วางแผนเก็บเงินไปญี่ปุ่นด้วยตัวเอง กับแอปการจัดการเงินง่าย ๆ - MAKE by KBank
สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

วางแผนเก็บเงินไปญี่ปุ่นด้วยตัวเอง กับแอปการจัดการเงินง่าย ๆ

Banner แค่เอ่ยชื่อประเทศ “ญี่ปุ่น” หลาย ๆ คนคงรู้ทันทีว่านี่เป็นประเทศในฝันที่อยากมีโอกาสได้สัมผัสด้วยตนเองสักครั้ง ทั้งเรื่องสภาพอากาศที่ต่างจากบ้านเราในช่วงฤดูหนาวไปจนถึงสถานที่เที่ยวสวย ๆ ทั้งจากธรรมชาติ การสร้างขึ้นของมนุษย์ ไปจนถึงวัฒนธรรม อาหารการกิน ความทันสมัย แถมเดินทางไม่ไกลมาอีกด้วย อย่างไรก็ตามด้วยค่าครองชีพที่สูงกว่าเมืองไทยการวางแผนเก็บเงินไปญี่ปุ่น หรือเก็บเงินไปเที่ยวจึงต้องมีผู้ช่วยที่จะทำให้คุณบรรลุตามเป้าประสงค์ของตนเองอย่าง แอปการจัดการเงิน

อยากเก็บเงินไปญี่ปุ่นด้วยตนเอง เริ่มจากการมีผู้ช่วยชั้นเลิศ

สิ่งแรกที่ทุกคนควรรู้หากวางแผนเก็บเงินไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเองนั่นคือ การมีผู้ช่วยสุดแสนทันสมัยในรูปแบบของแอปจัดการเงินมืออาชีพอย่าง “MAKE by KBank” เพราะแอปนี้มีฟีเจอร์ที่ชื่อ Cloud Pocket โดยคุณสามารถแบ่งกระเป๋าเงินของตนเองออกได้ตามต้องการ จะเป็นสิบหรือเป็นร้อยใบก็ไม่มีปัญหา เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วทำการแบ่งเป็นกระเป๋า “เก็บเงินไปญี่ปุ่น” เป็น 1 ในอีกหลายใบที่คุณต้องการแยกรายรับของตนเอง อย่าลืมจัดการสัดส่วนให้ชัดด้วยว่าเงินเก็บแต่ละกระเป๋าควรอยู่ในสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ หรือกี่บาทต่อการเก็บในเดือนนั้น ๆ เพื่อป้องกันการสับสน สมมุติคุณวางแผนจะไปญี่ปุ่นเดือนธันวาคม ตั้งงบเอาไว้ที่ 40,000 บาท เริ่มเก็บตั้งแต่เดือนมิถุนายน ภายในเวลา 6 เดือน เงินส่วนที่จะถูกนำมาเก็บในกระเป๋าท่องเที่ยวนี้อาจอยู่ราว ๆ เดือนละ 6,700 บาท เป็นต้น

Image2

ใช้แอปการจัดการเงิน MAKE by KBank สำหรับเก็บเงินไปเที่ยวดียังไง

จากตัวอย่างที่แนะนำมาจะเห็นเลยว่าการเลือกใช้แอปการจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank ช่วยให้คุณวางแผนทางการเงินของตนเองได้ง่ายกว่าเดิม เมื่อรู้ระยะเวลา รู้จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการไปเที่ยวแล้ว ก็สามารถแยกเงินตรงนั้นเพื่อไม่ให้ไปรบกวนเงินส่วนอื่น ทยอยเก็บไปเรื่อย ๆ หากเดือนไหนมีเงินเหลือเยอะขึ้นจะเพิ่มเข้ามาในกระเป๋าไปเที่ยวเพื่อให้ถึงเป้าได้เร็วขึ้นก็ไม่ว่ากัน นอกจากการไม่ไปรบกวนเงินส่วนอื่นแล้ว ยังทำให้รู้ถึงเป้าหมายบางสิ่งในชีวิต สามารถทำตามฝันที่ตนเองตั้งเป้าไว้ได้จริงโดยไม่ต้องเสียดายภายหลัง ที่สำคัญไม่ใช่แค่การเก็บเงินไปญี่ปุ่นเท่านั้น แต่จะเก็บเงินไว้ทำสิ่งต่าง ๆ ก็ใช้หลักการแบบเดียวกันได้เต็มที่ เช่น เก็บเงินยามเกษียณ, เก็บเงินสำหรับดาวน์บ้าน ดาวน์รถ, เก็บเงินซื้อของขวัญวันเกิดให้แฟน ให้พ่อแม่ หรือแม้แต่การแยกค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ ออกจากกันแบบชัดเจน อาทิ ค่าผ่อนรถ, ผ่อนคอนโด, ค่ากินอยู่-เดินทางรายเดือน, ค่าช้อปปิ้ง ฯลฯ ด้วยฟีเจอร์ดี ๆ ของตัวแอปจึงช่วยแยกประเภทเงินเก็บของตนเองอย่างมีหลักการ ไม่ปะปนกันจนอาจนำไปสู่การใช้แบบไม่ทันคิด เป็นเรื่องน่าปวดหัวภายหลัง

