ซื้อบัตรรถไฟฟ้าอย่างไรให้คุ้มค่าเดินทางที่สุด - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

ซื้อบัตรรถไฟฟ้าอย่างไรให้คุ้มค่าเดินทางที่สุด

Banner ปัญหาหนึ่งที่เด็กจบใหม่หลายคนเมื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือนต้องพบเจอนั่นคือรายได้มันช่างสวนทางกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่เกิดขึ้นเสียจริง ลำพังแค่เงินเดือน 15,000 บาท ค่ากินค่าอยู่ ก็หมดแบบไม่เหลือเก็บแล้ว ยังไม่นับรวมกับการเข้าสังคม หรือใครที่ต้องใช้บริการรถไฟฟ้าซึ่งขอบอกว่า “ค่าเดินทาง” มหาโหดใช่เล่น คำถามคือแล้วจะซื้อบัตรรถไฟฟ้าอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด มีเทคนิคแบบไหนที่นิยมใช้กันบ้าง ลองมาศึกษากันเลยดีกว่า

เทคนิคใช้จ่ายค่าเดินทางด้วยการซื้อบัตรรถไฟฟ้าสุดคุ้มค่า

1. วางแผนการเดินทางของตนเองให้ดี

สิ่งแรกสำหรับเด็กจบใหม่ทั้งหลายซึ่งอาจยังสับสนอยู่ว่าเมื่อตัวเราต้องใช้รถไฟฟ้าประจำจะทำยังไงให้ประหยัดเงินในกระเป๋าดีนะ? สิ่งแรกลองวางแผนการเดินทางของตนเองเพื่อพิจารณาว่าต้องเสียเงินไปกับขนส่งรูปแบบไหนบ้าง เช่น บางคนต้องใช้ทั้งรถไฟฟ้าบนดินและใต้ดิน, ใช้การต่อรถประจำทางหลังจากขึ้น-ลงรถไฟฟ้า หรือถ้าลองวางแผนดี ๆ แล้วการลงก่อนสถานีประจำ 1 สถานีจะช่วยประหยัดเงินได้เยอะกว่าก็จัดว่าน่าสนใจ ฯลฯ การวางแผนเบื้องต้น ศึกษาว่าต่อสัปดาห์เดินทางกี่วัน ไปเส้นทางไหนบ้าง จะช่วยให้ทุกคนสามารถเริ่มต้นจัดการเงินในกระเป๋าตนเองเพื่อซื้อบัตรรถไฟฟ้าได้ในราคาถูกมากที่สุด

2. มองหาโปรโมชั่นที่ตนเองใช้งานได้

ค่าเดินทางเป็นสิ่งที่ต้องใช้จ่ายออกไปทุกวัน ยิ่งใครใช้รถไฟฟ้าด้วยแล้วราคาสูงขนาดนี้ก็ต้องพยายามมองหาโปรโมชั่นที่จะช่วยให้คุณเซฟเงินได้อีกเป็นกอง ทั้งจากผู้ให้บริการเอง เช่น การซื้อแบบเหมารอบ, การซื้อเหมาวัน การซื้อตั๋วแบบแพ็คเกจประเภทต่าง ๆ ตามที่ผู้ให้บริการกำหนดเอาไว้ หรืออย่างมนุษย์เงินเดือนบางคนมีบัตรเครดิต บัตรเดบิต แอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็สามารถนำเอาคะแนน หรือสิทธิพิเศษเหล่านั้นมาแลกเป็นส่วนลดก็จัดว่าช่วยประหยัดเงินไปได้อีกพอควรเลยทีเดียว

3. ลดจำนวนสถานีแล้วใช้ขนส่งชนิดอื่นที่จ่ายน้อยกว่า

เข้าใจดีว่าราคารถไฟฟ้าของเมืองไทยราคาดุดันมาก ยิ่งเด็กจบใหม่ทั้งหลายเงินเดือนยังน้อย บางทีการต้องเสียเงินหลักหลายพันบาทต่อเดือนเพื่อเป็นค่าเดินทางไป-กลับระหว่างบ้านและที่ทำงานดูเป็นภาระหนักอึ้งเกินรับไหว ลองมองหาวิธีลดจำนวนสถานีไฟฟ้าที่ตนเองต้องเดินทางดูก็จัดว่าน่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น หากคุณต้องเสียเงินเป็นรายเดือนโดยใช้บัตรแบบเติมเงินคิดราคาตามระยะทาง เดิมเคยขึ้นสถานีใกล้บ้านสุดก็อาจลองออกจากบ้านให้เช้าขึ้นอีกนิดนั่งรถประจำทางไปลงจนถึงสถานีสุดท้ายที่รถผ่านแล้วค่อยเปลี่ยนไปใช้งานรถไฟฟ้า หรือจะใช้เทคนิคแรกที่แนะนำอย่างการลงก่อนถึงสถานีปลายทาง 1 จุดแล้วลองเดิน ก็ถือเป็นวิธีออกกำลังกายน่าสนใจมากทีเดียว เซฟเงินในกระเป๋าแถมยังได้สุขภาพกลับคืนมาด้วย

