สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

แจกฟรี! ฟรีแลนซ์มือใหม่ต้องรู้ คู่มือยื่นภาษียังไงให้เป๊ะ!

# คำถามการเงินยอดฮิต

FreelanceTaxes_Main.png

ในยุคที่การทำงานอิสระกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ฟรีแลนซ์ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ กลายเป็นทางเลือกที่หลายคนเลือกเดิน แต่สิ่งหนึ่งที่ฟรีแลนซ์หลายคนมองข้ามหรือไม่แน่ใจคือเรื่องของการยื่นภาษี ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ทุกคนในประเทศไทย

บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับการยื่นภาษีสำหรับฟรีแลนซ์ที่ถูกต้อง ครบถ้วน เข้าใจง่าย แม้ไม่มีพื้นฐานด้านบัญชีก็ตาม พร้อมเทคนิคการเตรียมเงินสำหรับแบ่งไว้จ่ายภาษีด้วย

เป็นฟรีแลนซ์ต้องยื่นภาษีไหม? ยื่นเมื่อไหร่?

ฟรีแลนซ์จำเป็นต้องยื่นภาษี เพราะแม้จะไม่ได้เป็นพนักงานประจำ แต่อาชีพอิสระหรือฟรีแลนซ์ก็ถือว่าเป็นผู้มีรายได้ และอยู่ภายใต้กฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นฟรีแลนซ์ที่มีรายได้จากงานเขียน ออกแบบ แปลภาษา ถ่ายภาพ หรือให้บริการใดๆ หากรายได้นั้นถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คุณก็มีหน้าที่ยื่นภาษีและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับมนุษย์เงินเดือน โดยจะใช้อัตราเดียวกัน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

| รายได้สุทธิ | อัตราภาษี | | --- | --- | | 0 - 150,000 บาท | ยกเว้นภาษี | | 150,001 - 300,000 บาท | 5% | | 300,001 - 500,000 บาท | 10% | | 500,001 - 750,000 บาท | 15% | | 750,001 - 1,000,000 บาท | 20% | | 1,000,001 - 2,000,000 บาท | 25% | | 2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% | | มากกว่า 5,000,000 บาท | 35% |

โดยฟรีแลนซ์ต้องยื่นภาษีภายในช่วง 1 มกราคม – 8 เมษายนของทุกปี* โดยสามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากรที่เว็บไซต์ efiling.rd.go.th ได้สะดวก ไม่ต้องไปที่สำนักงาน ทั้งนี้การยื่นภาษีอย่างถูกต้องจะช่วยให้มีประวัติทางการเงินที่ดี และใช้สิทธิลดหย่อนต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

*ตรวจสอบรายละเอียดการยื่นภาษีอีกครั้งเนื่องจากเงื่อนไขอาจจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละปี

ฟรีแลนซ์ต้องยื่นภาษีแบบไหน? มาดูรายละเอียดกัน

ฟรีแลนซ์หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (แบบ 50 ทวิ) ก็ยังคงต้องยื่นภาษีเช่นเดียวกับผู้มีรายได้ประเภทอื่น

การเสียภาษีของฟรีแลนซ์

รอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะอยู่ระหว่าง 1 มกราคม – 8 เมษายนของทุกปี ซึ่งฟรีแลนซ์ต้องเสียภาษี 2 รอบ

  • จ่ายรอบแรก: หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

หรือก็คือทุกครั้งที่ได้รับเงินจากงาน ผู้ว่าจ้างจะเป็นภาษีตรงนี้ไปก่อน แต่ถ้าหากไม่ได้ถูกหักหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เลย ก็ต้องคำนวณจ่ายในรอบที่สอง

  • จ่ายรอบที่ 2 : ช่วงยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ฟรีแลนซ์ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 ซึ่งปกติจะต้องยื่นให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี โดยกรณีที่มีรายได้จากงานฟรีแลนซ์เกิน 60,000 บาทต่อปี ก็ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพิ่มเติมแบบ ภ.ง.ด.1 หรือหากถูกหักไว้เกินจากงานบางงานก็สามารถขอคืนภาษีได้ในขั้นตอนนี้

ไม่มี 50 ทวิ ยื่นภาษียังไง?

แม้จะไม่มีหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (แบบ 50 ทวิ) เหมือนพนักงานประจำ แต่ฟรีแลนซ์หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระก็ยังมีหน้าที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือแบบ ภ.ง.ด.90 ซึ่งใช้สำหรับผู้ที่มีรายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการเป็นลูกจ้าง เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ หรือรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระต่างๆ

และจะด้องใช้หลักฐานรายได้ของตนเอง เพื่อแสดงรายรับ เช่น สลิปการโอนเงิน รายการเดินบัญชีธนาคาร (Statement) และใบเสร็จหรือหลักฐานการรับเงิน

เอกสารที่ใช้ในการยื่นภาษี ได้แก่

  • รายการรายรับตลอดปี
  • เอกสารลดหย่อนต่างๆ เช่น เบี้ยประกัน กองทุน SSF/RMF
  • ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
  • เอกสารที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย (หากเลือกหักตามจริง) เพื่อให้การยื่นภาษีแม่นยำและลดความผิดพลาดจากการประเมิน

วิธีคำนวณภาษีเบื้องต้น

ภาษีที่เราต้องจ่ายสามารถคำนวณได้จาก เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ = [เงินได้พึงประเมิน - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน]

