สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

How to ตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นในชีวิต

Banner มนุษย์เงินเดือนมักเจอปัญหาเรื่องของค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอต่อชีวิตประจำวัน บางคนบอกว่าพยายามแล้วที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเอง แต่ก็ยังไม่เป็นผล เพราะหลายครั้งมนุษย์เงินเดือนบางคนประหยัดค่าใช้จ่ายผิดที่ ทำให้ปัญหาการเงินไม่หมดไป ครั้งนี้จึงอยากจะนำเสนอเรื่องราววิธีการตัดค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างเช่นการพึ่งพาตัวช่วยอย่างแอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือน ที่เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาการเงินโดยเฉพาะ หรือวิธีอื่นๆ หลากหลายที่จะกล่าวต่อไปนี้

1.สำรวจค่าใช้จ่ายของตัวเอง

ก่อนจะไปตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปต้องสำรวจค่าใช้จ่ายของตัวเองก่อนว่าต่อเดือนมีการใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง มนุษย์เงินเดือนควรสำรวจเลยว่าค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนมีอะไร ควรลิสต์รายการจ่ายออกมาอย่างละเอียด เพื่อการสำรวจที่เป็นระบบ สำหรับบางคนที่อาจไม่มีเวลานั่งจดบันทึกเป็นรายการ อาจจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นบันทึกรายรับ-รายจ่ายเข้ามาช่วย เพื่อการบันทึกแบบทันทีที่ซื้อ ไม่ต้องนั่งหาสมุดปากกา ก็ช่วยให้ชีวิตง่ายและสะดวกขึ้น แต่นอกเหนือจากแอปบันทึกรายรับรายจ่าย

ปัจจุบันยังมี แอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือน ที่ครบกว่า ฟีเจอร์มากกว่าการบันทึกรายการจ่ายแต่บันทึกธุรกรรมแบบอัตโนมัติเพียงแค่ใช้จ่ายผ่านแอป สามารถดูย้อนหลังได้ว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ช่วยอำนวยความสะดวกให้การสำรวจค่าใช้จ่ายของตัวเองนั้นง่ายขึ้น ซึ่งดีต่อการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป นอกจากนี้แอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือนยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น ฟีเจอร์ Expense Summary ที่ติดตามทุกการใช้จ่าย ทำให้การสำรวจค่าใช้จ่ายนั้นง่ายขึ้น

2.กำหนดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็น

เมื่อสำรวจค่าใช้จ่ายของตัวเองแล้ว ก็ให้ระบุรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่าอันไหน “จำเป็น” และอันไหน “ไม่จำเป็น” ข้อนี้บางคนอาจมีปัญหา เพราะเมื่อสำรวจแล้วกลับพบว่าทุกการใช้จ่ายล้วนจำเป็นหมด ซึ่งไม่เป็นความจริง เชื่อเถอะว่าทุกคนมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นซ่อนอยู่แน่นอน อย่างในบางกรณีที่เคยเจอก็คือการซื้อเสื้อผ้ารายสัปดาห์ของบางราย ที่มองว่าสิ่งนั้นคือสิ่งจำเป็นต่อการใช้ชีวิต ซึ่งจริงๆ แล้วการซื้อเสื้อผ้าไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น

การกำหนดว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนจำเป็นบ้าง ให้พิจารณาว่าสิ่งนั้นมีผลต่อการใช้ชีวิตในเรื่องของความเป็นอยู่หรือไม่ อย่างค่าเสื้อผ้า ถือเป็นเรื่องที่ไม่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นจะเหมาะสมกว่า ส่วนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจริงๆ ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าเดินทาง หากใช้แอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือน อาจแบ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็นไว้ในกระเป๋าเงินคนละกระเป๋าได้ด้วย

อย่างเช่นแอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือนที่มีฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่สามารถแบ่งเงินไว้ในกระเป๋าเงินต่างๆ ได้ไม่จำกัด เพื่อการใช้จ่ายที่เป็นระบบมากขึ้น อาจจะพึ่ง Cloud Pocket โดยการมีกระเป๋าเงิน 2 ใบ เป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นและค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น หรืออาจจะแบ่งกระเป๋าเงิน ไว้สำหรับจ่ายค่าที่พัก กระเป๋าเงินจ่ายค่าน้ำ-ไฟ กระเป๋าเงินจ่ายค่าอาหาร กระเป๋าเงินสำหรับการใช้จ่ายอื่นๆ เป็นต้น

