เงินสำรองฉุกเฉินคืออะไร? ทำไมจำเป็นต้องมีไว้
รายรับสะดุดแต่รายจ่ายยังคงเดินเหมือนเดิม สถานการณ์ในตอนนี้เรียกว่าไม่มีอะไรแน่นอนเลยจริงๆ มีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้อยู่ตลอด บางเรื่องก็มาแบบกระทันหันตั้งตัวไม่ทัน ทั้งเรื่องโรคภัย ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม และโดยเฉพาะโรคระบาดโควิค-19 ที่เราทุกคนได้รับผลกระทบร่วมกัน
เหตุการณ์ที่ทำให้ชีวิตเราต้องสะดุดมีอุปสรรคในการดำเนินชีวิต
- งาน บริษัทปิดกิจการ
- เจอภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ทรัพย์สินเสียหาย/สูญหาย
- เจ็บป่วยกระทันหันส่งผลต่อการใช้ชีวิต
- คนในครอบครัวเจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาลสูง
- อุบัติเหตุร้ายแรง / การเสียชีวิตของคนในครอบครัว
นี่เป็นเหตุผลที่เราควรจะมีเงินสำรองเผื่อไว้ในชีวิตด้วยค่ะ หลายคนมีเงินเก็บตามเป้าหมายคิดว่าเพียงพอแล้วแต่ความจริงเราควรมีทั้งเงินเก็บและกันเงินส่วนหนึ่งสำหรับเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉินค่ะ ส่วนตัวเราเองมาเห็นความสำคัญของเงินสำรองตอนที่น้องหมาก็ของเราป่วยหนักค่ะซึ่งค่ารักษาแพงมากและไม่ได้จ่ายจบครั้งเดียว ยังคงต้องจ่ายต่อเนื่องหลายเดือน และบางรอบก็แพงขึ้นด้วย ยาวไปจนถึงช่วงเวลาที่น้องหมาจากไปก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายเรื่องการจัดการศพอีกค่ะ เรียกได้ว่าเงินสำรองฉุกเฉินนี่มีความจำเป็นมากจริงๆค่ะ
เงินสำรองฉุกเฉินคืออะไร
ถ้าพูดตามหลักความหมายก็คือเงินที่มีสภาพคล่องสูงค่ะ สามารถถอนมาใช้จ่ายได้ง่าย หากเราต้องการใช้จ่ายเงินแบบเร่งด่วนอย่างเช่นเงินฝากธนาคาร เงินสด ซื้อทองไว้เก็งกำไร ดอกเบี้ย (เงินฝาก) ฯลฯ แต่ทั้งนี้เงินสำรองฉุกเฉินก็คือการเก็บเงินแยกเพิ่มอีกกระเป๋านั้นเองค่ะ เป็นเงินที่เราจะไม่นำออกมาใช้จ่ายนะ
แล้วต้องต้องมีเงินสำรองเท่าไหร่ถึงจะพอ?
ตรงนี้ให้ตอบเป็นตัวเลขหรือเปอร์เซ็นยากค่ะ แต่ละคนมีรายรับและค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ถ้าบอกว่าต้องคำณวนเป็นรายคนของใครของมันก็ไม่ผิดค่ะ แต่ไม่ต้องไปหาสูตรให้วุ่นวายคิดง่ายๆตามสไตล์ที่เราสะดวกพอค่ะ แต่ทั้งนี้การเก็บเงินตามเป้าหมายจะต้องทำอย่างต่อเนื่องมีความสม่ำเสมอด้วยนะ
1.รู้รายได้ของตัวเอง
สำหรับมนุษย์เงินเดือนเราจะรู้ได้รายแน่นอนของตัวเอง และสามารถจัดการกับค่าช้จ่ายได้ง่าย เพื่อให้เก็บเงินตามเป้าหมายได้สำเร็จก็ควรจะมีจำนวนเงินคร่าวๆไว้สักหน่อยค่ะ ควรมีเงินสำรองไว้อย่างน้อย 3 เท่าของเงินเดือน เช่น เงินเดือน 30,000 บาท ก็ควรจะตั้งเป้าไว้ที่ 90,000 บาทค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่าต้องหามาให้ได้ทีเดียวเก้าหมื่นนะคะ ค่อยๆเก็บสะสมไปเรื่อยๆ ค่ะ เป็นการคำณวนเผื่อไว้ในกรณีที่อาจจะตกงาน รายได้เราไม่มีแต่รายจ่ายยังคงอยู่ค่ะ เพื่อให้การใช้ชีวิตระหว่างรองานใหม่ยังไงดำเนินต่อไปได้ไม่สะดุดก็ควรมีไว้อย่างน้อย 3 เท่า
