สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

How to เช็กสภาพคล่องทางการเงินทำอย่างไร?

financial-liquidity.jpg

ใครทำงานสายการเงิน, การบัญชี และวางแผนภาษีให้กับลูกค้าคงคุ้นเคยกับคำว่าสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างดี แต่สำหรับคนทั่วไปแล้วคงฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเหมือนไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารเงินรวมทั้งการจัดการค่าใช้จ่ายรายเดือนเท่าไหร่นัก

แต่ความจริงแล้วสภาพคล่องทางการเงินเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่ทุกคนคิด เพราะมีส่วนสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้แก่อนาคตของคุณโดยตรง ด้วยเหตุนี้เราจึงพาทุกคนมารู้จักกับคำว่าสภาพคล่องทางการเงินให้มากขึ้น พร้อมรู้จักกับวิธีเก็บเงินในเวอร์ชันมนุษย์เงินเดือน ที่ใครๆ ก็ทำได้ จนมีเงินเก็บสม่ำเสมอในทุกเดือน ไม่ต้องห่วงกับปัญหาหนี้สินอีกต่อไป!

สภาพคล่องทางการเงินคืออะไร สำคัญอย่างไรบ้าง?

สภาพคล่องทางการเงิน คือ ความสามารถในการแปลงสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ทองคำ, รถยนต์ บ้าน หรือที่ดินให้เป็นเงินสดเมื่อคุณต้องการ ซึ่งสินทรัพย์แต่ละแบบก็มีความช้า-เร็ว ในการแปลงเงินสดแตกต่างกันออกไป เช่น เงินฝากในบัญชีธนาคาร จัดว่ามีสภาพคล่องสูงที่สุด เพราะเพียงแค่ใช้แอปโมบายแบงก์กิ้ง ก็สามารถถอนเงินสดออกมาใช้จ่ายได้ทันที

ในขณะที่ทองคำมีสภาพคล่องทางการเงินน้อยกว่าเงินฝาก เพราะต้องนำทองไปขายถึงจะได้รับเงินสดออกมา และไม่ใช่ร้านทองทุกร้านด้วย ที่จะรับซื้อทองคำ ถ้าไม่ใช่ทองคำตามเกรดและมาตรฐานที่ร้านค้ากำหนด อีกทั้งราคาทองก็มีความผันผวนรายวัน ทำให้อาจขาดทุนจากการขายทองได้ด้วย หากคุณซื้อทองมาในราคาที่สูงเกินไป

ส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องทางการเงินน้อยที้สุด คงหนีไม่พ้นกับบ้าน และรถยนต์ เพราะคงไม่มีใครที่จะซื้อบ้าน หรือรถยนต์กันได้ง่ายๆ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ราคาสูง ผู้ซื้อจึงใช้เวลาพิจารณานานก่อนตัดสินใจซื้อ

สภาพคล่องทางการเงินนั้นมีความสำคัญมากกว่าที่ทุกคนคิด เพราะหากเราขาดสภาพคล่องเมื่อไหร่ ย่อมหมายความว่าคุณขาดเงินสดในมือ ทำให้ไม่สามารถจัดการกับเหตุฉุกเฉินทางการเงินได้ เช่น ตกงานกะทันหัน หรือนำเงินไปรักษาตัวในโรงพยาบาล ดังนั้นก่อนตัดสินใจใช้จ่ายเงินก้อนที่ตั้งใจสะสมมา เช่น เก็บเงินซื้อบ้าน หรือซื้อที่ดิน ควรคิดเผื่อในกรณีที่ต้องขายออกเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายกรณีฉุกเฉินด้วย

สภาพคล่องทางการเงินเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสม?

