สามเหลี่ยมทางการเงินคืออะไร เทคนิควางแผนการเงินที่ควรรู้ - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

สามเหลี่ยมทางการเงินคืออะไร เทคนิควางแผนการเงินที่ควรรู้

financial-pyramid.jpg

เราต่างได้ยินเทคนิคการวางแผนการเงินส่วนบุคคลมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเงินเก็บทันทีเมื่อเงินเดือนออก หรือทฤษฎีไห 6 ใบ ที่ให้แบ่งเงินออกเป็น 6 ส่วน และสามเหลี่ยมทางการเงิน (Financial Pyramid) ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่มีประโยชน์ไม่แพ้วิธีอื่น เพราะช่วยสร้างฐานการเงินได้อย่างมั่นคง จนต่อยอดให้เงินทำงานแทนเราได้ ถ้าอยากรู้ว่าสามเหลี่ยมทางการเงินประกอบด้วยอะไรบ้าง? ในบทความนี้มีคำตอบให้แล้ว!

สารบัญบทความ

  • สามเหลี่ยมทางการเงิน (Financial Pyramid) คืออะไร มีกี่องค์ประกอบ
  • 4 ขั้นตอนที่นำทุกคนไปสู่สามเหลี่ยมทางการเงิน
  • ขั้นที่ 1 การบริหารการเงิน
  • ขั้นที่ 2 การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  • ขั้นที่ 3 การจัดการเป้าหมายชีวิตสำหรับระยะต่างๆ
  • ขั้นที่ 4 การลงทุนและส่งต่อความมั่งคั่ง
  • ข้อควรระวังของสามเหลี่ยมทางการเงินที่ควรรู้
  • สร้างสามเหลี่ยมทางการเงินด้วยตนเอง ผ่านแอปจัดจ่ายจด MAKE by KBank
    • Cloud Pocket
    • Schedule Transfer
    • แผ่นออมเงิน
    • Expense Summary
  • สามเหลี่ยมทางการเงิน ทุกคนสร้างได้ หากมีวินัยทางการเงินที่ดี

สามเหลี่ยมทางการเงิน (Financial Pyramid) คืออะไร มีกี่องค์ประกอบ

สามเหลี่ยมทางการเงิน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปิรามิดทางการเงิน เป็นวิธีวางแผนการเงินที่เหมาะแก่ผู้เริ่มวัยทำงาน เพราะใช้เวลานานกว่าจะถึงจุดสูงสุดทางการเงิน จนให้เงินทำงานแทนตนเองได้ ซึ่งสามเหลี่ยมทางการเงิน มีองค์ประกอบทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1. ส่วนฐาน 2. ส่วนลำตัว และ 3. ส่วนยอด โดยผู้ออมจะถึงส่วนยอด หรือจุดสูงสุดทางการเงินได้ก็ต่อเมื่อ ฐานและลำตัวพีระมิดมีความแข็งแรงเพียงพอ ไม่ล้มไประหว่างทางเสียก่อน

สำหรับความหมายของฐาน ลำตัว และส่วนยอดของสามเหลี่ยมทางการเงิน มีดังต่อไปนี้

  • ฐาน : การบริหารเงินและการจัดการความเสี่ยง โดยฐานการเงินจะแข็งแรงได้ ก็ต่อเมื่อวินัยทางการเงินดี และมีการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตเอาไว้แล้ว
  • ลำตัว : การจัดการเป้าหมายชีวิตสำหรับระยะต่างๆ เช่น การแต่งงาน การซื้อบ้าน หรือการซื้อรถยนต์ เป็นต้น
  • ยอดพีระมิด : การนำเงินไปลงทุน และต่อยอดความมั่งคั่งถึงบุตรหลาน

4 ขั้นตอนที่นำทุกคนไปสู่สามเหลี่ยมทางการเงิน

financial-pyramid-component.jpg

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าองค์ประกอบของสามเหลี่ยมทางการเงินมีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ฐาน ลำตัว และยอดพีระมิด ซึ่งสามเหลี่ยมจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตาม 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 การบริหารการเงิน

ขั้นตอนแรกที่จะสร้างสามเหลี่ยมทางการเงินได้อย่างสมบูรณ์จำเป็นต้องมีฐานทางการเงินที่แข็งแกร่ง ซึ่งฐานทางการเงินนั้นเกิดจากวินัยทางการเงินที่ดี จนมีเงินเก็บสำรองยามฉุกเฉิน และเริ่มวางแผนเกษียณได้ ซึ่งเราแนะนำให้เก็บออม 10% ของเงินเดือนเป็นประจำ เพียงเท่านี้ก็จะมีเงินเก็บก้อนหนึ่งไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

