

ปัญหาวัยรุ่นมหาลัยอย่างเรานอกจากความรักแล้วก็น่าจะหนีไม่พ้นเรื่องเงินๆทองๆแหละเนอะ บอกก่อนว่าตอนเรียนมัธยมใฝ่ฝันอยากจะอยู่หอพักมากๆ เพราะอยากได้อิสระและที่สำคัญอยากได้เงินรายเดือนค่ะ 555 มันเหมือนได้เงินก้อนใหญ่มาใช้อะไรแบบนี้ อยากควบคุมเงินเอง พอเข้ามหาลัยแล้วมาใช้ชีวิตรายเดือนก็คือมันไม่ง่ายเลย เงินไม่พอบ้าง จัดการเงินไม่ถูกบ้าง วันนี้เลยจะมาแชร์สูตรวิธีการเก็บเงินและจัดการเงินให้พอใช้ในหนึ่งเดือนแถมอาจจะมีเงินเก็บเล็กๆน้อยๆได้อีกด้วยค่ะ
อย่างแรกมาจัดแจงค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนของเราก่อนเลยค่ะ ตรงส่วนนี้จะพ่วงการทำรายรับรายจ่ายเข้าไปด้วยเพื่อความละเอียดและเห็นภาพรวมของค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นนะคะ โดยเราจะใช้ตัวช่วยอย่าง MAKE By KBank มาจัดการเงินค่ะ เริ่มด้วยฟีเจอร์ Cloud Pocket แบ่งกระเป๋าเงินก่อนเลย แบ่งได้ไม่จำกัดเลยนะคะ
เบื้องต้นที่เป็นค่าใช้จ่ายหลักจะประมาณเท่านี้ค่ะ ใครมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากกว่านี้ใส่เพิ่มไปได้เลย รวมแล้วประมาณ 15,000 - 16,000 บาท ถือเป็นค่าครองชีพที่สูงเลยที่เดียวสำหรับการเรียน มีค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ควบคุมได้ยากอย่างเช่นค่าอาหาร ค่าเข้าสังคมและค่าอุปกรณ์การเรียนตรงอาจจะต้องจัดการเงินให้ดีเพราะส่วนมากค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นตัวทำให้เงินไม่พอใช้ระหว่างเดือนค่ะ
พอจัดแจงค่าใช้จ่ายได้แล้วที่นี่มาถึงทริคในการบริหารเงินและวิธีการเก็บเงินกันค่ะ เนื่องจากเราใช้ฟีเจอร์ Cloud Pocket ไปแล้วพอเราใช้จ่ายผ่านฟีเจอร์ตัวนี้เราจะสามารถใช้ฟีเจอร์ Expense Summary ซึ่งก็คือฟีเจอร์ช่วยสรุปค่าใช้จ่ายของเรา สรุปให้ตาม Cloud Pocket ที่เราแบ่งไว้เลย ทำให้เราย้อนดูพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองในเดือนนั้นได้ การจัดการเงินของเราจะแบ่งออกตามค่าใช้จ่ายที่ลิสต์ไว้ข้างต้นนะคะ
ค่าหอพัก อันนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ควบคุมระหว่างเดือนไม่ได้ค่ะ ไม่สามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ อาจจะต้องใช้การสินใจดีๆตั้งแต่ปี 1 เลยค่ะ แล้วอยู่ไปยาวๆจบเรียนจบ ใครที่อยากประหยัดค่าใช้จ่ายหอพักของมหาวิทยาลัยจะราคาถูกกว่าแต่จะไม่ค่อยมีความเป็นส่วนตัวเท่าไหร่เพราะบังคับแชร์ห้องกับรูมเมทด้วยค่ะ
ค่าอินเทอร์เน็ตมือถือ เดี๋ยวนี้มีซิมรายปีสำหรับนักเรียนนักศึกษาค่ะ เปลี่ยนมาใช้ซิมรายปีแบบนี้จะดีกว่า ถูกกว่าจ่ายรายเดือนแน่นอน จ่ายทีเดียวใช้ยาวทั้งปีเลย
