สแกนเพื่อดาวน์โหลด
MAKE logo
MAKE logo

6 วิธีจัดการนิสัยช้อปปิ้งแหลกต้นเหตุที่ทำให้เก็บเงินไม่อยู่

Banner นิสัยอย่างหนึ่งของสาว ๆ หลายคนเมื่อไหร่ก็ตามที่ได้เข้าสู่โหมดการช้อปปิ้งแล้วมักจะเมามันกับการเลือกสินค้าชนิดไม่สนใจเงินในกระเป๋า ยิ่งถ้าเจอป้าย Sale รู้สึกตัวอีกที่ต้องใช้อีกหลายวันกว่าจะหมดเดือนเกลี้ยงแทบไม่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตามห้างร้าน ตลาด หรือออนไลน์นี่คือสาเหตุหนึ่งที่มักทำให้เกิดปัญหา “เก็บเงินไม่อยู่” จึงอยากแนะนำ 6 วิธีดี ๆ ในการแก้นิสัยเหล่านี้ให้หมดไป เก็บเงินซื้อของ เก็บเงินช้อปปิ้งได้อย่างมีสติ มาพร้อมแอปผู้ช่วยจัดการเงินชั้นยอด

6 วิธีจัดการนิสัยช้อปแหลกจนทำให้เก็บเงินไม่อยู่

Image2

1. แบ่งเงินสำหรับใช้ช้อปปิ้งในแต่ละเดือนให้ชัดเจน

วิธีแรกในการแก้ปัญหาเก็บเงินไม่อยู่จากการช้อปปิ้ง แนะนำสาว ๆ ให้เลือกแบ่งเงินเอาไว้ในแต่ละเดือนเลยว่าใช้กับค่าใช้จ่ายตรงนี้ได้เท่าไหร่ ซึ่งใครที่กังวลว่าแม้จะแบ่งแล้วก็ตามแต่เงินมันยังกองรวมอยู่ในบัญชีเดียว พอเจอกับสถานการณ์จริงก็ห้ามใจไม่ไหว แนะนำแอปผู้ช่วยจัดการเงิน อย่าง “MAKE by KBank” ที่จะมี 2 ฟีเจอร์ช่วยนั่นคือ * Cloud Pocket สามารถแยกกระเป๋าเงินออกมาได้ไม่จำกัด จึงสามารถแบ่งเงินที่ใช้ช้อปปิ้งเอาไว้ที่กระเป๋า 1 ใบ เวลาช้อปก็เลือกจ่ายด้วยเงินจำนวนดังกล่าว จะทำให้รู้ยอดและไม่มีทางเกินแน่ * Expense Summary มีการสรุปยอดรายจ่ายผ่านตัวแอปทุกเดือนโดยแยกเป็นหมวดหมู่ หนึ่งในนั้นมีหมวดช้อปปิ้งอยู่ด้วย ถ้ารู้สึกว่าใช้เงินเกินตัวไปเดือนหน้าก็ต้องปรับให้ใช้น้อยลง วิธีดี ๆ จากแอปผู้ช่วยจัดการเงิน

2. หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่เสี่ยงต่อการช้อปปิ้ง

เมื่อรู้ตัวว่าเวลาเจอของ Sale ของลดราคาทีไรอดใจแทบไม่ไหวตลอด วิธีแก้ปัญหาคือให้หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่ดังกล่าว หรือไม่เข้าไปบนหน้าเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์เลยหากไม่จำเป็น หรือจะกำหนดว่าไปจุดเหล่านั้น เข้าหน้าเว็บ E-Commerce ได้หลังจากเก็บเงินซื้อของสิ่งที่ตนเองต้องการแล้วครบถ้วนเท่านั้น เมื่อไม่มีต้นเหตุ การกระทำและผลลัพธ์ย่อมไม่เกิดตามมานั่นเอง ดังนั้นตัดไฟแต่ต้นลมเงินในกระเป๋าเหลือมากขึ้น ใช้ประโยชน์อื่นได้อีกเพียบ

3. หยุดนิสัยใช้เงินแก้เครียดได้แล้ว

หลายคนมักถือคติว่าหากเครียดเมื่อไหร่ การช้อปปิ้งคือคำตอบแห่งการแก้ปัญหา ซึ่งวิธีดังกล่าวขอบอกว่าผิดแบบล้านเปอร์เซ็นต์ มันไม่ใช่การแก้เครียด แต่มันคือข้ออ้างของคนที่อยากใช้จ่ายเงินแบบไม่มีเหตุผล แล้วลองสังเกตใครที่เคยทำแบบนี้ของที่ซื้อได้มักไม่ค่อยมีประโยชน์ ตอบตนไม่ได้ด้วยซ้ำว่าซื้อมาเพื่ออะไร หากรู้สึกว่าตนเองเครียด มีเรื่องคิดเยอะ ต้องพยายามมองหาวิธีที่ช่วยผ่อนคลายแบบไม่ต้องเสียเงินจะดีกว่าเยอะ เช่น การไปออกกำลังกาย, นั่งดูซีรี่ย์เรื่องโปรด เป็นต้น

