สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

เงินสํารองฉุกเฉิน ต้องเก็บเท่าไหร่ถึงจะพอ

emergency-fund-why-it-matters.jpg รายรับสะดุดแต่รายจ่ายยังคงเดินเหมือนเดิม สถานการณ์ในตอนนี้เรียกว่าไม่มีอะไรแน่นอนเลยจริงๆ มีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้อยู่ตลอด บางเรื่องก็มาแบบกะทันหันตั้งตัวไม่ทัน ทั้งเรื่องโรคภัย ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม และโดยเฉพาะโรคระบาดโควิค-19 ที่เราทุกคนได้รับผลกระทบร่วมกัน

เหตุการณ์ที่ทำให้ชีวิตเราต้องสะดุดมีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต

  • งาน บริษัทปิดกิจการ
  • เจอภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ทรัพย์สินเสียหาย/สูญหาย
  • เจ็บป่วยกะทันหันส่งผลต่อการใช้ชีวิต
  • คนในครอบครัวเจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาลสูง
  • อุบัติเหตุร้ายแรง / การเสียชีวิตของคนในครอบครัว

นี่เป็นเหตุผลที่เราควรจะมี เงินสำรองฉุกเฉิน หรือ การออมเพื่อสำรองฉุกเฉิน เผื่อไว้ในชีวิตด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมักจะมองข้ามไป เพราะเราอาจจะคิดว่าตอนนี้มีเงินเก็บเพียงพอแล้วแต่ความจริงเราควรมีทั้งเงินเก็บและกันเงินส่วนหนึ่งสำหรับเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน เพื่อใช้ในยามจำเป็นหรือตอนที่ต้องใช้เงินสำรองฉุกเฉินจริง ๆ ในบทความนี้เราเลยขอมาอธิบายว่า การออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน คืออะไร และทำไมเงินสำรองฉุกเฉินถึงสำคัญกับชีวิตของคุณ

เงินสำรองฉุกเฉิน คืออะไร

เงินสำรองฉุกเฉิน คือ เงินที่เก็บไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือการออมเพื่อสำรองฉุกเฉิน กรณีที่ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ เช่น ตกงาน อุบัติเหตุ เจ็บป่วย ซ่อมแซมบ้าน รถ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่คาดคิด โดย เงินสำรองฉุกเฉิน ควรเก็บไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง เบิกถอนได้ทันที เช่น บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น เพื่อให้สามารถถอนออกมาใช้จ่ายในยามฉุกเฉินหรือเร่งด่วนได้โดยง่ายนั่นเอง

ความสำคัญของเงินสำรองฉุกเฉิน

จริง ๆ แล้วเงินสำรองฉุกเฉิน นั้นเป็นวิธีเก็บเงินที่มีประโยชน์ต่อทั้งตัวเราเองและคนใกล้ชิด โดยความสำคัญของเงินสำรองฉุกเฉินมีดังนี้

  • ช่วยให้เรามีเงินใช้ยามฉุกเฉิน โดยไม่ต้องไปกู้ยืมเงินจากผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาระหนี้สินตามมาได้
  • ช่วยให้เรารู้สึกอุ่นใจและมั่นคงทางการเงินมากขึ้น เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้น เราจะไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทอง เพราะมีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่
  • ช่วยให้เราสามารถวางแผนการเงินอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลงทุน ซื้อบ้าน ซื้อรถ เป็นต้น

เงินสำรองฉุกเฉิน ต้องมีเท่าไหร่ถึงจะพอ

เงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไร เป็นคำถามที่หลายคนน่าจะสงสัยกันมาก แต่ความจริงแล้วคงตอบเป็นตัวเลขหรือเปอร์เซ็นต์ได้ยาก เพราะแต่ละคนมีรายรับและค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ถ้าบอกว่าต้องคำนวณเป็นรายคนของใครของมันก็ไม่ผิด แต่ไม่ต้องไปหาสูตรให้วุ่นวายคิดง่ายๆ ขอแค่เก็บเงินสำรองฉุกเฉินตามสไตล์ที่เราสะดวก แต่ทั้งนี้การเก็บเงินตามเป้าหมายจะต้องทำอย่างต่อเนื่องมีความสม่ำเสมอเป็นสำคัญ

