สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

คำนวณค่าไฟด้วยตัวเอง ต้องทำอย่างไร? ให้แม่นยำที่สุด

how-to-electricity-bill-calculation.jpg

ค่าไฟแพงนับเป็นปัญหาใหญ่ของชาวออฟฟิศ ยิ่งถ้าเป็นช่วงหน้าร้อนด้วยแล้ว เงินเดือนออกมาเท่าไหร่ เรียกได้ว่าแทบเอาไปจ่ายค่าไฟเกือบทั้งหมด ทำให้การวางแผนบริหารค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นเรื่องยาก ดังนั้นเราจึงชวนทุกคนมารู้จักกับวิธีคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง ว่าการไฟฟ้ามีสูตรคำนวณค่าไฟอย่างไร เพื่อให้คุณเข้าใจ และวางแผนประหยัดค่าไฟด้วยตนเองได้!

สารบัญบทความ

  • 4 ค่าใช้จ่ายที่ควรรู้ ก่อนคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง
  • คำนวณค่าไฟง่ายๆ ผ่าน 5 ขั้นตอน
    1. สำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี และประเมินการใช้งานในแต่ละวัน
    1. คำนวณหน่วยการใช้งานไฟฟ้าต่อวัน
    1. คำนวณค่าไฟฟ้าตามอัตราที่การไฟฟ้ากำหนด
    1. คำนวณค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. สรุปค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายต่อเดือน
  • แอป MAKE by KBank ผู้ช่วยให้การบริหารค่าไฟเป็นเรื่องสบายๆ
    1. Cloud Pocket
    1. Schedule Transfer
    1. Expense Summary
    1. Edit Memo
  • รู้วิธีคำนวณค่าไฟแล้ว ห้ามพลาดกับผู้ช่วยบริหารค่าใช้จ่าย MAKE by KBank!

4 ค่าใช้จ่ายที่ควรรู้ ก่อนคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง

ก่อนเริ่มคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง คุณควรศึกษาว่าองค์ประกอบค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการคำนวณค่าไฟฟ้ามีอะไรบ้าง? ซึ่งกว่าที่ไฟฟ้าจะส่งถึงบ้านให้เราได้ใช้งานกัน ต้องผ่านขั้นตอนและมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นมากมาย โดยมีค่าใช้จ่ายหลัก 4 อย่าง ได้แก่

  1. ค่าไฟฐาน

ค่าไฟฐาน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าค่าพลังงานไฟฟ้า เป็นค่าใช้จ่ายที่สะท้อนถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของภาคเอกชน ซึ่งหน่วยงานรัฐจะประกาศค่าไฟฐานในอัตราคงที่เป็นประจำทุก 3-5 ปี และค่าไฟฐานอาจมีการปรับลดลงได้หากผู้ผลิตไฟฟ้ามีจำนวนมากเกินไป หรือเป็นนโยบายของภาครัฐที่เน้นช่วยเหลือผู้บริโภคในขณะนั้น

  1. ค่าบริการรายเดือน

ค่าบริการรายเดือน คือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งประกอบไปด้วยการบริการลูกค้า ค่าใช้จ่ายในการจดหน่วยไฟฟ้า และค่าจัดส่งบิลค่าไฟฟ้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน มีหน้าที่กำหนดว่าค่าบริการรายเดือนควรเป็นเท่าไหร่ ถึงจะเป็นธรรมต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตไฟฟ้า

  1. ค่าไฟฟ้าผันแปร

ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่าค่า FT ผู้ใช้ไฟฟ้าที่สังเกตบิลค่าไฟเป็นประจำคงทราบกันดีว่าค่า FT สูงมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากค่าไฟฟ้าผันแปรจะมีการปรับเปลี่ยนโดยอัตโนมัติ หากต้นทุนค่าผลิตไฟฟ้าในช่วงนั้นสูงขึ้น เช่น ในช่วงที่ราคาแก๊สแพง ค่า FT จะสูงกว่าช่วงที่ราคาแก๊สต่ำ เป็นต้น

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

นอกจากค่าไฟฟ้าผันแปรที่ทำให้ค่าไฟในแต่ละเดือนแพงแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดราคาค่าไฟอีกด้วย

คำนวณค่าไฟง่ายๆ ผ่าน 5 ขั้นตอน

หากต้องการวางแผนประหยัดค่าไฟ เพื่อให้บริหารเงินเดือนคล่องขึ้น พร้อมมีเงินเก็บมากกว่าเดิม ก็สามารถศึกษาขั้นตอนการคำนวณค่าไฟ ด้วยตนเองผ่าน 5 สเต็ปต่อไปนี้

1. สำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี และประเมินการใช้งานในแต่ละวัน

เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอย่างใช้กำลังไฟไม่เท่ากัน ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีค่า Watt (W) มาก แม้จะเปิดใช้งานเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็ทำให้ค่าไฟแพงได้ ซึ่งการคำนวณค่าไฟที่ถูกต้อง คุณควรประเมินชั่วโมงการใช้งานให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด

ตัวอย่างเช่น

บ้านนาย A มีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังต่อไปนี้

แอร์ 2 เครื่อง 2,500 วัตต์ ใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง

ตู้เย็น 175 วัตต์ ใช้งานวันละ 30 นาที

ทีวี 170 วัตต์ ใช้งานวันละ 30 นาที

พัดลม 75 วัตต์ ใช้งานวันละ 30 นาที

หลอดไฟ 5 หลอด 20 วัตต์ ใช้งานวันละ 8 ชั่วโมง

2. คำนวณหน่วยการใช้งานไฟฟ้าต่อวัน

เมื่อได้กำลังไฟฟ้าทั้งหมด และประเมินชั่วโมงการใช้งานต่อวันเรียบร้อยแล้ว ให้คุณคิดคำนวณค่าไฟผ่านสูตร

[(กำลังไฟฟ้า X จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า) / 1000] X จำนวนชั่วโมงที่ใช้งานภายใน 1 วัน = หน่วยต่อวัน (ยูนิต)

จากตัวอย่างการใช้งานไฟบ้านนาย A จะได้ว่า

แอร์ : [(2500X2)/1000]X8 = 40 หน่วย

ตู้เย็น : [(175X1)/1000]X0.5 = 0.0875 หน่วย

ทีวี : [(170X1)/1000]X0.5 = 0.085 หน่วย

พัดลม : [(75X1)/1000]X0.5 = 0.0375 หน่วย

หลอดไฟ : [(20X5)/1000]X8 = 0.8 หน่วย

เท่ากับว่านาย A ใช้ไฟต่อวันเท่ากับ 41.01 หน่วย ดังนั้นในหนึ่งเดือน นาย A จะใช้ไฟโดยเฉลี่ย 41.01 X 30 วัน = 1,230.3 หน่วย

3. คำนวณค่าไฟฟ้าตามอัตราที่การไฟฟ้ากำหนด

เมื่อคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าต่อวันเสร็จสิ้น ให้คุณคิดคำนวณค่าไฟฟ้าตามสูตรที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด ดังนี้

150 หน่วยแรก ค่าไฟหน่วยละ 3.2484

250 หน่วยถัดไป ค่าไฟหน่วยละ 4.2218

เกินกว่า 400 หน่วย ค่าไฟหน่วยละ 4.4217

ทั้งนี้ สูตรดังกล่าวใช้สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยโดยทั่วไป หากเป็นกิจการขนาดเล็กประเภท 2 หรือกิจการขนาดกลางประเภท 3 จะใช้สูตรคำนวณค่าไฟฟ้า ที่แตกต่างออกไป

ดังนั้นค่าไฟเบื้องต้นสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยของนาย A ซึ่งใช้ไฟโดยเฉลี่ย 1,230.3 หน่วยต่อเดือน

จะเท่ากับ (150X3.2484) + (250X4.2218) + (830.3X4.4217) = 5,214.05 บาท

4. คำนวณค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม

หลังจากคำนวณค่าไฟฟ้าตามอัตราที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนดแล้ว ก็ใช่ว่าจะได้ยอดค่าไฟที่ต้องจ่ายต่อเดือนเสียทีเดียว เพราะอย่าลืมว่าคุณต้องคำนวณค่า FT และภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วย ซึ่งค่า FT การไฟฟ้าจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน ตามปัจจัยที่กระทบต่อต้นทุนการผลิตค่าไฟ โดยล่าสุดค่า FT ประจำปี 2567 เท่ากับ 39.72 สตางค์

โดยวิธีคํานวณค่าไฟฟ้า FT พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ

ค่าไฟฟ้า = [ค่าไฟเบื้องต้นที่คำนวณ + {(ค่า FT X จำนวนหน่วยที่ใช้งาน)/100}] X 1.07

5. สรุปค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายต่อเดือน

เมื่อแทนค่าตัวเลขลงในสูตรคำนวณค่าไฟฟ้าที่รวมค่า FT และภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป จะได้ค่าไฟที่ต้องจ่ายต่อเดือนเท่ากับ [5,214.05 + {(39.72 X 1230.3) /100}] X 1.07 = 6,101.916 บาท