เงินได้พึงประเมิน และค่าใช่จ่าย

เงินได้พึงประเมิน หมายถึง รายได้ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องนำมาเสียภาษีนั่นเอง โดยทั่วไปแล้ว รายได้ของฟรีแลนซ์จะถูกจัดอยู่ในหมวดเงินได้ตามมาตรา 40(2) ซึ่งหมายถึง ค่าจ้างจากการทำงานหรือค่าคอมมิชชั่น โดยจากผู้ว่าจ้าง (ผู้จ่ายเงิน) และผู้รับจ้างงาน (ผู้รับเงิน) ไม่ได้อยู่ในสถานะเจ้านาย-ลูกน้อง

ส่วน ค่าใช้จ่าย คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งไม่ได้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายจริง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่รัฐอนุญาตให้นำมาหักลดได้ โดยถือว่าเป็นค่าต้นทุนของการหารายได้ของเรานั่นเอง โดยวิธีการหักค่าใช้จ่ายจะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

  • หักแบบเหมา: อัตราหักค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับเงินได้แต่ละประเภท ไม่ต้องมีเอกสารประกอบ
  • หักตามจริง: ต้องมีใบเสร็จ/เอกสารประกอบ

เงินได้ตามมาตรา 40(2) สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้สูงสุด 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าลดหย่อน

ส่วนนี้คือ อีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ขึ้นอยู่กับสภานภาพและภาระความรับผิดชอบของผู้เสียภาษี โดยสำหรับคนทำงานส่วนใหญ่ ค่าลดหย่อนมาตรฐาน จะมีดังนี้

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว (ไม่เกิน 60,000 บาท)
  • ค่าประกันชีวิต (ไม่เกิน 100,000 บาท)
  • ค่าประกันสุขภาพ
  • กองทุน SSF/RMF
  • ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา บุตร หรือค่าบริจาค
  • ค่าลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการ

พอคำนวณ เงินได้สุทธิ แล้ว ให้นำไปเข้าสูตรคำนวณตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได โดยดูจากตารางด้านบนได้เลย

ขั้นตอนการยื่นภาษี

พอคำนวณเงินได้สุทธิแล้ว เราก็เพียงแต่เตรียมหลักฐานรายรับ - รายจ่ายให้ครบถ้วน และเลือกช่องทางการยื่นภาษี ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี:

  • ยื่นออนไลน์: อัพโหลดเอกสารทุกอย่างผ่านเว็บไซต์ efiling.rd.go.th ของกรมสรรพากร สะดวกและรวดเร็ว
  • ยื่นด้วยตนเอง: ยื่นเอกสารด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ใกล้บ้าน

ซึ่งจริงๆ แล้วการยื่นภาษีไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่เก็บหลักฐานรายรับไว้ให้ครบ คำนวณรายได้สุทธิให้ถูกต้อง และเลือกหักค่าใช้จ่ายกับสิทธิ์ลดหย่อนให้เหมาะสม ก็สามารถยื่นภาษีได้เองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยสร้างประวัติทางการเงินที่ดี และลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบย้อนหลังอีกด้วย

FreelanceTaxes_1.png

ฟรีแลนซ์มือใหม่ วางแผนภาษียังไงไม่ให้พลาด

สำหรับฟรีแลนซ์มือใหม่ การวางแผนภาษีล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะรายได้ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายเหมือนพนักงานประจำ ต้องรับผิดชอบภาษีเองเต็มจำนวน หากไม่กันเงินไว้ อาจเจอปัญหาเงินไม่พอจ่ายภาษีตอนปลายปี ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้ รวมไปถึงการซื้อลดหย่อนที่เป็นภาระผูกพันธ์ระยะยาว เช่น ประกันชีวิต หรือการลงทุนต่างๆ เนื่องจาก ถ้าเรามีรายได้น้อยในปีนั้นๆ ก็อาจจะทำให้ไม่มีเงินเพียงพอในการซื้อลดหย่อนเช่นกัน

วิธีง่ายๆ ในการวางแผนภาษี คือ เริ่มจากการบันทึกรายรับ–รายจ่ายสม่ำเสมอ ประเมินรายได้รวมทั้งปี และคำนวณภาษีโดยประมาณ เพื่อรู้ว่าแต่ละเดือนควรเก็บไว้สำหรับลดหย่อน หรือจ่ายภาษีเท่าไหร่ แนะนำให้กันเงินไว้ 5–10% ของรายได้ทุกครั้งที่ได้รับเงินสำหรับใช้จ่ายภาษี และวางแผนซื้อประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษี

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้จัดการภาษีง่ายขึ้น เช่น

  • เว็บไซต์คำนวณภาษีของกสิกรไทย (KBank): https://www.kasikornbank.com/th/tax/pages/calculate_tax.aspx
  • Cloud Pocket สำหรับแยกเงินในบัญชีออกเป็นหลายๆ กระเป๋าย่อย เช่น สร้าง Cloud Pocket “เงินซื้อลดหย่อนี” เพื่อแยกเงินก้อนนี้ออกจากรายรับหลักหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
  • Expense Summary ในแอป MAKE by KBank ที่ช่วยสรุปรายรับรายจ่ายรายเดือนอย่างชัดเจน ช่วยให้วางแผนภาษีได้แม่นยำยิ่งขึ้น ไม่ต้องกังวลตอนยื่นภาษีอีกต่อไป

การเป็นฟรีแลนซ์ไม่ได้หมายความว่าจะหลุดพ้นจากภาระภาษี แต่กลับต้องมีวินัยทางการเงินและความเข้าใจด้านภาษีมากขึ้น บทความนี้หวังว่าจะช่วยให้คุณเข้าใจหลักการพื้นฐานของฟรีแลนซ์และการยื่นภาษีได้อย่างชัดเจน และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเองในระยะยาว

Banner SEO.png

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