4. ลองวางแผนการเงินของตนเองให้ดี เพื่อประหยัดเงินในหลายส่วนให้มากขึ้น

เมื่อรู้ถึงวิธีในการซื้อบัตรรถไฟฟ้าให้คุ้มค่ามากขึ้นสำหรับการเดินทางไปทำงานหรือทำภารกิจต่าง ๆ แล้ว อีกปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามทั้งน้อง ๆ เด็กจบใหม่ หรือแม้แต่บรรดาพี่ ๆ มนุษย์เงินเดือนซึ่งเจอปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง มีค่าเดินทางมหาโหดรออยู่ทุกเดือน คำแนะนำคือ ให้ลองวางแผนการเงินของตนเองอย่างมีระเบียบมากขึ้น รู้ว่าเงินแต่ละบาทถูกใช้ทำอะไร หรือมีการจัดสรรเงินสำหรับค่าใช้จ่ายและเงินเก็บออกเป็นสัดส่วนชัดเจน ซึ่งวิธีที่ขอแนะนำคือ การใช้งานแอปจัดการค่าใช้จ่าย MAKE by KBank แอปนี้จะมีฟีเจอร์ชื่อ Cloud Pocket ให้คุณสามารถแยกกระเป๋าเงินต่าง ๆ ออกได้ไม่จำกัดจำนวนทั้งกระเป๋าค่าใช้จ่าย กระเป๋าเงินเก็บ ซึ่งจะแบ่งย่อยเป็นค่าเดินทาง, ค่ากินอยู่, ค่าสาธารณูปโภค, ค่าเช่าหอ, ค่าคอนโด, เงินเก็บซื้อเฟอร์นิเจอร์, เงินเก็บส่วนตัว และอื่นใดก็ตามสะดวก Image2

เมื่อแบ่งกระเป๋าเงินผ่านแอปจัดการค่าใช้จ่ายได้แล้วจะมีข้อดีมาก ๆ ตรงที่คุณสามารถใช้เงินโดยที่ตนเองจะรู้ความเคลื่อนไหวตลอดว่าเงินในส่วนไหนถูกใช้ไปเท่าไหร่ ไม่มีการไปดึงเอาเงินส่วนอื่นเข้ามาจนขาดมือและต้องเป็นหนี้สินในที่สุด มีน้อยใช้น้อยอย่างเหมาะสม แม้ค่าบัตรรถไฟฟ้าจะสูงไปสักหน่อยแต่ก็ไม่ขัดสนเงินทอง ในทางตรงข้ามยังอาจมีเงินเหลือเก็บมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ

ความพิเศษของ MAKE by KBank ยังไม่มีเท่านี้เพราะอีกฟีเจอร์ที่ขอแนะนำคือ Expense Summary ทำหน้าที่สรุปยอดค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนของคุณออกมาชัดเจนมากแบ่งออกเป็น 6 หมวด คือ ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ค่าช้อปปิ้ง, ความบันเทิง, การชำระบิล และอื่น ๆ หากสัดส่วนไหนที่รู้สึกใช้เกินตัวแบบไม่จำเป็น เช่น ทานอาหารมื้อหรูกับเพื่อนบ่อยไปนิด หรือช้อปปิ้งเพลินไปหน่อยก็จะรู้ตนเองทันที ช่วยบริหารจัดการเงินได้อยู่หมัด ไม่รั่วไหลหรือสุรุ่ยสุร่ายอย่างแน่นอน

นี่คือเทคนิคที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับเด็กจบใหม่รวมถึงเหล่ามนุษย์เงินเดือนสำหรับการซื้อบัตรรถไฟฟ้าแล้วจ่ายค่าเดินทางให้ประหยัดลงกว่าเดิม ยิ่งเมื่อบวกกับการใช้แอปจัดการค่าใช้จ่าย MAKE by KBank เข้ามาเป็นผู้ช่วยด้วยแล้ว นอกจากประหยัดเงินยัง ปรับพฤติกรรมตนเอง ให้ใช้อย่างมีระเบียบ ไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเงินส่วนอื่น ไม่เกิดหนี้สินเกินตัว นำมาซึ่งความสุขของชีวิต

กลับไปหน้าแรก