แต่สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ทางการเก็บเงินมากๆ เรามีเทคนิคในการเก็บ เงินสำรองฉุกเฉิน แบบง่ายๆ มาฝากกัน

1. รู้รายได้ของตัวเอง

สำหรับมนุษย์เงินเดือนเราจะรู้ได้รายแน่นอนของตัวเอง และสามารถจัดการกับค่าใช้จ่ายได้ง่าย เพื่อให้เก็บเงินตามเป้าหมายได้สำเร็จก็ควรจะมีจำนวนเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3 เท่าของเงินเดือน เช่น เงินเดือน 30,000 บาท ก็ควรจะตั้งเป้าของเงินสำรองฉุกเฉิน ไว้ที่ 90,000 บาท แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องหามาให้ได้ทีเดียว 90,000 นะ แต่ให้เราค่อยๆ เก็บสะสมไปเรื่อยๆ เป็นการคำนวณเผื่อไว้ในกรณีที่อาจจะตกงาน รายได้เราไม่มีแต่รายจ่ายยังคงอยู่เพื่อให้การใช้ชีวิตระหว่างรองานใหม่ดำเนินต่อไปได้ไม่สะดุดก็ควรมี เงินสำรองฉุกเฉิน ไว้อย่างน้อย 3 เท่า

ส่วนมนุษย์ฟรีแลนซ์ รายได้ไม่แน่นอน บางเดือนรายได้พุ่งสูง หลักเงินแสน บางเดือนแทบไม่มีรายได้เลย ทำให้การจัดการเงินทำได้ยากกว่าพนักงานประจำ ทำให้เงินสำรองฉุกเฉินของชาวฟรีแลนซ์อาจจะไม่สามารถบอกจำนวนที่เหมาะสมได้แต่อาจจะเลือกใช้วิธีอื่นเป็นการสะสมแทนกันเงินเผื่อแบบมนุษย์เงินเดือน เช่น อาศัยดอกเบี้ย (เงินฝาก), ซื้อทรัพย์เก็บไว้, ลงทุนในกองทุนรวม ฯลฯ ก็ใช้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินก็ได้เช่นกัน

2. หัดเก็บเงินให้เป็นนิสัย

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าเงินสำรองฉุกเฉินก็คือเงินเก็บอีกกระเป๋าหนึ่ง จะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความมีวินัยและสม่ำเสมอ อย่างในแอป MAKE by KBank มีฟีเจอร์ Cloud Pocket แยกกระเป๋าเงินได้ไม่จำกัด วันนี้อยากให้ลองใช้เป็นการออมเพื่อสำรองฉุกเฉินใน Cloud Pocket อาจจะแบ่งเงินออกเป็นสองกระเป๋าใหญ่ๆ ก็ได้อย่าง เงินออมสะสม และ เงินสำรองฉุกเฉิน แยกกันชัดเจนเงินไม่ปนกันแน่นอน หรือใครกลัวห้ามใจไม่ไหวก็สามารถตั้งเวลาโอนได้ พอถึงเวลาเงินสำรองก็ถูกจัดเก็บเลยอัตโนมัติทันที หมดปัญหาว่าจะเผลอใช้เงินก่อนที่จะได้เก็บไปได้เลย

3. เพิ่มรายได้

บางคนค่าใช้จ่ายเยอะกว่ารายได้ไปมากค่ะ อาจจะ 70-80% ของเงินเดือนทำให้ไม่มีเงินเก็บหรือเงินสำรองฉุกเฉินเลย อาจจะหารายได้เสริมมาเพิ่ม เดี๋ยวนี้มีงานออนไลน์เยอะมากที่สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้อย่างเขียนบทความออนไลน์,ทำ Affiliate ได้ค่าคอมมิชชั่น,ฟรีแลนซ์กราฟฟิค ฯลฯ หรือลงทุนเทรดคริปโตก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยม แต่การเทรดสกุลเงินออนไลน์มีความเสี่ยงสูงราคาปรับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา อาจต้องใช้เวลาศึกษาก่อนลงทุนด้วยนะ ซึ่งทันทีที่เรามีรายได้เสริมก็มีเงินเพิ่มขึ้น ทยอยเก็บเงินไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินได้ค่ะ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: พาส่อง! เทคนิคเก็บเงินล้านให้ได้ไว จะวัยไหนก็เวิร์ก

