วิธีใช้ Cloud Pocket เพื่อออมเงินระยะยาว
สำหรับใครที่ต้องการจัดสรรรายได้ มองหาวิธีเก็บเงินระยะยาว อีกเทคนิคที่จะช่วยได้และหลายคนสำเร็จจริงต้องยกให้กับแอปจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank ซึ่งจะมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นสำหรับใช้เงิน, เก็บเงินและวางแผนการเงินให้คุณอย่างจุใจ ซึ่งฟีเจอร์ที่ยอดฮิตติดลมบน ได้รับความนิยมสูงสุดสำหรับทุกคนที่เลือกใช้แอปนี้คือ Cloud Pocket ดังนั้นใครที่กำลังมองหาวิธีใช้ Cloud Pocket เพื่อออมเงินระยะยาว จะขอแนะนำเทคนิคอย่างง่าย การันตีใครก็ทำได้แบบไม่ต้องกังวลใจ
ฟีเจอร์ Cloud Pocket คืออะไร
ก่อนจะไปรู้วิธีใช้ Cloud Pocket ลำดับแรกขอสร้างความเข้าใจให้กับทุกคนกันก่อน Cloud Pocket คือ ฟีเจอร์หนึ่งที่อยู่ในแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ซึ่งเป็นแอปจัดการเงินที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ทุกธุรกรรมและการใช้เงินของคนไทยเป็นเรื่องง่าย รวมถึงยังสามารถมีเงินเก็บเป็นของตนเอง ลดภาระการเกิดหนี้สิน พร้อมช่วยจัดสรรรายได้ สามารถวางแผนการเงินในชีวิต เก็บเงินระยะยาวได้อย่างที่ตนเองต้องการ หลักการทำงานเบื้องต้นของฟีเจอร์นี้คือ มีหน้าที่แบ่งกระเป๋าเงินย่อย ๆ ได้แบบไม่จำกัดจำนวน โดยผู้ใช้งานสามารถแยกได้เลยว่าจะนำรายได้ของตนเองที่รับมาใส่เอาไว้ในกระเป๋าไหนบ้าง มีการอัปเดตเงินอยู่ตลอด และยังสามารถแจ้งเตือนในกรณีที่คุณตั้งค่าการจ่ายเงินกับกระเป๋านั้น ๆ เอาไว้ ลดปัญหาการลืมจ่ายได้อย่างแน่นอน
แนะนำวิธีใช้ Cloud Pocket สำหรับออมเงินแบบระยะยาว
เมื่อทำความรู้จักกับแอปจัดการเงินและฟีเจอร์นี้กันเรียบร้อย ก็ขอต่อด้วยวิธีใช้ Cloud Pocket สำหรับการเก็บเงินระยะยาวให้กับทุกคน ลองใช้เทคนิคเหล่านี้ดูจากเดิมไม่เคยมีเงินเก็บมาก่อน บางทีสามารถเปลี่ยนตนเอง สร้างนิสัยใหม่ ๆ เมื่อเห็นเงินหมื่น เงินแสน หรือเงินล้านได้เลย 1. แยกประเภทของเงินที่ต้องใช้จ่ายกับเงินเก็บออกจากกันให้ชัดเจน ตามที่บอกไปกว่าวิธีใช้ Cloud Pocket เบื้องต้นคือ คุณสามารถแบ่งกระเป๋าเงินหรือ Wallet ออกได้แบบไม่จำกัด ด้วยเหตุนี้สิ่งแรกที่ควรทำคือ แยกกระเป๋าเงินออกเป็น 2 ฝั่งก่อน นั่นคือ กระเป๋าสำหรับค่าใช้จ่าย และกระเป๋าเงินเก็บ จะช่วยให้การจัดสรรรายได้เมื่อเข้ามาในแต่ละครั้งลงได้อย่างถูกต้องมากกว่าเดิม 2. กระเป๋ารายจ่ายแยกให้ละเอียดที่สุด คราวนี้มาดูกันที่ส่วนกระเป๋ารายจ่ายกันก่อน ต้องพยายามแยกสัดส่วนของ Wallet นี้ให้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อจะได้รู้ว่าแต่ละเดือนเมื่อรายได้เข้ามาแล้วคุณต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง เช่น
- กระเป๋าค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าสตรีมมิ่ง, ค่าผ่อนบ้าน, ค่าผ่อนรถ, ค่าเช่าห้อง พูดง่าย ๆ คือ เป็นเงินส่วนที่ต้องจ่ายออกแบบกำหนดตายตัว หากมีเศษเหลือค่อยโยกไปที่เงินเก็บ