ขั้นที่ 2 การบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ฐานของสามเหลี่ยมการเงิน นอกจากจะมีเงินสำรองยามฉุกเฉิน และการวางแผนเกษียณอายุแล้ว ฐานของพีระมิดก็ยังไม่เสร็จสมบูรน์ หากไม่วางแผนรับมือกับความเสี่ยงด้านสุขภาพและการเสียชีวิต เพราะเมื่อเกิดโรคร้ายแรงขึ้นแล้ว จะต้องเสียเงินเก็บทั้งหมดไปรักษาตัว ซึ่งเราสามารถปิดความเสี่ยงได้ด้วยการทำประกันชีวิต หรือแผนประกันสุขภาพที่เหมาะกับคุณ

ขั้นที่ 3 การจัดการเป้าหมายชีวิตสำหรับระยะต่างๆ

เมื่อมีเงินเก็บและจัดการความเสี่ยงได้ทั้งหมด บางคนก็เริ่มนำเงินไปเติมเต็มความฝันให้แก่ตนเอง เช่น จัดงานแต่งงาน ซื้อบ้าน หรือซื้อรถยนต์ ขั้นตอนนี้จึงต้องบริหารจัดการเงินให้ดี เพราะบางคนกู้เงินมามากเกินไป ทำให้เมื่อเงินเดือนออกก็นำเงินไปจ่ายหนี้จนไม่มีเงินเก็บ โดยเราแนะนำให้พยายามกู้ให้น้อยที่สุด และก่อหนี้ไม่เกิน 40% ของรายได้ เพื่อให้อย่างน้อยมีเงินเก็บ รวมทั้งมีเงินใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน

ขั้นที่ 4 การลงทุนและส่งต่อความมั่งคั่ง

หากจัดการเป้าหมายชีวิตในช่วงวัยกลางคนได้ทั้งหมดแล้ว ก็ถึงเวลามุ่งสู่ยอดพีระมิดของสามเหลี่ยมทางการเงิน ด้วยการนำเงินเย็นบางส่วน มาลงทุนในสินทรัพย์ที่เรามีความรู้ความเข้าใจ เช่น หุ้น หรือตราสารหนี้ เพื่อให้เงินช่วยทำงาน จนส่งต่อความมั่งคั่งเหล่านี้ให้แก่บุตรหลานได้ แต่ถ้าลงทุนไม่ถนัด และต้องการส่งต่อความมั่งคั่งในวันที่คุณจากไปแล้ว ก็สามารถเลือกทำประกันชีวิตแทนได้เช่นกัน

ข้อควรระวังของสามเหลี่ยมทางการเงินที่ควรรู้

สามเหลี่ยมทางการเงินเป็นความรู้ทางการเงินที่ควรเริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือ ควรเริ่มออมเงินทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีเงินเหลือก็นำเงินไปซื้อประกันปิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และหากเงินเดือนเพิ่มขึ้น ก็หาโอกาสซื้อบ้าน หรือรถยนต์ แล้วค่อยไปลงทุนในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม แทนที่จะสร้างฐานพีระมิดทางการเงินให้แข็งแกร่งด้วยการออมเงินอย่างสม่ำเสมอ แต่บางคนก็รีบร้อนนำเงินทั้งหมดไปลงทุนตามช่องทางต่างๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจำนวนมาก โดยขาดความรู้ความเข้าใจ จนสุดท้ายก็สูญเสียเงินต้นไปทั้งหมด และถ้าไม่เคยมีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินมาก่อน เมื่อลงทุนผิดพลาดก็ไม่พ้นต้องไปกู้หนี้ธนาคาร หรือยืมเงินจากคนรู้จัก ทำให้การไปถึงจุดสูงสุดของยอดพีระมิด อย่างการลงทุนจนมี Passive income และส่งต่อความมั่งคั่งให้บุตรหลาน ยิ่งเป็นเรื่องไกลตัวออกไป

ด้วยเหตุนี้การสร้างฐานพีระมิดให้แข็งแรง เริ่มสร้างฐานและลำตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงสำคัญมากกว่าการนำเงินไปลงทุนในครั้งเดียว เพราะเมื่อมีการลงทุนผิดพลาด หรือถูกปลดจากงานในช่วงที่อายุมากแล้ว เงินเก็บออมยามฉุกเฉิน ก็ช่วยให้เรารับมือกับเหตุดังกล่าวได้

สร้างสามเหลี่ยมทางการเงินด้วยตนเอง ผ่านแอปจัดจ่ายจด MAKE by KBank

financial-pyramid-use-case.jpg

การไปถึงยอดพีระมิดทางการเงิน จำเป็นต้องแบ่งเงินเป็นสัดส่วนทั้งเงินออม เงินประกันชีวิต หรือแม้แต่ค่าบัตรเครดิตรายเดือน การใช้แอปโมบายแบงก์กิ้งแบบเดิม จึงเป็นเรื่องยากที่จะจัดการเงินทั้งหมดในเวลาเดียวกันได้ เราจึงขอแนะนำตัวช่วยอย่างแอปจัดจ่ายจด “MAKE by KBank” แอปจัดการเงินของคนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ใช้งานง่ายดังต่อไปนี้