4. จัดการค่าใช้จ่ายให้เป็น

ใช้ Cloud Pocket เป็นตัวช่วยในการแยกค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น แยกค่าบ้าน ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ไว้เป็นกระเป๋าย่อยๆได้เลย โดยใส่จำนวนเงินเข้าไปด้วย เวลาใช้จ่ายก็สามารถใช้จ่ายใน แอปเก็บเงิน MAKE by KBank ได้เลย สแกนจ่ายหรือโอนเงินก็ทำได้ จะได้เป็นการจำกัดการใช้จ่ายไปในตัวไม่เผลอใช้เงินเกินระหว่างเดือน และได้กันเงินไว้สำหรับเป็นเงินออมและเงินสำรองได้สะดวกขึ้น แถมทุกกระเป๋าที่สร้างได้ดอกเบี้ยสูงสุด 1.5%* ด้วยนะ

แต่ทั้งนี้ปริมาณของเงินสำรองฉุกเฉินสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคนเลย หรือเดือนไหนที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถแบ่งเงินออกมาเป็นเงินสำรองฉุกเฉินได้จริงๆ ก็ข้ามเดือนไปก่อนได้เลยค่ะ การเก็บเงินของเราจะได้ไม่ตึงเครียดเกินไปจนรู้สึกไม่อยากทำอีก เราอยู่ในยุคที่อะไรก็ไม่แน่นอนในชีวิตจริงๆ การออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉิน คือเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพราะท้ายที่สุดแล้วก็ไม่มีใครสร้างความมั่นคงให้กับเราได้เท่ากับตัวเราเอง

วิธีคำนวณเงินสำรองฉุกเฉิน ทำอย่างไร

โดยทั่วไป ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินแนะนำว่าควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน หรือให้พอใช้ไปอีก 3-6 เดือน เช่น ถ้าคุณมีรายได้อยู่ที่ 15,000 บาทต่อเดือน และมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 12,000 บาทต่อเดือน คุณก็ควรจะต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินอยู่ที่ 36,000-72,000 บาท

กลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน

พนักงานเอกชนส่วนใหญ่มีรายได้ประจำที่แน่นอน แต่อาจมีความเสี่ยงที่จะตกงานได้หากบริษัทประสบปัญหาหรือเศรษฐกิจชะลอตัว ดังนั้น เงินสำรองฉุกเฉินจึงควรมีอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนนั่นเอง

ตัวอย่าง: สมมติว่านายสมชาย มีรายได้ประจำเดือนละ 20,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 15,000 บาท นายสมชายจึงควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน หรือ 45,000-90,000 บาท

กลุ่มอาชีพข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ

ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีรายได้ประจำที่มั่นคงและมีโอกาสตกงานน้อย ดังนั้น เงินสำรองฉุกเฉินจึงอาจไม่ต้องมีมากเท่ากับกลุ่มอาชีพพนักงานเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการเงินแนะนำว่าอาจเก็บเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 2-4 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน

ตัวอย่าง: สมมติว่านางสาวสมหญิง เป็นข้าราชการ มีรายได้ประจำเดือนละ 30,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 20,000 บาท นางสาวสมหญิงจึงควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 2-4 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน หรือ 40,000-80,000 บาท

กลุ่มอาชีพอิสระ

อาชีพอิสระรายได้แต่ละเดือนจะไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับกลุ่มพนักงานประจำหรือข้าราชการ ดังนั้น จึงมีโอกาสตกงานหรือมีรายได้ลดลงได้สูง เงินสำรองฉุกเฉินจึงควรมีอย่างน้อย 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน

ตัวอย่าง: สมมติว่านายสมหมาย เป็นฟรีแลนซ์กราฟฟิค มีรายได้ต่อเดือนไม่แน่นอน แต่เฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 10,000 บาท นายสมหมายจึงควรมีเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6-12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน หรือ 90,000-180,000 บาทและช่วงที่มีรายได้ต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อให้เหลือส่วนแบ่งของเงินสำรองฉุกเฉินไว้ด้วยนั่นเอง

เก็บเงินสำรองฉุกเฉิน ผ่านแอป “MAKE by KBank”