ทริคเพิ่มเติมในการเก็บเงินไปญี่ปุ่นให้ถึงเป้าหมายเร็วขึ้น

ไปเที่ยวญี่ปุ่นแค่คิดก็รู้สึกว้าวถึงความน่าตื่นเต้นแล้ว แต่จะทำยังไงดีเพื่อให้ตนเองสามารถเก็บเงินไปเที่ยวในส่วนนี้ได้เร็วขึ้นกว่าเดิม รวมถึงทำตามเป้าหมายของตนเองให้สำเร็จอีก 1 อย่าง จะขอแนะนำทริคเพิ่มเติมนอกเหนือจากการแยกประเภทเงินเก็บด้วยแอป MAKE by KBank ตามที่บอกไป มีอะไรอีกบ้าง

1. แบ่งเงินส่วนไม่จำเป็นมาเก็บเข้ากระเป๋าไปเที่ยวแทน เมื่อคุณมีเป้าหมายแล้วเงินบางส่วนที่อาจไม่จำเป็นมากนักก็ลดทอนจุดนั้นออกแล้วนำไปใส่ไว้กับกระเป๋าเก็บเงินไปญี่ปุ่นแทน เช่น ลดเงินสำหรับช้อปปิ้งลงจากเดือนละ 2,000 เหลือเดือนละ 1,000 บาท, ลดการไปทานข้าวนอกบ้านมื้อใหญ่จากทุกสัปดาห์เหลือสัปดาห์เว้นสัปดาห์ เป็นต้น เงินตรงนี้จะเพิ่มพูนได้อย่างไม่น่าเชื่อ และนำมาซึ่งโอกาสในการเก็บตามจุดมุ่งหมายของตนเอง

2. หารายได้พิเศษทำเพิ่มเติม หรือเก็บเงินที่ได้นอกเหนือจากเงินเดือนไว้เลย ทริคต่อมาสำหรับคนที่กำลังเก็บเงินเอาไว้ไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น หากลองแบ่งกระเป๋าเงินจากแอปจัดการเงินแล้วปรากฏว่าไม่มีส่วนใดที่จะลดทอนแล้วนำมาเก็บได้ ก็ต้องหาเงินเข้ามาเพิ่มเติมแทน อาจเลือกหารายได้พิเศษทั่วไป เช่น การใช้ทักษะทำงานฟรีแลนซ์, การทำงานล่วงเวลาให้มากขึ้น หรือนำเงินที่ได้นอกเหนือจากรายได้ประจำมาแบ่งเก็บในส่วนนี้ไว้บ้าง เช่น โบนัส, ค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น

3. ทยอยซื้อสิ่งต่าง ๆ หรือแลกเงินในช่วงค่าเงินเยนลด วิธีนี้ก็ตอบโจทย์เช่นกัน โดยพยายามทยอยซื้อสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องใช้ไปทีละนิด เช่น ซื้อตั๋วเครื่องบินช่วงโปรที่ถูก, ซื้อบัตรเข้าสถานที่ที่อยากไปในช่วงการลดราคา หรือแลกเงินเย็นเอาไว้ตอนค่าเงินลดลง เมื่อถึงเวลาใกล้เดินทางจริง ๆ ค่าใช้จ่ายคุณจะถูกลงกว่าเดิมอีกเยอะมาก ซึ่งการมีแอปการจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank คุณยังแบ่งกระเป๋าเงินเอาไว้สำหรับซื้อสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น แบ่งกระเป๋าค่าตั๋วเครื่องบิน, ค่าเข้าสถานที่, เงินสำหรับแลก ฯลฯ ถ้าเงินเหลือก็ค่อยนำไปรวมกับกระเป๋าใหญ่ที่เก็บไว้เพื่อการใช้จ่ายท่องเที่ยวญี่ปุ่นก็ไม่ผิดเลย

การวางแผนเก็บเงินไปญี่ปุ่นของทุกคนจะเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิมแค่แยกประเภทเงินเก็บของตนเองให้ชัดเจนด้วยแอปการจัดการเงิน MAKE by KBank ซึ่งไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่จะ เก็บเงินไปเที่ยว ที่ไหน ค่าใช้จ่ายสูงเพียงใดก็มีโอกาสสำเร็จดังใจปรารถนา

กลับไปหน้าแรก