Cloud Pocket

ฟีเจอร์ที่จะให้คนทุกช่วงวัย แบ่งเงินได้อย่างเป็นสัดส่วนผ่านกระเป๋า Cloud Pocket ตามชื่อที่คุณต้องการ เช่น หากต้องการเก็บเงินสํารองฉุกเฉิน เพียงตั้งชื่อกระเป๋าว่า เงินสำรองฉุกเฉิน จากนั้นก็โอนเงินจาก Cashbox เข้าไปทุกเดือน เท่านี้ก็จะมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน หรือถ้าต้องการเก็บเงินซื้อบ้าน ก็สร้างกระเป๋าชื่อว่า บ้านในฝัน เมื่อถึงจุดหนึ่งมีเงินมากเพียงพอ ก็ซื้อบ้านได้ทุกเมื่อ

Cloud Pocket ไม่เพียงแต่สร้างกระเป๋าได้เท่านั้น แต่ยังสามารถแชร์การใช้งานร่วมกับสมาชิกในครอบครัวได้อีกด้วย ซึ่งเราเรียกฟีเจอร์นี้ว่า Shared Cloud Pocket โดยจะให้ผู้ใช้งานเลือกสมาชิกที่ต้องการแชร์กระเป๋าร่วมกัน เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวทางการเงินพร้อมกันว่า สมาชิกแต่ละคนนำเงินไปใช้จ่ายอย่างไรบ้าง ทำให้วางแผนจัดการเงินได้ดี จนมุ่งสู่ยอดสามเหลี่ยมทางการเงินได้

Schedule Transfer

สามเหลี่ยมการเงินเป็นเทคนิคเก็บเงินที่แบ่งเงินออกเป็นหลายส่วน ทำให้มีบางคนสร้างกระเป๋า Cloud Pocket เพื่อแบ่งเงินไว้รองรับเป้าหมายพีระมิดของตนเองไว้มากมาย ทั้งเงินออมฉุกเฉิน เงินออมวัยเกษียณ และเงินลงทุน และมักลืมโอนเงินจาก Cash Box เข้า Cloud Pocket ทาง MAKE by KBank จึงได้ออกแบบวิธีการแก้ปัญหาด้วยฟีเจอร์ Schedule Transfer ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานตั้งค่าโอนเงินล่วงหน้าจาก Cash Box เข้า Cloud Pocket ได้ทุกเมื่อได้ตามที่ต้องการ

แผ่นออมเงิน

แผ่นออมเงินเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ย่อยของ Cloud Pocket ซึ่งผู้ใช้งานจะใช้ฟีเจอร์นี้ได้ก็ต่อเมื่อตั้งชื่อ Cloud Pocket ว่า "แผ่นออมเงิน" เมื่อตั้งชื่อหรือใส่อีโมจิเสร็จแล้ว ระบบจะพาคุณไปพบกับน้องเมค ผู้ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานเริ่มสร้างรากฐานของ Wealth Management Pyramid ได้ เพราะน้องเมคจะกำหนดให้คุณออมเงินทุกวัน เมื่อเวลาผ่านไปก็จะมีเงินเก็บ และมีวินัยทางการเงิน จนฐานพีระมิดแข็งแรง

Expense Summary

การไปถึงยอดพีระมิดของสามเหลี่ยมทางด้านการเงิน นอกจากต้องมีวินัยทางการเงิน เก็บเงินได้อย่างสม่ำเสมอ การบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งฟีเจอร์ Expense Summary จะให้ผู้ใช้งานตรวจสอบรายการใช้จ่ายของตนเองย้อนหลังได้ทุกเมื่อ ทำให้มีเงินเหลือเก็บไปลงทุนต่อยอดตามที่ต้องการ

สามเหลี่ยมทางการเงิน ทุกคนสร้างได้ หากมีวินัยทางการเงินที่ดี

สามเหลี่ยมทางการเงิน คือ การบริหารจัดการเงินที่ให้ผู้ออม มีเงินลงทุนจนต่อยอดสร้างความมั่งคั่งให้แก่คนข้างหลังได้ โดยเน้นการบริหารจัดการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป ผ่านการสร้างฐานทางการเงินที่แข็งแรง และมีเงินเก็บพร้อมปิดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

และเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับสามเหลี่ยมการเงินของคุณ จะขาดผู้ช่วยบริหารจัดการเงินที่ดีอย่าง MAKE by KBank ไปไม่ได้ แอปพลิเคชันที่มาพร้อมกับฟีเจอร์การแบ่งเงินเป็นสัดส่วน ทั้งยังมีฟีเจอร์อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแผ่นออมเงิน Schedule Transfer หรือ Expense Summary ที่ให้คุณสร้างวินัยทางการเงินที่ดี จนมีฐานพีระมิดอันแข็งแกร่งด้วยตนเองได้ ที่สำคัญเมื่อฝากเงินเข้าไปใน MAKE by KBank ผู้ฝากยังได้รับดอกเบี้ยแบบจุกๆ ถึง 1.5% ต่อปี ซึ่งมากพอๆ กับเงินฝากแบบประจำอีกด้วย

กลับไปหน้าแรก