- กระเป๋าค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหารทุกมื้อแบบหารเฉลี่ยคร่าว ๆ, ค่าเดินทาง, ค่าน้ำมันรถ ฯลฯ
- กระเป๋าค่าใช้จ่ายส่วนตัว สำหรับการใช้เพื่อสร้างความสุขให้กับตนเอง เช่น ค่าช้อปปิ้ง, ค่าเติมเกม ฯลฯ
ทั้งนี้ในส่วนของ Wallet ด้านค่าใช้จ่ายที่ยกตัวอย่างมาอาจทำแบบรวมเป็นกระเป๋าใหญ่ หรือแยกย่อยเพื่อให้รู้ว่าเงินแต่ละส่วนใช้ไปเท่าไหร่ เหลืออีกกี่บาทที่ควรใช้ในเดือนนั้น ๆ ก็ไม่ว่ากันเอาตามที่สะดวกและเห็นสมควรของตนเอง (แต่ทางที่ดีถ้าแยกย่อยในเรื่องค่าใช้จ่ายชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่แต่ละเดือนไม่แน่นอนออกเป็นกระเป๋าย่อยให้มากที่สุด จะช่วยให้คุณมองเห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายง่ายขึ้น) 3. กระเป๋าเงินเก็บแยกออกตามที่ตนเองต้องการ มาถึง Point หลักสำหรับวิธีใช้ Cloud Pocket เพื่อการเก็บเงินระยะยาวของทุกคน หลังจากจัดสรรรายได้ในส่วนของค่าใช้จ่ายเรียบร้อย คราวนี้ก็มาว่ากันที่เรื่องของฝั่งเงินเก็บกันบ้าง จุดเด่นสำคัญที่ทำให้แอปจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank ที่มีฟีเจอร์นี้โดดเด่นกว่าการเก็บเงินแยกบัญชีธนาคารตรงที่ คุณสามารถแบ่งประเภทของ Wallet ที่จะใช้เก็บเงินออกได้ทันทีว่าต้องการเก็บเพื่อวัตถุประสงค์อะไรบ้าง เช่น
- กระเป๋าเงินเก็บสำหรับดาวน์รถ, ดาวน์บ้าน
- กระเป๋าเงินเก็บใช้เที่ยวต่างประเทศสิ้นปี
- กระเป๋าเงินเก็บเพื่อการลงทุนในอนาคต
- กระเป๋าเงินเก็บสำหรับไว้ใช้ช่วงเกษียณอายุ
- กระเป๋าเงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
- กระเป๋าเงินเก็บสำหรับจ่ายค่าประกันรายปี
จากตัวอย่างที่ยกขึ้นมาจะเห็นเลยว่าวัตถุประสงค์ของการออมเงินระยะยาวย่อมไม่เหมือนกันอยู่แล้ว หากลำพังแค่แยกบัญชีธนาคารเก็บไว้ก็จะปะปนกันไป ไม่รู้ตัวเลขที่แท้จริงว่าสรุปเงินเก็บในส่วนต่าง ๆ เก็บได้เท่าไหร่บ้างแล้ว ทว่าเมื่อมีแอปและฟีเจอร์ดี ๆ แบบนี้ช่วยให้คุณเห็นภาพ และเมื่อรู้ว่าเงินเก็บส่วนไหนถึงเวลานำมาใช้ก็ถูกใช้อย่างเหมาะสม ไม่ไปเบียดเอาส่วนอื่นมาปะปน เป้าหมายที่ตั้งเอาไว้จึงไม่มีทางพังอย่างแน่นอน
เป็นยังไงกันบ้างกับวิธีใช้ Cloud Pocket สำหรับเก็บเงินระยะยาวอย่างที่แนะนำไป ต้องถือว่าแอปจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank ได้สร้างสรรค์ฟีเจอร์ชั้นเยี่ยมออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ได้ชัดเจนและตอบโจทย์สุด ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแอปนี้ยังมีฟีเจอร์อื่นที่ช่วยจัดสรรรายได้ของคุณอีกเยอะมาก เช่น Expense Summary สำหรับสรุปยอดค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน หรือ Chat Banking ที่จะทำให้การหารเงินค่าใช้จ่ายกับเพื่อนจดจำได้ง่ายกว่าเดิมว่าใครจ่ายด้วยยอดเท่าไหร่แล้วบ้าง ลองดาวน์โหลดและชวนเพื่อน ๆ มาใช้งานกันเลย ไม่ผิดหวัง