หากตอนนี้คุณกำลังมองหาตัวช่วยในการเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน เราขอแนะนำแอป MAKE by KBank แอปเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน ที่จะเป็นผู้ช่วยชั้นดีในการช่วยให้คุณสามารถออมเงินเพื่อสำรองฉุกเฉินได้อย่างมีแบบแผน และเปลี่ยนเป็นให้คุณกลายเป็นคนที่มีวินัยทางการเงินได้เป็นอย่างดี ด้วยฟีเจอร์เด็ด 2 ตัว อย่างฟีเจอร์ Cloud Pocket และ Expense Summary

1. Cloud Pocket

สำหรับฟีเจอร์แรกอย่าง Cloud Pocket จะทำหน้าที่ในการแบ่งกระเป๋าเงินออกได้แบบไม่จำกัด หมายถึง เงินในแต่ละเดือนจะถูกแยกออกไปใส่กระเป๋าเพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน รวมถึงสามารถแยกเป็นเงินเก็บ เงินลงทุนต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งข้อดีของการแยกเงินไว้แบบนี้จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการใช้เงินได้มากขึ้น รู้ว่ารายรับแต่ละส่วนถูกนำไปใช้ในเรื่องไหนบ้าง หมดปัญหาเผลอใช้จ่ายเกินตัวได้เป็นอย่างดี แถมยังได้ดอกเบี้ยสูงสุด 1.5%* ช่วยให้เงินสำรองฉุกเฉินของคุณเพิ่มขึ้นได้ทุกปีอีกด้วย how-much-emergency-fund.jpg

2. Expense Summary

Expense Summary คืออีกฟีเจอร์เด็ดที่จะช่วยทำหน้าที่สรุปยอดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่ดำเนินการผ่านแอปแยกออกมาเป็น 6 หมวด ได้แก่หมวดค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ความบันเทิง, ค่าช้อปปิ้ง, ชำระบิล และอื่น ๆ ที่จะช่วยให้คุณรู้ว่าเดือนที่ผ่านมาใช้เงินหมวดไหนไปกี่บาท เหลือเงินเก็บสำรองเป็นเงินสำรองฉุกเฉินหรือไม่ ซึ่งถ้าหากใช้จ่ายเกินไปในเดือนถัดไปก็สามารถปรับนิสัยการใช้จ่ายของเราเพื่อคุมเงินในกระเป๋าให้อยู่ บวกกับพอเห็นเงินในกระเป๋าเงินเก็บมากขึ้นเรื่อยๆ จะยิ่งสนุกและอยากเก็บเงินเพิ่มขึ้นอีกอยู่ทุกวัน

สรุปการเก็บเงินสํารองฉุกเฉิน

การเก็บเงินสำรองฉุกเฉินเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะจะช่วยให้เรามีเงินใช้ยามฉุกเฉิน ตอนเดือดร้อนและช่วยให้เรารู้สึกอุ่นใจและมั่นคงทางการเงินมากขึ้น แต่ก็มีข้อควรระวังบางอย่างเช่น

  • ไม่ควรนำเงินสำรองฉุกเฉินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น ใช้ซื้อของที่อยากได้ ไปเที่ยว หรือลงทุน
  • ควรทบทวนจำนวนเงินสำรองฉุกเฉินเป็นประจำ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป

และถ้าหากตอนนี้ใครที่สนใจอยากเริ่มเก็บเงินสำรองฉุกเฉินแบบมีประสิทธิภาพ เก็บได้จริงแถมยังช่วยให้คุณมีวินัยทางการเงินเพิ่มมากขึ้น ต้องอย่าลืมดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ตัวช่วยที่จะทำให้การออมเพื่อสำรองฉุกเฉินของคุณเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์ Cloud Pocket แยกกระเป๋าเก็บเงินแต่ละส่วนอย่างชัดเจน ไม่ต้องคอยจดบันทึกเอง พร้อมสรุปค่าใช้จ่ายอัตโนมัติทุกเดือน และยังได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงที่ 1.5 % ต่อปีอีกด้วย

หากสนใจแอปพลิเคชัน MAKE by KBank สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการ IOS และ Android หรือถ้าหากใครมีแอป K PLUS อยู่แล้ว ใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียวก็สมัครได้ทันที ลงทะเบียนไม่เกิน 10 นาที เริ่มต้นเก็บเงินสำรองฉุกเฉินพร้อมวางแผนบริหารการเงินสู้ความมั่งคั่งไปกับ MAKE by KBank ได้เลย

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