

สำหรับบรรดามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย การแบ่งเงินให้เหมาะสมสำหรับค่าใช้จ่ายรายเดือนนั้นเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญและวางแผนล่วงหน้า เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาทางการเงินทำให้ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพิ่มเติม แถมหากมีเงินเก็บด้วยก็จะดีเข้าไปอีก ในบทความนี้ Make by KBank จึงขอมาแนะนำ 10 เทคนิควางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือนด้วยการแบ่งเงินเป็นสัดส่วนที่ชัดเจนให้คุณได้ลองไปใช้ตามกัน แน่นอนว่านอกจากจะช่วยคุมค่าใช้จ่ายได้แล้ว ยังหมดห่วงเรื่องเงินไม่พอใช้อีกต่างหาก พร้อมแล้วตามมาดูกันได้เลย!
ค่าใช้จ่ายรายเดือนมีอะไรบ้าง? โดยทั่วไปแล้วค่าใช้จ่ายรายเดือนของเหล่ามนุษย์เงินเดือนยุคใหม่ที่ต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก็คงหนีไม่พ้นค่าเดินทาง, ค่าห้อง, ค่าอาหาร, ค่ายารักษาโรค, ค่าน้ำ-ค่าไฟ และสำหรับใครที่มีรถก็คงต้องมีค่าน้ำมันและค่าผ่อนรถเอาไว้ทุกสิ้นเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนมากขนาดนี้ หากไม่วางแผนให้ดีก็อาจทำให้การเงินของคุณติดขัดได้ จึงจำเป็นต้องวางแผนและคำนวณค่าใช้จ่ายรายเดือนต่างๆ ให้รอบคอบเพื่อจะได้แบ่งเงินสำหรับเก็บออมไว้ใช้ยามฉุกเฉินนั่นเอง เช่น การใช้แอปรายรับรายจ่าย จัดทำแผนการเงิน
สำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ทำตามได้ง่ายๆ พร้อมมีเงินออมเก็บในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรืออาชีพฟรีแลนซ์ รับรองว่าทำตามกันได้แน่นอน ซึ่งเราได้รวบรวมเทคนิคการแบ่งเงินและวิธีวางแผนค่าใช้จ่ายที่สะดวกมาให้คุณที่ด้านล่างนี้เรียบร้อยแล้ว
วิธีสุดคลาสสิกที่ช่วยวางแผนและจัดการค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ดีก็คือ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย เพื่อให้คุณรู้ว่าแต่ละเดือนรับเงินมาเท่าไหร่ ใช้เงินไปกี่บาทแล้วบ้าง เพียงพอกับการเหลือไว้ใช้ในช่วงสิ้นเดือนมากน้อยเพียงใด ซึ่งปัจจุบัน การทำรายรับ-รายจ่ายมีทั้งการจดบันทึกลงสมุดหรือใช้แอปพลิเคชันเข้ามาช่วย และแน่นอนว่าประโยชน์ของการทําบัญชีรายรับ รายจ่าย จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมทางการเงินที่ครบถ้วนและตรวจสอบสถานะการเงินได้แม่นยำ
หากต้องการแบ่งเงินให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายรายเดือน ก็ต้องแยกกระเป๋าให้ชัดเจนไปเลยว่า รายได้เมื่อเข้ามาแล้วจะต้องใช้ทำอะไรบ้าง อธิบายแบบนี้อาจสงสัยว่าควรทำอย่างไร แนะนำใช้แอป MAKE by KBank ที่จะมีฟีเจอร์ Cloud Pocket สามารถแยกกระเป๋าเงินได้แบบไม่จำกัดทั้งค่าใช้จ่ายและเงินเก็บ เช่น ค่าใช้จ่ายประจำ, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว, เงินเก็บท่องเที่ยว และเงินเก็บเกษียณ ทำแบบนี้ยังไงก็รู้ยอดเงินชัดเจนแน่นอน
ไม่ใช่แค่ทำรายรับ-รายจ่าย แต่เทคนิคการแบ่งเงินและวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ดีคุณต้องสรุปรายจ่ายแต่ละเดือนให้เห็นภาพ เพื่อจะได้รู้ว่ามีตรงไหนใช้เยอะเกินไปบ้าง ซึ่งยังคงแนะนำแอป MAKE by KBank เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือฟีเจอร์ Expense Summary ที่จะสรุปตารางค่าใช้จ่ายรายเดือนเป็นตารางรายรับรายจ่ายในแต่ละหมวดหมู่ที่เข้าใจง่าย พอเห็นแบบนี้เดือนถัดไปก็ใช้ส่วนนั้นให้น้อยลงอีกนิด รับรองเงินเหลือชัวร์
สำหรับใครที่เงินเดือนน้อย หรือมีภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนค่อนข้างมาก กลัวว่าแต่ละเดือนจะไม่เพียงพอ หากคุณสรุปรายจ่ายจากฟีเจอร์ Expense Summary ของแอป MAKE by KBank ได้แล้ว ก็หักเงินส่วนไม่จำเป็นออกให้เยอะที่สุด บางทีคนเราต้องอดทนเพื่อให้ผ่านช่วงเวลาแย่ๆ แล้ววันสดใสจะมาถึงเอง