3.กำหนดงบประมาณทุกค่าใช้จ่าย

หลังจากกำหนดรายจ่ายที่จำเป็นและไม่จำเป็นไปแล้ว ต่อมาให้กำหนด “งบประมาณ” ให้กับทุกค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ตาม อย่างค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ก็ควรกำหนดงบต่อเดือนว่าไม่ควรเกินเท่าไร และควรกำหนดให้สัมพันธ์กับรายรับ อย่างเช่นเงินเดือน 15,000 บาท จะเช่าที่พักเดือนละ 10,000 บาท ก็คงจะไม่สัมพันธ์กันเท่าไร ต่อให้เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก็ตาม เพราะค่าใช้จ่ายที่จำเป็นบางอย่างแม้จะไม่สามารถตัดออกไปได้ แต่ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ จึงควรกำหนดงบไว้สำหรับการใช้จ่ายทุกอย่าง ว่าแต่ละเดือนควรใช้จ่ายส่วนนั้นๆ ไม่เกินเท่าไร

สำหรับบางคนอาจมองไม่ออกว่าค่าใช้จ่ายของตัวเองนั้นเกินงบ และทำให้เกิดปัญหาการเงิน รวมถึงปัญหาหนี้สิน ใช้แอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือน มาเป็นตัวช่วยได้ โดยเฉพาะแอปมีฟีเจอร์ Expense Summary อย่าง Make by KBank ซึ่งติดตามทุกรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้มองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น และรู้ได้ทันทีว่าค่าใช้จ่ายส่วนนั้นเกินงบหรือไม่อย่างไร ทำให้จัดการเรื่องเงินได้ง่ายขึ้น

4.อยากได้ให้น้อยลง

หนึ่งในวิธีการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นก็คืออยากได้ให้น้อยลง อาจจะกำหนดค่าใช้จ่ายสำหรับ “ความอยากได้” ไปเลยต่อเดือน ว่าจะยอมจ่ายเท่าไรให้กับความอยากได้ที่ไม่จำเป็นเหล่านั้น วิธีการนี้จะช่วยควบคุมความอยากได้ให้ลดน้อยลงได้ จากเดิมทีที่ไม่ได้ควบคุมคนส่วนใหญ่ก็มักจะอยากได้โน่นนี่ไม่มีขีดจำกัด แต่ถ้าหากควบคุมงบไว้แล้ว และพบว่าความอยากได้นั้นเกินงบไป ก็ให้จัดลำดับความอยากได้จากมากไปน้อย แล้วค่อยๆ ตัดสิ่งที่อยากได้น้อยที่สุดออกไปให้เหลือสิ่งที่อยากได้ในมูลค่าที่เป็นไปตามงบที่กำหนดไว้

Image2

ใช้ฟีเจอร์ Cloud Pocket ของแอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือนเป็นตัวช่วย แบ่งเงินในส่วนหนึ่งไว้ในกระเป๋าเงิน สำหรับใช้จ่ายเพื่อความอยากได้โดยเฉพาะ ซึ่งเงินที่แบ่งไว้ก็ให้เป็นไปตามงบที่ตั้งไว้ เมื่อใช้จ่ายจนเงินหมดกระเป๋าแล้ว ก็แปลว่าเดือนนั้นไม่ควรอยากได้อะไรอีกจะเห็นว่าการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในชีวิต

มีวิธีการหลายอย่างที่ช่วยเราได้ หรือแม้แต่ตัวช่วยก็ยังมีหลากหลาย เช่นแอปจัดการเงินมนุษย์เงินเดือนอย่าง Make by Kbank ที่มาพร้อมฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย อาทิ Expense Summary, Cloud Pocket, Pop Pay, Chat Banking, ถอนเงินไม่ใช้บัตร และอื่นๆ อยากให้ลองไปโหลดมาใช้เพราะช่วยทำให้การควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้นสุดๆ

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