ค่ารถ ค่าเดินทาง หอพักชอบอยู่ในซอกซอยค่ะ อาจจะต้องนั่งวินมอเตอร์ไซต์เข้าไปแต่ถ้าใครขยันหน่อยลองใช้วิธีเดินเข้าซอยดูนะคะ จะได้เสียแค่ค่ารถเมล์อย่างเดียว ประหยัดเงินไปได้อีก
ค่าอาหาร ตรงนี้ก็ควบคุมยากค่ะ ร้านอาหารราคาไม่เท่ากันและเราคงไม่กินร้านเดียวทั้งเดือน ตรงนี้จะมีส่วนต่างเพิ่มเข้ามาประจำเลยค่ะ เกินงบบ้าง น้อยกว่างบบ้าง แต่อย่างไรก็ควรตั้งงบไว้ก่อนค่ะ เกินมานิดหน่อยไม่เป็นไร
ค่าของใช้ ตรงนี้สามารถจัดการเงินให้อยู่ในงบประมาณได้ค่ะ อาจทำให้ประหยัดเงินมากขึ้นด้วยการขยันสังเกตโปรโมชั่นอาจจะมี 1แถม1 หรือซื้อสองชิ้นถูกกว่า ทำนองนี้ค่ะ
น้ำดื่มแพ็ค อาจลองเปลี่ยนใช้น้ำจากตู้กรองหยอดเหรียญแทนค่ะ 1 ลิตร 1 บาท แต่ต้องเลือกตู้ที่สะอาดหน่อยค่ะ ดูใหม่และมีการทำความสะอาดอยู่ตลอด หรือเลือกลงทุนซื้อตัวกรองน้ำแบบไม่ต้องเจาะผนังมาใช้ก็ได้ค่ะ สะดวกสบายและสะอาดด้วย
ค่าอุปกรณ์การเรียน พวกค่าชีทหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยจำเป็นต้องจ่าย แต่พวกสมุด ปากกา สามารถจัดการเงินตรงนี้ได้ค่ะแถมเป็นอีกหนึ่งวิธีเก็บเงินได้ด้วย พวกสมุดจดนี่มีหลายเกรดมากค่ะ ราคาต่างกัน มีตั้งแต่รา 10 บาท ไปจนถึงหลายร้อย ที่ราคาแพงเป็นเพราะสมุดนั้นมีค่าลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนต่างๆเพิ่มเพิ่มความน่ารัก เราอาจต้องตัดใจกับความน่ารักตรงนั้นไปก่อนแล้วเน้นการใช้งานแทนค่ะ เลือกซื้ออุปกรณ์ที่ราคาประหยัดแต่สามารถใช้งานได้เหมือนกัน แบบนี้มีเงินเหลือพอใช้ระหว่างเดือนเพิ่มแน่นอน
ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ตรงนี้จะรวมค่าช็อปปิ้งต่างๆเข้าไปเลยนะคะ มีหลายวิธีมากที่สามารถจัดการเงินตรงนี้ได้ค่ะ อาจจะลดความถี่ในการไปคาเฟ่ให้น้อยลง เปลี่ยนมานั่งเม้ากับเพื่อนในมหาลัยแทนหรือไปนั่งเล่นที่ห้องเพื่อนแทนเปลี่ยนบรรยากาศ ก็จะประหยัดค่าอาหารค่ากาแฟไปได้เยอะเลยค่ะ หรือเครื่องมือเอ็นเตอร์เทนตัวต่างๆลองใช้วิธีแชร์ไอดีกับเพื่อนก็ประหยัดค่าใช้จ่ายรายเดือนไปได้เยอะเลยค่ะ
สิ่งที่สำคัญในการควบคุมเงินคือการทำรายรับรายจ่ายนะคะ เพราะส่วนมากเรามักใช้เงินไปไม่รู้ตัวการทำรายรับรายจ่ายจะทำให้เราเห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเองได้อย่างละเอียดเลยค่ะ และสำหรับวัยรุ่นวัยมหาลัยก็มีตัวช่วยดีๆที่ทันสมัยในการทำรายรับรายจ่ายเยอะเลยค่ะ อย่าง MAKE By KBank ที่มีฟีเจอร์ Expense Summary ช่วยสรุปค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนให้ ช่วยกันเงินรั่วไหลระหว่างเดือน เห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเป็นต้นเหตุให้เงินไม่พอใช้ด้วยนะ