อีกเทคนิคการแบ่งเงินที่ช่วยให้คุณไม่เกิดหนี้สินเพิ่มเติม คือ เมื่อทำการแบ่งเงินออกมาเรียบร้อยจะด้วยแอปหรือแบ่งตามที่ตนเองคุ้นชินดีอยู่แล้ว ควรรีบจ่ายเงินส่วนดังกล่าวทันทีเรียงลำดับกันไป เช่น ค่าผ่อนบ้าน, ผ่อนรถ, ค่าน้ำค่าไฟ และค่าอินเทอร์เน็ต การทยอยจ่ายแบบนี้จะทำให้มองเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายรายเดือนทั้งหมดว่าเหลือเงินออมเท่าไหร่บ้าง แถมยังไม่ต้องกลัวลืมอีกด้วย
อีกวิธีดีๆ ที่ช่วยให้คุณแบ่งรายได้แล้วไม่ลืมจ่ายแน่ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับข้อ 5 นั่นคือ เลือกใช้ระบบการตัดเงินค่าใช้จ่ายรายเดือนต่างๆ แบบอัตโนมัติ ซึ่งวิธีนี้จะใช้ผ่านแอปธนาคารทั่วไปสำหรับตัดบรรดาค่าบัตรเครดิต หรือจะใช้แอป MAKE by KBank กับฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่มีระบบแจ้งเตือนการจ่ายเงินของกระเป๋านั้นๆ รวมถึงตั้งค่าการจ่ายอัตโนมัติในบางรายการได้เช่นกัน เงินส่วนที่เหลือก็ใช้ตามแผนที่วางไว้
วิธีคลาสสิกสำหรับใครที่กลัวว่าการเก็บเงินในบัญชีเดียวกันแล้วจะปวดหัว กลัวใช้ผิดใช้ถูก แยกบัญชีไปเลยคงง่ายกว่า สมมุติเงินเดือนเข้าบัญชี A แยกเงินเก็บไว้บัญชี B และเงินใช้ส่วนตัวไว้บัญชี C ส่วนเงินบัญชี A ที่เหลือทั้งหมดจะไว้สำหรับการจ่ายเงินอื่นๆ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายรายเดือนประจำ
สูตรยอดฮิตสำหรับหลายคนที่ใช้เป็นเทคนิคการแบ่งเงินรายเดือนนั่นคือ ค่าใช้จ่ายจำเป็นทุกประเภททั้งหมด 50%, ค่าใช้จ่ายซื้อความสุขส่วนตัว 30% และเงินเก็บ 20% แต่จะพลิกแพลงเล็กน้อยก็ไม่มีใครว่าขึ้นอยู่กับแนวทางหรือรูปแบบการใช้เงินของแต่ละคน เช่น มีค่าใช้จ่ายรายเดือนเยอะอาจเพิ่มเป็น 60% แล้วตัดทอนส่วนอื่นๆ ออกมา เป็นต้น
เมื่อคุณวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือนให้เป็นระบบได้แล้ว ลองมาพิจารณาว่าตนเองเหลือเงินใช้จ่ายแต่ละวันเท่าไหร่ เพื่อจะได้กำหนดเงินรายวันแล้วพกไปตามนั้นโดยอย่าไปยุ่งกับแอปโอนเงินใดๆ ที่ใช้งานเด็ดขาด เช่น มีใช้ได้วันละ 300 บาท ก็พกเงินไปเท่านั้นพอ บอกเลยใช้จ่ายได้แบบเหลือๆ แถมยังอาจมีเก็บอีกต่างหาก กรณีไม่มีเหตุฉุกเฉินให้ใช้อื่นใดในระหว่างเดือนนั้น
การมีวินัยสำคัญมาก เทคนิคสุดท้ายไม่ว่าคุณจะทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย หาวิธีแบ่งเงิน แม้มีเทคนิคมากแค่ไหน หรือใช้แอปที่มีฟีเจอร์ช่วยวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือนก็ตาม หากไม่สามารถสู้กับจิตใจตนเองได้ทุกอย่างก็เสียเปล่า ดังนั้น ฝึกฝนตนเองให้มีวินัย ทำตามแผนที่วางเอาไว้ หยุดการใช้จ่ายแบบสุรุ่ยสุร่าย สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณมีเงินใช้ทุกเดือนแบบไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน
10 วิธีการออมเงินที่เราแนะนำนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้คุณสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือนให้เป็นระบบมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าวิธีดังกล่าวสามารถทำได้บนแอป MAKE by KBank ตัวช่วยวางแผนและจัดสรรแบ่งเงินเก็บเป็นสัดส่วนที่คนรุ่นใหม่ใช้ได้สะดวก โดยสามารถนำมาปรับใช้กับฟีเจอร์โดดเด่นมากมายในแอปอย่าง การแบ่งเงินบน Cloud Pocket กระเป๋าย่อยแบ่งเงินได้หลายส่วนในหนึ่งบัญชี Expense Summary ตารางสรุปรายรับรายจ่ายแต่ละเดือนได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนระบบ Schedule Transfer ที่สามารถกำหนดรายการโอนล่วงหน้าได้ง่าย ๆ นับว่าเป็นตัวช่วยสำหรับจัดการค่าใช้จ่ายรายเดือนได้ครบจบในแอปเดียว!