หากสงสัยว่าเราต้องมีสภาพคล่องทางการเงินเท่าไหร่ดี ถึงจะเพียงพอ? เราแนะนำให้คุณมีสินทรัพย์รวมกันมีมูลค่าเท่ากับเงินสดที่ต้องใช้จ่ายรวมกัน 6 เดือน เช่น หากมีค่าใช่จ่ายส่วนตัวรายเดือนเท่ากับ 25,000 บาท หมายความว่า ควรมีเงินฝากในบัญชีธนาคาร มากกว่า 150,000 บาท หรือมีทองคำมูลค่าเกินกว่า 150,000 บาทขึ้นไป

ส่วนสาเหตุที่ควรมีสภาพคล่องเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องใช้จ่าย 6 เดือน เนื่องจากโดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อตกงานกะทันหัน คนส่วนมากจะสามารถหางานประจำใหม่ได้ภายใน 6 เดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าภายใน 6 เดือนที่อยู่ระหว่างการตกงานนี้จะต้องรองานประจำ และใช้เงินแต่เพียงอย่างเดียว เพราะคุณสามารถมองหางานอื่นๆ มาทำควบคู่ได้ เพื่อไม่ให้เงินเก็บหมดเร็วเกินไป เช่น งานฟรีแลนซ์ เป็นต้น

4 วิธีเช็กสภาพคล่องทางการเงินที่คุณควรรู้แบบง่ายๆ

financial-liquidity-process.jpg

หลังจากทราบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าสภาพคล่องทางการเงินคืออะไร มีเท่าไหร่ดีถึงจะเหมาะสม? ก็มารู้จักกับ 4 วิธีเช็กสภาพคล่องดังต่อไปนี้ เพื่อตรวจสอบสุขภาพทางการเงินของคุณได้เลย

1. ตรวจสอบจากงบรายรับ-รายจ่าย

บัญชีรายรับรายจ่าย เป็นสิ่งแรกในการตรวจสอบว่าสภาพคล่องทางการเงินของคุณเป็นอย่างไร? หากรายจ่ายติดลบเป็นประจำทุกเดือนไม่มีเงินออมเลย ก็นับเป็นสัญญาณว่าสภาพคล่องเริ่มมีปัญหาแล้ว เพราะปล่อยให้ตัวเลขติดลบไปเรื่อยๆ หมายความว่าในวันหนึ่งคุณต้องหาทางขายสินทรัพย์ที่มีเพื่อใช้เป็นเงินหมุนในอนาคต

วิธีแก้ปัญหาสภาพคล่องส่วนบุคคลในกรณีนี้ จึงควรให้รายได้มากกว่ารายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ โดยการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง และหาทางเพิ่มรายได้ควบคู่กันไปด้วย ในกรณีที่คุณต้องจ่ายหนี้สินจำนวนมากอาจหาทางเจรจาประนอมหนี้ หรือขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ เพื่อขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป และเพื่อลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนลง

2. พิจารณาจากงบดุลส่วนบุคคล

การหาสภาพคล่องทางการเงิน จากสูตรงบดุลส่วนบุคคล คือ สินทรัพย์ทั้งหมด -หนี้สิน = ความมั่งคั่งสุทธิ หากความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวกย่อมหมายความว่าสภาพคล่องของคุณดีมาก แต่ถ้าเป็นลบก็คือ สภาพคล่องทางการเงินไม่ดี และมีโอกาสหมุนเงินไม่ทันอีกด้วย

ตัวอย่างเช่นนาย A มีสินทรัพย์ประกอบ ได้แก่

เงินสด 50,000 บาท

ทองคำมูลค่า 120,000 บาท

หนี้บัตรเครดิต 100,000 บาท

หนี้รถยนต์ เท่ากับ 250,000 บาท

จะได้ว่าความมั่งคั่งสุทธิของนาย A คือ

(50,000+120,000)-(100,000+250,000)

= -180,000 บาท

3. อัตราส่วนสภาพคล่องก็ช่วยได้

หากไม่รู้ว่าคุณมีสภาพคล่องทางการเงินมากพอหรือไม่? สามารถใช้สูตรอัตราส่วนสภาพคล่อง คือ
เงินเก็บทั้งหมด/ หนี้สินระยะสั้น (หนี้สินที่มีระยะเวลากำหนดชำระน้อยกว่า 1 ปี)
หากมีค่ามากกว่า 1 แสดงว่ามีเงินเก็บมากพอในการชำระหนี้ ตัวอย่างเช่น