4. บอกคนข้างกายให้เตือนตนเองอยู่เสมอ

ใครที่มีแฟน หรือเวลาไปข้างนอกกับพ่อแม่ พี่น้องของตนเอง แม้จะมีการเก็บเงินช้อปปิ้งเพื่อใช้จ่ายตามปกติ อย่าลืมบอกคนที่มักไปกับคุณด้วยเสมอว่าต้องรีบเตือนหากเริ่มซื้อของอย่างเมามัน หยิบทุกสิ่ง ใช้ทุกอย่าง ทั้งที่ไม่รู้ว่าความจริงนั้นตนเองจะได้ประโยชน์จากของเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน พอมีคนที่เตือนสติอยู่ข้าง ๆ ย่อมช่วยให้ความคิดของคุณถูกดึงออกจากการช้อปไปชั่วขณะ จากนั้นหลายคนเริ่มนึกขึ้นได้ถึงเป้าหมายในการมาห้าง มาตลาดครั้งนี้เพื่ออะไรกันแน่ แต่คงไม่ใช่การจ่ายเงินจากการซื้อของเยอะเกินเหตุแน่นอน

5. ลิสต์รายการที่ต้องซื้อก่อนออกไปช้อปปิ้งทุกครั้ง

หากรู้ว่าตนเองช้อปปิ้งเก่งมากจนเก็บเงินไม่อยู่ อีกเทคนิคชั้นยอดคือ เมื่อคุณเก็บเงินซื้อของ หรือแบ่งเงินเดือนออกมาสำหรับใช้ตรงนี้ครบถ้วนแล้ว ให้จดลิสต์สิ่งของที่ต้องการซื้อมีอะไรบ้าง จากนั้นพอไปถึงห้าง หรือเปิดเว็บไซต์ก็เลือกเฉพาะสิ่งที่ตนเองลิสต์มาเท่นั้น อะไรนอกเหนือจากรายการที่เขียนก็ไม่ต้องซื้อเข้ามาเพิ่มเติม อาจเป็นลักษณะการฝึกนิสัยไปในตัวด้วย เมื่อทำบ่อยก็เกิดความเคยชิน ไม่มีการใช้เงินฟุ่มเฟือยจากสิ่งของไร้ประโยชน์ เหมือนเสียเงินกันฟรี ๆ

6. ช้อปเยอะก็หาให้มันเยอะขึ้นกว่าเดิม

กับสำนวนที่ว่า “เมื่อต่อต้านไม่ได้ก็เข้าร่วมซะเลย” หากมีนิสัยรักการช้อปปิ้งหนักมาก อุตส่าห์ใช้แอปผู้ช่วยจัดการเงินอย่าง MAKE by KBank ก็มีการดึงเอาเงินส่วนอื่นมาเพิ่มเติมเพื่อช้อป ไม่นับรวมกับวิธีอื่นซึ่งไม่เคยได้ผล ก็เลือกทำตามความปรารถนาของหัวใจด้วยการลุยช้อปแบบจัดหนักไปเลย แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อใช้เงินเยอะไปกับการซื้อของก็ต้องรู้จักวิธีหาเงินเข้ากระเป๋าเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน บางคนพอเริ่มยุ่ง ต้องทำงานมากขึ้น เวลาช้อปน้อยลงก็ยิ่งค่อย ๆ ห่างเหินและเปลี่ยนเป็นอีกคนที่เบื่อการช้อปไปเลยก็ได้

เป็นยังไงกันบ้างสำหรับ 6 วิธีแก้ไขนิสัยคนรักการช้อปปิ้งจนเก็บเงินไม่อยู่ นอกจากการเก็บเงินซื้อของที่อยากได้ เก็บเงินช้อปปิ้งแยก ไว้ต่างหากในแอปผู้ช่วยจัดการเงิน ก็ต้องพยายามปรับนิสัย หากิจกรรมอย่างอื่นทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากการเดินในห้าง เมื่อสมองไม่ได้คิด ไม่ได้สนใจ พฤติกรรมดังกล่าวจะค่อย ๆ หายไปอย่างแน่นอน

กลับไปหน้าแรก

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจ