3 เคล็ดลับการจัดการเงินด้วยแอปดัง หลีกเลี่ยงเงินไม่พอใช้ - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

3 เคล็ดลับการจัดการเงินด้วยแอปดัง หลีกเลี่ยงเงินไม่พอใช้

Banner หลายคนมีปัญหากับการเก็บเงินเพราะติดดับดัก โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้จำกัด อาจทำให้การเก็บเงินกลายเป็นปัญหา อย่างการใช้เงินแบบเดือนชนเดือนเป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับมนุษย์เงินเดือน บางครั้งกลายเป็นเงินไม่พอใช้ในยามฉุกเฉิน หรือมีเรื่องจำเป็นเร่งด่วนเข้ามา เพราะฉะนั้นเคล็ดลับจัดการเงินถือเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ และสำหรับบทความนี้ก็จะมาพูดถึง 3 วิธีหลีกเลี่ยงกับดักทางเงิน เพื่อให้มีเงินเหลือเก็บ

1. บันทึกรายรับ-รายจ่าย

Image2 เคล็ดลับจัดการเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน ควรวางแผนการใช้เงินต่อเดือนให้ดี เพื่อแก้ปัญหาเงินไม่พอเก็บ การวางแผนอาจเริ่มต้นด้วยการ “บันทึกรายรับ-รายจ่าย” เพราะการจดบันทึกรายการค่าใช้จ่าย จะทำให้ผู้ใช้เงินมองเห็นการใช้เงินที่ชัดเจนมากกว่า สามารถนำข้อมูลไปใช้วางแผนในเดือนถัดไปได้

การบันทึกรายรับรายจ่ายจะทำให้สามารถดูย้อนหลังได้ว่าใช้เงินไปกับอะไรบ้าง หากมีความสงสัยว่าทำไมใช้เงินเยอะ ก็ลองเปิดกลับไปดูว่าเงินหมดไปกับอะไร และมีสิ่งไหนที่สามารถตัดออกได้บ้าง อย่างเช่นการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบางอย่างที่อาจลดความถี่ลงได้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายให้เหลือเงินเก็บมากขึ้น

อย่างเช่นการช้อปปิ้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า บางคนอาจไม่รู้ตัวว่าตัวเองหมดเงินไปกับค่าเสื้อผ้าแบบวันเว้นวัน แต่ถ้าหากมีการบันทึกรายรับรายจ่าย ก็จะทำให้มองเห็นว่าจำนวนครั้งในการซื้อเสื้อผ้าเยอะแค่ไหนอย่างไร สามารถลดลงเหลือสัปดาห์ละครั้งหรือสัปดาห์เว้นสัปดาห์ได้หรือไม่ เป็นต้น ตรงนี้สามารถพึ่งตัวช่วยดีๆ อย่าง แอปพลิเคชั่นทางการเงินได้ เช่น MAKE by KBank เพราะทุกการ โอน เติม จ่าย ผ่าน MAKE by Kbank จะถูกบันทึกอยู่ในประวัติการการทำธุรกรรม ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ และมันง่ายต่อมนุษย์เงินเดือนอย่างมาก เพราะไม่ต้องมานั่งจดบันทึกให้เสียเวลาเลย

2. งดเสพสื่อที่กระตุ้นการซื้อ

กับดักทางการเงินของมนุษย์เงินเดือนหนึ่งอย่างคือ “สื่อกระตุ้นการซื้อ” อย่างเช่นพวกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นช้อปปิ้งทั้งหลาย หรือแม้แต่พวกเพจที่กดติดตามไว้ ก็อาจทำให้เกิดการเย้ายวนใจได้ทุกเมื่อที่เห็นภาพโฆษณา ดังนั้นหนึ่งสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนที่กำลังประสบปัญหาสามารถทำได้ก็คืองดเวพสื่อเหล่านั้น อาจจะลบแอปออกจากโทรศัพท์ หรือลดจำนวนแอปลงไปบ้าง จากที่เคยมีสัก 4-5 แอป ก็เหลือไว้ 1-2 แอป เคล็ดลับจัดการเงินนี้คงจะพอช่วยให้หลีกเลี่ยงกับดักทางเงินได้บ้าง

เคยมีจิตวิทยาการทำโฆษณาของนักการตลาด เพื่อกระตุ้นความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย แปลว่าถ้าสามารถหลีกเลี่ยงสื่อที่นักการตลาดพยายามส่งมาได้ ก็จะช่วยลดความต้องการลงได้เช่นกัน ลองนึกภาพง่ายๆ แบบที่หลายๆ คนแพ้คำว่า Sale เห็นไม่ได้จะต้องเข้าไปส่องดูว่ามีอะไรบ้างที่กำลัง Sale อยู่ นั่นก็แปลว่าคนๆ นั้นกำลังตกหลุมพรางของนักการตลาดเข้าให้แล้ว สุดท้ายเมื่อเขาเจอสิ่งที่ถูกใจ ก็คงอดไม่ได้ที่จะตัดสินใจซื้อในที่สุด เพราะฉะนั้นจุดเริ่มต้นคือให้หลีกเลี่ยงการที่จะพบเจอกับสื่อเหล่านั้น