นาย B มีเงินเก็บ 200,000 บาท และหนี้บัตรเครดิต 100,000 บาท

จะได้ว่านาย B มีอัตราส่วนสภาพคล่องเท่ากับ 200,000 /100,000 = 2

หมายความว่านาย B มีเงินเก็บมากพอที่จะชำระหนี้ได้

4. อัตราส่วนเงินออมอีกหนึ่งตัวเลือกในการเช็กสภาพคล่อง

จำนวนเงินฝากในบัญชีก็มีผลในการตรวจสอบสภาพคล่องทางการเงินเช่นกัน ซึ่งสูตรในการคำนวณหาอัตราส่วนเงินออม คือ เงินออมต่อเดือน/รายได้ต่อเดือน หากมีค่ามากกว่า 0.1 แสดงว่าสภาพคล่องส่วนบุคคลอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะมีเงินออมมากกว่า 10% ของรายได้ ตัวอย่างเช่น

นาย C ออมเงิน 2500 บาท 15,000 บาท

กรณีนี้นาย C มีอัตราส่วนเงินออมเท่ากับ 2,500/15,000 =0.167 แสดงให้เห็นว่านาย C ออมเงินได้ 16% ของเงินเดือน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี แต่นาย C ก็ควรรักษาระดับการออมนี้ไว้อย่างสม่ำเสมอ เพราะการออมเงินที่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าต้องออมเงินมากๆ เพียงครั้งเดียว แต่ควรออมเงินเป็นประจำ เพื่อมีวินัยออมเงินในระยะยาว

หมดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ด้วยแอปเก็บเงิน MAKE by KBank

หากรู้สึกว่าเก็บเงินไม่อยู่จนขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ทำให้ความมั่งคั่งสุทธิลดลง แต่ถ้าคุณลองใช้งานแอปเก็บเงิน อย่าง MAKE by KBank ซึ่งมาพร้อมกับฟีเจอร์มากมายที่จะช่วยให้ทุกคนออมเงินได้ง่ายขึ้น หมดกังวลเรื่องไม่มีเงินเก็บเตรียมพร้อมกับเหตุการณ์ฉุกเฉินอีกต่อไป

1. Cloud Pocket

ใครที่กำลังมีปัญหาการบริหารจัดการเงินต้องไม่พลาดกับการใช้งานฟีเจอร์ Cloud Pocket ที่ให้ผู้ใช้งานสร้างกระเป๋าเงินได้ตามที่ใจต้องการ แถมออกแบบชื่อกระเป๋าเงินด้วยตนเองได้ด้วย เช่น กระเป๋าเงินออม กระเป๋าหนี้บัตรเครดิต กระเป๋าหนี้บ้าน ที่เพียงแค่ถึงวันสิ้นเดือนเงินเดือนออก ก็โอนเข้ากระเป๋าเงินเหล่านี้ เพียงเท่านี้ก็ทำได้ทั้งออมเงิน และจ่ายหนี้สินภายในครั้งเดียว

และ Cloud Pocket ก็ได้พัฒนาฟีเจอร์น้องใหม่ แค่ตั้งชื่อกระเป๋าเงินว่า “แผ่นออมเงิน” คุณจะพบกับน้องเมคสีเหลือง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยออกแบบแผนเก็บเงินให้คุณทราบได้ง่ายๆ ว่าแต่ละวันต้องออมเงินเท่าไหร่ ถึงจะออมเงินได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจเอาไว้ เมื่อเก็บเงินได้แล้ว จะปรากฏตัวน้องเมคขึ้นมาเปรียบเสมือนคะแนนให้ทุกคนสะสมได้อีกด้วย

2. Expense Summary

หากกำลังประสบปัญหาการจ่ายหนี้หลายรายการจนไม่รู้ว่าในเดือนนี้จ่ายหนี้ก้อนไหนไปแล้วบ้าง และไม่อยากค้างชำระ เพราะจะกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน จากการที่ถูกเรียกเก็บค่าทวงถามเพิ่มเติม เราแนะนำฟีเจอร์ Expense Summary ที่สรุปรายการค่าใช้จ่ายรายเดือนให้คุณแบบอัตโนมัติ ทำให้คุณทราบได้ทันทีว่าใช้เงินจ่ายหนี้สินก้อนใดไปแล้วบ้าง