แอป MAKE by KBank ผู้ช่วยให้การบริหารค่าไฟเป็นเรื่องสบายๆ

how-to-electricity-bill-calculation.jpg

เมื่อทราบขั้นตอนการคำนวณค่าไฟด้วยตนเองเป็นที่เรียบร้อย จะเห็นได้ว่าค่าไฟเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้มนุษย์เงินเดือนไม่มีเงินเหลือเก็บ แต่ถ้าคุณใช้แอปรายรับรายจ่าย MAKE by KBank จะช่วยให้คุณบริหารค่าไฟ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ง่ายขึ้น ผ่าน 4 ฟีเจอร์ยอดฮิตที่ใช้งานง่าย ดังนี้

1. Cloud Pocket

สิ่งที่มนุษย์ออฟฟิศหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือ การต้องชำระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน หรือค่าใช้จ่ายส่วนตัว ซึ่งหากบริหารไม่ดีแล้ว ก็อาจจ่ายเงินกับค่าใช้จ่ายบางอย่างมากเกินไป จนกระทบกับค่าใช้จ่ายส่วนอื่นได้ แต่ถ้าใช้ฟีเจอร์ Cloud Pocket แล้ว เมื่อเงินเดือนออก ก็แบ่งเงินใส่กระเป๋าของ Cloud Pocket ได้ทันที ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตั้งชื่อกระเป๋าได้ตามที่ต้องการ

2. Schedule Transfer

ปัญหาลืมจ่ายบิลค่าไฟจะหมดไป ด้วยฟีเจอร์ Schedule Transfer ที่ให้คุณสามารถตั้งค่าการโอนเงินล่วงหน้าอัตโนมัติ ไปยังกระเป๋า Cloud Pocket ซึ่งทำหน้าที่แบ่งเงินเพื่อจ่ายค่าไฟโดยเฉพาะ และนอกจากจะโอนเงินเพื่อจ่ายค่าไฟได้แล้ว Schedule Transfer ยังให้คุณโอนเงินล่วงหน้าเพื่อเก็บเงินได้ทุกเดือนอีกด้วย

3. Expense Summary

ฟีเจอร์ที่จะช่วยสรุปค่าไฟในแต่ละเดือนให้คุณทราบโดยอัตโนมัติว่า ในช่วงที่ผ่านมาคุณเคยจ่ายค่าไฟมาแล้วทั้งหมดกี่บาท? หากคำนวณค่าไฟจากมิเตอร์แล้วออกมาว่าตัวเลขสูงกว่าเดือนก่อนหน้า Expense Summary จะช่วยให้คุณวางแผนปรับลดค่าไฟที่ไม่จำเป็นได้

4. Edit Memo

หากกลัวลืมว่าค่าไฟที่เคยจ่ายไปแล้วเป็นของเดือนไหน ก็ไม่ต้องกังวลไป ด้วยฟีเจอร์ Edit Memo ที่ให้คุณแก้ไขหรือใส่รายละเอียดของค่าใช้จ่ายได้ตามที่คุณต้องการ ว่าค่าไฟที่เคยจ่ายไปเป็นบิลของเดือนอะไร ทำให้คุณตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง และวางแผนคำนวณค่าไฟได้อย่างแม่นยำ

รู้วิธีคำนวณค่าไฟแล้ว ห้ามพลาดกับผู้ช่วยบริหารค่าใช้จ่าย MAKE by KBank!

การคำนวณค่าไฟด้วยตนเอง แม้ดูเหมือนเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ก็ช่วยให้คุณคาดการณ์ค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วคุณจะต้องจ่ายค่าไฟเท่าไหร่ หากไม่สะดวกคิดค่าไฟเป็นประจำ ก็สามารถใช้เครื่องมือคำนวณค่าไฟออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อประหยัดเวลาได้เช่นกัน

หากคุณต้องการผู้ช่วยบริหารค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ที่จัดการได้ทั้งค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน และค่าเดินทาง จบครบภายในแอปเดียว ห้ามพลาดกับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ที่นอกจากจัดการค่าใช้จ่ายได้ดีเยี่ยมแล้ว เพียงแค่ฝากเงินเข้าไปก็ได้ผลตอบแทนสูงถึง 1.5% ต่อปี แถมภายในแอปยังให้สมาชิกร่วมลุ้นรางวัล พร้อมอีเวนต์สนุกๆ อีกมากมาย

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