สำหรับมนุษย์ฟรีแลนซ์ รายได้ไม่แน่นอน บางเดือนรายได้พุ่งสูง บางเดือนแทบไม่มีรายได้เลย ทำให้การจัดการเงินยากค่ะ ของมนุษย์ฟรีแลนซ์อาจจะไม่สามารถบอกจำนวนที่เหมาะสมได้แต่อาจจะเลือกใช้วิธีอื่นเป็นการสะสมแทนกันเงินเผื่อแบบมนุษย์เงินเดือนค่ะ เช่น อาศัยดอกเบี้ย (เงินฝาก) , ซื้อทรัพย์เก็บไว้ , ลงทุนในกองทุนรวม ฯลฯ ก็ใช้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินได้ค่ะ
2.หัดเก็บเงินให้เป็นนิสัย
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าเงินสำรองฉุกเฉินก็คือเงินเก็บอีกกระเป๋าหนึ่ง จะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยความมีวินัยและสม่ำเสมอค่ะ ในแอป MAKE by KBank มีฟีเจอร์ Cloud Pocket แยกกระเป๋าเงินได้ไม่จำกัด วันนี้อยากให้ลองใช้เป็นการกันเงินไว้สำหรับเงินสำรองกันค่ะ ใน Cloud Pocket อาจจะแบ่งเงินออกเป็นสองกระเป๋าใหญ่ๆก็ได้อย่าง เงินออมสะสม และ เงินสำรองฉุกเฉิน แยกกันชัดเจนเงินไม่ปนกันแน่นอน หรือใครกลัวห้ามใจไม่ไหวก็สามารถตั้งเวลาโอนได้นะคะ พอถึงเวลาเงินสำรองก็ถูกจัดเก็บเลยอัติโนมัติหมดกังวลว่าจะเผลอใช้เงินก่อนที่จะได้เก็บไปเลย
3.เพิ่มรายได้
บางคนค่าใช้จ่ายเยอะกว่ารายได้ไปมากค่ะ อาจจะ 70-80% ของเงินเดือนทำให้ไม่มีเงินเก็บหรือเงินสำรองเลย อาจจะหารายได้เสริมมาเพิ่มค่ะ เดี๋ยวนี้มีงานออนไลน์เยอะมากที่สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้อย่างเขียนบทความออนไลน์,ทำ Affiliate ได้ค่าคอมมิชั่น,ฟรีแลนซ์กราฟฟิค ฯลฯ หรือลงทุนเทรดคริปโตก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจและกำลังเปป็นที่นิยมค่ะ แต่การเทรดสกุลเงินออนไลน์มีความเสี่ยงสูงราคาปรับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา อาจต้องใช้เวลาศึกษาก่อนลงทุนจริงค่ะ พอเรามีรายเสริมก็มีเงินเพิ่มขึ้น ทยอยเก็บเงินไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉินได้ค่ะ
4.จัดการค่าใช้จ่ายให้เป็น
ใช้ Cloud Pocket เป็นตัวช่วยในการแยกค่าใช้จ่ายเลยค่ะ แยกค่าบ้าน ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าอาหาร ไว้เป็นกระเป๋าย่อยๆได้เลย โดยใส่จำนวนเงินเข้าไปด้วยค่ะ เวลาใช้จ่ายก็สามารถใช้จ่ายใน แอปคนรุ่นใหม่ MAKE by KBank ได้เลย สแกนจ่ายหรือโอนเงินก็ทำได้ค่ะ จะได้เป็นการจำกัดการใช้จ่ายไปในตัวไม่เผลอใช้เงินเกินระหว่างเดือน และได้กันเงินไว้สำหรับเป็นเงินออมและเงินสำรองได้สะดวกขึ้นค่ะ แถมทุกกระเป๋าที่สร้างได้ดอกเบี้ยสูงสุด 1.5%* ด้วยนะ
แต่ทั้งนี้ปริมาณของเงินสำรองฉุกเฉินสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคนเลยนะคะ หรือเดือนไหนที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถแบ่งเงินออกมาเป็นเงินสำรองได้จริงๆก็ข้ามเดือนไปก่อนได้เลยค่ะ การเก็บเงินของเราจะได้ไม่ตึงเครียดเกินไปจนรู้สึกไม่อยากทำอีก เราอยู่ในยุคที่อะไรก็ไม่แน่นอนในชีวิตจริงๆค่ะ การมีเงินสำรองไว้เลี้ยงชีพยามฉุกเฉินจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพราะท้ายแล้วก็ไม่มีใครสร้างความมั่นคงให้กับเราได้เท่ากับตัวเราเองค่ะ