3. Pop Pay

ใครกำลังประสบกับปัญหาโอนเงินให้เพื่อนแต่ละครั้งต้องคอยขอเลขที่บัญชีของเพื่อนให้ยุ่งยากอยู่บ้าง? ฟังทางนี้เลย เพราะ MAKE by KBank ได้หาทางแก้ปัญหาไว้เรียบร้อยแล้ว ผ่านการโอนเงินด้วยระบบ Bluetooth ด้วยฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Pop Pay ที่ให้ผู้ใช้งาน โอนเงินให้แก่เพื่อนในระยะ 10 เมตรได้ทันที

4. Chat Banking

ผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้งคงทราบดีว่าเวลาโอนเงินจ่ายค่าอาหาร ค่าน้ำดื่ม หรือค่าเดินทาง เราไม่สามารถแสดงรายการ หรือรายละเอียดของการใช้จ่ายได้ จะเห็นเพียงแต่เลขที่บัญชี กับจำนวนเงินที่โอนไปเท่านั้น

แต่ด้วยฟีเจอร์ Chat Banking จะให้ทุกคนสามารถเขียนรายการใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ด้วยตนเองได้เลย อย่างค่าข้าว ค่าน้ำดื่ม ค่าเดินทาง ระบุควบคู่ไปกับข้อมูลโอนจ่ายในรูปแบบนิยายแชต ทำให้เวลาอ่านตัวเลขทางการเงินย้อนหลังเข้าใจดีขึ้นว่าสภาพคล่องทางการเงินของคุณ หายไปเพราะค่าใช้จ่ายจิปาถะอะไรบ้าง

5. Money Request

ถ้าใครโดนเพื่อนยืมเงินเป็นประจำ จนรู้สึกว่ากำลังขาดสภาพคล่องทางการเงิน แล้วเป็นคนไม่กล้าทวงเงินเพื่อนด้วย เพราะกลัวว่าจะทะเลากัน ทำไมไม่ลองใช้งานฟีเจอร์ Money Request ซึ่งเป็นฟีเจอร์ช่วยคิดคำพูดนิ่มๆ ให้เพื่อนคืนเงินคุณด้วยการไม่ต้องทวงเงินต่อหน้า รับรองว่าไม่มีปัญหาการเงินกันแน่นอน

สภาพคล่องทางการเงินแก้ไขได้ เพียงแค่เริ่มต้นออมเงินตั้งแต่วันนี้

หากคุณกำลังประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน จะเห็นได้ว่าทางแก้ปัญหาไม่ใช่แค่ปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือเพิ่มรายได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการออมเงินอย่างเป็นประจำ เพราะจะช่วยให้คุณมีเงินเก็บสำรองมากพอจนมีสภาพคล่องไม่ขาดมือ จนสามารถรับมือกับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ได้

ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นออมเงินอย่างไรดี เราแนะนำให้คุณลองใช้งานแอปเก็บเงิน MAKE by KBank เพียงแค่ฝากเงินเข้าไปในบัญชี ก็ได้รับผลตอบแทนทันที 1.5% ต่อปีสำหรับเงินฝาก 300,000 บาทแรก และ 0.65% ต่อปี สำหรับส่วนเกิน 300,000 บาท แถมมาพร้อมกับฟีเจอร์ต่างๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแผ่นออมเงิน, Expense Summary หรือ Shared Cloud Pocket

รู้อย่างนี้แล้วอย่ารอช้า! ดาวน์โหลด MAKE by KBank ได้เลยที่ App Store และ Play Store แถมสมาชิกใหม่ที่เริ่มใช้งานครั้งแรก ถ้าชวนเพื่อนครบ 9 คน ก็รับเงินรางวัลไปเลย 1,000 บาท

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