว่าการรักษาแบบ IPD?

ชวนทำความรู้จักว่า IPD ต่างจาก OPD อย่างไร?

ประกัน IPD คืออะไร เลือกประกันแบบไหนถึงจะคุ้มครองการรักษาแบบ IPD

เลือกประกัน IPD ด้วยตนเอง ทำได้อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ของประกัน IPD ที่น่ารู้

ฟีเจอร์ MAKE by KBank ตัวช่วยจัดสรรเงินในกระเป๋าให้จ่ายเบี้ยประกันได้ทุกงวด

ประกัน IPD คือ ประกันสุขภาพที่ทำแล้ว ไม่มีจ่ายเบี้ยทิ้ง

IPD คืออะไร แบบไหนถึงจะเรียกว่าการรักษาแบบ IPD?

In Patient Department หรือ IPD คือ คำศัพท์ทางการแพทย์สำหรับใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการรุนแรง หรืออาการอื่นๆ ที่ต้องแอดมิท (นอนโรงพยาบาล) เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง และนอกจากจะเป็นคำศัพท์ที่พบบ่อยในโรงพยาบาลแล้ว ยังพบได้บ่อยในประกันอีกด้วย เช่น ประกัน IPD ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาในกรณีเป็นผู้ป่วยใน โดยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลระหว่างพักฟื้นในแผนก IPD ให้ทั้งหมด อาทิ ค่าห้องพัก ค่าผ่าตัด รวมไปถึงจ่ายเงินชดเชยรายได้ให้อีกด้วยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์

ชวนทำความรู้จักว่า IPD ต่างจาก OPD อย่างไร?

หากเดินเข้าไปในโรงพยาบาล นอกจากจะเจอคำว่า IPD แล้ว ยังพบเห็นคำว่า OPD ได้โดยทั่วไป ซึ่ง OPD คือ Out Patient Department หมายถึงคำใช้เรียกกลุ่มผู้ป่วยนอก ที่รักษาตัวด้วยอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ท้องเสีย เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นไข้ตามฤดูกาล แต่ก็มีบางกรณีที่จากเดิมรักษาจาก OPD แล้วโอนย้ายไปรักษาแผนก IPD กล่าวคือ อาการของโรครุนแรงมากยิ่งขึ้น จนต้องแอดมิทเข้าโรงพยาบาลนั่นเอง

ซึ่งจากกรณีที่ป่วยหนักขึ้นจนต้องแอดมิท เมื่อมีการเปลี่ยนแผนการรักษาขึ้นมากะทันหันแล้วทำแค่ประกัน OPD เอาไว้ ส่วนต่างค่ารักษาพยาบาล IPD ผู้เอาประกันจะต้องออกเองทั้งหมด นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงต้องมองหาว่าจะทำประกันสุขภาพที่ไหนดี ที่คลอบคลุมครบเงื่อนไขที่ต้องการ เพื่อได้ความคุ้มครองทั้งการรักษาแบบ OPD และ IPD what-is-in-patient-department-ipd.jpg

ประกัน IPD คืออะไร เลือกประกันแบบไหนถึงจะคุ้มครองการรักษาแบบ IPD

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าประกันIPD คือ ประกันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น อย่างไรก็ตามยังมีแผนประกันอื่นๆ ที่คุ้มครองถึงเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วย IPD อีกด้วย นอกเหนือจากประกันสุขภาพ IPD โดยตรง เช่น ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง และประกันอุบัติเหตุ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง ประกันสุขภาพประเภทนี้จะคุ้มครองโรคร้ายแรงที่มีค่ารักษาพยาบาลสูงโดยเฉพาะ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคทางสมอง ฯลฯ ที่มีโอกาสจะต้องเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วย IPD และประกันสุขภาพโรคร้ายแรงบางกรมธรรม์จะสามารถซื้อประกันชีวิตแนบท้ายสัญญาเพิ่มเติมได้ เพื่อให้คนข้างหลังมีเงินก้อนในวันที่เราจากไปแล้วได้ด้วย

  2. ประกันอุบัติเหตุ IPD คือ การรักษาแบบผู้ป่วยใน ซึ่งประกันอุบัติเหตุส่วนใหญ่จะคุ้มครองการรักษาในลักษณะดังกล่าวอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ ควรพิจารณาเงื่อนไขในกรมธรรม์ด้วยว่าคุ้มครองจากอุบัติเหตุในกรณีใดบ้างเพราะหากเกิดอุบัติเหตุนอกเหนือจากข้อกำหนดในกรมธรรม์ ประกันอุบัติเหตุจะไม่คุ้มครอง