จริงอยู่ที่แอปโทรศัพท์อาจจะลบทิ้งได้ การไม่เข้าเว็บไซต์ก็สามารถทำได้ แต่หลายคนอาจกำลังนึกค้านอยู่ว่าการหลีกเลี่ยงพวกป้ายโฆษณาตามข้างทาง ตามป้ายรถเมล์ คงไม่อาจทำได้ ยิ่งถ้าหากเป็นเส้นทางที่ต้องเดินทางผ่านเป็นประจำ แต่อย่างน้อยก็จะช่วยลดจำนวนการเสพสื่อลงได้บ้าง และการลบแอปช้อปปิ้งก็เป็นการปิดกั้นช่องทางการซื้ออย่างหนึ่ง ทำให้เข้าถึงสินค้าได้ยากขึ้นนั่นเอง ก็พอจะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนที่ประสบปัญหาเงินไม่พอเก็บ เงินเดือนหมด หรือเงินไม่พอใช้แก้ไขปัญหาได้บ้าง

3. แบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ

Image3 เคล็ดลับจัดการเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงกับดักทางการเงินให้มีเงินเก็บ ลดปัญหาเงินไม่พอใช้ โดยเฉพาะในยามฉุกเฉินหรือจำเป็นมากๆ ก็คือการ “แบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ” แนะนำว่าให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนของค่าครองชีพ ส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ และส่วนของเงินเก็บ

ส่วนของค่าครองชีพ

ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ฯลฯ เป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วลองรวมยอดดูว่าค่าครองชีพเหล่านี้อยู่ที่เท่าไร เมื่อหักกับรายได้แล้วเหลือเท่าไร บางอย่างสามารถลดลงได้ไหม เช่น ค่าไฟสามารถลดระยะเวลาการเปิดเครื่องปรับอากาศลงได้ไหม หรือค่าโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ต สามารถลดแพ็คเก็ตลงไปหรือไม่ หากสามารถทำได้ก็จะช่วยให้สัดส่วนตรงนี้ลดลง เงินก็จะเหลือมากขึ้น ปัญหาเงินไม่พอใช้ก็จะน้อยลงด้วย

ส่วนที่ 2

เป็นส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างพวกค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ดูหนัง สังสรรค์ ช้อปปิ้ง ฯลฯ ที่ไม่เกี่ยวกับค่าครองชีพ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกินออกมา สามารถทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้ อย่างค่าอาหารถ้าเป็นกินข้าวธรรมดามื้อละไม่เกิน 100 บาท ถือเป็นค่าครองชีพ แต่ถ้าเป็นมื้อละ 100 บาทขึ้นไป อาจแยกออกมาอยู่ในส่วนที่ 2 นี้ จากนั้นก็กำหนดงบประมาณไปเลยว่าต่อเดือนจะใช้เงินส่วนที่ 2 ไม่เกินเท่าไร กำหนดตัวเลขเอาไว้เลย และพยายามใช้ให้อยู่ในงบอย่าให้เกิน

ส่วนที่ 3

ให้แบ่งเป็นเงินเก็บ คือส่วนที่เหลือจาก 2 ส่วนแรก แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนบางคนอาจเจอปัญหา แบ่งเงินแล้วก็ยังพบว่าเงินไม่พออยู่ดี ไม่สามารถเหลือมาถึงส่วนนี้ได้ อาจต้องพิจารณาค่าครองชีพอย่างจริงจังว่าสัมพันธ์กับรายรับหรือไม่ อย่างค่าที่พักที่มักจะเจอปัญหาคือบางคนเลือกที่พักที่ราคาค่อนข้างสูง ไม่สัมพันธ์กับรายรับ ก็ทำให้เงินไม่พอได้เหมือนกัน หรือบางคนเลือกที่พักไกลจากที่ทำงานเกินไป เพราะคิดว่าราคาถูก แต่ลืมคำนวณค่าเดินทาง ทำให้เงินไม่พอใช้ได้เหมือนกัน ส่วนนี้ก็ต้องจัดการให้ดี

สามารถพึ่งตัวช่วยดีๆ อย่าง MAKE by KBank แอปคนรุ่นใหม่ ได้ เพราะนอกจากการโอน เติม จ่าย ผ่าน MAKE by KBank แล้ว ยังมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่างนั่นก็คือ “Cloud Pocket” ที่สามารถสร้างกระเป๋าเงินย่อยไว้แยกเก็บเงินในบัญชีได้แบบไม่จำกัดจำนวน ช่วยแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ ได้

มนุษย์เงินเดือนก็สามารถมีเงินเก็บได้ หากมีเคล็ดลับจัดการเงินที่ดีพอ ที่สำคัญคือต้องมีวินัยมากๆ ต้องห้ามความต้องการบางอย่างให้ได้ และใช้เงินให้สมดุลกับรายรับที่มี ปัจจุบันตัวช่วยทางการเงินก็มีความหลากหลาย แนะนำให้มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายเลือกใช้งานตามความหมาะสมของตนเอง เพื่อแก้ปัญหาเงินไม่พอเก็บหรือเงินไม่พอใช้ อย่างเช่นแอป MAKE by KBank ที่เป็นอีกหนึ่งแอปตัวช่วยเรื่องการเงินแบบครบครันที่นอกจากการ จัดการเงิน แล้วยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่ช่วยประหยัดเงินได้ด้วย

กลับไปหน้าแรก