จัดการเงินยังไง เมื่อรายได้ลดลงจากเดิม
ด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนกำลังมีปัญหาเรื่องการเงินอย่างหนัก ทั้งการโดนลดเงินเดือน, ไม่ได้โบนัสตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือหนักสุดถึงขั้นต้องออกจากงาน ไปเริ่มงานใหม่ที่รับเงินน้อยกว่าเดิม ต้องเอาเงินเก็บมาลงทุนค้าขาย หากใครที่กำลังเจอความน่ากังวลใจเหล่านี้อยู่ก็ควรรู้วิธี “จัดการเงิน” เพื่อให้ตนเองยังคงใช้ชีวิตตามเหมาะสม แล้ววันหนึ่งสิ่งดี ๆ ก็จะเข้าหาได้เช่นกัน
4 วิธีจัดการเงินเมื่อรายได้ลดลงจากเดิม
1. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ชัดเจน สิ่งแรกที่ควรทำเมื่อรู้ว่าตนเองมีรายได้ลดลงจะด้วยเหตุผลใดก็ตามนั่นคือ ต้องมีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เหตุเพราะการทำบัญชีนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นตัวเลข พร้อมรู้ว่าเงินส่วนไหนที่มีรายจ่ายสูงเกินไปก็ตัดออกให้เหลือค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เป็นเงินที่ต้องจ่ายออกด้วยความจำเป็นจริง ๆ เช่น เคยมีรายจ่ายค่ากาแฟยามเช้า, ค่าอาหารเย็นมื้อแพงในช่วงวันหยุด ก็อาจต้องใช้เงินส่วนนี้ให้น้อยลง เหลือกาแฟสัปดาห์ละ 2 วัน, อาหารเย็นวันหยุดก็ทานธรรมดา หรือทำทานเอง เพื่อนำเงินไปบริหารจัดการด้านอื่น ๆ อย่างเหมาะสม เมื่อรู้ตัวเลขแบบนี้จะช่วยให้เงินรั่วไหลยากขึ้น 2. วางแผนการใช้จ่ายในเรื่องสำคัญเรียงลำดับให้ชัด หลังจากทำบัญชีราย-รับรายจ่ายไปเรียบร้อย จะเห็นว่าตัวอย่างในข้อก่อนหน้าก็เปรียบได้กับวิธีวางแผนการใช้จ่ายในระดับหนึ่ง แต่เมื่อเจาะลึกลงไปอีกวิธีสำหรับจัดการเรื่องการเงินให้ใช้อย่างเหมาะสมแม้รายได้น้อยลงกว่าเดิม คือต้องเรียงลำดับแผนค่าใช้จ่ายว่าสิ่งไหนสำคัญสุดจากมากไปน้อย ตรงนี้จะช่วยให้คุณตัดค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นออกง่ายขึ้นกว่าเดิม เช่น
- ค่าใช้จ่ายกลุ่ม 1 ที่ต้องชำระทุกเดือน ค่าน้ำ - ค่าไฟ - ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าผ่อนคอนโด
- ค่าใช้จ่ายกลุ่ม 2 ที่สามารถปรับได้ตามสัดส่วนเหมาะสม เช่น ค่าอาหารตลอดทั้งเดือน, ค่าเดินทาง
- ค่าใช้จ่ายกลุ่ม 3 หากมีเหลือจึงค่อยนำไปใช้ เช่น ค่าแอปสตรีมหนัง, ค่ากาแฟทุกเช้า
เมื่อคุณสามารถจัดการเงินด้วยวิธีวางแผนต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม รู้ว่าประเภทไหนคือสิ่งที่ต้องจ่ายออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เงินตรงไหนไม่จ่ายก็ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ แบบนี้แม้รายได้ลดก็กระทบไม่มาก 3. เงินออมยังไงก็ยังคงต้องแยกเอาไว้บ้าง เข้าใจดีว่าด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นหลายคนขนาดแค่หาเงินใช้จ่ายในแต่ละวันยังเป็นเรื่องยาก แล้วจะเอาส่วนไหนมาออม แต่อย่าพึ่งเครียดมากเกินไป ไม่ได้หมายถึงคุณต้องออมเงินจำนวนเท่าเดิมเหมือนตอนที่มีรายได้ปกติ แต่อาจปรับจำนวนเงินให้เหมาะสมกับสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น