เลือกประกัน IPD ด้วยตนเอง ทำได้อย่างไรบ้าง

การเลือกซื้อประกันมีระยะเวลาจ่ายเบี้ยประกัน

นานมาก ตั้งแต่ 5 ปี 10 ปี ไปจนถึง 20 ปีเลยทีเดียว จึงต้องคิดให้ดีก่อนซื้อประกัน โดยมีเทคนิคน่าสนใจที่ให้คุณเลือกประกัน IPD ได้เหมาะกับตนเองดังต่อไปนี้

1. วงเงินความคุ้มครอง

วงเงินความคุ้มครองกับแผนประกันผู้ป่วยใน IPD เป็นของคู่กัน โดยกลุ่มอาการโรคที่ต้องรักษาด้วยการแอดมิทเข้าโรงพยาบาล ค่ารักษาจะสูงกว่าโรคทั่วไป ทำให้ต้องคำนึงถึงวงเงินความคุ้มครองเป็นพิเศษกับประกัน IPD เพราะถ้าวงเงินไม่พอค่ารักษาพยาบาล ผู้เอาประกันต้องจ่ายค่ารักษาส่วนต่างเอง

วิธีการตรวจสอบว่าวงเงินความคุ้มครองมากเพียงพอหรือไม่ ให้ลองพิจารณาจากค่ารักษาของโรงพยาบาลที่ต้องการเข้ารักษา หากมีแนวโน้มว่าโรงพยาบาลดังกล่าวคิดค่ารักษาแพงก็ควรเลือกทำแผนประกัน IPD วงเงินสูง จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องจ่ายค่ารักษาส่วนต่าง

2. กลุ่มโรคที่ไม่คุ้มครอง

คนส่วนใหญ่มักเลือกทำประกันสุขภาพกับแผนที่เสนอเบี้ยประกันต่ำที่สุด โดยมองข้ามกลุ่มโรคที่บริษัทประกันไม่คุ้มครอง เช่น โรคไทรอยด์ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง ฯลฯ และทำประกันโดยไม่ตอบคำถามสุขภาพตามจริง ทำให้เมื่อเคลมประกันแล้ว บริษัทประกันตรวจพบภายหลังว่าเคยรักษาด้วยโรคกลุ่มที่ไม่คุ้มครองมาก่อน บริษัทประกันก็สามารถปฏิเสธการเคลมประกันได้ ด้วยเหตุนี้จึงควรทำประกันตั้งแต่สุขภาพยังแข็งแรง จะได้ไม่ติดเงื่อนไขด้านสุขภาพ และยังจ่ายเบี้ยต่ำกว่ากลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว

3. เลือกประกันที่ให้ทำตั้งแต่อายุยังน้อย

อายุของผู้ทำประกันมีผลต่อการคิดเบี้ยประกันแผนกIPD เพราะยิ่งอายุมากเท่าไหร่ เบี้ยประกันก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น เพราะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพมากกว่าเดิม ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรเลือกประกันที่ให้ทำตั้งแต่อายุช่วง 20-30 ปี และคุ้มครองยาวไปจนถึงวัยเกษียณ เนื่องจากเบี้ยประกันจะยังไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับประกันสุขภาพของผู้สูงอายุ

4. มีสวัสดิการรักษาพยาบาลอยู่แล้วเลือกประกันแบบแยกค่าใช้จ่ายดีกว่า

เบี้ยประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย เพราะประกันสุขภาพแบบแยกค่าใช้จ่ายแยกความคุ้มครองเป็นรายการ ซึ่งทำให้เลือกได้ว่าต้องการความคุ้มครองส่วนใดเพิ่มเป็นพิเศษตามความต้องการเหมาะกับผู้ที่มีสิทธิ์ประกันสุขภาพตามสวัสดิการของที่ทำงานอยู่แล้ว แต่ต้องการความคุ้มครองมากกว่าเดิม

5. บริการอื่นๆ ของบริษัทประกัน

แต่ละบริษัทจะมีบริการเสริมที่แตกต่ากัน เช่น บริการทางการแพทย์ที่มากยิ่งขึ้น เช่น เลือกรักษาตัวกับแพทย์ทางไกลจากโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลกได้ ทำให้คุณได้รับทางเลือกในการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม รวมไปถึงช่วยจ่ายค่าล้างไต หรือค่าเคมีบำบัด เป็นต้น

ประโยชน์ของประกัน IPD ที่น่ารู้

การทำประกัน IPD เอาอาจจะถูกมองว่าเป็นการจ่ายเบี้ยทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ แต่จริงๆแล้วประโยชน์ของประกัน IPD คือการทำให้คุณมีเบาะรองรับตลอดเวลาเจ็บป่วย และยังมาพร้อมกับข้อดีอีกมากมาย

ประโยชน์ของประกัน IPD คืออะไรบ้าง?

  • ได้รับสิทธิ์ตรวจสุขภาพฟรี ประกัน IPD บางกรมธรรม์จะให้สิทธิ์ผู้ทำประกันสามารถตรวจสุขภาพฟรีกับโรงพยาบาลในเครือได้ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ทำให้ในกรณีที่ตรวจพบโรคร้ายแรง ผู้เอาประกันจะสามารถเข้ารักษาได้ไว

  • ลดหย่อนภาษีเงินได้ เบี้ยประกันสุขภาพส่วนตัวสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุด 25,000 บาท และยังสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่มาร่วมหักลดหย่อนได้อีกด้วยสูงสุด 15,000 บาท

ฟีเจอร์ MAKE by KBank ตัวช่วยจัดสรรเงินในกระเป๋าให้จ่ายเบี้ยประกันได้ทุกงวด

the-difference-between-ipd-and-opd.jpg ไม่ว่าจะประกัน OPD หรือประกัน IPD ก็มีลักษณะการจ่ายเบี้ยประกันเหมือนกัน จ่ายเบี้ยเป็นรายงวดตามที่บริษัทประกันกำหนด ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะการจ่ายเบี้ยได้ 3 แบบหลักๆ ได้แก่ จ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี ประกันสุขภาพหลายกรมธรรม์มีภาระผูกพันธ์ระยะยาว ทำให้ผู้ที่สนใจซื้อควรวางแผนการเงินเพื่อให้มีเงินสำหรับจ่ายเบี้ยประกันให้ได้ตรงเวลา เพราะถ้าหากลืมจ่ายจนกรมธรรม์ขาดอายุขึ้นมา จะทำให้เคลมประกันไม่ได้เมื่อต้องการ

ตัวช่วยในการแบ่งเงินให้เป็นสัดส่วนแอป MAKE by KBank มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่สามารถแบ่งเงินใน 1 บัญชีได้เป็นหลายกระเป๋าย่อยที่เรียกว่า Cloud Pocket โดยสามารถ ตั้งชื่อ เปลี่ยนรูป ตั้งเป้าหมายเงินที่ต้องการเก็บในCloud Pocket เช่น กระเป๋าจ่ายค่าประกัน กระเป๋าค่ากินใช้ กระเป๋าเงินสำรองฉุกเฉิน ฯลฯ รับรองว่าถึงเวลาจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพ IPD เมื่อไหร่ มีเงินพอจ่ายไม่มีลืมแน่นอน

หากคุณกำลังมองหาประกัน IPD ที่ตอบโจทย์! ประกันชีวิตและสุขภาพ D Health Easy Care สามารถซื้อได้ผ่านแอป MAKE by KBank เลย Banner SEO_D Health.png

  • คุ้มครองครอบคลุมโรคระบาด โรคร้ายแรง รวมโรคอุบัติใหม่ และ อุบัติเหตุ

  • ไม่จำกัดวงเงินค่าห้อง ค่ารักษา/ปี คุ้มครองสูงสุด 700,000 บาท/ครั้ง นอนห้องเดี่ยวมาตรฐานได้ทุกโรงพยาบาล

  • รับเงินก้อนเพิ่ม เมื่อตรวจเจอมะเร็งทุกระยะ ทั้งระยะเริ่มต้น-ลุกลาม

  • คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD

  • มีเงินชดเชยรายได้ รักษาได้ทุกโรงพยาบาล

  • สมัครง่ายผ่านออนไลน์ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

  • เบี้ยเริ่มต้น 1,298 บาท/เดือน

รับประกันชีวิตโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต บมจ. ธนาคารกสิกรไทยในฐานะนายหน้านิติบุคคล ใบอนุญาตเลขที่ ช00024/2546 รับประกันชีวิตโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ประกัน IPD คือ ประกันสุขภาพที่ทำแล้ว ไม่มีจ่ายเบี้ยทิ้ง

IPD คือ การรักษาพยาบาลสำหรับผู้ป่วยในที่ต้องแอดมิทในโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งหากทำประกัน IPD เอาไว้ จะครอบคลุมทุกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างพักฟื้น และเบี้ยประกันที่ได้จ่ายไป ก็นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ดังนั้นการทำประกันแผนก IPD ติดไว้จะทำให้เราเบาใจ เมื่อเกิดการรักษาหรือเจ็บป่วยที่ไม่คาดฝัน

ทั้งนี้ อย่างที่ทราบกันดีกว่าการจ่ายเบี้ยประกัน IPD ตลอดสัญญาเป็นเรื่องยาก แต่ใช้แอปพลิเคชัน MAKE by KBank แล้ว การเก็บเงินจ่ายค่าเบี้ยประกันทุกเดือนด้วยฟีเจอร์ Cloud Pocket จะช่วยให้การวางแผนการเงินของคุณเป็นสัดส่วนมากขึ้น พร้อมรับดอกเบี้ยเงินฝากถึง 1.5% ต่อปี* ดาวน์โหลดแอป MAKE by KBank ได้ตั้งแต่วันนี้ที่ PlayStore หรือ App Store

Banner SEO.png

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