จากเดิมเคยออมเดือนละหลักพันก็ปรับมาแค่หลักร้อย ให้รู้ว่าอย่างน้อยหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันและต้องใช้เงินด่วนชนิดหมุนต่อไม่ไหว หรือเงินก้อนที่แบ่งออกจากค่าใช้จ่ายรายเดือนปกติไม่ได้ เงินออมตรงนี้ก็ยังคงหยิบมาแก้ปัญหาให้ผ่านพ้นไป ถือว่าตรงนี้เป็นบัญชีเก็บสนุกที่พอเห็นตัวเลขมันก็ยังพอสร้างความชุ่มชื้นหัวใจได้บ้าง 4. หาช่องทางที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับตนเองบ้าง แม้รายได้หลักจะลดลงก็จริงแต่ใช่ว่าทุกคนไม่มีโอกาสหารายได้เสริม ซึ่งปัจจุบันมีช่องทางดี ๆ ให้เลือกเยอะมากโดยเฉพาะบนช่องทางออนไลน์ เช่น ใครมีฝีมือทำอาหารก็ลองทำขายเริ่มต้นจากเพื่อนฝูง ทำแค่พอไหว มีรายได้เข้ามาจุนเจือ แต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานไม่ขาดทุน แต่ถ้าบางจังหวะมีมาตรการของรัฐที่จะทำให้คุณประหยัดเงินใช้จ่ายก็อย่าลืมที่จะเข้าร่วม เพราะยังไงนั่นก็คือสิทธิ์ที่ควรได้รับ และมีผลต่อการใช้ชีวิตของตนเองด้วย
ตัวช่วยจัดการเงินให้เป็นเรื่องง่ายด้วยแอป MAKE by KBank
จากที่อธิบายถึงวิธีจัดการเงินเมื่อรายได้ตนเองลดลงตั้งแต่เรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย, วิธีวางแผนการใช้จ่าย ไปจนถึงแบ่งเงินออมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ยังควรต้องมีอยู่หลายคนอาจคิดว่าดูยุ่งยาก และไม่ใช่เรื่องต้องมาใส่ใจในช่วงเวลาแบบนี้ แต่ทุกอย่างมีทางออกเสมอหากได้รู้จักกับแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ผู้ช่วยจัดการเงินที่จะทำให้ทุกสิ่งกลายเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิม ด้วยฟีเจอร์หลักที่ขอแนะนำนั่นคือ Cloud Pocket คุณสามารถแบ่งกระเป๋าเงินออกได้ไม่จำกัดตามวิถีใช้จ่ายของแต่ละคน เช่น ค่าใช้จ่ายกลุ่มที่ 1, ค่าใช้จ่ายกลุ่มที่ 2, ค่าใช้จ่ายกลุ่มที่ 3, เงินเก็บ ฯลฯ (ระบุได้เลยว่าเป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง) ตรงนี้เองจะทำให้รู้ตัวเลขชัดเจนว่าสรุปแล้วแต่ละเดือนรายจ่ายที่ต้องเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง สามารถประหยัดตรงไหนเพิ่มเติม หรือแบ่งเงินเอาไว้เก็บออมมากน้อยเพียงใด เสมือนการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแบบออนไลน์ ไม่ต้องนั่งจดบันทึกทุกวัน แต่รู้ความเคลื่อนไหวของตัวเงินตลอด ได้สร้างบัญชีเก็บสนุกเป็นกำลังใจให้ตนเอง
เมื่อรายได้ของตนเองลดลงก็ต้องรู้จักปรับตัวเพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุด สิ่งสำคัญคือต้องมีสติทุกครั้งเมื่อจ่ายเงินออกไปไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม พอสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย หรือคุณเองหาช่องทางทำเงินกลับมาดังเดิม หรือเยอะกว่าเดิม นิสัยจัดการเงินแบบนี้จะติดตัวไปเรื่อย ๆ แม้ในอนาคตเกิดเหตุไม่คาดฝันใดขึ้นอีกไม่ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอย่างที่คิด และอย่าลืมมีผู้ช่วยอย่าง MAKE by KBank ติดตัวเอาไว้ด้วย